บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
สิงหาคม 2557
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
3 สิงหาคม 2557
 

คนไข้ทำดี... แบบนี้หมอขอคารวะ

ภาพ 1: ทีมหมอพร้อมใจกันคำนับ คารวะศพคนไข้

.

คนไข้ร้ายๆ ก็มี (มาก...) เช่น เป็นเบาหวาน ยังคุมระดับน้ำตาลไม่ได้...

หมอให้กินผลไม้ได้ไม่เกิน 2-3 คำ/มื้อ

พี่แกซัดไปทีละ 2-3 กิโลฯ

พอไตเสื่อมก็โทษว่า ยาไม่ดีบ้าง (แบบนี้หมอพอทนได้)

.

บ่นว่า กินยามาก... ทำให้ไตเสื่อม

(ไม่โทษลำไยเลยแม้แต่น้อย)

.                        

หนังสือพิมพ์ฮัฟฟิงทันโพสต์ ฉบับ 25 กรกฎาคม 2557 ตีพิมพ์เรื่องเด็กชายชาวจีน ผู้งามน้ำใจ

คุณเหลียง เย่าหยี่ เป็นมะเร็งสมองตั้งแต่อายุ 9 ขวบ

รักษาแล้วป่วยหนักมากว่า 2 ปี

ท่านอ่านพบเรื่องราวดีๆ ของคนบริจาคอวัยวะในหนังสือเรียน

.

(ตรงนี้บอกเป็นนัยว่า ตำราเรียนของจีนทำได้ดีมาก)

คุณเหลียง จึงติดต่อขอหมอบริจาคอวัยวะ

และให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไชนาเดลี (ตอนป่วยหนัก) ว่า

"ท่านเหล่านี้ (ผู้บริจาคอวัยวะ) เป็นคนที่ยิ่งใหญ่ (great),  

.

ฉันเอง (หรือ... ผมเอง ข้าพเจ้า ฯลฯ) จะเป็นเด็กผู้ยิ่งใหญ่ (great kid) เช่นกัน

(ด้วยการบริจาคอวัยวะตอนอายุ 11 ขวบ)"

เรื่องนี้ทำให้อาจารย์หมอชาวจีนถึงกับต้องพร้อมใจกันคำนับ คารวะศพ "เด็กผู้ยิ่งใหญ่" 

ก่อนผ่าตัด นำไตและตับของ "เด็กผู้ยิ่งใหญ่" ไปช่วยชีวิตให้คนไข้หนักต่อไป

.

ทุกวันนี้คน 1 คน (หรือ "คนตาย" 1 ศพ) ช่วยชีวิต "คนเป็น" ได้มากมาย เช่น

ถ้านำไต 2 ข้าง และตับ > จะช่วยชีวิตคนได้ 3 คน (1 ไต + 1 ไต + 1 ตับ)

ถ้าบริจาคอวัยวะอื่นด้วย เช่น แก้วตา จะช่วยคนตาบอดได้ 2 คน (1 ตา + 1 ตา)

สาเหตุที่คนเป็นได้ไป 1 ข้าง (ไม่ใช่ 2 ข้าง) เพราะเป็น "ธรรมดาของโลก"

.

โลกใบนี้มีอะไรที่ "ธรรมดา" หลายอย่าง เช่น

มี "ผู้รับ (repicients)" มากกว่า "ผู้ให้อวัยวะ (donors)"

ประสบการณ์จากโรงพยาบาลทั่วไทย + ทั่วโลกพบอะไรตรงกัน คือ

ถ้าไปขอให้ญาติสนิทมิตรสหายของคนไข้บริจาคเลือด...

ส่วนใหญ่จะไม่ให้ (ไม่ใช่ทุกคน... แต่เป็น "ส่วนใหญ่")

.

ลูกส่วนใหญ่ ไม่บริจาคเลือดให้คุณแม่คุณพ่อ

ผัวส่วนใหญ่ ไม่บริจาคเลือดให้เมีย

เมียส่วนใหญ่ ไม่บริจาคเลือดให้ผัว

พี่น้องส่วนใหญ่ ไม่บริจาคเลือดให้พี่น้อง

.

คนที่เป็นผู้ให้ หรือผู้บริจาคส่วนใหญ่

คือ คนที่ไม่ใช่ญาติสนิทมิตรสหาย

เช่น นักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้บริจาคเลือดขาประจำ

ช่วงปิดเทอม... เลือดสำรองมักจะลดลง เพราะนักเรียน นักศึกษากลับบ้าน

.

ภาพ 2: สถิติผู้บริจาคอวัยวะหลังเสียชีวิตปี 2010/2553 (หน่วยต่อ 1 ล้านคน/ปี)

ประเทศที่บริจาคมาก มักจะเป็นประเทศที่มีระดับการศึกษาสูง

.

การที่ไทยมีผู้บริจาคอวัยวะสูงกว่าชาติส่วนใหญ่ในอาเซียน

บอกเป็นนัยว่า การศึกษาในไทย อาจจะไม่อ่อนแอ หรือไม่ก็เป็นเพราะคนไทย (อย่างน้อยส่วนหนึ่ง) มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่สูง

การสำรวจครั้งหนึ่ง ทำทั่วโลก พบว่า ชาติในเอเชียที่ใจบุญ หรือชอบช่วยเหลือคนอื่นสูงมาก คือ ศรีลังกา + ไทย + พม่า

คนศรีลังกา พม่าไม่รวยเงิน แต่รวยน้ำใจ ชอบช่วยเหลือคนอื่นด้วยแรง เช่น ทำงานอาสาสมัคร ฯลฯ

.

การสำรวจครั้งนั้น พบว่า คนไทยชอบช่วยในรูปการทำทาน เช่น บริจาคเงิน ฯลฯ

ผู้เชี่ยวชาญติงว่า คนไทยไม่ค่อยช่วยแรง ทำงานอาสาสมัครน้อย

ถ้าคนไทยทำงานอาสาสมัครมากขึ้น

ประเทศไทยจะมีศักยภาพด้านการเป็นศูนย์บรรเทาสาธารณภัยใหญ่ของเอเชียในอนาคต

.

ภาพ 3: สถิติการบริจาคอวัยวะปี 2010/2553 (หน่วยต่อ 1 ล้านคน/ปี)

ประเทศที่มีการบริจาคอวัยวะหลังเสียชีวิตสูงส่วนใหญ่ = ยุโรป + สหรัฐอเมริกา

ประเทศที่มีการบริจาคอวัยวะตอนมีชีวิตอยู่ = ยุโรป + สหรัฐฯ + ตุรกี + เม็กซิโก

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนบริจาคอวัยวะตอนมีชีวิต = กฎหมายไม่อนุญาต

.

ภาพ 4: สถิติผู้บริจาคอวัยวะตอนมีชีวิตปี 2005/2578 เช่น ไตมี 2 ข้าง, บริจาค 1 ข้าง ฯลฯ (หน่วยต่อ 1 ล้านคน/ปี)

ส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรป-สหรัฐฯ

อิหร่านมาเป็นอันดับ 1

เนื่องจากสหรัฐฯ + สหประชาชาติแซงก์ชั่น ห้ามค้าขายกับอิหร่าน

.

ทำให้อิหร่านไม่มีอุปกรณ์-น้ำยาสำหรับเครื่องฟอกไต (ไตเทียม)

คนไข้ไตวายตายไปมากจนไม่มีทางออก

อิหร่านจึงประกาศให้การบริจาคอวัยวะถูกกฎหมาย

โดยกำหนดว่า ผู้รับต้องบริจาคเงินขั้นต่ำเท่าไร เพื่อแสดงความขอบคุณต่อผู้บริจาค

.

ภาพ 5: สถิติในสหรัฐฯ หลังปี 1990/2533 พบคนไข้รอการบริจาคอวัยวะสะสมเพิ่มขึ้นใกล้ 100,000 คนตั้งแต่ปี 2010/2553 (เส้นสีแดง)

คนไข้ที่ทนรอต่อไปไม่ไหว กลับไปบ้านเก่า (เส้นสีแดงเส้นล่าง) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

.

ภาพ 1: ขอฉายซ้ำอีกครั้ง

.

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานผลการศึกษา (ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA) ข้อมูลหมอที่ทำงานจริง 15,000 คน เทียบกับประชากรที่มีรายได้พอๆ กันในรัฐออนตาริโอ แคนาดา 60,000 คน

ต้นฉบับใช้คำว่า 'active physicians' = หมอที่มีรายได้หลักจากการทำทำงานเป็นหมอ

ผลการศึกษาพบว่า หมอลงทะเบียนเป็นผู้บริจาคอวัยวะ (43%) มากกว่าประชากรทั่วไป (24%)

หมอที่มีแนวโน้มจะบริจาคอวัยวะ คือ

(1). อายุน้อย

(2). เพศหญิง

(3). อยู่นอกเขตเมือง หรืออยู่ในชนบท (บ้านนอก)

.

เครือข่ายการจัดหา-ปลูกถ่ายอวัยวะสหรัฐฯ รายงานว่า คนอเมริกันเกือบ 123,000 คน เข้าคิวรอรับการปลูกถ่ายอวัยวะ

อวัยวะที่ต้องการมากที่สุด = ไต + ตับ

ปัจจัยเสี่ยงโรคไตเสื่อม-ไตวายในไทยที่พบบ่อยได้แก่ [ kidneythai ]; [ moph ]; [ bamrungrad ]

(1). ความดันเลือดสูง > เป็นสาเหตุไตวาย = 30-50%

(2). เบาหวาน > เป็นสาเหตุไตวายในไทย = 30%

(3). นิ่วในไต > พบมากในภาคอีสาน ภาคเหนือ

การดื่มน้ำให้มากพอ ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า มีส่วนช่วยลดเสี่ยงนิ่วในไตได้

.

(4). อายุมาก

(5). น้ำหนักเกิน อ้วน

(6). สูบบุหรี่

(7). ประวัติคนในครอบครัวไตเสื่อม-ไตวาย

.

(8). ยาบางอย่าง โดยเฉพาะยากลุ่มเอนเซดส์ (NSAIDs) ที่ใช้บรรเทาอาการปวดข้อ แก้ปวด แก้ไข้

ตรงนี้บอกเป็นนัยว่า ยาที่ทำให้ไตเสื่อมมีจริง โดยเฉพาะถ้ากินติดต่อกันนานเกิน 1-2 วัน เช่น ซื้อยามากินเอง ฯลฯ

(9). ภาวะขาดน้ำ หรือเสียเลือด เช่น ท้องเสียแล้วไม่รีบกินสารละลายเกลือแร่ (ORS) ฯลฯ ปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำมาก หรือนาน

.

การใส่ใจสุขภาพ ป้องกันโรควันนี้ น่าจะดีกว่าการไปเข้าคิวรอเปลี่ยนไตในวันหน้า

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

Thank Reuters > //www.reuters.com/article/2014/07/24/us-organ-donor-doctors-idUSKBN0FT2N020140724

Source by Reuters > JAMA, online July 16, 2014.

Thank Huffingtonpost > //www.huffingtonpost.com/2014/07/25/doctors-bowing-to-organ-donor-photos_n_5617698.html

Thank China Daily //www.chinadaily.com.cn/china/2014-06/10/content_17576450.htm

Thank wtsp.com > //www.wtsp.com/story/news/health/2014/07/25/doctors-bow-organ-donor-boy/13160623/




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 13:05:55 น. 0 comments
Counter : 703 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com