บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
พฤศจิกายน 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
7 พฤศจิกายน 2556
 

แสงสีฟ้า+แสงจ้ากลางคืน___ทำเราอ้วน

ภาพที่ 1: หลอดไฟรุ่นใหม่ ทำจากหลอดประหยัดไฟ LED ปรับสีได้หลายรูปแบบ

ถ้าสังเกตไฟในสนามบินดอนเมือง จะเห็นมีการใช้หลอดไฟสีขาวกับเหลืองมาติดตั้งไว้ใกล้ๆ กัน เพื่อให้ได้แสงรวมที่ดูคล้ายแสงแดดตอนเช้า (ค่อนไปทางเหลือง-แดง)

แสงโทนสีเหลือง-แดง ทำให้คนเราไม่ค่อยรู้สึกเหงาๆ เศร้าๆ

ไม่เหมือนแสงโทนสีฟ้า ซึ่งอาจทำให้คนบางคนรู้สึกเหงาๆ เศร้าๆ ได้

.

ภาพที่ 2: หลอดตะเกียบประหยัดพลังงานสีต่างๆ (ถ้าหาซื้อไม่ได้, อาจใช้แผ่นกรองแสงสีต่างๆ ช่วยปรับแสงได้)



ภาพที่ 3: แม่สีแสงที่ช่างอีเล็คโทรนิคส์รู้จักดี คือ 'RBG' = red, blue, green = แดง ฟ้า เขียว
.

แม่สีแสง 3 สี รวมกันเป็นสีขาว,​ ถ้าไม่มีแม่สีแสงเลย จะเห็นเป็นสีดำมืด

.

ภาพที่ 4: แม่สีแสง คือ 'RBG' = red, blue, green = แดง ฟ้า เขียว

.

ถ้านำแสง 2 สีมารวมกัน จะได้สีใหม่ดังนี้

  • แดง + เขียว = R + G = magenta = สีม่วงแดง
  • แดง + ฟ้า = R + B = cyan = สีฟ้าเขียว
  • ฟ้า + เขียว = B + G = yellow = สีเหลือง

.

ถ้าลองไล่สีรุ้งกินน้ำทั้ง 7 จากแสงแดดสีขาว จะพบว่า สีรุ้งกินน้ำไล่ไปได้แบบ "ทวนเข็มนาฬิกา" จาก "ม่วง_คราม_น้ำเงิน_เขียว_เหลือง_แสด_แดง" 

สีที่อยู่ชายขอบรุ้งกินน้ำด้านหนึ่งคือ "ม่วง_คราม_น้ำเงิน" ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเห็นรวมๆ เป็น "สีฟ้า"

อีกด้านหนึ่งคือ "สีแดง"

.

เดลีเมล์ (เมล์ออนไลน์) ตีพิมพ์เรื่อง "แสงไฟสีอะไร____ ช่วยลดความอ้วน", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การได้รับ "แสงเทียม (artificial light)" หรือแสงไฟมาก โดยเฉพาะตอนกลางคืน อาจเพิ่มเสี่ยงโรคร้ายหลายอย่าง

.

เช่น น้ำหนักเกิน โรคอ้วน ซึมเศร้า ฯลฯ

คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ยุโรป (European Commission) รายงานว่า แสงไฟกลางคืน อาจเพิ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านม รบกวนการนอน รบกวนระบบทางเดินอาหาร อารมณ์ หรือเพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ-ระบบไหลเวียนเลือดได้

.

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารนิวโรซายส์ (Neuroscience) ทำการศึกษาในหนูทดลองพบว่า

  • แสง "สีฟ้า" ตอนกลางคืน เพิ่มเสี่ยงอาการซึมเศร้ามากที่สุด
  • แสง "สีแดง" ตอนกลางคืน เพิ่มเสี่ยงอาการซึมเศร้าน้อยที่สุด

.

การศึกษาอีกรายงานหนึ่ง ทำในกลุ่มตัวอย่างผู้ชายมากกว่า 2,000 คนที่ทำงานเวรดึก หรือกะดึก (nightshift workers) พบว่า การไ้ด้รับแสงจ้าตอนกลางคืน อาจเพิ่มเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก

.

การศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงที่ทำงานเวรดึก หรือกะดึก พบว่า การได้รับแสงจ้าตอนกลางคืน อาจเพิ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านม 60%

ศ.ริเชิร์ด สตีเฟนส์ จากมหาวิทยาลัยคอนเนคทิคัท สหรัฐฯ กล่าวว่า

.

คนเรามีนาฬิกาชีวิต หรือนาฬิกาชีววิทยาแบบ 24 ชั่วโมง (circadian rhythm)

ทำให้คนเรามีช่วงตื่น-หลับ, มีฮอร์โมนที่สอดคล้องกับกลางวัน-กลางคืนมานานแล้ว

.

การได้รับแสงจ้ากลางคืน อาจไปรบกวนการเผาผลาญแป้ง น้ำตาล ไขมัน

เพิ่มเสี่ยงน้ำหนักเกิน อ้วน เบาหวาน

.

หรือไปทำให้ความดันเลือดตีรวน รบกวนภูมิต้านทานโรค ไปจนถึงเพิ่มเสี่ยงมะเร็ง

แถมยังอาจรบกวนการทำงานของระบบหัวใจ-หลอดเลือด เพิ่มเสี่ยงซึมเศร้า

.

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ระวังแสงไฟจากจอคอมพิวเตอร์ และหลอดไฟนีออน (ฟลูออเรสเซนต์)

เนื่องจากมีสัดส่วนแสงสีฟ้า (blue / B) ค่อนข้างมาก

.

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ปรับการใช้ไฟเพื่อสุขภาพดังนี้

(1). ไม่เปิดไฟจ้ากลางคืน

(2). ถ้าใช้คอมพิวเตอร์ตอนกลางคืน ให้ปรับแสงดังนี้

  • ลดแสงสีฟ้า (blue / B)
  • เพิ่มแสงสีแดง (red / R)

(3). เลือกไฟหลอดตะเกียบสีเหลือง หรือสีแดง (กลางคืน)

  • เลือกหลอดที่มีกำลังไฟต่ำหน่อย เพื่อหลีกเลี่ยงแสงจ้ากลางคืน

(4). "ลด-ละ-เลิก" หรือหรี่ไฟก่อนนอน อย่างน้อย 30 นาที = 1/2 ชั่วโมง

(5). รับแสงแดดอ่อนตอนเช้าทุึกวันเป็นประจำ (หน่วยความสว่าง = lux / ลักส์)

ร่างกายคนเราต้องการแสงจ้าระดับ 1,000-2,000 ลักส์ตอนเช้า เพื่อปรับนาฬิกาชีวิตให้ "ตรงเวลา (reset)" และไม่ตีรวน

.

แสงไฟในห้องทำงาน หรือบ้านที่ค่อนข้างสว่้าง = 200-300 ลักส์

= ไม่พอที่จะใช้ปรับนาฬิกาชีวิตให้ "ตรงเวลา (reset)"

.

แสงไฟกลางแจ้ง แม้แต่ในวันที่ฟ้าหลัว (เมฆกระจาย บังแสง) จะอยู่ในช่วงประมาณ = 10,000 ลักส์

= ดีพอที่จะใช้ปรับนาฬิกาชีวิตให้ตรงเวลาได้

.

อ.เดบรา สคีน กล่าวว่า คนสูงอายุ (สูงวัย) เพิ่มเสี่ยงนาฬิกาชีวิตตีรวนมากกว่าคนวัยอื่นๆ

เคล็ดไม่ลับ คือ ให้ออกไปรับแสงแดดอ่อน นอกบ้าน 3-5 ครั้ง/วัน จะได้ผลดีที่สุด

.

ถ้าเราทำให้นาฬิกาชีวิต "ตรงเวลา" ได้

กลางวันจะเป็นกลางวัน ลดง่วงเหงา เศร้าซึม เซง เครียด

.

กลางคืนจะเป็นกลางคืน นอนหลับดี ลดเสี่ยงหลับๆ ตื่นๆ

ที่สำคัีญ คือ ทำให้ไม่หิวผิดเวล่ำเวลา หรือหิวมากแบบเบรคไม่อยู่

.

ช่วยเสริมโปรแกรมลดความอ้วนได้ดีในระยะยาว

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีุสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

Thank Mail Online / Dailymail > //www.dailymail.co.uk/health/article-2470513/Lights-effect-sleep-suggested-new-research.html 




Create Date : 07 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2556 12:06:11 น. 0 comments
Counter : 869 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com