บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
ตุลาคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
13 ตุลาคม 2556
 

กินอยู่อย่างไร_____ไกลไตเสื่อม+ไตวาย

สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง "อากาศเสียเพิ่มเสี่ยงความดันเลือดสูง (ความดันเลือดสูงเพิ่มเสี่ยงไตเสื่อม-ไตวาย)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ภาพที่ 1: ระบบทางเดินปัสสาวะ (ภาพจากสำนักวิจัยและคุณภาพบริการสุขภาพ สหรัฐฯ)

จากบนลงล่าง คือ ไต 2 ข้าง (คน 1/1000 = 1,000คน จะพบคนมีไตข้างเดียว 1 คน, ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย), ท่อไต, และกระเพาะปัสสาวะ

.

ภาพที่ 2: หัวใจดี-ไตดี (ภาพจากสมาคมโรคไตออสเตรเลีย)

การตรวจเช็คและรักษาโรคความดันเลือดสูง, ระดับน้ำตาลในเลือดสูง (ภาวะก่อนเบาหวาน-เบาหวาน), ไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล), ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มหนัก ช่วยให้หัวใจดีไปนานด้วย ไตดีไปนานด้วย

.

การศึกษาใหม่พบว่า อากาศเสียเพิ่มเสี่ยงความดันเลือดสูงในผู้หญิงตั้งครรภ์ (ตั้งท้อง) ได้

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า อากาศเสียเพิ่มเสี่ยงความดันเลือดสูงได้

ทว่า...​ ผลในคนท้องยังไม่ชัดเจน

ภาวะความดันเลือดสูงในผู้หญิงตั้งครรภ์พบได้ประมาณ 1/10

.

= ผู้หญิงตั้งครรภ์ 10 คน เฉลี่ยแล้วจะพบความดันเลือดสูง 1 คน

ภาวะนี้มีอันตราย ทั้งต่อว่าที่คุณแม่ และคุณลูก

อันตรายต่อว่าที่คุณแม่ เช่น

  • ไตเสื่อม-ไตวาย
  • หลอดเลือดสมองแตก-อัมพฤกษ์-อัมพาต ฯลฯ

.

อันตรายต่อว่าที่คุณลูก เช่น

  • เพิ่มเสี่ยงต้องทำคลอดเร็วโดยการผ่าท้องคลอด
  • คลอดก่อนกำหนด
  • เด็กในท้องโตช้า
  • เพิ่มเสี่ยงลูกเสียชีวิต ฯลฯ

.

การศึกษาใหม่จากฟลอริดา สหรัฐฯ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงตั้งครรภ์ 22,000 คน

ในจำนวนนี้มีภาวะความดันเลือดสูงเกือบ 5%

ทำการเปรียบเทียบกับผลการตรวจสอบมลภาวะในอากาศแบบต่อเนื่อง

ผลการศึกษาพบว่า มลภาวะในอากาศ​ที่เพิ่มเสี่ยงความดันเลือดสูงในคนท้องได้แก่

  • ฝุ่นละอองฝอย หรือกลุ่มหมอกควัน (particle pollution / PM)
  • กลุ่มแก๊สไอเสีย เช่น ไนโตรเจน ไดออกไซด์ ฯลฯ

.

ความดันเลือดสูงเพิ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังที่ 4 อวัยวะใหญ่ได้แก่ "หัว-หัวใจ-ไต-ตา"

  • หัว > หลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต
  • หัวใจ > หัวใจเสื่อม หัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • ไต > ไตเสื่อม ไตวาย
  • ตา > ตาเสื่อม

.

ส่วนที่เป็นปัญหาสุขภาพใหญ่ และมีค่าใช้จ่ายแพงมากในระยะยาว คือ ไตเสื่อม-ไตวาย

มีคำกล่าวว่า ประเทศไหนมีคนไข้ไตเสื่อม-ไตวายมากๆ, ประเทศนั้นจะเสี่ยงล้มละลาย (ค่าใช้จ่ายในการรักษาไตวายประมาณ 1-2 แสนบาท/คน/ปี ขึ้นไป)

.

วิธีป้องกันไตเสื่อม-ไตวายในระยะยาวได้แก่ การลดปัจจัยเสี่ยงไตเสื่อม-ไตวายดังต่อไปนี้ [ NIH ]

(1). ตรวจเช็คความดันเลือดเป็นประจำ > ถ้าสูง, รักษาให้ต่อเนื่องตลอดชีวิต

ช่วง "นาทีทอง" คือ

  • ถ้าตรวจพบความดันเลือดสูง และรักษาต่อเนื่อง > จะลดเสี่ยงอัมพาตได้มากที่สุด
  • แม้เป็นโรคไตเสื่อมแล้ว ถ้ารักษาความดันเลือดได้ต่อเนื่อง > โอกาสไตเสื่อมเพิ่ม หรือไตวายจะลดลง (ตามส่วน)

(2). ตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดอย่างน้อยทุกปี > ถ้าสูง, รักษาให้ต่อเนื่องตลอดชีวิต

ช่วง "นาทีทอง" คือ

  • ถ้าตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่ยังไม่ถึงระดับเป็นเบาหวานเต็มที่ = ว่าที่เบาหวาน หรือภาวะก่อนเบาหวาน (pre-diabetes) แล้วรีบแก้ไข ปรับเปลี่ยนอาหาร-ออกกำลัง-คุมน้ำตาล มีโอกาสหาย
  • ถ้าเป็นเบาหวานแล้ว ถือว่า ไม่หาย ต้องควบคุมโรคตลอดชีวิต

(3). บุหรี่ > เร่งไตเสื่อม

(4). ใช้ยาแก้ปวดกลุ่มเอนเซดส์ (NSAIDs) หรือยากดการอักเสบ-แก้ปวดข้อ

(5). ทางเดินปัสสาวะอุดตัน

เช่น นิ่วไต นิ่วท่อไต ต่อมลูกหมากโต ฯลฯ

(6). ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ-ระบบไหลเวียนเลือด

เช่น ไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล) สูง ฯลฯ

(7). น้ำหนักเกิน-อ้วน

(8). มีประวัติโรคไตเสื่อม-ไตวายในญาติสายตรง (พ่อแม่ พี่น้อง)

(9). ภาวะขาดน้ำ เพิ่มเสี่ยงไตเสื่อม และนิ่วไต

วิธีป้องกันที่ดี คือ ให้ดื่มน้ำหลังตื่นนอน 1-2 แก้ว และดื่มให้พอตลอดวัน

.

อย่าลืมว่า ถ้าควบคุมความดันเลือดได้ดี (ไม่สูง) ในระยะยาวแล้ว จะลดเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง-อัมพฤกษ์-อัมพาต, ไตเสื่อม-ไตวายได้

ข่าวดี คือ ...

  • ยาสมัยใหม่ควบคุมความดันเลือดสูงได้ค่อนข้างดี (ถ้ารักษาต่อเนื่อง)
  • คนไข้ส่วนใหญ่จะต้องใช้ยา 2 ชนิดขึ้นไปในระยะยาว (ยาขนาดต่ำหลายตัวดีกว่า และมีอาการข้างเคียงน้อยกว่าขนาดสูงตัวเดียว)

.

สถิติจากสหรัฐฯ ในเรื่องโรคไตเรื้อรัง (CKD) คือ โรคนี้มีความลำเอียง หรือ "อคติ" สูง [ NIH ]

  • โรคนี้ชอบคนแก่ > พบเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะหลัง 35 ปี
  • ผู้หญิงเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย > เพราะโรคนี้ + ผู้หญิงอายุยืนกว่าผู้ชาย 4-7 ปี
  • ถ้าผู้ชายกับผู้หญิงเป็นโรคเท่าๆ กัน > ไตผู้ชายเสื่อมเร็วกว่า กลายเป็นไตวายวายเร็วกว่า + ตายเร็วกว่า

.

ตรงนี้สอดคล้องกับแนวคิดที่ว่า "ผู้หญิงป่วยง่าย ตายยาก (กว่าผู้ชาย)"

ต่อไปขอให้ดูสถิติคนอเมริกันอายุ 20 ปีขึ้นไปว่า เสี่ยงโรคไตเรื้อรังเท่าไร (ส่วนใหญ่ไม่มีอาการไปจนถึงระยะท้ายๆ)

  • คนทั่วไป > เกิน 10%
  • ความดันเลือดสูง >  เกิน 20%
  • เบาหวาน > เกิน 35%

.

ถ้าเป็นโรคไตเรื้อรัง (CKD) แล้ว, โอกาสเสียชีวิตจากโรคต่างๆ เช่น หัวใจวาย หัวใจหยุดเต้น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ฯลฯ จะเพิ่มขึ้น 16-40 เท่า

= ส่วนใหญ่จะกลับบ้าน (เก่า) ก่อนเป็นโรคไตวายเต็มตัว

เพียงใส่ใจสุขภาพอีกนิด, แล้วท่านจะไกลโรคไตเสื่อม-ไตวาย

ถึงตรงนี้...​ ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

Thank Reuters & source by Reuters > Journal of Epidemiology and Community Health, online September 10, 2013.




Create Date : 13 ตุลาคม 2556
Last Update : 13 ตุลาคม 2556 11:11:02 น. 0 comments
Counter : 840 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com