บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
ตุลาคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
13 ตุลาคม 2556
 

เลือกบ้านอย่างไร____ไกลโรคหัวใจ+มะเร็ง

สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง "อยู่ใกล้ที่ดัง (เสียงรบกวน) เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ+อัมพฤกษ์ อัมพาต", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
การศึกษาใหม่จากลอนดอน อังกฤษ (UK) ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่อยู่ใกล้สนามบินลอนดอน ฮีตโตรว 3.6 ล้านคน ติดตามไป 4 ปี
.
อีกการศึกษาหนึ่งวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคนอเมริกันอายุ 65 ปีขึ้นไป  6 ล้านคนที่อยู่ใกล้สนามบิน 89 แห่งในสหรัฐฯ (ตีพิมพ์ใน BMJ ทั้งคู่)
.
ผลการศึกษาพบว่า เสียงรบกวนดังๆ จากเครื่องบิน เพิ่มเสี่ยงสโตรค (strokes = กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต), โรคหัวใจ (หลอดเลือดหัวใจตีบตัน อุดตัน), และโรคระบบหัวใจ-หลอดเลือดอื่นๆ จริง
.
.
ภาพที่ 1: ระดับเสียง (หน่วยเดซิเบล / decibel / dB)
  • เสียงกระซิบเบาๆ 25
  • บ้านคน 40
  • สำนักงาน 50
  • เสียงพูดคุย 60-70
  • โรงงาน 80
  • เสียงเพลง 85
  • รถไฟใต้ดิน 105
  • ระดับเสียงที่ทำให้ปวดแก้วหู 125
  • ปืนสั้น 140

วิธีจำง่ายๆ คือ

  • เสียงกลางๆ = เสียงพูดคุย = 70 dB
  • เสียงดัง = ปืนสั้น = 140 dB

การศึกษาจากสหรัฐฯ พบว่า บ้านที่อยู่ใกล้สนามบินจะมีเสียงรบกวนเพิ่มขึ้น 55 เดซิเบล = เพิ่มจาก 40 เป็น 40+55 = 95 = ดังระหว่างเสียงเพลงจากเครื่องเสียง (แบบที่มีเสียงเบสดังตุ้มๆ ตั้มๆ) กับรถไฟใต้ดิน

.
กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ใกล้สนามบินในสหรัฐฯ มีความเสี่ยงที่จะป่วยหนักจากโรคหัวใจ-ระบบไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้น 3.5% ทุกๆ ระดับเสียงที่ดังขึ้น 10 เดซิเบล
.
การศึกษานี้พบว่า
  • บ้านที่อยู่ใกล้สนามบินมากๆ จะมีเสียงรบกวนที่ดังเพิ่มขึ้นระดับ​ 55 เดซิเบล
  • ความเสี่ยงที่จะป่วยหนักจากโรคหัวใจ-ระบบไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้น 192.5%
.
กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ใกล้สนามบินฮีตโตรว อังกฤษมากที่สุด (2% ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด) เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ-อัมพฤกษ์ อัมพาต 10-20%
.
กลไกที่เป็นไปได้ คือ เสียงรบกวนเพิ่มระดับความเครียด รบกวนการนอน เพิ่มความดันเลือดตอนหลับ หรือหลายๆ ปัจจัยรวมกัน
.
ความเสี่ยงแปรตามปัจจัย 2 ข้อได้แก่
.
(1). ความดัง
.
เสียงดังเพิ่มเสี่ยงมากกว่าเสียงค่อย (เดซิเบล = หน่วยวัดระดับความดัง)
.
(2). ช่วงเวลา
.
เสียงรบกวนกลางคืนเพิ่มเสี่ยงมากกว่ากลางวัน
.
การศึกษาจากสหรัฐฯ พบว่า ระดับเสียงที่ดังขึ้น 10 เดซิเบล (decibel / dB) เพิ่มเสี่ยงต่อโรคหัวใจ-ระบบไหลเวียนเลือดที่ป่วยหนักจนต้องเข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาล = 3.5%
.
ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามระดับเสียงรบกวน คือ ยิ่งดัง ยิ่งเสี่ยงมากเช่นกัน
.
.
ภาพที่ 2: เสียงตามหน่วยเดซิเบล
  • กระซิบ 20
  • บ้านเงียบๆ 30
  • เพลงเบาๆ 40
  • เสียงพูดคุย 50-70
  • ร้านอาหาร 80
  • เครื่องเจาะถนน 90
  • เสียงฝูงชนดังๆ เสียงประกาศตามสาย คนประท้วง เสียงบิดมอเตอร์ไซค์ 100
  • วงดนตรีร็อค 120
  • เครื่องบินเจ็ต (ระยะ 23 เมตร) 140

วิธีจำง่ายๆ คือ

  • เสียงกลางๆ = เสียงพูดคุย = 70 dB
  • เสียงดัง = ปืนสั้น เครื่องบินเจ็ตใกล้ๆ = 140 dB
อังกฤษ (UK) เป็นประเทศที่มีขนาดประชากรใกล้เคียงกับไทย
.
ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า การเดินทางด้วยเครื่องบินจะยังคงอยู่ใน "ขาขึ้น" ทำให้ยอดผู้โดยสารเครื่องบินที่ใช้สนามบินในอังกฤษ เพิ่มเป็น 2 เท่า = 300 ล้านคนในปี 2030/2573
.
ตรงนี้บอกเป็นนัยว่า การสร้างสนามบินแห่งต่อไป, ควร "เว้นวรรค" หรือกันพื้นที่รอบสนามบินไว้มากขึ้น เช่น อาจปลูกป่า ผสมผสานกับทำการผลิตไฟฟ้าผ่านโซลาร์เซลล์ หรือไฟฟ้าพลังแสงแดด ฯลฯ, ไม่ให้มีบ้านเรือนอยู่ติดสนามบิน
.
และอาจมีกฎหมายให้บ้านต้องออกแบบให้ลดเสียงรบกวนได้ในระดับหนึ่ง
.
อาจารย์ชาวสหรัฐฯ ท่านหนึ่งที่มีประสบการณ์เข้ามาบวชในไทยเล่าว่า ความลำบากของฝรั่ง หรือชาวตะวันตกที่เข้ามาในไทย คือ "หนวกหู"
.
กลไกที่เป็นไปได้ คือ อาคารในไทยไม่มีการออกแบบ เพื่อลดเสียงรบกวนจากห้อง "ข้างบน" และห้อง "ข้างๆ"
.
เช่น ไม่มีกฎหมายให้ติดตั้งวัสดุดูดซับเสียง หรือป้องกันเสียงจากการเดินของคนชั้นบน (กรณีคอนโดมิเนียม แฟลต หอพัก ฯลฯ)
.
และคนไทยมีแนวโน้มจะเปิดเพลง หรือสังสันทน์กันเสียงดังตอนกลางคืน
.
ถ้าปรับปรุงเรื่องนี้ได้, ประเทศไทยจะน่าอยู่ขึ้น มีนักท่องเที่ยว-นักธุรกิจเดินทางเข้ามาไทยมากขึ้น
.
ทำให้ไทยแข่งขันกับนานาชาติได้ในระยะยาว
.
คำแนะนำสำหรับตอนนี้ คือ ถ้าจะไปซื้อหรือเช่าคอนโดฯ แฟลต หอพัก, ให้หาเพื่อนสักคนไปเดินที่ชั้นเหนือหัว... ดูว่า พื้นเก็บเสียงได้ดีพอหรือไม่, เพื่อนบ้านและบ้านใกล้เคียงส่งเสียงรบกวนหรือไม่ (เช่น อาจขับรถไปสังเกตกลางคืน ฯลฯ)
.
ต่อไปเทคโนโลยีในการลดเสียงรบกวนจะมาแรงขึ้น เช่น มีหูฟังที่ลดเสียงรบกวนแล้ว... ต่อไปก็อาจมีระบบลำโพงที่ช่วยลดเสียงรบกวนได้คล้ายๆ กัน
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

Thank Reuters > //www.reuters.com/article/2013/10/09/us-heart-aircraft-idUSBRE99714R20131009




Create Date : 13 ตุลาคม 2556
Last Update : 13 ตุลาคม 2556 9:05:49 น. 0 comments
Counter : 815 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com