บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

 
กรกฏาคม 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
7 กรกฏาคม 2556
 

เดินหลังอาหาร__ลดน้ำตาลในเลือด ลดอ้วน

ภาพที่ 1: ภาพจากมูลนิธิมะเร็งเต้านมกล่าวไว้ดี คือ 'การป้องกัน(โรค)เป็นพลัง'

ประเทศใดที่มีการส่งเสริมสุขภาพ-ป้องกันโรค, ประเทศนั้นจะมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลต่ำลง มีเงินลงทุนด้านอื่นๆ โดยเฉพาะการศึกษามากขึ้น เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับนานาชาติ

.

สำนักข่าวนิวยอร์ค ไทมส์ ตีพิมพ์เรื่อง "เดินย่อยอาหารช่วยย่อยได้จริงไหม", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ภาพที่ 1: แสดงระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร (แนวดิ่ง: มก./ดล.) ตามระยะเวลาหลังกินอาหาร (แนวนอน: ชั่วโมง)

คนที่เป็นเบาหวาน (เส้นสีแดง) มีระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยสูงกว่าคนทั่วไป และสูงที่สุดในช่วงหลังอาหาร (เส้นสีน้ำเงิน)

.

ถ้าลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารให้ต่ำลงได้ จะทำให้ร่างกาย "เสื่อม - เฒ่า - แก่ - ชรา" ช้าลง ตรงกับแนวคิดของอาหารสุขภาพ เช่น แมโครไบโอติคส์ ชีวจิต ฯลฯ

.

และแม้เป็นเบาหวานแล้ว ก็ยังช่วยลดโอกาสเกิดโรคแทรก เช่น ไตเสื่อม-ไตวาย, ตาเสื่อม-ตาบอด ฯลฯ ให้น้อยลง หรือช้าลง

ภาพที่ 2: ระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นหลังอาหารแต่ละมื้อ เปรียบคล้ายคลื่นยักษ์ซึนามิที่ทำร้ายหลอดเลือดเป็นระลอกๆ ทุกวัน

ถ้าเราลดระดับน้ำตาลหลังอาหารได้ น่าจะทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายเสื่อมช้าลง ทั้งในคนไข้เบาหวาน และในคนทั่วไป

.

ภาพที่ 3: เปรียบเทียบระดับน้ำตาลหลังอาหารจากอาหารชนิดที่มีดัชนีน้ำตาล (glycemic index / GI) ต่างกันจากมากไปน้อย

(1). น้ำตาลกลูโคส = 100

(2). มันฝรั่งบดแบบสุกเร็ว = 90

(3). ขนมปังขาว = 70 (ใกล้เคียงกับข้าวขาว, ข้าวเหนียวเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารสูงกว่าข้าวเจ้า)

(4). ขนมปังโฮลวีทขนิดทำจากข้าวราย (rye) ไม่ขัดสี = 41 (ค่านี้น่าจะใกล้เคียงกับขนมปังโฮลวีทชนิดเติมรำ ข้าวกล้อง)

ข้าวกล้องสีแดงที่ขัดสีน้อย หรือที่เรียกว่า "ข้าวแดง" ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารเพิ่มขึ้นช้ากว่า และน้อยกว่าข้าวกล้องที่ขัดสีปานกลาง หรือ "ข้าวกล้องสีน้ำตาล"

ข้าวกล้องสีน้ำตาล ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารเพิ่มขึ้นช้ากว่าข้าวขาว

.

การศึกษาใหม่หลายรายงานพบว่า การเดินช่วงสั้นๆ (brief walk) หลังอาหาร (post-meal walk) 15 นาที ช่วยให้การย่อยอาหาร (digestion) ดีขึ้น

การเดินหลังอาหาร ทำให้อาหารที่คลุกเคล้ากับน้ำย่อย หรือเอนไซม์แล้ว, ผ่านจากกระเพาะอาหาร ไปยังลำไส้เล็กบางส่วน ทำให้ปริมาณอาหารในกระเพาะอาหารลดลงบางส่วน

โอกาสเกิดกรดไหลย้อน (จากกระเพาะฯ ที่มีอาหารแน่น ขึ้นไปยังหลอดอาหาร) จะลดลง ช่วยลดอาการท้องอืด แน่นเฟ้อ เรอเปรี้ยวหลังอาหารได้ในระดับหนึ่ง

การศึกษาจากเยอรมนี พบว่า การเดินหลังอาหารช้าๆ ช่วยให้อาหารบางส่วนผ่านจากกระเพาะอาหารไปยังลำไส้เล็กได้ดีขึ้น

การศึกษาทำในกลุ่มตัวอย่างคนไข้เบาหวาน สุ่มแบ่งเป็น 3 กลุ่มได้แก่

  • ให้อยู่แบบเดิมๆ > ไม่เดินก่อนอาหาร ไม่เดินหลังอาหาร
  • ให้เดินก่อนอาหารเย็น
  • ให้เดินหลังอาหาร 15 นาที

ผลการศึกษาพบว่า การเดิน "หลังอาหาร" 15 นาที ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารลดต่ำลงได้มากกว่าการเดิน "ก่อนอาหาร" หรือไม่เดินเลย

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหลังอาหารเป็น 1 ในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผนังหลอดเลือดทั่วร่างกายเสื่อมเร็วขึ้น

การศึกษาอีกรายงานหนึ่ง (ตีพิมพ์ใน Diabetes Care) ทำในกลุ่มตัวอย่างคนสูงอายุที่มีน้ำหนักเกิน และไม่ออกแรง-ออกกำลัง นั่งๆ นอนๆ (sedentary)

ผลการศึกษาพบว่า การเดินหลังอาหาร (ไม่เกิน 5 นาทีหลังอาหาร) นาน 15 นาที/มื้อ, 3 มื้อ ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าการเดินรวดเดียวตอนเช้า 45 นาที

การศึกษานี้บอกเป็นนัยว่า การเดินเป็นช่วงๆ = 15+15+15 นาที (หลังอาหาร 3 มื้อ) ได้ผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือดดีกว่าการเดิน

คนเรามีอวัยวะสำคัญที่ช่วยดูดซับน้ำตาลจากกระแสเลือดได้แก่ กล้ามเนื้อ ตับ และไขมัน

ปกติการนำน้ำตาลเข้าเซลล์กล้ามเนื้อจะต้องอาศัยฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งทำหน้าที่นำน้ำตาลเข้าเซลล์ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง

คนไข้ที่เป็นเบาหวาน หรือภาวะก่อนเบาหวาน (ใกล้เป็น/ว่าที่เบาหวาน) ทำให้กล้ามเนื้อดื้อต่ออินซูลิน นำน้ำตาลเข้าเซลล์ได้น้อยลง

ภาวะก่อนเบาหวาน (pre-diabetes) = ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารสูงกว่าคนทั่วไป แต่ไม่ถึงระดับเกณฑ์วินิจฉัยโรคเบาหวาน

การออกกำลังทำให้กล้ามเนื้อนำน้ำตาล และโปรตีนเข้าเซลล์ได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อร่างกาย 3 ข้อได้แก่
(1). ทำหน้าที่เป็นฟองน้ำ ดูดซับน้ำตาล ช่วยป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูงหลังอาหาร
(2). นำน้ำตาลไปเก็บเป็นแป้ง (ไกลโคเจน) ทำให้กล้ามเนื้อมีกำลังงานสำรอง ทำงานหรือออกกำลังแล้วไม่เหนื่อย ไม่อ่อนล้าเร็ว = แรง (กำลัง) ดีขึ้น
(3). นำน้ำตาล และโปรตีนไปสร้าง "โปรตีนใหม่" ซึ่งถ้าออกกำลังหนักพอ เช่น ขึ้นลงบันไดตามโอกาส สะสมเวลาให้ได้ 4 นาที/วัน
คือ การเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ป้องกันมวลกล้ามเนื้อลดลงไปตามอายุที่มากขึ้น โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ฯลฯ
หลักการนี้ทำให้เกิดแนวคิดในการกินอาหารที่มีโปรตีน (เนื้อ นม ไข่ ถั่ว โปรตีนเกษตร เมล็ดพืช) + คาร์บ หรือคาร์โบไฮเดรต (แป้ง น้ำตาล) หลังออกกำลังไม่เกิน 30 นาที
หรืออีกวิธีหนึ่ง คือ การออกกำลังเบาๆ หลังอาหาร เช่น เดิน 15 นาที ฯลฯ
คนไข้เบาหวานทั่วโลกมีปัญหาคล้ายๆ กัน คือ ทำอย่างไร... น้ำตาลในเลือดมักจะไม่ค่อยลง
น้ำตาลหลังอาหารสูง จะทำร้ายเส้นเลือดทั่วร่างกาย ทำให้เกิดโรคแทรกด้วย ทำให้ตับต้องทำงานหนักในการเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ด้วย
ไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่สูงหลังอาหาร เพิ่มเสี่ยงโรคไขมันเกาะตับ และไขมันอ้วนลงพุง (สะสมในช่องท้อง + หลังช่องท้อง) ทำให้เกิดการอักเสบ (ธาตุไฟกำเริบ) และภาวะดื้อต่ออินซูลิน (น้ำตาลในเลือดเข้าเซลล์ทั่วร่างกายได้น้อยลง)
ถ้าเกิดในคนทั่วไป, (โรคไขมันเกาะตับ) จะเพิ่มเสี่ยงเบาหวานได้ถึง 50%
ไขมันไตรกลีเซอไรด์ ทำให้โคเลสเตอรอล หรือไขมันในเลือดชนิดเลว (LDL) มีขนาดเล็กลง
โคเลสเตอรอลในเลือดชนิดเลว (LDL) ที่มีขนาดเล็กลง จะรั่วออกจากกระแสเลือด ไปสะสมที่ผนังหลอดเลือดได้มากขึ้น ทำให้หลอดเลือดอักเสบ และตีบตันเร็วขึ้น
การเดินหลังอาหารช้าๆ 15 นาทีทุกมื้อ ทั้งมื้อใหญ่ และมื้อเล็ก (ของว่าง) มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
ผล คือ จะเพิ่มโอกาสมีอายุยืนขึ้น เจ็บไข้ได้ป่วยน้อยลง
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ



Create Date : 07 กรกฎาคม 2556
Last Update : 7 กรกฎาคม 2556 13:35:35 น. 0 comments
Counter : 3268 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com