บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
ธันวาคม 2556
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
2 ธันวาคม 2556
 

โคเลสเตอรอล(ไขมันในเลือด)สูง__เพิ่มเสี่ยงมะเร็งอะไร

สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง "โคเลสเตอรอล (ไขมันในเลือด)__ เพิ่มเสี่ยงมะเร็งอะไร", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ภาพที่ 1: โคเลสเตอรอล (ไขมันในเลือด) มีพระเอกกับผู้ร้าย 2 ฝ่าย คือ

(1). HDL = โคเลสเตอรอลฝ่ายดี = เก็บขยะ ขนคราบไขมันจากผนังหลอดเลือด กลับไปตับ ขับออกทางน้ำดี อุจจาระ

น้ำดีส่วนหนึ่งจะถูกดูดซึมกลับไปในกระแสเลือด พร้อมกับโคเลสเตอรอล

การขับออกจะเกิดจริง เมื่อกินเส้นใยหรือไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำไปช่วยจับน้ำดี เช่น ถั่ว ข้าวโอ๊ต ผลไม้ (เช่น แอปเปิ้ล ฯลฯ) ฯลฯ

(2). LDL = โคเลสเตอรอลฝ่ายร้าย = ทิ้งขยะ นำคราบไขมันจากทางเดินอาหาร-ตับ ไปทิ้งที่ผนังหลอดเลือด

.

ภาพที่ 2: โคเลสเตอรอล 3/4 = 75-80% สร้างที่ตับ, 1/4 = 20-25% มาจากอาหาร

(1). LDL = โคเลสเตอรอลชนิดร้าย = พวกชอบทิ้งขยะ (ไว้ที่ผนังหลอดเลือด เพิ่มเสี่ยงหลอดเลือดตีบตัน)

(2). HDL = โคเลสเตอรอลชนิดดี = พวกเก็บขยะ (จากผนังหลอดเลือด ไปตับ ขับออกทางน้ำดี และอุจจาระ)

.

ปัจจัยที่ทำให้ตับสร้างโคเลสเตอรอลชนิดร้ายหรือ LDL เพิ่มขึ้น (ควรหลีกเลี่ยง + ลด) ได้แก่

(1). ไขมันทรานส์ หรือไขมันแปรรูป

พบมากในคุกกี้ เบเกอรี่ ขนมกรุบกรอบ ขนมใส่ถุง เนยเทียม ครีมเทียมหรือคอฟฟี่เมต

(2). ไขมันเสื่อมสภาพ เช่น น้ำมันที่เกิดจากการทอดความร้อนสูง - ทอดนาน - ทอดซ้ำซาก ฯลฯ

น้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวไม่สูง ทนความร้อนสูง ใช้ทอดได้ คือ น้ำมันรำข้าว เมล็ดชา คาโนลา

น้ำมันปาล์มใช้ทอดได้ แต่มีไขมันอิ่มตัวสูง เมื่อนำมาผสมกับน้ำมันคาโนลา จะได้น้ำมันผสมที่มีไขมันอิ่มตัวไม่สูง + ราคาไม่แพง + ทนความร้อน เป็นสูตรที่ดีมากกับหัวใจ คือ น้ำมันเอ็มเมอรัล (Emerald = ชื่อการค้า)

(3). การใช้น้ำมันที่ไม่ทนความร้อนสูงไปใช้ทอด เช่น ใช้น้ำมันถั่วเหลืองทอดอาหาร ฯลฯ ทำให้น้ำมันเสื่อมสภาพ เกิดสารเสื่อมสภาพ เช่น สารโพลาร์ สารพีเอเอช (PAH) ฯลฯ

.

บางคนใช้ชีวิตดีทุกอย่าง แต่กรรมพันธุ์ไม่ดี ก็อาจมีระดับโคเลสเตอรอลชนิดร้ายหรือ LDL สูงได้เช่นกัน

น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (MUFA) สูง ช่วยเพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) + ลดโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) เช่น น้ำมันรำข้าว เมล็ดชา คาโนลา และน้ำมันผสมเอ็มเมอรัล ฯลฯ

น้ำมันมะกอกมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (MUFA) สูง แต่ไม่ทนความร้อน เหมาะกับการทำสลัด หรือผัดความร้อนต่ำ ไม่เหมาะกับการทอด

.

ภาพที่ 3: โคเลสเตอรอลส่วนใหญ่สร้างที่ตับ (แต้มสีแดงเลือดหมู) = 75-80%, ส่วนน้อยมาจากอาหาร = 20-25%

ไขมันไตรกลีเซอไรด์​(triglyceride / สีเหลือง) เป็นผู้ช่วยฝ่ายร้าย

(1). ทำให้โคเลสเตอรอลฝ่ายร้าย = LDL มีขนาดเล็กลง ไขมันรั่วซึมผ่านผนังหลอดเลือดชั้นใน สะสมเป็นคราบไขได้เร็วขึ้น-มากขึ้น

(2). ทำให้โคเลสเตอรอลฝ่ายดี = HDL อายุสั้นลง

.

ถ้าออกกำลัง และมีมวลกล้ามเนื้อมากพอ เช่น ขึ้นลงบันได เดินขึ้นลงเนิน เล่นเวท ยกน้ำหนัก ฯลฯ เป็นประจำ

กล้ามเนื้อจะดึงไขมันไตรกลีเซอไรด์ หรือผู้ช่วยฝ่ายร้ายไปใช้เป็นแหล่งกำลังงาน

ถ้าไม่ออกกำลัง หรือมีมวลกล้ามเนื้อน้อย

กล้ามเนื้อจะดึงไขมันไตรกลีเซอไรด์ไปใช้ได้น้อย

.

เหลือไปสะสมเป็นมวลไขมันมากขึ้นเรื่อยๆ

ที่ร้ายที่สุด คือ สะสม เพิ่มพูน อ้วนลงพุง

โลกเราก็เป็นอย่างนี้ คือ มีฝ่ายดี (HDL), ฝ่ายร้าย (LDL), และผู้ช่วยฝ่ายร้าย (ไตรกลีเซอไรด์)

โลกของโคเลสเตอรอลคล้ายกับชีวิตจริง คือ มีผู้ช่วยฝ่ายร้าย (ไตรกลีเซอไรด์)

.

"ไม่มี" ผู้ช่วยฝ่ายดี

ต้องลงมือช่วย เช่น ควบคุมอาหาร ออกกำลัง นอนให้พอ หาทางคลายเครียด ฯลฯ ช่วยน้องโคเลสเตอรอลฝ่ายดีหรือ HDL

.


เป็นที่ทราบกันดีว่า ภาวะน้ำหนักเกิน-โรคอ้วน เพิ่มมะเร็งหลายชนิด คือ

(1). มะเร็งเต้านม

(2). มะเร็งลำไส้ใหญ่

(3). มะเร็งเยื่อบุมดลูก

.

สมัยก่อนพบมะเร็งเต้านมในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 100 เท่า

= ถ้าพบมะเร็งในผู้หญิง 100 คน, จะพบในผู้ชาย 1 คน

ทุกวันนี้พบเกิน 100 เท่า ซึ่งอาจเป็นผลจากมะเร็งชนิดนี้พบในผู้หญิงเพิ่มขึ้น

กลไกที่อาจเป็นไปได้ คือ มวลไขมันที่เพิ่ม ทำให้มีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโทรเจน) มากขึ้น + ระดับฮอร์โมนในเลือดสูงขึ้น

.

ฝ่ายชาย โดยเฉพาะฝรั่ง สว. = สูงวัยเกิน 70 ปี มีโอกาสพบมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ชาวเอเชียพบมะเร็งนี้น้อยกว่าฝรั่ง หรือคนผิวดำ (อาฟริกัน-อเมริกัน หรือเชื้อสายอาฟริกา ไม่ใช่คนผิวคล้ำในเอเชีย)

คนเอเชียพบน้อยกว่านั้น

กลไกที่อาจเป็นไปได้ คือ คนตะวันออกกินอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ฯลฯ มากกว่า

.

การศึกษาใหม่ ตีพิมพ์ในวารสารซายส์ (Science)

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า มวลไขมัน (fat) ที่เพิ่มขึ้นในคนน้ำหนักเกิน ทำให้ฮอร์โมนเปลี่ยน คือ

(1). มีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มขึ้น

(2). ระดับฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มขึ้น

.

ฮอร์โมนเพศหญิง หรือเอสโทรเจนที่เพิ่มขึ้น ทำให้มะเร็งที่ตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศโตเร็วขึ้น

ที่พบบ่อย คือ มะเร็งเต้านม

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยดุค สหรัฐฯ พบว่า ร่างกายเปลี่ยนโคเลสเตอรอลไปเป็นสารที่มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง (27HC) ได้

การทดลองในหนู พบว่า หนูที่กินอาหารไขมันสูง ทำให้ระดับสารคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง (27HC) ในเลือดสูงขึ้นกว่าหนูที่กินอาหารไขมันปานกลาง = 30%

.

การทดลองโดยให้สารนี้ (27HC) กับเซลล์มะเร็งเต้านม (ในห้องแลบฯ หรือห้องทดลอง) พบว่า เซลล์มะเร็งโตเร็วขึ้น

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องรอผลการศึกษาเพิ่มเติม

ทว่า... บอกเป็นนัยว่า โคเลสเตอรอลสูง อาจเพิ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้

ดร.เอ็มมา สมิต จากแคนเซอร์ รีเซิร์ช อังกฤษ (Cancer Research UK - สำนักวิจัยมะเร็งอังกฤษ) แนะนำว่า

.

วิธีป้องกันมะเร็งเต้านมที่ดีมากตอนนี้ คือ

(1). ควบคุมน้ำหนักไว้

(2). ไม่ดื่มหนัก (แอลกอฮอล์)

(3). ถีบไว้ให้มาก (keep active = แอคทีฟไว้ = เคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ + ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ)

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ


Thank BBC > //www.bbc.co.uk/news/health-25142026





Create Date : 02 ธันวาคม 2556
Last Update : 2 ธันวาคม 2556 14:32:17 น. 0 comments
Counter : 1218 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com