บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
มีนาคม 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
27 มีนาคม 2557
 

วิธีป้องกันอาการคันในหู

.

ภาพ: แผนที่สีผิวหนังคนบนโลก ตีพิมพ์ในปี 1920/2463 [ wikipedia ]

  • สีแดง > ผิวขาว ฝรั่ง หรือคอร์เคเชียน (Caucasian)
  • สีเหลือง > ผิวเหลือง
  • สีน้ำตาล > ผิวคล้ำแบบแขกอินเดีย-ปากีสถาน-บังคลาเทศ
  • สีเทา > ผิวดำแบบอาฟริกา
  • สีส้ม > ผิวเหลืองคล้ำแบบอินเดียนแดง

การศึกษาใหม่พบว่า คนบนโลกแบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ๆ = พวกขี้หูเปียก กับพวกขี้หูแห้ง

.

ภาพ: การศึกษารหัสพันธุกรรม (DNA) พบว่า คนเกาหลีมีขี้หูแห้งมากที่สุด - กลิ่นอ่อนที่สุด, ตรงข้ามกับคนผิวดำจากอาฟริกาที่มีขี้หูเปียกที่สุด - กลิ่นแรงที่สุด [ gbhealthwatch ]

  • แถบสีเทาแสดงพันธุกรรมขี้หูแบบเอเชีย (แห้ง - กลิ่นไม่แรง) = คนกลุ่มใหญ่
  • แถบสีดำแสดงพันธุกรรมขี้หูแบบคนนอกเอเชีย (เปียก - กลิ่นแรง) = คนกลุ่มน้อย

.

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คนที่มีขี้หูเปียก = สีเข้ม + เหนียว

= มักจะมีกลิ่นตัวแรง อาจต้องใช้ยาลดกลิ่นที่รักแร้

.

ผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตอย่างหนึ่ง คือ ต่อมผลิตขี้หูมีความสัมพันธ์กับต่อมน้ำนม

คนเอเชียในจีน เกาหลี ญี่ปุ่น มองโกล อาเซียน (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) มักจะมีขี้หูแห้งด้วย มะเร็งเต้านมต่ำกว่าฝรั่ง หรือคนเชื้อสายอาฟริกันด้วย

.

ทั้งนี้และทั้งนั้น... ถ้าไม่ดื่ม (แอลกอฮอล์) หนัก, ควบคุมน้ำหนักไว้ ไม่ให้น้ำหนักเกิน ไม่อ้วน และไม่อ้วนลงพุง, จะช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมได้ดีขึ้น

.

ภาพ: กายวิภาคของหูชั้นนอก - ชั้นกลาง - ชั้นใน

  • หูชั้นนอก > สีเขียว = รูหู แก้วหู
  • หูชั้นกลาง > สีแดง = โพรงหูชั้นกลาง กระดูกรูป "ฆ้อน-ทั่ง-โกลน", ท่อระบายน้ำยูสเทเชียน ระบายน้ำ หรือสารคัดหลั่งในหูชั้นกลางไปออกที่โพรงด้านหลังจมูก
  • หูชั้นใน > สีม่วง = อวัยวะรับเสียง รูปก้นหอย + อวัยวะรับรู้ทิศทางการเคลื่อนไหว-ทรงตัว รูปครึ่งวงกลม 3 วง

.

คนที่เป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ภูมิแพ้ คัดจมูก อาจมีเยื่อบุในโพรงด้านหลังจมูกบวม > ทำให้ท่อระบายน้ำยูสเทเชียนอุดตัน เกิดน้ำคั่งในหูชั้นกลาง หูอื้อ

ถ้าน้ำหรือหนองที่คั่งนาน เช่น กรณีเป็นหูชั้นกลางอักเสบจากแบคทีเรีย ฯลฯ > อาจเกิดแก้วหูทะลุได้

.

สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง '5 ความรู้เรื่อง'ขี้หู', และสำนักข่าว Huffingtonpost ตีพิมพ์เรื่อง '6 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับขี้หู', ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง โดยขอยุบเป็น 4 ข้อครับ

.

(1). การเดินทางของขี้หู

.

เซลล์ในรูหู (หูชั้นนอก) เป็นกลุ่มเซลล์ผิวหนัง ลอกหลุดได้ และจะค่อยๆ ถูกผลักออกจากรูหู จากด้านในไปด้านนอกช้าๆ โดยกว่าจะเดินทางไปถึงที่หมาย และหลุดออกจากรูหู = 2-3 สัปดาห์

ต่อมเหงื่อ (sweat glands) ในรูหู (หูชั้นนอก) ทำหน้าที่พิเศษ คือ จะเปลี่ยนสภาพไป เพื่อผลิตขี้ผึ้ง หรือแว็กซ์ (wax) 

ขี้ผึ้งหรือแว็กซ์ จะรวมตัวกับเศษเซลล์ผิวหนังที่ลอกหลุดตามธรรมชาติ กลายเป็น "ขี้หู" อีกต่อหนึ่ง

การเคลื่อนไหวของขากรรไกร เช่น พูดคุย ดื่มน้ำ เคี้ยวอาหาร กลืนอาหาร ฯลฯ มีส่วนช่วยให้ขี้หูเดินทางไปสู่โลกภายนอกได้เร็วขึ้น 

.

ศาสตราจารย์เซด (Prof Saeed) กล่าวว่า ขี้หูบอกความเป็นหนุ่ม หรือเป็นแก่ได้ คือ

(ก). ขี้หูมักจะมีสีคล้ำขึ้นตามอายุ

ยิ่งแก่ยิ่งเข้ม(สีเข้มขึ้น) 

(ข). ขนในรูหูจะยาวขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะในผู้ชาย

ทำให้ผู้ชาย สว.(สูงวัย) บางคนมีขี้หูตกค้างมากขึ้น เนื่องจากขนที่ยาวขึ้น ทำให้ขี้หูเดินทางได้ช้าลง

.

(2). ขี้หูช่วยป้องกันเชื้อโรค

.

ขี้หู (ear wax) ประกอบด้วยน้ำมันขี้หู (waxy oils), เศษเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และสารอีกหลายอย่างปนกัน

ภายในรูหู, มีต่อม 1,000-2,000 ต่อมที่ช่วยผลิตสารที่ช่วยป้องกันเชื้อโรค (anti-microbial peptides), ต่อมไขมันที่อยู่ติดกับเซลล์ขนหลั่งน้ำมัน โคเลสเตอรอล และสารกลุ่มแอลกอฮอล์ (squalene)

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ขี้หูของผู้หญิง-ผู้ชาย, เด็ก-คนสูงอายุ ไม่ต่างกันเท่าไร

  • [ cerumen ] > [ เสอะ - รู้ - เหมิ่น ] > //www.thefreedictionary.com/cerumen > noun = ขี้หู
  • [ earwax ] > [ เอี๊ย - แหวก - s/(สึ - เสี่ยงพ่นลม สั้น เบา) ] > //www.thefreedictionary.com/earwax > noun = ขี้หู
  • [ earwax ] = ear wax = ขี้ผึ้งในหู ขี้หู

.

(3). ขี้หูบ่งบอกสายพันธุ์หรือ DNA

.

สถาบันโมเนวล์ (Monell) จากฟิลาเดลเฟีย สหรัฐฯ ค้นพบว่า คนบนโลกแบ่งชนชั้นตามขี้หูได้เป็น 2 พวกใหญ่ๆ

พวกหนึ่งเป็นคนเอเชีย (Asian), อีกพวกหนึ่งเป็นคนที่ไม่ใช่เอเชีย (non-Asian)

ความต่างกันอยู่ที่รหัสพันธุกรรม หรือ DNA ทำให้โลกเรามีขี้หู 2 ประเภท คือ แบบเปียก (wet) + แบบแห้ง (dry)

  • คนหมู่มากในโลก = พวก "ขี้หูเปียก"
  • ชนกลุ่มน้อย = พวก "ขี้หูแห้ง" > พบมากในเอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี)

.

พวกขี้หูแห้ง พบมากในจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี

พวกนี้มีดีพิเศษ คือ "เต่า (กลิ่นรักแร้ = underarm body odour) ไม่แรง"

.

การศึกษาจากสหรัฐฯ วิจัยกลุ่มตัวอย่างคนผิวขาว (ฝรั่ง) + คนเอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) พบว่า ขี้หูมีสารอินทรีย์ที่ระเหยง่าย ทำให้เกิดกลิ่น 12 กลุ่มด้วยกัน

ในจำนวนนี้ (12 กลุ่ม), ขี้หูของคนคอร์เคเชียน (Caucasian = เชื้อสายฝรั่ง) มีระดับสารทำให้เกิดกลิ่นมากกว่าคนเอเชีย = 11/12 รายการ = ขี้หูฝรั่งมี "กลิ่นแรงกว่า"

.

(4). ขี้หูบอกมลภาวะ หรืออากาศเสีย (pollution) ได้

.

การศึกษาในปลาวาฬสีฟ้า (blue whale) พบว่า ขี้หูของมันไม่ได้ถูกขับออกไปแบบคน

ทว่า... จะมีการสะสมไว้เป็นวงปี คล้ายๆ "วงปี" ของต้นไม้ (tree rings)

วงปีของต้นไม้ เกิดจากการโตเร็วในช่วงฤดูฝน, โตช้าในช่วงแล้งน้ำ

ขี้หูปลาวาฬสีฟ้า อาจมีขนาดถึง 24 เซนติเมตร = ประมาณ 9 นิ้วครึ่ง

.

การศึกษาจากมหาวิทยาลัยเบย์เลอร์ รัฐเท็กซัส สหรัฐฯ พบว่า ขี้หูของปลาวาฬตัวผู้ที่มีอายุ 12 ปี มีการสะสมสารพิษหลายอย่าง เช่น ยาฆ่าแมลง ฯลฯ

ช่วงที่พบความเข้มข้นสารพิษสูง คือ ช่วง 1 ขวบแรก

ซึ่งน่าจะเป็นช่วงที่อยู่ในท้องแม่ หรือกินนมแม่

การศึกษานี้พบว่า ช่วงที่ปลาวาฬสีฟ้าหลั่งฮอร์โมนเครียด (stress hormone / cortisol) ออกมามาก จนตรวจพบเพิ่มขึ้นในขี้หูได้ คือ ช่วงเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น

.

ช่วงนี้ปลาวาฬสีฟ้าจะแข่งกัน "หาคู่"

เลยต้องเครียดกันหน่อย

.

เรื่องที่ลืมไม่ได้ในเรื่องขี้หู คือ

(1). ไม้พันสำลี (cotton buds) อาจทำให้ขี้หูแห้งขึ้น แข็งขึ้น จับตัวเป็นก้อนแข็งง่ายขึ้น

เพิ่มเสี่ยงภาวะขี้หูอุดตันมากขึ้น (impact cerumen)

.

(2). ขี้หู ทำหน้าที่เป็นสารให้ความชุ่มชื้น (moisturizer) ต่อผิวหนังในรูหู

ผิวหนังในรูหูก็คล้ายกับผิวหนังทั่วไป คือ ยิ่งแห้งยิ่งคัน

เวลาคนเราผิวแห้ง > โลชั่น น้ำมัน หรือครีมช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น > ทำให้อาการคันลดลง

ขี้หู เป็น "โลชั่น" ของรูหู > ภาวะขี้หูแห้ง เพิ่มเสี่ยงอาการคันในรูหู

อาจารย์หมอหูอังกฤษ (UK) แนะนำให้ใช้น้ำมันมะกอก หยอดหูก่อนนอน 2 ครั้ง/สัปดาห์

.

(3). ผิวหนังในรูหู บอบบางมาก

อย่าใช้ไม้เขี่ยหูร่วมกับคนอื่น และอย่าให้ช่างตัดผมใช้ไม้เขี่ยหู หรือแหย่อะไรไปในรูหู

เพราะการเขี่ยหู อาจทำให้เกิดแผลถลอก

ไม้เขี่ยหู อาจมีไวรัสตับอักเสบ หรือโรคติดต่อทางเลือดได้

.

วิธีที่น่าจะดี คือ หลังอาบน้ำ, ให้ใช้ผ้าบางๆ หุ้มนิ้วมือเช็ดหู + งดใช้ไม้พันสำลี

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ




Create Date : 27 มีนาคม 2557
Last Update : 27 มีนาคม 2557 12:18:12 น. 0 comments
Counter : 834 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com