บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
กันยายน 2556
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
28 กันยายน 2556
 

รู้ไว้ก่อนไปหาหมอ(กฎ กติกา มารยาท)

.
สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง "คนอเมริกันจ่ายค่าหมอ (doctor fee) เท่าไร"
, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.

.
เร็วๆ นี้คิวรอตรวจโรคในบราซิลยาวนานขึ้นเรื่อยๆ จนคิวตรวจ-รักษาหลายโรคนานกว่า 3 เดือน
.
รัฐบาลบราซิลตัดสินใจ "นำเข้า" หมอจากคิวบา ทำให้หมอเจ้าถิ่นในบราซิลไม่พอใจ ออกมาประท้วง เพราะกลัวจะถูกแย่งงาน
.
คิวบาเป็นประเทศที่ผลิตหมอ-หมอฟัน-พยาบาล-บุคลากรสุขภาพได้มากเป็นพิเศษ ส่งออกหมอไปทั่วอเมริกากลาง แถมยังรับรักษาโรคตาจากคนไข้ทั่วอเมริกากลางฟรีมานานแล้ว
.
ปีนี้เป็นปีแรกที่คิวบาส่งออกหมอไปอเมริกาใต้
.
.
ถ้าเราศึกษาวิธีการผลิตพวกมดๆ หมอๆ (บุคลากรสุขภาพ) จากคิวบา และนำมาต่อยอด (ทำต่อให้ดีขึ้น ผลิตให้มากขึ้น)ได้...
.
ไทยจะมีโอกาสพัฒนาไปสู่ความเป็นฮับด้านการผลิตบุคลากรสุขภาพของอาเซียน (medical education hub) ทำรายได้เข้าประเทศได้ในระยะยาว
.
เพราะนักศึกษา 1 คน จะมีค่าใช้จ่ายในด้านการเช่าที่พัก (หอพัก), อาหาร, ท่องเที่ยว และอะไรๆ ตามมาอีกมากมาย
.
และถ้าเราร่วมการผลิตพวกมดๆ หมอๆ กับเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ "ลาว + พม่า +/- กัมพูชา" ได้, จะทำให้เรามีเพื่อนไปทั่วอาเซียน และลดโรคภัยไข้เจ็บข้ามชายแดนไปพร้อมๆ กัน
.
[ ภาพจาก NEJM ]
.
การศึกษาใหม่จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด แคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการจ่ายประกันค่ารักษาพยาบาลมากกว่า 40 ล้านครั้งในปี 2007/2550
.
คุณหมอสหรัฐฯ ใช้เวลาในการตรวจ-วินิจฉัยโรคไม่เท่ากัน คือ
  • ตรวจสุขภาพ (check-ups) = 5 นาที
  • ตรวจโรคส่วนใหญ่ = 15 นาที
.
และแล้ว... ท่านก็คิดค่าหมอ (doctor fee) ไม่เท่ากัน คือ
  • หมอที่คิดค่าตรวจต่ำสุด 5% = ไม่เกิน 1,471.57 บาท
  • หมอที่คิดค่าตรวจสูงสุด 5% = อย่างต่ำ 2,692.66 บาท
ค่าหมอเฉลี่ย = 1,972.53 บาท หรือเกือบ 2,000 บาท/ครั้ง
.
คนไข้รายไหนทำให้หมอสหรัฐฯ เสียเวลามากขึ้น มีแนวโน้มจะต้องจ่ายมากหน่อย = อย่างต่ำ 3,224.93-8,046.67 บาท = อยู่ในช่วง 3,000-8,000 บาท/ครั้ง
.
.
คนไข้กลุ่มนี้ได้แก่
  • คนไข้ที่มีโรคซับซ้อน เช่น คนเดียวเป็นหลายโรค (เช่น โรคเบาหวาน โรคไต แผลเท้าเบาหวาน ฯลฯ)
  • คนไข้รายใหม่ เช่น เป็นไข้นานเกิน 1 สัปดาห์ ฯลฯ

การศึกษานี้พบว่า ทำเลก็มีผลต่อค่าหมอ คือ ทำเลดี เช่น เมืองใหญ่ เศรษฐกิจดี ฯลฯ มักจะมีค่าหมอแพงกว่าทำเลไม่ดี เช่น เมืองเล็ก เศรษฐกิจไม่ดี ฯลฯ

ทว่า... ทำเลมีผลต่อค่าหมอ (มากหรือน้อย) ไม่เกิน 1/3

.

.
สรุป คือ ค่าหมอ ไม่รวมค่ายาและค่าบริการอื่นๆ เช่น ไม่รวมค่าทำแผล วัดความดันเลือด ฯลฯ ในสหรัฐฯ ต่อการตรวจ 5-15 นาที ตกประมาณเกือบ 2,000 บาท/ครั้ง
.
ถ้าป่วยหลายโรค เป็นโรคซับซ้อน หรือเป็นคนไข้รายใหม่ที่ทำให้คุณหมอในสหรัฐฯ เสียเวลานานขึ้น หรือใช้สมองมากขึ้น จะมีค่าหมอประมาณ 3,000-8,000 บาท/ครั้ง
.
ตรงนี้บอกเป็นนัยว่า การใส่ใจสุขภาพ... อย่างน้อยทำตัวให้ฟิต (แข็งแรง) เป็นประจำ, ควบคุมน้ำหนัก ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มหนัก ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากในระยะยาว โดยเฉพาะถ้าไปสหรัฐฯ (หรือคลินิก-โรงพยาบาลเอกชน)
.
รัฐบาลที่เพิ่มการผลิตสาขาที่จบมาแล้วมีงานทำ โดยเฉพาะเพิ่มการผลิตนักบัญชี นักบิน หมอฟัน พยาบาล หมอได้, รัฐบาลนั้นจะได้คะแนนเสียงจากเด็กๆ ทั่วไทย, คุณแม่ คุณพ่อ และญาติสนิทมิตรสหายของเด็กๆ อย่างมากมายมหาศาล
.
.
ถ้าเราลงทุนเพิ่มการผลิตบุคลากรสุขภาพ เริ่มจากพยาบาล นักสาธารณสุขในเฟสแรก...
.
เฟสต่อไปเป็นหมอฟัน หมอ, เรียนร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยทำเป็นมหาวิทยาลัยสุขภาพนานาชาติ ร่วมกับลาว พม่า +/- กัมพูชา
.
(1). รับนักศึกษาฝ่ายละ 1/2
.
(2). คิดค่าเล่าเรียนตามต้นทุนจริง > โอกาสในการเข้าเรียนสำคัญกว่าเรียนฟรี
.
(3). เรียนจากอาจารย์ทั้งพม่า-ลาว-กัมพูชา, อาจารย์ต่างประเทศ เช่น ฝรั่ง ฯลฯ, และไทย > ทำให้อินเตอร์ และเท่
.
(4). เรียนผ่านอังกฤษ (พม่า-ไทย), หรือภาษาไทย (ลาว-กัมพูชา-ไทย)
(5). ฝึกงาน-ดูงาน 2 ประเทศ (ลาว-พม่า-กัมพูชา, ไทย)
.
(6). อาจพัฒนาไปสู่การรับปริญญา 2 ใบ (ลาว-พม่า-กัมพูชา, ไทย), 2 ประเทศ
.
(7). ตั้งเป้าให้นักศึกษาทุกคนเก่งภาษาอังกฤษเป็นหลัก, และพูดภาษา 2 ประเทศระดับพื้นฐานรองลงไป
.
เช่น ลาว-ไทย, พม่า-ไทย, กัมพูชา-ไทย ฯลฯ
.
(8). อาจทำร่วมกับมาเลเซีย-สิงคโปร์ด้วย โดยตั้งเป้าภาษาอังกฤษเป็นหลัก, และพูดภาษา 2 ประเทศระดับพื้นฐานรองลงไป
.
เช่น มาเลย์-ไทย, จีนกลาง-ไทย (กรณีสิงคโปร์) ฯลฯ
(9). ควรตั้งมหาวิทยาลัยนานาชาติแบบนี้ในไทย เพื่อให้นักศึกษาจากเพื่อนบ้านเช่าหอพักไทย กินข้าวในไทย เที่ยวไทย รู้จักสังคมไทย ดูโฆษณาไทย และรู้จักใช้สินค้า-บริการไทย เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไปในตัว
.
(10). กราบเรียน เรียนเชิญรัฐบาล หรือทูตประเทศเพื่อนบ้านมาทำพิธีเปิด บายศรีสู่ขวัญ ไหว้ครู รับปริญญา รวมทั้งงานพิธีสำคัญ เช่น แจกปริญญากิตติมศักดิ์ให้ผู้นำรัฐบาล หรือทูตประเทศเพื่อนบ้านเป็นพักๆ (เพื่อมิตรภาพ) ฯลฯ
.
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.


 > [ Twitter ]

  • ขอขอบพระคุณสำนักข่าวรอยเตอร์ / Thank Reuters & source by Reuters > Health Affairs, September 2013. > //www.reuters.com/article/2013/09/27/us-physician-payments-idUSBRE98Q15U20130927
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 28 กันยายน 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.



Create Date : 28 กันยายน 2556
Last Update : 28 กันยายน 2556 8:12:06 น. 0 comments
Counter : 2006 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com