บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
25 สิงหาคม 2556
 

ยุงกัดกี่ครั้งจึงป่วย(ไข้เลือดออก ฯลฯ)

.

ภาพที่ 1: ยุงลาย (Aedes Egypti) พาหะนำโรคไข้เลือดออก (เดงกี่), ไข้เหลือง

.

สัปดาห์ก่อนมีข่าวใหญ่ (ตีพิมพ์ใน Science) คือ การพัฒนาวัคซีนมาลาเรีย (ไข้จับสั่น) สำเร็จ

ปี 2554 วัคซีนมาเลเรียสร้างภูมิต้านทานในอาสาสมัคร = 2 ใน 44 ราย = 3.7%

.

ปีนี้ (2556) วัคซีนมาลาเรียนชนิดฉีดเข้าทางเส้นเลือด (เพื่อเลียนแบบยุงกัด) 5 ครั้ง ได้ผลในอาสาสมัคร = 6 ใน 6 ราย = 100%

คนทั่วโลกติดเชื้อมาลาเรียประมาณ 220 ล้านคน, ตายจากโรคนี้ 660,000 ราย/ปี (ปี 2010/2554)

.

ภาพที่ 2: แสดงยุงจอมยุทธ... เจ้านี่ดูดเลือดด้วย กรองน้ำเลือดออกมาทิ้งด้วย เพื่อให้เก็บเม็ดเลือดได้เต็มกระเพาะฯ จรืงๆ

.

วัคซีนมาลาเรียอีกชนิดหนึ่ง (RTS, S) ทดลองในคน (ปี 2554) ป้องกันโรคในทารก (อายุไม่เกิน 1 ปี) = 31%, ป้องกันโรคในเด็กอายุเกิน 1 ปี = 56%

กลุ่มเสี่ยงเสียชีวิตจากมาลาเรียสูงสุด คือ เด็กอาฟริกา

.

การศึกษาทำในหนูทดลองพบว่า การฉีดเชื้อมาลาเรียเข้าเส้นเลือดโดยตรง (65%) ทำให้ติดเชื้อต่ำกว่ายุง 5-10 ตัวกัด (88%)

กลไกที่เป็นไปได้ คือ การติดเชื้อตามธรรมชาติ เริ่มจากเชื้อผ่านปากยุงไปสู่ผิวหนัง หรือชั้นใต้ผิวหนัง อย่างน้อย 5 นาที

.

ภาพที่ 3: โฆษณากาแฟในสหรัฐฯ

การศึกษาเร็วๆ นี้พบว่า การดื่มกาแฟไม่เพิ่มเสี่ยงยุงกัด แต่ถ้าดื่มเบียร์... เพิ่มเสี่ยง (ยุงชอบ)

.

หลังจากนั้น (หลังจากยุงกัด เชื้อไปอยู่ที่ผิวหนัง หรือชั้นใต้ผิวหนัง 5 นาทีขึ้นไปแล้ว) จึงผ่านระบบท่อน้ำเหลืองฝอยเป็นส่วนใหญ่ ผ่านหลอดเลือดฝอยเป็นส่วนน้อย

มีความเป็นไปได้ว่า เชื้อมาลาเรียจะชอบสิ่งแวดล้อมอะไรบางอย่างในท่อน้ำเหลืองมากกว่าในหลอดเลือด

.

สารเคมีหลายชนิดในน้ำลายยุง น่าจะมีส่วนช่วยให้เชื้อมาลาเรียแพร่กระจายเข้าสู่คน (หรือสัตว์) ได้มากขึ้น

ถ้ามองภาพรวม ทั้งมาลาเรีย ไข้เลือดออก และไข้สมองอักเสบญี่ปุ่นบี ซึ่งติดต่อผ่านยุง จะต้องโดนยุงกัดขั้นต่ำ (ครั้ง) จึงจะเป็นโรคดังนี้

.

(1). มาลาเรีย >  5-10 ครั้งขึ้นไป

(2). ไข้เลือดออก > 4-5 ครั้งขึ้นไป

การศึกษาในคนจากเวียดนามพบว่า จำนวนครั้งที่ยุงกัดในหนูทดลองกับในคนแล้วเป็นโรค มีขนาดพอๆ กัน

(3). ไข้สมองอักเสบญี่ปุ่นบี > 250 ครั้งขึ้นไป

สรุป คือ คนส่วนใหญ่ต้องโดนยุงกัด 5-10 ครั้งขึ้นไป จึงจะติดเชื้อไข้จับสั่น (มาลาเรีย)

.

ภาพที่ 4: เชื้อไวรัสโคโรนา (corona = มงกุฎ) มีหนามแหลมคล้ายมงกุฎ

ไวรัสโคโรนาคล้ายไข้หวัดใหญ่ซาส์ใหม่ที่พบมากในซาอุดี อาระเบียตอนนี้ พบว่า อูฐอาจเป็นพาหะ และพบเชื้อในค้างคาวด้วย

.

การลงทุนติดมุ้งลวดทั้งบ้าน เป็นการลงทุนประกันชีวิตที่ดี

และอย่าลืม... ติดมุ้งลวดห้องน้ำด้วย

.

เพราะห้องน้ำที่ไม่ติดมุ้งลวด เพิ่มเสี่ยงโรคติดต่อจากยุงด้วย โรคฉี่หนู

แถมยังป้องกันค้างคาวเข้าบ้าน (เผื่อจะมีโรคแปลกๆ ใหม่ๆ แบบซาอุฯ ที่มากับค้างคาว) ด้วย

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์                                                         

  • ยินดีให้ท่านนำบทความนี้ไปใช้ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตามแบบครีเอทีฟ คอมมอนส์
  • CC: BY-NC-SA
  • บทความนี้เป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค, ไม่ใช่การวินิจฉัยหรือรักษาโรค
  • ท่านที่มีความเสี่ยงต่อโรคสูง หรือมีโรคประจำตัว, จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

Thank Sources                                                                




Create Date : 25 สิงหาคม 2556
Last Update : 25 สิงหาคม 2556 1:17:56 น. 0 comments
Counter : 852 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com