บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
พฤศจิกายน 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
8 พฤศจิกายน 2556
 

อาหารดีๆ___ลดเสี่ยงโรคภัยได้เท่าไร

สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง "(กิน)อาหารดีวันนี้__ ชีวิตดีขึ้นเท่าไร", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

เมืองไทยมีคำขวัญวันเด็กปีหนึ่งว่า "เด็กในวันนี้ คือ ผู้ใหญ่ในวันหน้า"

การศึกษาเร็วๆ นี้พบหลักการคล้ายๆ กัน คือ "กินอาหารดี(+พอดี)วันนี้ ช่วยมีชีวิตดีขึ้นวันหน้า" เช่นกัน

.

การศึกษาใหม่พบว่า ผู้หญิงที่ "กิน(พอ)ดีอยู่(พอ)ดี" ในวัย late 50s = 55-59 ปี และ early 60s = 60-64 ปี จะมีชีวิตดีขึ้นในวันหน้า

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า อาหารสุขภาพขนาดพอดี (ไม่มากจนอ้วน ไม่น้อยจนขาดอาหาร) ช่วยลดเสี่ยงโรคเรื้อรัง และช่วยลดโอกาสกลับบ้านเก่าเร็ว (เสียชีวิตก่อนวัยอันควร)

.

การศึกษาใหม่ ทำโดยผู้เชี่ยวชาญจากฝรั่งเศส และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ ทำในกลุ่มตัวอย่างผู้หญิง 10.670 คนที่เข้าร่วมการศึกษาสุขภาพพยาบาล (Nurses' Health Study)

เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่วัย late 50s = 55-59 ปี และ early 60s = 60-64 ปี

.

ติดตามไปถึงวัย 70s = 70-79 ปี

ผลการศึกษาพบว่า คนที่มีสุขภาพดีตอนสูงวัย ส่วนใหญ่จะมีลักษณะดังนี้

(1). น้ำหนักไม่เกิน ไม่อ้วน (หรือถ้าน้ำหนักเกินก็เกินไม่มาก)

(2). ไม่สูบบุหรี่

(3). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ

(4). ความดันเลือดไม่สูง หรือถ้าสูงก็รักษาต่อเนื่อง

(5). โคเลสเตอรอล (ไขมันในเลือด) ไม่สูง หรือถ้าสูงก็รักษาต่อเนื่อง

.

กลุ่มตัวอย่างที่กินอาหารดีกับสุขภาพ (+ กินพอดี) ลดเสี่ยงโรคเรื้อรัง และแก่ช้าลง (ความเสื่อมตามอายุ) ลดลง = 34-46%

เมื่อเทียบกับคนที่กินอาหารแย่ที่สุด

.

โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ในสหรัฐฯ

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ น้ำหนักเกิน + โรคอ้วน

.

ผู้เชี่ยวชาญแนะว่า อาหารที่ "กินวันนี้" แล้ว "จะดีวันหน้า" ได้แก่

(1). เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง + เปลี่ยนขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีท (เติมรำ)

(2). กินผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้กรองกากทิ้ง)

เน้นผลไม้ที่ไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง ส้มโอ ส้ม แอปเปิ้ล ฯลฯ หลายๆ อย่าง, อย่างละน้อยๆ

(3). กินผัก

(4). เนื้อไม่ติดมัน ไก่ (ดีที่สุด คือ นำหนังออก), ปลาที่ไม่ผ่านการทอด
.

ถ้ากินเนื้อน้อยมาก, ควรกินถั่วต้ม เมล็ดพืช เต้าหู้ โปรตีนเกษตร น้ำเต้าหู้ นม หรือนมถั่วเหลืองเสริม เพื่อป้องกันขาดโปรตีน โดยเฉพาะในคนสูงอายุ (ถ้านับเป็นถั่วจะประมาณ 1 กำมือ/วัน)

.

(5). ปลาที่มีไขมัน และไม่ผ่านการทอด 2-3 ครั้ง/สัปดาห์

.

เพียงเปลี่ยนอาหารร้ายๆ เป็นอาหารดีๆ (ไม่จำเป็นต้องแพง)

ชีวิตจะดีขึ้นได้ = 34-46%

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.                                                                                                                                          

Thank Reutes//www.reuters.com/article/2013/11/07/us-midlifediet-aging-idUSBRE9A61DR20131107 > SOURCE (by Reuters):Annals of Internal Medicine, online November 5, 2013.




Create Date : 08 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2556 15:36:33 น. 0 comments
Counter : 510 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com