รีวิวหนังสือ "นาโงมิ สุข สงบ สมดุล - เคน โมงิ"

เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีของนาโงมิ ที่ถูกผสมผสานกลมกลืนไปกับทุกสิ่งทุกอย่างในการใช้ชีวิตของชาวญี่ปุ่น ตั้งแต่การกิน การอยู่ และความความสัมพันธ์ โดยความหมายคร่าวๆของนาโงมิ คือ ความสมดุล ความสบาย และความสงบของจิตใจ อาจเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหนึ่งกับสิ่งแวดล้อม หรือคุณภาพการสื่อสารของบุคคลหนึ่งกับผู้อื่น  หรืออาจจะเป็นส่วนผสมที่สมดุลและกลมกลืนของวัตถุดิบต่างๆ เช่น

นาโงมิในอาหาร ซึ่งซูชิถือได้ว่าเป็นการประยุกต์ใช้จิตวิญญาณนาโงมิชั้นเลิศ โดยนำองค์ประกอบจากต้นกำเนิดทางวัฒนธรรมที่หลากหลายมารวมเป็นเนื้อเดียวกัน และมีรสชาติยอดเยี่ยม และเมื่อกล่าวในเชิงปรัชญา ข้าวกับสาเกยังเป็นสัญลักษณ์แสดงคุณค่าที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอุดมคติของ นาโงมิ ข้าวและสาเกคุณภาพดีที่สุดจะมีลักษณะของความเป็นกลางไม่พยายามแสดงตัวตน และมีความสามารถอันโดดเด่นที่จะผสมเข้ากับรสชาติและส่วนประกอบอื่นๆ ซึ่งดูจะมีสีสันโดดเด่นกว่าข้าวและสาเกแสนเรียบง่ายนี้ กล่าวได้ว่าอุดมคติของชาวญี่ปุ่น ในเรื่องตัวตนในสังคมก็เหมือนกับข้าวหรือสาเกที่ดี ซึ่งไม่โอ้อวดตน หรือในเรื่องการกินอาหารของชาวญี่ปุ่นที่มักจะมีโอกาซึ (เครื่องเคียง) หลากหลายให้กินคู่กัน เพื่อจะได้รับรสชาติของวัตถุดิบที่หลากหลายพร้อมกัน เช่น ในเบนโตะที่จะมีอาหารหลากหลายอย่างจัดวาง แต่ตรงกลางคือข้าวที่เข้าได้กับทุกอย่าง

นาโงมิในตัวตน ซึ่งมีประโยคที่กล่าวว่า ถ้ายอมรับตัวตนที่เป็นก็จะไม่มีใครทำให้คุณรู้สึกแย่กับตัวเองได้ สิ่งที่ผู้อื่นทำหรือพูดไม่มีผลใดๆกับคุณ เนื่องจากความเคารพตัวเองจะทำให้คุณมีความสามารถในการฟื้นตัวขั้นสูงสุด เพื่อนชาวออสเตรเลียคนหนึ่งของผม ซึ่งตอนนี้ใช้ชีวิตอยู่ที่โตเกียว เคยกล่าวไว้อย่างหลักแหลมว่า "ย่อมมีคนที่ฉลาดกว่าคุณ หรือหน้าตาดีกว่าคุณเสมอละ แต่จำไว้ว่าไม่มีใครเป็นคุณได้ดีกว่าคุณ" 

นาโงมิในความสัมพันธ์ กล่าวว่า การรักษาความสามัคคีปรองดองคือสิ่งสำคัญที่สุดหนึ่งเดียว แม้ว่าจะมีความคิดเห็นแตกต่างอยู่ในเบื้องลึกก็ตาม คำแนะนำที่ดีที่สุดคือ คุณต้องหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าแบบรุนแรงไม่ว่าจะเกิดอะไรก็ตาม และวิธีรักษาความสัมพันธ์มีทั้งการเจรจาต่อรองหรือไม่ก็เพิกเฉยเมื่อมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับอีกฝ่าย หลักการนี้มีประโยชน์ที่สุดเมื่อนำมาใช้กับความสัมพันธ์ที่เราเลือกไม่ได้ เช่น ครอบครัว รวมถึงความสัมพันธ์กับผู้คนในการทำงานระดับหนึ่งด้วย อีกทั้งคุณไม่ควรพยายามเปลี่ยนผู้คนรอบตัว แต่ควรปล่อยให้เขาเป็นตัวของตัวเอง แล้วมุ่งเน้นการมีตัวตนอย่างเป็นเอกลักษณ์ของคุณเอง หลักการชักเกอิ กล่าวว่า คุณอาจเป็นคนที่ดีขึ้นเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับคนอื่น จริงๆแล้วหลายครั้งความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลจะเปล่งประกายยิ่งขึ้นเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับคนอื่น

นาโงมิในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่เล่าถึง โซโดกุ (การอ่านง่ายๆ) เป็นวิธีการตามธรรมเนียมดั้งเดิมในการสร้างเส้นโค้งการเรียนรู้ที่แข็งแกร่งและสืบต่อไปได้ตลอดชีวิต ในโซโดกุ บุคคลหนึ่งจะอ่านออกเสียงงานเขียนระดับคลาสสิกที่ได้รับการยอมรับนับถือ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของถ้อยคำตั้งแต่แรก แนวคิดหลักของโซโดกุ คือ สิ่งที่คุณอ่านออกเสียงนั้นได้รับการรับรองแล้วว่าจะเป็นแหล่งความรู้ที่ยิ่งใหญ่มากสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต แม้คุณเองจะยังเข้าไม่ถึงในช่วงเริ่มต้นก็ตาม ซึ่งแก่นแท้ของแนวปฏิบัติโซโดกุ ก็คือการอ่านจากตัวบทของงานเขียนฉบับดั้งเดิม ไม่ใช่การตีความหรือแสดงความคิดเห็น จิตใจของคุณจึงได้รับการท้าทายให้สร้าง นาโงมิ จากสิ่งที่จริงแท้ตั้งแต่เริ่มแรก


นาโงมิในชีวิต ซึ่งกล่าวถึงชาวญี่ปุ่นจำนวนมากที่เปรียบเทียบดอกซากุระกับชีวิต เนื่องจากดอกซากุระนั้นมีอายุสั้น ไม่อาจคาดเดา และมีปัจจัยมากมายที่ควบคุมไม่ได้เหมือนกับชีวิตของเรา ฮานามิ หรือ "การชมดอกไม้" คือประเพณีการเห็นคุณค่าของดอกไม้ กล่าวถึงการมีความสุขกับชีวิตให้เต็มที่ในขณะที่ยังทำได้ เพราะวันหนึ่งชีวิตย่อมสิ้นสุดลง

 

เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ที่เนื้อหาไม่ได้เล็กตามไปด้วยเลย เป็นคนเขียนคนเดียวกับที่เขียนเรื่องอิคิไก เล่มดังด้วย ซึ่งเล่มนี้สำหรับเราแล้วรู้สึกว่าเข้าใจยากผสมกับขี้เกียจจะทำความเข้าใจแล้ว11 เนื่องจากว่านาโงมิอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างจริงๆ ที่เราสรุปมาเป็นแค่บางส่วนที่เราชอบและเข้าใจเท่านั้นค่ะ ในเล่มจะมีนาโงมิในสิ่งต่างๆทั้งหมด 10 เรื่องโน่นเลย ซึ่งพอนาโงมิอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างที่เขาว่ามันเลยมีเรื่องราวที่กว้างไกลมาก465 แล้วในแต่ละสิ่งนั้นก็มีศัพท์เรียกแบบญี่ปุ่นลงลึกไปอีก จนอ่านๆไปชักเริ่มรู้สึกว่ามันจะอยู่ในทุกอณูมาแต่อดีตกาลอะไรขนาดนั้น เรื่องราวนาของโงมิมันกว้างมากแล้วก็มีปรัชญาอื่นๆมาแทรกอีกหลายอย่างจนเราเริ่มสับสน แล้วก็เริ่มเข้าไม่ถึงผสมกับไม่ได้รู้สึกตามไปด้วย แต่ที่ชอบมากๆคือนาโงมิในอาหารที่เขาเขียนแล้วชอบมาก เห็นภาพตามและรู้สึกว้าวกับเรื่องราวที่เขาเขียนมาก คนญี่ปุ่นเขาพิถีพิถันจริงๆ กับอีกเรื่องที่สนใจคือการอ่านแบบโซโดกุ ที่อยากลองอ่านแบบนั้นดูบ้างโดยเฉพาะหนังสือที่อ่านยาก
 
 



Create Date : 05 ตุลาคม 2566
Last Update : 26 ตุลาคม 2566 10:29:30 น.
Counter : 146 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Day-afterday.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 3651244
Location :
สมุทรปราการ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด