Business, Management, Skill, Experiences--แลกเปลี่ยน เรียนรู้ แบ่งปัน ประสบการณ์ บริหาร และอื่น ๆ
Group Blog
 
All blogs
 

อ่านข่าวนี้แล้วอย่าอิจฉาคนจีน นะครับ ... "Major labels back anti-piracy Baidu-beating effort"


Major labels back anti-piracy Baidu-beating effort





31 March 2009 9:52 GMT / By Amy-Mae Elliott


Google has launched a free music download service in China, apparently in a bid to combat widespread piracy issues in the country.

The service is advertising-supported and offers just over a million tracks of both Chinese and Western music from Warner Music, EMI, Sony Music Entertainment, Universal Music and 14 independent labels.

Described by a Warner exec as the "first really serious attempt to start monetising online music in China", it's also an attempt to challenge rival search co Baidu's dominance in the country.

Google says the free service will be limited to use by computers whose IP addresses show they are in mainland China.


สรุปเป็นภาษาไทยว่า:

กูเกิลเปิดให้บริการดาวน์โหลดเพลงฟรี ที่ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) โดยกูเกิลร่วมกับ Warner Music, EMI, Sony Music Entertainment, Universal Music ให้บริการดาวน์โหลดเพลงฟรีผ่านอินเทอร์เน็ตสำหรับชาวจีน (จีนแผ่นดินใหญ่)


ลุง "กู (เกิ้ล)" น่าจะมาแจกในไทยด้วยเน้ออออ


อ่านแล้วอย่าอิจฉาคนจีนเลยนะครับบบบบบ



Refer to: Pocket-lint




 

Create Date : 03 เมษายน 2552    
Last Update : 3 เมษายน 2552 15:55:17 น.
Counter : 755 Pageviews.  

"โฮเทลลิคอปเตอร์" โรงแรมหรูลอยฟ้า5ดาว!



"โฮเทลลิคอปเตอร์" โรงแรมหรูลอยฟ้า5ดาว!







โรงแรมลอยฟ้าสุดหรูระดับ 5 ดาวแห่งแรกของโลก "เดอะ โฮเทลลิคอปเตอร์" ใกล้ได้ฤกษ์เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกกลางปีนี้ หลังใช้เวลาพัฒนาและทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยมานาน 5 ปี โดยดัดแปลงเนรมิตเฮลิคอปเตอร์ขนาดยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลก รุ่น "Mil V-12" ให้กลายเป็นสวรรค์สำหรับผู้ชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยความแปลกใหม่ตื่นเต้นเร้าใจ



โรงแรม+เฮลิคอปเตอร์

บริษัทโฮเทลลิคอปเตอร์ ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ชื่อบริษัทมาจากการนำคำว่า "โฮเทล" (โรงแรม) ผสานกับ "เฮลิคอปเตอร์" และใช้ชื่อเดียวกันนี้เรียกขานนวัตกรรมโรงแรมลอยฟ้าที่ซุ่มพัฒนามาตั้งแต่ปีพ.ศ.2547

"โฮเทลลิคอปเตอร์" เป็นโรงแรมลอยฟ้า ระดับ 5 ดาว สร้างภายใต้กฎระเบียบมาตร ฐานความปลอดภัยการบินที่กำหนดโดยสำนัก งานการบินพลเรือนสหรัฐ หรือ "เอฟเอเอ"

ภายในแบ่งออกเป็น 18 ห้อง บุด้วยฉนวนกันเสียง

เที่ยวบินปฐมฤกษ์ 14 วันรวด จะเริ่มต้นบินออกจากท่าอากาศยานเจเอฟเค นครนิวยอร์ก



จากนั้นบินต่อไปยังหมู่เกาะบาฮามาส ประเทศจาเมกา สาธารณ รัฐโดมินิกัน บินวนเข้าสหรัฐอีกครั้ง ผ่านนครไมอามี่ ตามด้วยเมืองชาร์ล็อตต์ และปิดทริปที่สนามบินเจเอฟเค

อย่างไรก็ตาม สนนราคาค่าตั๋ว-ที่พักยังไม่มีการเปิดเผยตัวเลขออกมา

รูปแบบห้องพัก

รูปแบบห้องพักแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

ห้องธรรมดา 16 ห้อง พักได้ 2 คน

กับห้องสูท 2 ห้อง พักได้ 3 คน พร้อมอาหารสามมื้อ

เมื่อเปิดประตูเข้าไปจะพบเตียงนอนขนาดควีนไซซ์ปูด้วยผ้าไหมอียิปต์ บรรยากาศที่ตกแต่งเทียบเท่าโรงแรมชื่อดัง ห้องน้ำติดตั้งอ่างน้ำวนและระบบทำน้ำอุ่น มินิบาร์ เครื่องทำกาแฟ และสามารถโทรศัพท์เรียกพนักงานบริการถึงห้องพักได้ตลอดเวลา

ส่วนเทคโนโลยีที่จัดเตรียมให้บริการในห้อง ได้แก่ อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์จอแบน เครื่องเล่นดีวีดี เครื่องเล่นเกมวี

บริการส่วนกลาง



สำหรับบริการเสริมส่วนกลางบน "โฮเทลลิคอปเตอร์" ก็มีเช่นเดียวกันกับโรงแรมบนพื้นดิน

ไม่ว่าจะเป็นห้องบิสิเนสรูมสำหรับทำงาน ห้องอบไอน้ำ ห้องสปา ร้านเสริมสวย ห้องออกกำลังกาย ห้องฟังเพลง ห้องชิมไวน์ ห้องเล่นโยคะ รวมทั้งส่วนแสดงงานศิลปะ และเล่นไพ่แบล็กแจ๊ก

นอกจากนั้น ยังมีโซนสวนญี่ปุ่นและสวนดื่มชาเอาไว้ตอบสนองความต้องการของผู้ชื่นชอบธรรมชาติ

ส่วนบริการของลูกเล็กเด็กแดงทั้งหลายจะอยู่ในโซน "ค่ายคุณหนู" ซึ่งภายในมีสนามเด็กเล็ก โต๊ะปิงปอง และโรงเรียนลอยฟ้า

จากฮ. หมีขาวสู่โรงแรม 5 ดาว

บริษัทโฮเทลลิคอปเตอร์ เล่าถึงที่มาโรงแรมลอยฟ้าว่า เริ่มต้นด้วยการไปติดต่อซื้อเฮลิคอปเตอร์ Mil V-12 จากบริษัท Mil Moscow Helicopter Plant ผู้พัฒนาและผลิตเฮลิคอปเตอร์รายใหญ่ของรัสเซีย เมื่อปี 2547

ขั้นตอนต่อมาลงมือดัดแปลงโครงสร้างเฮลิคอปเตอร์บางส่วน เช่น ขยายพื้นที่ใช้สอย และเพิ่มเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน GEnx สี่ตัว

โครงสร้าง ฮ. ได้รับการแก้ไขให้สอดคล้องกับหลักกลศาสตร์มากขึ้นเพื่อช่วยในเรื่องการประหยัดเชื้อเพลิงได้มากกว่าเดิมประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์เมื่อบินระยะไกล

หลังจากเสร็จสิ้นทัวร์โรงแรมลอยฟ้ารอบปฐมฤกษ์ โฮเทลลิคอปเตอร์จะเปิดให้บริการเที่ยวบินทัวร์ยุโรป

และเปิดให้ผู้สนใจ "เช่าเหมาลำ" เพื่อสัมผัสประสบ การณ์การท่องเที่ยวแนวใหม่ต่อไป





เปิดสเป๊ก"โฮเทลลิคอปเตอร์"

- ตัวโรงแรมดัดแปลงจากเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก รุ่น Mil V-12 ซึ่งเริ่มผลิตมาตั้งแต่ยุคสหภาพโซเวียต หรือรัสเซียในปัจจุบัน

- ความยาว 42 เมตร

- สูง 14 เมตร

- รองรับน้ำหนัก 105,850 กิโลกรัม

- ความเร็วการบินสูงสุด 255 กิโลเมตร/ชั่วโมง

- ความเร็วระหว่างทำการบินตามปกติ 237 กิโลเมตร/ชั่วโมง

- ระยะการบินต่อการเติมเชื้อเพลิง 1 ครั้ง 1,030 กิโลเมตร



ที่มา: ข่าวสด

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNVE14TURNMU1nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdNeTB6TVE9PQ==




 

Create Date : 31 มีนาคม 2552    
Last Update : 31 มีนาคม 2552 16:21:12 น.
Counter : 870 Pageviews.  

ภาษาอังกฤออกเสียงญี่ปุ่น --- อย่างฮา!!! …. English with Japanese’s pronunciation


ภาษาอังกฤออกเสียงญี่ปุ่น --- อย่างฮา!!! …. English with Japanese’s pronunciation





Hi = ฮิ ==> สวัสดี

hi-fi = ฮิ – ฟิ ==> [N] เครื่องรับส่งคลื่นวิทยุที่มีประสิทธิภาพสูงและชัด

hide = ฮิ – เดะ ==> [VT] ซ่อน

wide = วิ – เดะ ==> [ADJ] กว้าง

pi = ปิ๊ (ไพ) ==> [N] พยัญชนะกรีกตัวที่ 16, ตัวพิมพ์ผสม

I = อิ๊ ==> [PRON] ผม, ดิฉัน, [N] พยัญชนะภาษาอังกฤษตัวที่ 9, เสียงสระในภาษาอังกฤษ

bi = บิ๊ ==> [N] ผู้ที่มีความชอบทั้งสองเพศ, bi- [PRF]  สอง
di = ดิ๊ (ได) ==> [PRF] คู่, สอง

gib = งิ๊บ ==> [N] แมวตัวผู้, ลิ่ม

gig = งิ๊ก [N] รถม้าสองล้อ, อาชีพชั่วคราว

gibe = งิ๊บ - เบะ ==> [VI] คำพูดเยาะเย้ย

Niagara = นิ – อะ – งะ - ระ ==> [N] น้ำตกไนการ่า

niche = นิ – เจะ (นิช) ==> [N] ช่องหรือโพรงบนผนังกำแพงที่ทำไว้เพื่อวางสิ่งบูชา

piano = ปิ๊ – อา – โนะ ==> [N] เปียโน (เครื่องดนตรี)

si = ซิ ==> [N] ระดับเสียงระดับที่ 7 ในการเล่นดนตรี

wi – fi = วิ – ฟิ ==> สัญญาณ ไว – ไฟ

HISO = ฮิ – โซ ==> ไฮโซ



รวบรวมโดย Byonya: - 31 – 3 - 2552




 

Create Date : 31 มีนาคม 2552    
Last Update : 31 มีนาคม 2552 10:31:30 น.
Counter : 1100 Pageviews.  

การเลิกจ้างที่เป็นธรรมช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ตอน2: “แผนการโนอาห์” สร้างแรงงานสู่ผู้ประกอบการ ... ประชาไท



การเลิกจ้างที่เป็นธรรมช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ตอน2: “แผนการโนอาห์” สร้างแรงงานสู่ผู้ประกอบการ




ที่มา: ประชาไท


วิกฤตโลกระลอกล่าสุดนี้ การที่นายจ้าง ผู้ประกอบการ นำเอา “วิกฤต” มาเป็นข้ออ้างในการปลดแรงงาน ซึ่งถึงแม้เราจะเลี่ยงการเลิกจ้างไม่ได้ แต่การเลิกจ้างอย่างเป็นธรรมต่อแรงงาน ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในช่วงวิกฤต โดยในรายงานชุด “การเลิกจ้างแรงงานที่เป็นธรรมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ” จะนำเสนอกรณีศึกษาของการเลิกจ้างแรงงานของบริษัทต่างๆ และมาตรฐานสากลที่ว่าด้วยการเลิกจ้างที่เป็นธรรม

อ่านตอนเก่า: การเลิกจ้างแรงงานที่เป็นธรรมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (ตอน: 1) กรณีศึกษาบริษัท Levi Strauss (ประชาไท 26/3/2552)




กรณีศึกษา: “แผนการโนอาห์” ของบริษัท SAB “สร้างแรงงานเป็นผู้ประกอบการ”

บริษัท South African Breweries (SAB) เป็นบริษัทจดทะเบียนในลอนดอน ทำธุรกิจเบียร์ เครื่องดื่ม โรงแรมและธุรกิจเสี่ยงโชคใน 21 ประเทศในแถบแอฟริกา เอเชียและยุโรป บริษัท SAB ที่ต้องอยู่ในประเทศแอฟริกาใต้ เป็นหน่วยปฏิบัติการที่ใหญ่ที่สุดและเป็นฐานสำคัญที่นำไปสู่การขยายธุรกิจทั่วโลก


บริษัทมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงมากโดยต้องการเป็นหนึ่งในห้าบริษัทของโลกในด้านเครือข่ายคุณค่า ตั้งแต่การผลิต จัดจำหน่าย ไปจนถึงการสนับสนุนงานบริการ เช่น การเงิน การจัดระบบ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดซื้อจัดหา และการตลาด ทั้งหมดนี้เป็นผลจากการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในการปรับปรุงผลิตภาพและมูลค่าเพิ่ม


ทั้งนี้บริษัทจำเป็นต้องมีความสามารถในการแข่งขันเพื่อการอยู่รอดและเติบโตของบริษัท ความต้องการเป็นผู้ประกอบการระดับโลกทำให้บริษัทต้องปรับโครงสร้างองค์กร ซึ่งนำไปสู่การปรับระบบงานหรือตัดงานบางอย่างทิ้งไป ในปี ค.ศ. 1996 บริษัท SAB และสหภาพแรงงาน FAWU (Food and Allied Workers’ Union) ทำการเจรจากันเนื่องจากความกังวลเรื่องการปรับลดพนักงาน จากการเจรจานี้เองทำให้เกิด “แผนการโนอาห์” (Project Noah) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทางเลือกให้กับพนักงานที่ถูกปลดออกจากงาน


บริษัท SAB และ FAWU เข้าประชุมปฏิบัติการที่สำนักงานใหญ่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ การที่ภาคธุรกิจก็ดี สหภาพแรงงานก็ดี ต่างติดต่อประสาน ILO ในระดับนานาชาตินี้แสดงให้เห็นว่าโลกแห่งการแข่งขันนี้มีการแข่งขันเข้มข้นรุนแรงมาก ซึ่งจำเป็นจะต้องพัฒนากลยุทธ์สร้างสรรค์ เพื่อช่วยพัฒนาสถานประกอบการขนาดเล็กที่เกิดขึ้นใหม่ให้สามารถอยู่รอดได้อย่างเร่งด่วน จากการประชุมดังกล่าว บริษัท SAB จึงได้กำหนดเจตจำนง หลักการและเหตุผลของแผนการโนอาห์ขึ้น


หลักการสำคัญของแผนการโนอาห์ คือจัดตั้งศูนย์ฝึกในเมือง ในประเทศแอฟริกาใต้ ที่บริษัท SAB คิดว่าจะมีการตัดทอนพนักงานของบริษัท โดยศูนย์เหล่านี้จัดขึ้นแปดเดือน บริษัทจ้างเจ้าหน้าที่ที่มาจากที่อื่นมาทำหน้าที่ให้บริการผู้ที่กำลังจะถูกปลดออกจากงาน แนะนำด้านการทำธุรกิจ และให้คำปรึกษาด้านสภาพจิตใจ

แผนการโนอาห์นี้ไม่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงใดๆ ระหว่างบริษัท SAB กับสหภาพหรือระบบแรงงานสัมพันธ์ทั้งสิ้น ฝ่ายบริหารของบริษัทกับสหภาพแรงงานก็ยังคงเจรจาเรื่องการปลดคนงานและค่าชดเชยต่อไป โดยไม่เกี่ยวข้องกับแผนการโนอาห์ แม้บริษัทจะเป็นผู้สนับสนุนการเงินและบริการทุกอย่างให้กับผู้ถูกปลดออกจากงานแต่บริษัทและแรงงานเหล่านี้ก็ไม่มีข้อพันธะสัญญาอะไรกัน ฉะนั้นผู้ถูกปลดออกจากงานจึงสามารถเลือกใช้บริการของแผนการโนอาห์ได้อย่างสมัครใจ แต่แผนการโนอาห์นี้ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะมีงานทำ แต่ที่ให้คือบริการสนับสนุนเพื่อให้ผู้ที่ตกงานสามารถทำงานอย่างอื่นได้


แม้ว่าแผนการโนอาห์จะพบกับอุปสรรคมากมาย แต่ก็ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เป็นต้นว่าผู้ที่ถูกปลดจากงานและเข้าร่วมแผนการนี้ สามารถเริ่มธุรกิจขนาดกลาง เล็ก รวม 161 ราย มีตั้งแต่เกษตรกรรมถึงภาคการผลิตและบริการ ซึ่งยังประโยชน์มากทั้งแก่ผู้มีงานทำและผู้ไม่มีงานทำในแอฟริกาใต้


แผนการโนอาห์ได้จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ที่สามารถช่วยเกื้อหนุนธุรกิจขนาดเล็กครั้งหนึ่งกว่า 20 รายพร้อมกัน นอกจากนี้ บริษัทยังได้จัดทำศูนย์บ่มเพาะธุรกิจในเขต Eastern Cape ซึ่งเป็นเขตชนบท โดยทำเป็นโครงการร่วมกับรัฐบาล ชุมชนและแรงงาน โดยในเวลาเก้าเดือน สามารถผลิตผู้ประกอบการขนาดเล็กได้ 100 กว่าราย


ที่มา: ประชาไท

//www.prachatai.com/05web/th/home/16089
----------------------------------------------------


ที่มา:
Coporates Success Through People: Making International Labours Standards Work For You ( Nikolai Rogovsky And Emily Sims, ILO, 2002)
//www.ilo.org/public/english/employment/skills/workplace/case/case7.htm




 

Create Date : 30 มีนาคม 2552    
Last Update : 31 มีนาคม 2552 18:00:46 น.
Counter : 715 Pageviews.  

การเลิกจ้างแรงงานที่เป็นธรรมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (ตอน: 1) กรณีศึกษาบริษัท Levi Strauss ... ประชาไท


การเลิกจ้างแรงงานที่เป็นธรรมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (ตอน: 1) กรณีศึกษาบริษัท Levi Strauss




วิทยากร บุญเรือง



ในอดีต การปลดแรงงานออกจากบริษัท โรงงาน และหน่วยผลิตต่างๆ มักสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งต่อมาเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว จึงมีการจ้างงานใหม่เป็นวัฏจักร แต่ในปัจจุบันนี้การเลิกจ้างแรงงานนั้นมีหลายเหตุผลไม่ว่าจะเป็นการปรับขนาดองค์กร หรือการเลิกจ้างเพื่อเปลี่ยนรูปแบบการประกอบธุรกิจ เป็นต้น



การเป็นลูกจ้างที่ทำงานอยู่กับนายจ้างคนเดียวจนตลอดชีวิตนั้น แทบที่จะหมดสมัยไปแล้ว แม้แต่ในระดับผู้บริหารก็ตามที ในปี ค.ศ. 1997 มีการสำรวจบริษัทขนาดใหญ่พบว่าบริษัทขนาดใหญ่ 69% เลิกนโยบายประกันความมั่นคงแก่ลูกจ้างแล้ว มีเพียง 3% เท่านั้นที่คงยังรักษานโยบายนี้อยู่ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาหาเกณฑ์มาตรฐานของบริษัทชั้นนำ พบว่าความคาดหวังเกี่ยวกับการพัฒนาชีวิตการทำงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับทศวรรษที่ 1980 ผลการศึกษาพบว่าบริษัทวางแผนว่าตำแหน่งการบริหารควรมีระยะเวลาดำรงตำแหน่งโดยเฉลี่ยเพียง 3 – 4 ปี



รวมถึงแรงงานระดับปฏิบัติการ สำหรับระบบการจ้างงานในปัจจุบัน ที่ตลาดแรงงานถูกทำให้ยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้การจ้างงานระยะสั้นกำลังถูกนำมาแทนที่การจ้างงานระยะยาวแบบเดิม ซึ่งเป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งว่า ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจที่เราเผชิญอยู่นี้ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการจ้างงานในอุตสาหกรรมต่างๆ จะเป็นเช่นไร



และวิกฤตโลกระลอกล่าสุดนี้ การที่นายจ้าง ผู้ประกอบการ นำเอา “วิกฤต” มาเป็นข้ออ้างในการปลดแรงงาน ซึ่งถึงแม้เราจะเลี่ยงการเลิกจ้างไม่ได้ แต่การเลิกจ้างอย่างเป็นธรรมต่อแรงงาน ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในช่วงวิกฤต โดยในรายงานชุด “การเลิกจ้างแรงงานที่เป็นธรรมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ” จะนำเสนอกรณีศึกษาของการเลิกจ้างแรงงานของบริษัทต่างๆ และมาตรฐานสากลที่ว่าด้วยการเลิกจ้างที่เป็นธรรม โดยในตอนที่ 1 นี้จะขอนำเสนอ “กรณีศึกษาบริษัท Levi Strauss” …






บริษัท Levi Strauss เคยเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อแรงงานเป็นอย่างดี
ทั้งการเลิกจ้างอย่างเป็นธรรม และการจัดระบบให้พนักงานมีส่วนร่วมกับการผลิต (ที่มาภาพ: AP)



กรณีศึกษาบริษัท Levi Strauss



บริษัท Levi Strauss ได้ให้คำมั่นสัญญากับแรงงานของบริษัทมาตั้งแต่วิกฤตการเงินครั้งใหญ่ครั้งแรกของสหรัฐอเมริกา (Great American Depression) ในช่วงทศวรรษที่ 1930 โดยวอลเตอร์ ฮาสส์ ซีเนียร์ (Walter Haas Sr.) ซึ่งในตอนนั้นแทนที่เขาจะปลดแรงงานโดยทันทีทันใด แต่กลับใช้กลยุทธ์ลดจำนวนวันทำงานลง รวมถึงจ้างแรงงานของบริษัทช่วยกันทำพื้นโรงงานแห่งใหม่ จนกว่าตลาดจะฟื้นตัว



เมื่อบริษัทเปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชนในปี ค.ศ. 1971 ในหนังสือขายหุ้นของบริษัทระบุเตือนผู้ซื้อหุ้นว่า “กำไรของบริษัทอาจจะมีน้อย เนื่องจากบริษัทมุ่งคืนกำไรแก่สังคม” ได้สร้างความฮือฮามากในขณะนั้น



ต่อมาในทศวรรษที่ 1980 เป็นช่วงที่ตลาดเสื้อผ้าเริ่มกระเตื้องขึ้น ระหว่างปี ค.ศ. 1985 ซึ่งเป็นปีที่บริษัทเป็นบริษัทเอกชนเพราะมีผู้ซื้อหุ้นไปทั้งหมด แต่ในปี ค.ศ. 1996 บริษัทกลับมาเป็นบริษัทสาธารณะอีกครั้งหนึ่ง หุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 2.53 ดอลลาร์ เป็น 265 ดอลลาร์ อย่างไรก็ดีในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1997 บริษัทจำเป็นต้องปรับขนาดองค์กร โดยมีการปิดโรงงานในสหรัฐถึง 11 โรงงาน และต้องปลดแรงงานออกประมาณ 6,400 คน โดยในการนี้ บริษัทจ่ายค่าชดเชยให้กับแรงงานเป็นเงิน 200 ล้านดอลลาร์



ไมเคิล เวเรสเป (Michael Verespe) บรรณาธิการอาวุโสของนิตยสาร Industry Weekly กล่าวถึงเงินชดเชยก้อนมหาศาลนี้ว่า “พนักงานทุกคนที่ออกจากงานได้รับเงินค่าชดเชยโดยนับจำนวนปีที่ทำงาน ปีหนึ่งจะได้เงินชดเชยสามสัปดาห์ รับเงินเดือนอีก 8 เดือนนับจากวันที่ประกาศบริษัทออก ช่วยหางานใหม่ให้ทำ และมีบริการให้คำปรึกษาด้านอาชีพ ยิ่งกว่านั้นพนักงานจะได้รับเงินค่าชดเชยเป็นก้อนแม้ว่าจะได้งานใหม่ทำโดยทันทีก็ตาม บริษัทยังให้สวัสดิการการรักษาพยาบาล โดยบริษัทเป็นผู้จ่ายทั้งหมดถึง 18 เดือน และช่วยในด้านการศึกษาต่อ ฝึกอบรม หรือย้ายบ้านให้อีกคนละ 6,000 ดอลลาร์”



ทั้งนี้บริษัทได้ร่วมมือกับสหภาพแรงงาน ช่วยกันวางแผนจ่ายเงินชดเชยก้อนใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า แต่ทว่าสหภาพแรงงานเองก็ไม่สามารถต่อรองให้บริษัทเปลี่ยนรูปแบบองค์กรโดยการไปใช้บริษัทจ้างเหมาช่วง หรือไปลงทุนในประเทศที่มีค่าแรงราคาถูกได้ก็ตาม แต่ผู้นำสหภาพแรงงานก็ยอมรับว่าพอใจที่บริษัทสัญญาว่าจะรักษายอดการผลิตในสหรัฐและแคนาดาอยู่ที่ 55% เพื่อให้พนักงานมีงานทำในสหรัฐและแคนาดา



บริษัทเริ่มนำโครงการแบ่งกำไรและการทำงานเป็นทีมมาใช้ในโรงงานในสหรัฐ เพื่อให้บริษัทสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันและไม่ต้องปิดตัวเองลง โรงงานเปลี่ยนวิธีปฏิบัติงานใหม่โดยบริษัทให้การฝึกอบรม ให้ข่าวสารและอำนาจการตัดสินใจแก่พนักงานในสายการผลิต ซึ่งบริษัท Levi Strauss เป็นบริษัทเสื้อผ้า บริษัทแรกๆ ที่เปลี่ยนวิธีการทำงานจากระบบการบังคับบัญชาสั่งงานและควบคุม มาเป็นระบบจัดการแบบมีส่วนร่วม



แต่ทั้งนี้ก็ไม่มีใครที่อยากเสียงานที่มั่นคงไป บรู๊ซ เราย์นอร์ (Bruce Reynor) อดีตรองประธานบริหารของ Union of Needletrades, Industrial and Textile Employees (UNITE) กล่าวว่า “ถึงอย่างไรพนักงานก็ต้องตกงาน และเราเสียใจที่เป็นเช่นนั้น แต่ผมคิดว่าบริษัทได้ยื่นมือเข้ามาช่วยและทำทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ เพื่อไม่ให้พนักงานต้องเดือดร้อนมากเกินไป”



ประกอบการเขียน:
Coporates Success Through People: Making International Labours Standards Work For You ( Nikolai Rogovsky And Emily Sims, ILO, 2002)


ที่มา : ประชาไท

//www.prachatai.com/05web/th/home/16056




 

Create Date : 30 มีนาคม 2552    
Last Update : 31 มีนาคม 2552 9:03:44 น.
Counter : 1107 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  

byonya
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




I am not a perfect, but simple!

 
 
Custom Search



 
 

Website น่าสนใจ  
 
หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท

เว็บการศึกษา Eduzones.com

Business Web Directory .biz - Business Directory
 


Word of the Day

This Day in History

Quote of the Day

Hangman




Friends' blogs
[Add byonya's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.