Business, Management, Skill, Experiences--แลกเปลี่ยน เรียนรู้ แบ่งปัน ประสบการณ์ บริหาร และอื่น ๆ
Group Blog
 
All blogs
 
ได้ค่าชดเชย แม้ว่จะกระทำผิดซ้ำในความผิดที่ได้รับหนังสือเตือนมาก่อน



ได้ค่าชดเชย แม้ว่จะกระทำผิดซ้ำในความผิดที่ได้รับหนังสือเตือนมาก่อน





เรียบเรียงจาก : เตือนแล้ว..เตือนอีก

โดย : ฉันทนา เจริญศักดิ์

วารสารศาลแรงงานกลาง
ฉบับพิเศษ(ธันวาคม 2549)




แม้ว่ากฎหมายจะไม่ได้กำหนดรูปแบบของหนังสือเตือนไว้อย่างชัดแจ้ง
แต่การที่นายจ้างออกหนังสือเตือนโดยไม่มีข้อความที่มีลักษณะของการเตือนตามกฎหมาย
ก็อาจทำให้หนังสือเตือนฉบับนั้นใช้ไม่ได้
เมื่อลูกจ้างกระทำความผิดซ้ำอีก
การที่นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยและค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ก็อาจทำให้เป็นปัญหาได้ ดังตัวอย่างของคดีแรงงานที่น่าสนใจดังนี้

ลูกจ้างมาทำงานสายเป็นประจำ และก่อนเลิกจ้าง
นายจ้างได้ทำหนังสือเตือนเรื่องการมาทำงานสายและลูกจ้างได้รับทราบการตักเตือนนั้นแล้ว
นายจ้างจึงเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ได้จ่ายค่าชดเชยและค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

ลูกจ้างได้นำคดีมาสู่ศาลแรงงาน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า
การที่ลูกจ้างมาทำงานสายเป็นประจำ
อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง
แม้ว่าจะไม่ใช่กรณีร้ายแรง แต่นายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว
นายจ้างจึงไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด

ลูกจ้างคนเก่ง(แต่ความประพฤติการทำงานไม่น่าภาคภูมิใจ)
ได้ยื่นอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาว่า นายจ้างออกหนังสือเตือนไม่ถูกต้อง
จึงไม่ถือว่าเป็นหนังสือเตือนตามกฎหมาย ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่า


"แม้ตามกฎหมายจะไม่ได้กำหนดแบบไว้ว่าหนังสือเตือนจะต้องมีรูปแบบและข้อความอย่างไร
แต่หนังสือเตือนนั้นจะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างตักเตือนลูกจ้างที่ได้กระทำผิดฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง
มิให้กระทำผิดเช่นว่านั้นซ้ำอีก หากกระทำจะต้องถูกลงโทษ
แต่เอกสารที่นายจ้างจัดทำและอ้างว่าเป็นหนังสือเตือนนั้น
คงมีข้อความระบุเพียงว่า "ลูกจ้างกระทำผิดมาทำงานสาย
เป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเท่านั้น
มิได้มีข้อความที่เป็นคำตักเตือนของนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างกระทำผิดเช่นนั้นซ้ำอีก
และหากกระทำอีกจะต้องถูกลงโทษไว้ด้วยแต่อย่างใด
เอกสารที่นายจ้างจัดทำเป็นหนังสือดังกล่าว
จึงถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือตักเตือนตามกฎหมาย
กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายได้"



จากหลักกฎหมายและคำพิพากษาศาลฎีกา สามารถพิจารณาได้ดังนี้

1.
ข้อยกเว้นที่ทำให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ลูกจ้างกระทำความผิดไม่ร้ายแรง
เช่น มาทำงานสาย ไม่ส่งใบลา
นายจ้างจะต้องตักเตือนการกระทำดังกล่าวนั้นก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง

2. การตักเตือนที่จะมีผลให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยต้อง
"ตักเตือนเป็นหนังสือ"เท่านั้น(กรณีที่ลูกจ้างมาทำงานสาย
แม้นายจ้างจะตักเตือนด้วยวาจาหลายครั้ง ก็ยังคงต้องจ่ายค่าชดเชย)

3. "หนังสือเตือน" ที่จะมีผลเป็นหนังสือเตือน
ต้องมีข้อความแสดงพฤติกรรมหรือการกระทำของลูกจ้างที่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง
ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
และถ้อยคำทีมีลักษณะตักเตือนมิให้ลูกจ้างกระทำผิดอีก
นอกจากนี้หนังสือเตือนต้องออกหรือกระทำโดยนายจ้างหรือผู้กระทำการแทนนายจ้าง
หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเท่านั้น

4. หนังสือเตือนควรมีข้อความต่อไปนี้

1. สถานที่ออกหนังสือเตือน

2. วัน เดือน ปีที่ออกหนังสือเตือน

3. ข้อความแสดงการแจ้งต่อตัวลูกจ้างที่กระทำผิดโดยเฉพาะเจาะจง(ไม่ควรปิดประกาศหนังสือเตือน
หรือกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการประจานลูกจ้าง
หรือทำให้ลูกจ้างได้รับความอับอาย ทั้งนี้
เนื่องจากการกระทำดังกล่าวนอกจากจะเป็นผลทำให้เกิดความขัดแย้ง
บาดหมางในสถานประกอบการแล้ว อาจเป็นผลให้มีคดีมาสู่ศาลอีกมากมาย)

4. ข้อเท็จจริง หรือพฤติกรรมของลูกจ้างที่ฝ่าฝืนคำสั่ง ระเบียบ
หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน โดยระบุวัน เดือน ปี เวลา สถานที่
และการกระทำนั้น(เมื่อใด ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร)

5. คำสั่ง ระเบียบ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กล่าวอ้างว่าการกระทำของลูกจ้างเป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง
ระเบียบ หรือข้อบังคับนั้น
โดยควรระบุให้เห็นว่าการกระทำของลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่ง ระเบียบ
ข้อบังคับฉบับใด ในข้อใด)

6. ข้อความที่มีลักษณะเป็นการตักเตือนมิให้ลูกจ้างกระทำความผิดอีก
และควรระบุว่าหากลูกจ้างกระทำความผิดซ้ำหนังสือตักเตือนอีก
จะลงโทษทางวินัยอย่างไร

7. ลายมือชื่อของนายจ้างหรือผู้ออกหนังสือเตือน
(ต้องเป็นผู้มีอำนาจในการออกหนังสือเตือน)

5. หนังสือเตือนมีผลใช้บังคับไม่เกิน 1 ปี
นับแต่วันที่ลูกจ้างกระทำความผิดเท่านั้น



จะเห็นว่า การเตือนที่ทำเป็นหนังสืออย่างไม่ถูกต้อง
ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว
ลูกจ้างที่มาทำงานสายบ่อยครั้งแล้วได้รับค่าชดเชย
เพราะนายจ้างทำหนังสือเตือนไม่ถูกต้องก็ไม่น่าภาคภูมิใจในการกระทำของตน
เพราะนอกจากจะทำให้ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแล้ว
ถ้านายจ้างที่ไหนรู้ก็คงไม่อยากจะรับเข้าทำงานด้วยแน่นอน




Create Date : 19 มีนาคม 2552
Last Update : 19 มีนาคม 2552 17:49:28 น. 0 comments
Counter : 914 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

byonya
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




I am not a perfect, but simple!

 
 
Custom Search



 
 

Website น่าสนใจ  
 
หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท

เว็บการศึกษา Eduzones.com

Business Web Directory .biz - Business Directory
 


Word of the Day

This Day in History

Quote of the Day

Hangman




Friends' blogs
[Add byonya's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.