It is never too late to be what you might have been " ไม่เคยมีคำว่าสายเกินไป...ที่จะเป็นในสิ่งที่คุณอยากจะเป็น "
:: Welcome to krulemon's weblog
วิจัยการศึกษา เรียนคณิต online กระดานข่าวเด็กคณิต/ศิษย์เก่า ติวเข้มGAT-PATกับETV มุมดูแลสุขภาพ
Group Blog
 
All blogs
 

งานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา(T.K.)


ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ blog ของงานวิจัยการศึกษา ..หวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog แห่งนี้จะเป็นที่สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ที่สนใจงานวิจัยในชั้นเรียน (หรือไม่ได้สนใจ..แต่จำเป็นต้องทำ)ผู้เขียนไม่อยากให้บล็อกเป็นวิชาการมากเกินไป ก็เลยทำรูปแบบบล็อกเป็นแบบสบายๆไว้อ่านกันเล่นๆ ในบล็อกได้รวบรวมแหล่งเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน..รวมทั้งเกร็ดความรู้อื่นๆที่น่าสนใจในการทำวิจัย.(ด้านล่าง)..
แล้วเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันนะคะ.


ดูรายละเอียดการเขียนโครงร่างการวิจัยด้านล่าง



เริ่มต้นกับวิจัยในชั้นเรียน

(คลิกที่หัวข้อเพื่ออ่าน)

ความรู้เบื่องต้นในการทำวิจัย
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
ประเภทของการวิจัย
การเลือกปัญหาในการวิจัย
ตัวแปรและสมมติฐานในการวิจัย
การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือและเทคนิคในการรวบรวมข้อมูล
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การแปลความหมายข้อมูล
การเขียนรายงานวิจัย


แหล่งเรียนรู้สำหรับ การทำวิจัยในชั้นเรียน

ตัวอย่างงานวิจัยในชั้นเรียน
ห้องสมุดงานวิจัย
รวมงานวิจัยเกี่ยวกับการแก้ไขพฤติกรรมนักเรียน

การเขียนเค้าโครงการวิจัย


เค้าโครงการวิจัย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินการวิจัย ทั้งนี้เนื่องจากเค้าโครงการวิจัยเป็นสิ่งที่จะบอกให้ทราบถึงแผนดำเนินงาน และขั้นตอนที่นักวิจัยจะกระทำ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการวิจัย นอกเหนือไปจากนี้ยังช่วยเป็นแนวทางในการประเมินโครงการวิจัยที่จะจัดกระทำขึ้นว่ามีความเป็นไปได้ จะก่อประโยชน์แก่วงวิชาการและสังคม และมีคุณค่าเพียงใด และในกรณีที่ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยแล้วเสร็จ การเขียนรายงานการวิจัยนั้นก็จะต้องอาศัยเค้าโครงการวิจัยเป็นแนวทางสำหรับการเขียนรายงานการวิจัยนั้นๆ ด้วย เค้าโครงการวิจัยประกอบด้วยส่วนที่สำคัญสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นบทนำและส่วนที่กล่าถึงวิธีการที่จะดำเนินการวิจัย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

6.1 ส่วนบทนำ ส่วนบทนำประกอบด้วยส่วนสำคัญต่างๆ ดังนี้

6.1.1 ความเป็นมาของปัญหาหรือหลักการและเหตุผลของการวิจัย
ข้อความในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่บอกให้ทราบภูมิหลังและที่มาของปัญหาในการวิจัย ในการเขียนข้อความส่วนนี้ ผู้ที่จะดำเนินการวิจัยจะต้องค้นคว้าและอ้างอิงถึงทฤษฎี หลักการและเหตุผลในเรื่องที่ตนเองจะศึกษาหาคำตอบจากการวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึงแนวทางที่จะดำเนินการวิจัย
6.1.2 ข้อความที่เป็นหัวข้อปัญหาของการวิจัย
หลังจากที่ได้เขียนบทนำในส่วนที่เกี่ยวกับความเป็นมาของปัญหาในการวิจัยแล้ว ผู้วิจัยก็จะต้องเขียนข้อความที่เป็นหัวข้อปัญหาของการวิจัย ซึ่งในส่วนนี้จะต้องบอกวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยกล่าวถึงจุดสำคัญที่ตนเองต้องการศึกษาให้จำเพาะเจาะจงเป็นข้อๆ ซึ่งในที่นี้ก็จะต้องกล่าวถึงตัวแปรสำคัญๆ ที่ทำการศึกษาไว้ด้วย
6.1.3 การประมวลรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จุดมุ่งหมายของการประมวลรายงานการวิจัยหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่จะดำเนินการนั้น ก็เพื่อที่จะให้ผู้วิจัยทราบแวดวงของปัญหาในการวิจัยพร้อมทั้งภูมิหลัง หลักการและเหตุผลของเรื่องนั้นๆ ได้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อจะได้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับสร้างสมมติฐานในการวิจัยต่อไป การศึกษารายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้น ผู้วิจัยจะต้องรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย พร้อมทั้งผลสรุปของรายงานการวิจัยแต่ละเรื่องไว้ด้วย เพื่อที่จะได้วิเคราะห์เปรียบเทียบผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแต่ละเรื่อง และจะได้ลงสรุปข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจัยที่ได้มีผู้กระทำไปแล้ว
6.1.4 ความสำคัญของปัญหา ในการเขียนเค้าโครงการวิจัยนั้น ขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งก็คือ การกล่าวถึงความสำคัญของปัญหาในการวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานวิจัยของตนเองนั้นจะให้คำตอบแก่คำถามหรือปัญหาต่างๆ ในด้านทฤษฎีและด้านการปฏิบัติอย่างไร ซึ่งในที่นี้ผู้วิจัยก็จะต้องกล่าวถึงทั้งการประยุกต์ผลของการวิจัยไปใช้ และนัยของความรู้ที่ได้จากการวิจัยนั้นๆ ด้วย
6.1.5 คำจำกัดความและนิยามศัพท์เฉพาะ
การเขียนข้อความซึ่งเป็นศัพท์ใหม่ๆ หรือเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชานั้น ผู้วิจัยจะต้องให้ความหมายอย่างชัดเจน ซึ่งบางครั้งต้องเขียนออกมาในรูปของนิยามปฏิบัติการ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกัน
6.1.6 ขอบเขตของการวิจัย
ในการเขียนเค้าโครงการวิจัยนั้นผู้วิจัยจะต้องกล่าวถึง ขอบเขตของการวิจัยและรวมไปถึงข้อจำกัดในการวิจัยด้วย เพื่อที่จะไม่ให้การดำเนินงานวิจัยและผลของการวิจัยนั้นกินความกว้างขวางเกินไป ซึ่งก็จะเป็นการกระทบไปถึงงบประมาณในการวิจัยด้วย ในการกำหนดขอบเขตของการวิจัยแต่ละเรื่องผู้วิจัยควรจะได้พิจารณางบประมาณในการวิจัยและความเป็นไปได้ในการดำเนินงานวิจัยควบคู่กันไปด้วย

6.2 ส่วนวิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วยหัวข้อที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้

6.2.1 ตัวแปรในการวิจัย
ผู้วิจัยจะต้องกำหนดตัวแปรที่จะทำการศึกษาให้ชัดเจนว่า ตัวแปรใดคือตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม ตัวแปรแทรกแซง หรือตัวแปรที่เป็นตัวกลาง พร้อมทั้งอธิบายธรรมชาติ คุณลักษณะและวิธีการที่จะได้มาซึ่งตัวแปรนั้นๆ ด้วย
6.2.2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องกล่าวถึงประชากร ซึ่งเป็นจุดหมายที่ต้องการศึกษา ลักษณะของประชากร วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อเป็นตัวแทนของประชากรในการวิจัย และขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
6.2.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการวิจัยทางด้านการศึกษาส่วนมากนั้นเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลมักจะเป็น แบบทดสอบ แบบสอบถาม และแบบวัดพฤติกรรมต่างๆ ผู้วิจัยจะต้องอธิบายเกี่ยวกับลักษณะทางเครื่องมือและการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจน ถ้าหากจะนำเครื่องมือการวัดผลที่เป็นมาตรฐานมาใช้จะต้องกล่าวถึง ลักษณะและคุณภาพของเครื่องมือนั้นๆ รวมทั้งชื่อของหน่วยงานที่ผลิตเครื่องมือวัดผลด้วย
6.2.4 การดำเนินการรวบรวมข้อมูล ในส่วนการดำเนินการรวบรวมข้อมูลนั้น ผู้วิจัยจะต้องกล่าวถึงขั้นตอนในการดำเนินงาน วิธีการที่จะดำเนินการกับเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ส่วนของการดำเนินการรวบรวมข้อมูลนี้เป็นส่วนที่จำเป็นและสำคัญในการเขียนเค้าโครงการวิจัยเชิงทดลอง
6.2.5 การวิเคราะห์ข้อมูล
ในกรณีที่เค้าโครงการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยจะต้องอธิบายเกี่ยวกับวิธีการทางสถิติที่จะใช้วิเคราะห์ข้อมูลไว้ด้วย ในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเขียนสูตรหรือแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ แต่ผู้วิจัยจะต้องตระหนักว่าวิธีการทางสถิติที่นำมาใช้นั้นสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ปัญหาและข้อมูลซึ่งได้กล่าวอ้างไว้ในวัตถุประสงค์ของการวิจัย หรือข้อความที่เป็นหัวข้อปัญหาของการวิจัย ซึ่งอยู่ในส่วนบทนำของเค้าโครงการวิจัย


สรุปการเขียนเค้าโครงการวิจัย

• ชื่อโครงการวิจัย
• สาขาวิชาที่ดำเนินการวิจัย
• ชื่อผู้ดำเนินการวิจัย
• ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา หรือ หลักการและเหตุผล ของการวิจัย
• วัตถุประสงค์ของการวิจัย
• การประมวลวรรณกรรมและรายงานการวิจัยทีเกี่ยวข้อง
• คำจำกัดความและนิยามศัพท์เฉพาะ
• ขอบเขตของการวิจัย
• วิธีดำเนินการวิจัย
- ตัวแปรในการวิจัย
- กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
- เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
- การวิเคราะห์ข้อมูล
- ระยะเวลาในการดำเนินงานวิจัย


ขอขอบคุณ:
รองศาสตราจารย์ ดร. จริยา เสถบุตร
ภาควิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น








 

Create Date : 25 สิงหาคม 2551    
Last Update : 6 กันยายน 2552 12:25:44 น.
Counter : 7142 Pageviews.  

CAR 2: การประเมินเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้



CAR 2: การประเมินเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้

คำถามที่นำไปสู่การวิจัย

1. สิ่งบ่งชี้และสภาพความสำเร็จของการสอนมีอะไรบ้าง และเหตุรวมทั้งปัจจัยแห่งความสำเร็จคืออะไร
2. ปัญหาและอุปสรรคการสอนมีอะไรบ้าง มีสาเหตุและปัจจัยมาจากอะไร
3. แนวทางแก้ไขปรับปรุงพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และพฤติกรรมการสอนของตนเองของครูในหน่วยการเรียนรู้ต่อไปควรมีอะไรบ้าง



(ดูตัวอย่างรายงานวิจัยเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ ด้านล่าง)


คลิกการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องการอ่านจับใจความ

คลิก การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ และความสามารถในการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์สู่โลกจริงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่ได้รับการสอนแบบปฏิบัติการกับการสอนแบบปกติ


คลิกสรุปงานวิจัยเรื่องการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนการ์ตูนประกอบ เรื่อง การแก้ โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

คลิกการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพ(เกษตร)

คลิกการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อโปรแกรม Microsoft Excel ในการแก้ไขปัญหาการปิดบัญชีให้ถูกต้องตามรูปแบบและวิธีการปิดบัญชี วิชาบัญชีเบื้องต้น 1

คลิกสรุปผลวิจัยการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้(วิทยาศาสตร์)

คลิกการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การผลิตและการบริโภคตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยสื่อประสม(สังคมศึกษาฯ)

คลิกการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)






 

Create Date : 25 สิงหาคม 2551    
Last Update : 26 สิงหาคม 2551 0:15:40 น.
Counter : 4383 Pageviews.  

วิจัยเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง (CAR 1-4)


CAR เป็นคำย่อมาจากคำว่า “ Classroom Action Research ” แต่เพราะเราเป็นครูไทยที่มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน ( ประเภทยิ้มไม่ออก ) CAR ของ ศน. โชคชัย สิรินพมณี (เขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยใช้สถานที่โรงเรียนสมุทรพิทยาคม เมื่อวันเสาร์ อาทิตย์ที่ 14 - 15 มิถุนายน 2551 บรรยายในหัวข้อ “ CAR เพื่อนำการเปลี่ยนแปลง ” ได้ให้คำถามเชิงพัฒนาแก่เพื่อนครูที่น่าสนใจว่า ...ใน 1 เทอม ครูควรทำวิจัยกี่เรื่อง อะไรบ้าง ” )
จึงกลายเป็น คาที่ ค่าใจ ค่าราคาซัง หรือคาหนังคาเขา ประมาณนั้น
แต่เมื่อมีเวลาทบทวนจะเห็นว่า... “ CAR เพื่อนำการเปลี่ยนแปลง ” มีขั้นตอนการปฏิบัติที่น่าสนใจ และเราๆ ท่านๆ ก็ทำกันอยู่มาโดยตลอด เพียงแต่ไม่ได้จัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล อาจเป็นเพราะ ... ไม่รู้ ไม่เข้าใจ หรือไม่มีเวลา ก็อาจเป็นได้ แต่ไม่ใช่ไม่อยากทำ เพราะหลังจากอบรมเสร็จในแต่ละช่วงพัก เพื่อนครูจะมาคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันว่า ...เราจะทำอย่างไรกันต่อไป


ขั้นที่ 1 CAR 1 เริ่มจากรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล หรือ วิเคราะห์ผู้เรียน ครูควรใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ( เมื่อเปิดภาคเรียน ) ทำความรู้จักผู้เรียน อาจนำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และระบบการเรียนรู้มาประยุกต์หรือบูรณาการ ซึ่งครูผู้สอนในแต่ละรายวิชา หรือครูที่ปรึกษาควรมีข้อมูลที่ชัดเจน เรียกว่า ข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในภาคเรียน หรือปีการศึกษาที่ผ่านมา พฤติกรรมหรือความสามารถที่เป็นจุดเด่น ตลอดจนพฤติกรรมที่เป็นปัญหา และสิ่งที่ผู้เรียนควรได้รับความช่วยเหลือ ครูมีอิสระที่จะใช้เทคนิควิธีการ และเครื่องมือที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้ได้ข้อมูลดังกล่าว หากเพื่อนๆยังไม่ได้ลงมือทำก็ทำได้แล้ว ดีกว่าอยู่เปล่าๆ ทำไปเรื่อยๆเพลินๆ แล้วจะรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าขึ้น

ขั้นที่ 2 CAR 2 เข้าสู่การประเมินเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่ง ศน.วิฑูรย์ ชั่งโต ก็ได้มาอธิบายถึงวิธีการจัดทำหลักสูตรอิงมาตรฐาน การทำหน่วยการเรียนรู้ ตลอดจนการออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ในช่วงบ่ายๆ ไว้อย่างน่าฟัง เป็นการทบทวนบทบาทภาระหน้าที่ของครู ตาม พ.ร.บ การศึกษา หมวด 4 การจัดการศึกษา มาตรา 22 – 30 ในขั้นตอนนี้ครูจะได้แสดงความเป็นมืออาชีพในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ... เชื่อเถอะว่า...

ไม่มีวิธีการสอนใดดีที่สุด ไม่มีสื่อชนิดใดที่ล้าสมัย หรือทันสมัย ครูเพียงเข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งของวิธีการสอน และสื่ออย่างชัดเจน ก็จะทำให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาตามที่ต้องการ

ครูจึงต้องตอบคำถามให้ได้ว่า
1.ความสำเร็จของการสอนมีอะไรบ้าง มีสาเหตุ และปัจจัยมาจากอะไร

2.ตลอดจนปัญหาของการสอน มีอะไรบ้าง มีสาเหตุ และปัจจัยมาจากอะไร

3.จะได้ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ และสื่อประกอบการสอน อย่างไร

ขั้นนี้...ซุนวู บอกในตำราพิชัยยุทธ์ว่า “ รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง ”
ขั้นที่ 3 CAR 3 เรียกว่า กรณีศึกษานักเรียน เป็นผลพวงมาจากขั้นที่ 1 คือรู้จักนักเรียน จากนั้นก็มาออกแบบการเรียนรู้ ซึ่งจะพบว่า นักเรียนหรือผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างหลากหลาย และมีรูปแบบวิธีการเรียนที่ต่างกัน บางคนชอบพูด ถาม และโต้ตอบ ในขณะที่บางคนชอบอ่านหนังสือ หรือชอบฟังมากกว่า บางคนต้องลงมือทำจึงจะเกิดการเรียนรู้ และบางคนเป็นประเภทชีวิตนี้...ใครอย่ามายุ่งกับฉัน ... กลุมนี้แหละที่น่าทำวิจัยที่สุด เพราะนอกจากครูจะต้องแม่นยำในเนื้อหาสาระที่สอนแล้ว ยังต้องรู้จักใช้จิตวิทยา และการบริหารจัดการชั้นเรียน ตลอดจนมีความเมตตา เข้าใจและช่วยเหลือผู้เรียนในเรื่องของความแตกต่างนั้นๆ ในเวลาเดียวกันก็บันทึกผลของการแก้ปัญหา หรือการพัฒนาไว้ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับเพื่อนครู เรียกว่า KM : Knowledge Management ( การจัดการเรียนรู้ ) เป้าหมายสำคัญของขั้นนี้คือ การแก้ปัญหานักเรียน ไม่ใช่สร้างปัญหาให้นักเรียน คิดเสียว่า ... ที่ใดไม่มีปัญหา..ที่นั่นไม่พัฒนา

ขั้นที่ 4 CAR 4 เป็นขั้นการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ความจริงการวิจัยครูผู้สอนสามารถทำได้ตั้งแต่ CAR 1 ถึง CAR 4 เพียงแต่ขั้นนี้เป็นขั้นที่ใช้สำหรับเรียกความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในตัวครูผู้สอนว่า วิธีการสอน สื่อนวัตกรรมที่ใช้มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ สามารถนำไปประยุกต์ในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ครูผู้สอนอาจเขียนเป็นรายงานวิจัยแผ่นเดียว หรือ 5 บทแล้วแต่ปัจจัยที่เอื้ออำนวย ในบางครั้งวิจัยแผ่นเดียวเขียนยากกว่า วิจัย 5 บทด้วยซ้ำ สำหรับครู

ข้อมูลจาก: ลัดดา สายพานทอง, //gotoknow.org/blog/laddasp/190635?class=yuimenuitemlabel,26 มิ.ย. 2551





 

Create Date : 25 สิงหาคม 2551    
Last Update : 26 สิงหาคม 2551 0:31:48 น.
Counter : 7815 Pageviews.  

ตัวอย่างกรณีศึกษา (CAR3)

การนำเสนอตัวอย่างกรณีศึกษาจะเป็นไปตามขั้นตอนของกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน ดังนี้
ขั้นตอน กระบวนการทำวิจัย
1 สำรวจและวิเคราะห์ปัญหา
2 กำหนดวิธีการในการแก้ปัญหา
3 พัฒนาวิธีการและนวัตกรรม
4 นำวิธีการหรือนวัตกรรมไปใช้
5 สรุปผล


ตัวอย่างกรณีศึกษาที่นำเสนอในที่นี้เรียบเรียงโดย มี ดังต่อไปนี้

กรณีศึกษาที่ 1 : เรียนเศษส่วนด้วยวิธีง่าย ๆ
ครูกัญญาสอนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มาเกือบ 10 ปี สังเกตว่านักเรียนที่ตนสอนมีคะแนนสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชานี้ ต่ำกว่าเกณฑ์มาโดยตลอด จึงได้นำผลการเรียนคณิตศาสตร์เป็นรายจุดประสงค์ของนักเรียน 3 ปีย้อนหลังมาศึกษา และพบว่าจุดประสงค์ในเรื่องการทำเศษส่วนที่กำหนดให้ ให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ เศษเกินและจำนวนคละ เป็นจุดประสงค์ที่นักเรียนส่วนใหญ่สอบไม่ผ่านมากที่สุด เมื่อศึกษาถึงสาเหตุพบว่า มาจากการใช้สื่อและวิธีการสอนที่ไม่เหมาะสม นักเรียนมีพื้นฐานความรู้แตกต่างกัน ครูกัญญาจึงได้ศึกษาหาแนวทางแก้ไข และพิจารณาแล้วว่าการใช้บทเรียนสำเร็จรูปน่าจะเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ด้วยเป็นวิธีการที่เด็กสามารถจะเรียนได้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคล สามารถใช้กับเด็กจำนวนมากในเวลาเดียวกันได้ อีกทั้งเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จึงศึกษาวิธีการสร้างจากผู้รู้และเอกสารต่าง ๆ จากนั้น จึงได้สร้างบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง เศษส่วน จำนวน 9 กลุ่ม (แต่ละเล่มจะแยกเป็นหัวข้อที่เกี่ยวกับเรื่องเศษส่วน) และแผนการสอนเพื่อใช้ควบคู่กัน แล้วได้นำบทเรียนสำเร็จรูปดังกล่าวไปหาประสิทธิภาพใน 2 ขั้นตอน คือ นำไปทดลองใช้กับนักเรียนที่เรียนค่อนข้างอ่อน จำนวน 1 คน แล้วปรับปรุงแก้ไขตามข้อบกพร่องที่พบ และนำไปทดลองใช้อีกครั้งกับนักเรียน 10 คน (นักเรียนเก่งและอ่อน อย่างละ 3 คน ปานกลาง 4 คน) และปรับปรุงแก้ไขจนสมบูรณ์ ส่วนแผนการสอนนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไขจนสมบูรณ์ก่อนนำไปใช้จริง นำบทเรียนสำเร็จรูปที่ผ่านการหาประสิทธิภาพแล้ว ทั้ง 2 ขั้นตอนไปทดลองใช้จริงกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 2 ห้อง ๆ ละ 35 คน ห้องแรก ป.5/1 เป็นห้องทดลองใช้บทเรียนสำเร็จรูป ห้อง ป.5/2 เป็นห้องที่เรียนเรื่องเศษส่วน โดยครูสอนตามปกติ ก่อนการทดลอง นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศษส่วน ไปทดสอบกับนักเรียนทั้ง 2 ห้อง แล้วบันทึกคะแนนผลการทดสอบของนักเรียนแต่ละคนเก็บไว้ เมื่อนักเรียนในห้อง ป.5/1 ใช้บทเรียนสำเร็จรูปจนครบ 9 เล่ม และห้อง ป.5/2 ครูสอนเรื่องเศษส่วนตามแผนการสอนปกติจนจบเนื้อหาแล้ว นำแบบทดสอบชุดเดิมก่อนทดลองใช้บทเรียนสำเร็จรูปมาทดสอบกับนักเรียนอีกครั้ง นำคะแนนจากการทดสอบทั้ง 2 ครั้งของแต่ละห้องมาเปรียบเทียบกัน ผลปรากฎว่า นักเรียนที่เรียนเรื่องเศษส่วน โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนเรื่องเศษส่วน โดยการสอนตามปกติ อีกทั้งนักเรียนมีความสนใจและสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้นด้วย
จากการใช้บทเรียนสำเร็จรูปของครูกัญญา และเป็นผลให้สามารถช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ในครั้งนี้ จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ครูผู้สอนอื่น ๆ ซึ่งมีสภาพปัญหาที่คล้ายคลึงกันจะได้นำไปใช้หรือเป็นต้นแบบในการนำไปพัฒนาใช้ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาที่พบ ด้วยเป็นวิธีการที่ช่วยให้นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นรายบุคคล สามารถใช้สอนซ่อมเสริมนักเรียนที่เรียนอ่อนหรือเรียนช้าได้ทั้งในเวลาและนอกเวลาเรียน อีกทั้งสามารถนำไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในลักษณะของศูนย์การเรียนได้อีกด้วย

กรณีศึกษาที่ 2 : การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
ครูมยุรา เป็นครูสอนภาษาไทย รายวิชา 351 : หลักภาษาเพื่อการสื่อสารในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชานี้ค่อนข้างต่ำ จึงสร้างแบบสำรวจนักเรียนขึ้นเพื่อศึกษาถึงสาเหตุของปัญหา ปรากฏว่านักเรียนส่วนมากไม่สามารถใช้ประโยชน์สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการใช้ภาษาพูด ภาษาเขียน ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อการใช้ภาษาสื่อสารในชีวิตประจำวันทั้งสิ้น เมื่อศึกษาถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขอย่างถ่องแท้แล้ว มีแนวคิดว่า การใช้บทเรียนสำเร็จรูปน่าจะเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ จึงได้จัดทำบทเรียนสำเร็จรูปชุดประโยคกับการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วยบทเรียน 3 เรื่อง คือ ประโยคความเดียว ความรวม และความซ้อนขึ้น หลังจากหาประสิทธิภาพของบทเรียนแล้วได้นำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้องที่มิได้ทำการสอนแบบ 1 : 1 จำนวน 3 คน (นักเรียนเก่ง ปานกลาง อ่อน อย่างละคน) และแบบ 1 : 10 (นักเรียนเก่งและอ่อนอย่างละ 3 คน ปานกลาง 4 คน) ผลจากการทดลองใช้ นักเรียนเห็นว่าควรนำเฉลยแยกไว้อีกส่วนต่างหากและในเฉลยควรวิเคราะห์ให้เห็นว่ากิจกรรมข้อนั้นทำถูกหรือทำผิดอย่างไร เป็นการแนะนำ ชี้แจงเพื่อความเข้าใจ และเป็นแนวทางการวิเคราะห์ให้นักเรียนเห็นเป็นตัวอย่าง จากข้อคิดเห็นของนักเรียนดังกล่าว ได้นำไปใช้เป็นแนวทางการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูปสำหรับนำไปทดลองใช้จริง โดยนำไปใช้กับนักเรียนในห้องที่ทำการสอน จำนวน 34 คน กำหนดเวลาทั้งชุด 12 คาบเรียน และเริ่มจากนำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปทดสอบกับนักเรียน แล้วบันทึกผลสอบของนักเรียนแต่ละคนไว้ จากนั้นนำบทเรียนสำเร็จรูปไปให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ใช้เวลาเรื่องละ 4 คาบ รวมทั้งชุดเป็นเวลา 12 คาบเรียน เมื่อนักเรียนศึกษาบทเรียนครบแต่ละเรื่องแล้วนำแบบทดสอบชุดเดียวกับที่ใช้ก่อนศึกษาจากบทเรียนสำเร็จรูปมาทดสอบกับนักเรียนอีกครั้ง แล้วนำคะแนนมาเปรียบเทียบกัน ผลปรากฏว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากศึกษาด้วยบทเรียนสำเร็จรูปสูงกว่าก่อนการใช้บทเรียนสำเร็จรูป
ผลที่ได้จากการแก้ปัญหาด้วยบทเรียนสำเร็จรูปครั้งนี้ นับว่าเป็นแนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอีกวิธีหนึ่งที่น่าจะนำไปใช้กับการเรียนการสอนซ่อมเสริมวิชาภาษาไทย ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการปรับให้เหมาะสมกับระดับผู้เรียน หรือนำแนวทางการสร้างบทเรียนชุดนี้ไปเป็นสื่อใช้กับเรื่องอื่น ๆ ได้ทั้งในรายวิชาภาษาไทยและวิชาอื่น ๆ ต่อไป

กรณีศึกษาที่ 3 : การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ครูประภารับผิดชอบสอนวิชาวิทยาศาสตร์ (ว 102) ติดต่อกันมาหลายปี สังเกตเห็นว่าสิ่งที่เป็น
ปัญหาสืบเนื่องมาโดยตลอดในการจัดการเรียนการสอนคือ นักเรียนขาดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
และได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่กระทบถึงระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชานี้ให้ต่ำกว่าเกณฑ์อีกด้วย ครูประภาจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนใหม่โดยการจัดทำแผนการสอนที่เน้นกระบวนการและการใช้คำถามเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขึ้น จากนั้นจึงสร้างแผนการสอนดังกล่าวขึ้น จำนวน 22 แผน ใช้เวลาเรียน 60 คาบ คาบเรียนละ 40 นาที ก่อนใช้ได้นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอาจารย์ผู้สอนวิทยาศาสตร์พิจารณาแก้ไข เมื่อปรับปรุงจนสมบูรณ์แล้ว ได้นำไปทดลองใช้ครั้งที่ 1 กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 26 คน และได้ปรับปรุง แก้ไขในส่วนที่บกพร่อง และนำมาทดลองใช้ครั้งที่ 2 กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษาต่อมากับนักเรียน จำนวน 34 คน และปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่บกพร่องอีก จากนั้นนำไปทดลองใช้ครั้งที่ 3 ในอีกปีการศึกษากับนักเรียน จำนวน 38 คน ในระหว่างการทดลองใช้ตั้งแต่ครั้งที่ 1-3 ครูประภาจะเก็บรวบรวมข้อค้นพบต่าง ๆ ไว้ตลอดระยะเวลา เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะตามที่มุ่งหวังและก่อนการทดลองใช้แผนการสอนแต่ละครั้ง จะใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งก่อนและหลังการใช้แผนการสอนแต่ละครั้ง จากนั้นนำคะแนนก่อนและหลังการใช้แผนการสอนแต่ละครั้งมาเปรียบเทียบกัน ปรากฏว่า หลังการใช้แผนการสอนที่เน้นกระบวนการและการใช้คำถามเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้ นอกจากนี้นักเรียนยังมีความชอบและสนใจต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ผลจากการใช้แผนการสอนที่มุ่งสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนได้ ด้วยการปลูกฝังผ่านกระบวนการ การจัดการเรียนการสอน และได้นำไปเผยแพร่ให้ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียงนำไปใช้ การจัดทำแผนการสอนในลักษณะนี้ จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ครูวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นอื่น ๆ ที่มีปัญหาในลักษณะเดียวกันจะนำไปใช้แก้ปัญหา และพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพของนักเรียน ต่อไป

กรณีศึกษาที่ 4 : การพูดและการอ่านออกเสียงเพี้ยน

ครูชาตรีเป็นครูสอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากการสำรวจพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ส่วนใหญ่ พูด และอ่านออกเสียงเพี้ยน ทั้งนี้เพราะนักเรียนส่วนใหญ่นิยมใช้และพูดภาษามลายูท้องถิ่น เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันมากกว่าการใช้ภาษาไทย จึงทำให้นักเรียนพูดภาษาไทยไม่ชัด และส่งผลกระทบต่อการเรียนภาษาไทย ครูชาตรีจึงหาวิธีแก้ไข โดยเริ่มจากการสังเกตพฤติกรรมการพูดเพี้ยนผิดพลาดในระหว่างการเรียนการสอน แล้วบันทึกคำนั้นไว้เป็นรายบุคคล สังเกตพฤติกรรมการอ่านหนังสือแบบเรียนภาษาไทย หนังสืออ่านประกอบแล้วบันทึกคำที่นักเรียนอ่านเสียงเพี้ยนผิดพลาดเป็นรายบุคคล สังเกตจากการทำแบบฝึกหัด จากการฝึกทักษะวิชาภาษาไทย จากการเขียนเรียงความ จดหมายเขียนตามคำบอก แล้วบันทึกคำที่นักเรียนเขียนผิดพลาดเป็นรายบุคคล เกณฑ์การพิจารณาคำที่นักเรียน พูด อ่าน เขียน ผิดพลาดจะยึดหลักว่า เป็นคำที่นักเรียนพูด อ่าน เขียน ผิดพลาด ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป วิธีดำเนินการแก้ไขในด้านการอ่านได้ปฏิบัติดังนี้ คือ 1) นำบัตรคำที่นักเรียนอ่านผิดมาให้นักเรียนดู 2) ครูอ่านคำถูกให้นักเรียนอ่านตาม 3) ให้นักเรียนดูปากครูเวลาครูอ่าน 4) ให้นักเรียนทำปากอ่านตามครู 5) ให้นักเรียนฝึกอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง 6) ให้นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมกัน 7) ให้นักเรียนอ่านทีละคน 8) ให้นักเรียนเปรียบเทียบคำที่ถูก/ผิด 9) ให้นักเรียนเปรียบเทียบเสียงคำที่ถูก / ผิด แล้วให้บอกเสียงที่ถูกต้องที่ครูอ่าน 10) อ่านเสียงที่ถูกต้องตามครู 11) อ่านพร้อมกัน 12) แข่งขันอ่านบัตรคำเล่นเกม 13) อ่านประโยคยาว ๆ ที่มีคำอ่านผิดพลาดประกอบอยู่ด้วย 14) อ่านเรื่องที่มีคำที่อ่านผิดซึ่งแก้ไขแล้วเป็นประโยคร่วมด้วย โดยครูหรือครูกับนักเรียนร่วมกันแต่งหรือนำมาจากหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งมาให้อ่าน ดำเนินการตามวิธีดังกล่าวข้างต้น 1-2 ครั้ง แล้วเว้นระยะ 5-7 วัน จึงกลับมาทดลองอีกครั้ง ปรากฏว่า นักเรียนส่วนใหญ่ยังคงพูด อ่าน และเขียน เสียงผิดพลาดอยู่ จึงคิดหาวิธีใหม่ โดยจัดทำแบบเรียนสำเร็จรูปเรื่อง คำคล้องจอง ไปแก้ไขคำที่นักเรียนพูด อ่าน เขียน ผิดพลาด นำบทเรียนสำเร็จรูปให้นักเรียนนำไปศึกษาด้วยตนเอง ใช้เวลาฝึก 2 สัปดาห์ นักเรียนสามารถเขียนคำร้อยกรองได้ จากนั้นคำที่นักเรียนพูด อ่านเสียงเพี้ยน และเขียนผิดพลาดมาเป็นหัวเรื่องในการฝึกเขียนคำร้อยกรอง และให้อ่านจากเรื่องที่เขียน ปรากฏว่า นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงได้ถูกต้อง เมื่อให้นำคำเหล่านั้นมาเขียนเป็นเรียงความก็สามารถเขียนได้ถูกต้อง
ผลจากการใช้คำคล้องจองมาประกอบการเรียนพูด อ่าน เขียน ปรากฏว่า นักเรียนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปคือชอบหาคำใหม่ ๆ จากพจนานุกรม เพื่อนำมาเขียนเป็นบทร้อยกรอง ชอบอ่านนิทาน บทร้อยกรอง ครูชาตรีจึงได้นำวิธีการนี้ไปใช้กับชั้นเรียนอื่นๆ ปรากฏว่า นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงได้ถูกต้อง ซึ่งอิทธิพลของภาษาถิ่นที่ส่งผลกระทบต่อการพูดและอ่านออกเสียงนี้มีอยู่ในหลายพื้นที่ของประเทศไทยไม่เฉพาะในพื้นที่ชายแดนภาคใต้เท่านั้น ดังนั้นถ้าครูผู้สอนในพื้นที่อื่น ๆ ที่มีปัญหาในลักษณะนี้ควรจะนำวิธีการเช่นเดียวกับครูชาตรีไปใช้เป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยขจัดปัญหาการพูดและอ่านออกเสียงเพี้ยนตามภาษาถิ่น

กรณีศึกษาที่ 5 : การออกเสียง ร และคำควบกล้ำไม่ชัดเจน
ครูลำพาสอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ติดต่อกัน 3 ปีการศึกษาพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ยังมีปัญหาการออกเสียง ร และคำควบกล้ำไม่ชัดเจน ส่งผลกระทบต่อการตีความหมายของประโยคหรือข้อความและการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น จึงคิดหาแนวทางแก้ไข โดยเริ่มจากการวิเคราะห์จำนวนคำที่มีเสียง ร และคำควบกล้ำที่ปรากฏอยู่ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้จำนวนคำที่มีเสียง ร 139 คำ และคำควบกล้ำ (ร ล ว) จำนวน 194 คำ ครูลำพา จึงเลือกคำที่มีเสียง ร ไว้ 21 คำ คำควบกล้ำ 23 คำ นำคำดังกล่าวมาแต่งเป็นบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานี 4 บท ให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 61 คน (2 ห้องเรียน) อ่านออกเสียงทีละคน แล้วบันทึกคำที่ออกเสียง ร และคำควบกล้ำลงในแบบประเมินผล ปรากฏว่า นักเรียนส่วนมากไม่สามารถอ่านคำที่มีเสียง ร และคำควบกล้ำได้ถูกต้อง จึงคิดหาแนวทางการแก้ปัญหาใหม่โดยสร้างนิทานภาพและจัดทำคู่มือการฝึกอ่านออกเสียงคำที่มีเสียง ร และคำควบกล้ำนำไปใช้กับนักเรียนที่อ่านออกเสียง ร และคำควบกล้ำได้ไม่เกิน 8 คำ ได้จำนวนนักเรียน 20 คน จากนั้นได้นำแบบทดสอบการอ่านออกเสียง ร และคำควบกล้ำให้นักเรียนอ่าน ทีละคน แล้วบันทึกไว้ นำนิทานภาพและคู่มือการฝึกมาฝึกนักเรียนสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ช่วงเลิกเรียน จำนวน 16 ครั้ง ในการฝึกแต่ละครั้งจะต้องประเมินผลการฝึกตามเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อผ่านเกณฑ์แล้วจึงจะสามารถฝึกให้ครั้งต่อไปได้ เมื่อฝึกครบ 16 ครั้งแล้ว นำแบบทดสอบชุดเดียวกับที่สอบก่อนใช้คู่มือการฝึกมาสอบนักเรียนทีละคนอีกครั้ง จากการเปรียบเทียบผลการประเมินก่อนและหลังการใช้แบบฝึก ปรากฏว่า นักเรียนสามารถออกเสียงคำที่มีเสียง ร และคำควบกล้ำหลังการฝึกได้จำนวนคำมากกว่าก่อนการฝึกทุกคน
จากการทดลองใช้นิทานภาพและคู่มือการฝึกออกเสียง ซึ่งช่วยให้นักเรียนสามารถออกเสียงคำที่มีเสียง ร และคำควบกล้ำได้ถูกต้องแล้ว ครูลำพาได้นำไปเผยแพร่แก่ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 6 ซึ่งเป็นชั้นที่มีเนื้อหาการเรียนรู้ใกล้เคียงกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สำหรับในชั้นอื่น ๆ ที่มีปัญหาในลักษณะเดียวกันนี้ อาจจะปรับเนื้อเรื่องและสร้างนิทานภาพให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะของนักเรียนเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาได้ต่อไปเช่นกัน

กรณีศึกษาที่ 6 : การผันวรรณยุกต์ไม่ใช่เรื่องยาก
ในชั่วโมงภาษาไทย ครูสนธยาสังเกตเห็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 บอกเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์หรือคำด้วยการนับนิ้วมือทั้งห้าไปพร้อมกับการท่องเสียง กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า ไม่ว่าคำหรือพยางค์นั้นจะมีพยัญชนะต้นเป็นอักษรสูง อักษรกลาง หรืออักษรต่ำ
เมื่อถามถึงเหตุผลว่า ทำไมจึงทราบว่าคำหรือพยางค์นั้นมีเสียงวรรณยุกต์นั้น เด็ก ๆ ตอบไม่ได้ แสดงว่า นักเรียนเรียนแบบท่องจำ ขาดเหตุผลมารองรับ การเรียนหลักภาษาไทยจึงเป็นเรื่องน่าเบื่อ
เพื่อความแน่ใจว่า เด็กของเธอบกพร่องเรื่องนี้จริงหรือไม่ มีจำนวนมากน้อยเพียงใด และมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง เพื่อจะได้หาทางแก้ไขได้ตรงจุด เธอจึงใช้การสอบถาม สัมภาษณ์ และทดสอบ แล้วเธอก็พบว่า เด็กของเธอขาดความสามารถในเรื่องต่อไปนี้จำนวนมาก คือ
1.จำแนกไม่ได้ว่า พยัญชนะไทยทั้งหมดนั้นเป็นอักษรกลาง อักษรสูงและอักษรต่ำ
2.จำแนกไม่ได้ว่าพยางค์หรือคำนั้น เป็นคำเป็นหรือคำตาย
3.จำหลักการผันวรรณยุกต์ไม่ได้
ครูสนธยาจึงคิดทบทวนว่าเธอเรียนรู้เรื่องนี้ได้อย่างไร ในที่สุดเธอก็ได้ทางออกในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้แก่นักเรียน โดย
1.ให้นักเรียนท่อง ก.เอ๋ย ก.ไก่ จนถึง ฮ.นกฮูกตาโต ที่นักเรียนเคยชินมาแล้วตั้งแต่ชั้นอนุบาล แล้วเขียน ก.ไก่ ลงในช่องที่ 1 ข.ไข่ และ ฃ.ขวด ลงในช่องที่ 2, 3 เรียงตามลำดับไปจนกระทั่งถึง ฮ.นกฮูกตาโต พร้อมทั้งชี้แจงให้สังเกตการลำดับอักษรลงช่องให้ถูกต้อง
2.จัดทำบทเรียนสำเร็จรูปให้นักเรียนเรียนรู้เรื่องความแตกต่างระหว่างคำเป็นและคำตาย ให้นักเรียนนำไปเรียนรู้ด้วยตนเองที่บ้าน
3.ให้นักเรียนศึกษาหลักการผันวรรณยุกต์ เฉพาะที่จำเป็นและใช้อยู่ในปัจจุบัน
หลังจากนั้นครูได้ดำเนินการแก้ไขตามวิธีดังกล่าวข้างต้น โดยแต่ละเรื่อง มีแบบฝึกให้นักเรียนได้ใช้ความรู้ที่ได้รับมา จนสามารถทำได้โดยไม่ต้องท่องจำแบบไร้เหตุผล และยังแนะให้นักเรียนสังเกตและรวบรวมคำที่ใช้รูปวรรณยุกต์ผิดที่พบเห็นมาร่วมกันวิเคราะห์อีกด้วย
นอกจากจะแก้ปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดีแล้ว เด็ก ๆ ของเธอสนุกสนานกับการเรียนหลักภาษา วิชาภาษาไทยกลายเป็นวิชาที่น่าเรียน เพราะเรียนด้วยเหตุผล และสอดคล้องกับการใช้ภาษาในชีวิตจริง จากนั้นครูสนธยาได้นำวิธีการนี้ไปเผยแพร่กับเพื่อนๆ ในโรงเรียนใกล้เคียงอีกหลายโรงเรียน

กรณีศึกษาที่ 7 : การแก้ไขพฤติกรรมมาโรงเรียนสาย
ครูสมศรีรับราชการเป็นครูมา 3 ปี ในโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร สอนวิชาในหมวดสังคมศึกษาชั้น ม.1-ม.3 เมื่อเปิดภาคเรียนที่ 1 ได้ประมาณ 3 สัปดาห์ สังเกตเห็นว่านักเรียนชั้น ม. 3/4 ที่ตนเองเป็นครูประจำชั้นมาโรงเรียนไม่ทันประกอบพิธีหน้าเสาธงมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จาก 1-2 คน เป็น 7-8 คน นักเรียนที่มาโรงเรียนไม่ทันประกอบพิธีหน้าเสาธง จะไม่ได้รับฟังการอบรมสั่งสอน การรับทราบข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั้งของโรงเรียนและสังคมรอบด้าน การออกกำลังกาย สวดมนต์ ร้องเพลงชาติ ขาดเรียนคาบแรก และที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ การมีนิสัย ไม่ตรงต่อเวลา ครูสมศรีได้เรียกนักเรียนที่มาสายทุกคนมาพบและถามไถ่สาเหตุที่ทำให้มาโรงเรียนสาย จึงรู้ว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้นักเรียนในห้องของตนมาโรงเรียนสายเป็นเพราะดูโทรทัศน์รายการดึก ทำให้เข้านอนช้ากว่าปกติ ใช้เวลามากในการเดินทางเนื่องจากบ้านอยู่ไกลและการจราจรที่คับคั่ง
จากปัญหาดังกล่าว ครูสมศรีจึงคิดหาวิธีที่จะแก้ปัญหาการมาโรงเรียนสาย โดยเริ่มศึกษาเอกสารต่าง ๆ ที่กล่าวถึงการพัฒนาคุณธรรม รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมลักษณะนิสัยและจริยธรรมที่สามารถจะหาได้ในห้องสมุด ตลอดจนไปปรึกษาเพื่อนรักที่เป็นศึกษานิเทศก์ฝ่ายวิจัย

2 เดือนผ่านไป ครูสมศรีนำเอกสารที่จัดทำขึ้น ได้แก่ แบบบันทึกพฤติกรรม การมาโรงเรียนสายของนักเรียน และคู่มือการแก้ไขพฤติกรรมไปให้เพื่อนที่เป็นศึกษานิเทศก์ฝ่ายวิจัย และผู้อำนวยการโรงเรียนที่เป็นทั้งนักบริหารและนักวิจัยช่วยดู และให้คำแนะนำรวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้วย ครูสมศรีรู้สึกภูมิใจที่ได้รับคำชมจากผู้อำนวยการและเพื่อน ที่พยายามหาวิธีแก้ไขปัญหาของนักเรียนในเรื่องดังกล่าว ทำให้มีกำลังใจที่จะแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มพฤติกรรมการมาโรงเรียนให้ทันประกอบพิธีหน้าเสาธงมากขึ้น โดยดำเนินการตามที่ได้รับคำแนะนำ คือ ปรับปรุงคู่มือฯ แล้วนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้น ม.4 จำนวน 2 ห้องเรียน เพื่อดูประสิทธิภาพ หลังจากนั้นมีการปรับปรุงคู่มือฯ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพร้อมที่จะนำมาใช้เป็นสื่อประกอบการจัดกิจกรรมสร้างเสริมลักษณะนิสัยในห้องของตนเองแล้ว จึงได้วางแผนการดำเนินงาน โดยคิดว่าจะพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนเป็น 4 ขั้นตอน ตามที่ได้ศึกษาจากเอกสารและผู้รู้ กล่าวคือ เริ่มด้วยการสร้างความตระหนัก การให้ตัวแบบ การปรับพฤติกรรม และการควบคุมตนเองตามลำดับ โดยครูสมศรีจะเก็บข้อมูลพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนเป็นระยะ ๆ เพื่อการประเมินผลการใช้คู่มือ ทั้งก่อนการใช้ ขณะที่ใช้และหลังการใช้คู่มือฯ เมื่อเปิดภาคเรียนที่ 2 ในปีการศึกษานั้น ครูสมศรีก็เริ่มดำเนินการพัฒนา ดังนี้
ขั้นการสร้างความตระหนัก ครูสมศรีเก็บข้อมูลนักเรียนชั้น ม.3/4 ที่มาโรงเรียนสายเป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยให้นักเรียนที่มาสายกรอกรายการลงในแบบบันทึกพฤติกรรมการมาสาย แบ่งนักเรียนในห้องออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 5-7 คน แต่ละกลุ่มจะมีนักเรียนที่มาโรงเรียนสาย ให้แต่ละกลุ่มบอกผลเสียของการมาโรงเรียนสาย ผลดีของการมาโรงเรียนทันประกอบพิธีหน้าเสาธง หาวิธีการที่จะทำให้สมาชิกในกลุ่มมาโรงเรียนแต่เช้ามากขึ้น และเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตนในการแก้ปัญหา โดยครูสมศรีให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมการมาทันประกอบพิธีหน้าเสาธงตลอดช่วงเวลาของการสร้างความตระหนัก
ขั้นการให้ตัวแบบ ครูสมศรียกย่องนักเรียนที่มาโรงเรียนทันประกอบพิธีหน้าเสาธง ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป เป็นนักเรียนตัวแบบ
ขั้นการปรับพฤติกรรม ครูสมศรีให้รางวัลกลุ่มที่มาโรงเรียนทันประกอบพิธีหน้าเสาธง เฉลี่ยร้อยละ 80 ขึ้นไป ตลอดช่วงเวลาของการปรับพฤติกรรม
ขั้นการควบคุมตนเอง ครูสมศรีหยุดการเสริมแรง แต่ยังคงบันทึกพฤติกรรม การมาโรงเรียนให้ทันประกอบพิธีหน้าเสาธง เป็นเวลาประมาณ 2 สัปดาห์
เมื่อสิ้นสุดการทดลองใช้คู่มือฯ แล้ว ครูสมศรีนำผลมาเปรียบเทียบ พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการมาโรงเรียนทันประกอบพิธีหน้าเสาธงมากขึ้นทั้ง 5 กลุ่ม เป็นที่น่าพอใจยิ่ง ครูสมศรีจึงสรุปว่า ปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนมีผลต่อคุณลักษณะด้านคุณธรรมหลาย ๆ ด้าน โดยพิจารณาจากการจัดนักเรียนเป็นกลุ่มให้ร่วมกันคิดวิเคราะห์ผลเสียของการมาโรงเรียนสาย พิจารณาผลดีของการมาโรงเรียนทันประกอบพิธีหน้าเสาธง ร่วมกันหาวิธีที่จะทำให้ทุกคนในกลุ่มมาโรงเรียนให้ทันมากขึ้น และเลือกใช้วิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมของแต่ละคน
ในช่วงก่อนปิดภาคเรียน 1 สัปดาห์ ครูสมศรีมีโอกาสเล่าเรื่องนี้ให้เพื่อนครูทั้งโรงเรียนฟังอย่างภาคภูมิใจที่สามารถทำให้นักเรียนที่ตนรับผิดชอบมาโรงเรียนได้ทันประกอบพิธีหน้าเสาธงมากกว่าร้อยละ 90 ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยคิดว่าจะทำได้เลย ครูในโรงเรียนต่างให้ความสนใจซักถาม และขอคำแนะนำมากมาย ยิ่งทำให้ครูสมศรีอิ่มอกอิ่มใจในความสำเร็จของการแก้ไขพฤติกรรมการมาโรงเรียนของนักเรียน ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้การเรียนของนักเรียนสูงขึ้น

กรณีศึกษาที่ 8 : นักเรียนไม่สนใจเรียน

ครูธนพลเป็นครูบรรจุใหม่ในโรงเรียนสายสมรอุปถัมภ์ หลังจากได้รับมอบหมายให้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้น ป.4 ในภาคเรียนถัดไป ก็ได้ศึกษาเอกสารหลักสูตร ต่าง ๆ ข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนและชุมชน รวมทั้งตำราที่เคยเรียนที่มหาวิทยาลัย
เมื่อเปิดภาคเรียนที่ 2 ผ่านไป 1 สัปดาห์ เขาได้รับข้อมูลจากครูชั้น ป.3 ว่านักเรียนชั้น ป.4 เป็นเด็กที่ครูส่วนใหญ่เบื่อระอา เพราะมีพฤติกรรมไม่สนใจการเรียนและก้าวร้าว ขณะที่สอนครูธนพลก็สังเกตและบันทึกพฤติกรรมของนักเรียนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ก็พบว่ามีนักเรียนเพียง 6 คน จาก 25 คน ที่มักจะคุยกันเสมอขณะที่ครูสอน ไม่ทำแบบฝึกหัดที่ครูสั่ง ชอบมองออกไปนอกห้อง ขว้างปาของ และชกต่อยกันเป็นประจำ ครูธนพลได้เรียกนักเรียนเหล่านั้นมาอบรมตอนเย็นทุกวันก่อนกลับบ้านเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ก็พบว่า พฤติกรรมก้าวร้าวค่อย ๆ ลดลง แต่พฤติกรรมไม่สนใจเรียนยังมีอยู่ในระดับสูง เช่น การคุยกัน ไม่ทำแบบฝึกหัดและเหม่อลอย จึงตั้งพฤติกรรมเป้าหมายที่จะปรับปรุงและแจ้งให้นักเรียนทราบ คือ การเสริมสร้างพฤติกรรมการทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน การยกมือเมื่อต้องการถามหรือตอบครู และฟังครูพูด โดยเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของพฤติกรรมไม่สนใจเรียนของนักเรียนอย่างเป็นระบบอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ 1 สัปดาห์ที่ผ่านไป ปรากฏว่าไม่ได้ผล ครูธนพลจึงไม่สนใจพฤติกรรมดังกล่าวและคิดทบทวนว่าจะใช้แรงเสริมทางบวกด้วยวิธีใดจึงจะปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เหล่านั้นได้ จึงได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมและจริยธรรม
ในที่สุด ครูธนพลเลือกการใช้แรงเสริมทางสังคมด้วยการให้คำยกย่องชมเชย เมื่อนักเรียนทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน ยกมือเมื่อต้องการถามหรือตอบครูและฟังครูพูด ครูธนพลจะให้คำยกย่องชมเชยทันที บางครั้งจะแตะไหล่นักเรียน พยักหน้ายอมรับและยิ้ม เป็นต้น ขณะเดียวกันก็ไม่สนใจต่อพฤติกรรมไม่สนใจเรียนของนักเรียนบางคน ครูธนพลบันทึกพฤติกรรมของนักเรียนทุกครั้งที่เกิดพฤติกรรมพึงประสงค์เป็นเวลา 2 เดือน ผลปรากฏว่า พฤติกรรมไม่สนใจเรียนลดลง โดยที่ก่อนทำการปรับพฤติกรรมนั้น มีพฤติกรรมไม่สนใจเรียนถึงร้อยละ 91 แต่หลังจากใช้วิธีการเสริมแรงทางสังคมต่อพฤติกรรม การสนใจเรียน ปรากฏว่า พฤติกรรมไม่สนใจเรียนลดลงเหลือร้อยละ 25

กรณีศึกษาที่ 9 : การพัฒนาศักยภาพด้านความรับผิดชอบ
ครูสุมาลีได้ทดลองนำรูปแบบการเสริมสร้างลักษณะนิสัยในการทำงานของกรมวิชาการ (2531) มาสอดแทรกในแผนการสอนวิชาสังคมศึกษา โดยมีความคิดที่จะพัฒนาและเสริมสร้างลักษณะนิสัยเรื่อง
ความรับผิดชอบให้แก่นักเรียน นอกเหนือจากการสอนเนื้อหาวิชาสังคมศึกษาของตนตามปกติ และได้เริ่มสังเกตพฤติกรรมนักเรียนในเรื่อง ความรับผิดชอบ อยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนการทดลอง (วัดก่อนทดลอง) แล้วจึงจัดประสบการณ์ให้นักเรียนโดยใช้กรณีตัวอย่าง และคำถามที่กระตุ้นให้นักเรียนฉุกคิดและ ตัดสินใจด้วยตนเองว่าพฤติกรรมใดควรทำ ไม่ควรทำเพราะเหตุใด และให้นักเรียนร่วมกันกำหนดพฤติกรรมเป้าหมายที่พึงประสงค์เรื่องความรับผิดชอบด้วยตนเอง (ขั้นสร้างความตระหนัก)
ต่อจากนั้นในระหว่างการเรียนการสอนปกติครูพยายามชี้ให้นักเรียนเห็นทั้งตัวแบบจริงและตัวแบบสัญลักษณ์และคำชี้แนะเพื่อให้นักเรียนเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับผลกรรมและเกิดความเชื่อมั่นในความสัมพันธ์นั้น (ขั้นให้ตัวแบบ) หากนักเรียนคนใดแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ครูจะให้การเสริมแรงทันทีเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับผลกรรมจากประสบการณ์ตรง (ขั้นปรับพฤติกรรมการเสริมแรง) จนนักเรียนเรียนรู้การประเมินตนเองโดยการบันทึกพฤติกรรมของตนเองและเสริมแรงตนเอง และมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์มากขึ้น (ขั้นควบคุมตนเอง)
เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการทดลองประมาณ 20 สัปดาห์ ครูทำการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนด้านความรับผิดชอบอีกครั้ง โดยใช้ช่วงเวลาเท่าเดิมคือ 1 สัปดาห์ (วัดหลังทดลอง) แล้วนำผลการสังเกตพฤติกรรมก่อนและหลังการทดลองมาเปรียบเทียบกัน ผลปรากฏว่านักเรียนมีพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบหลังการทดลองโดยเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทดลอง และผลจากการบันทึกพฤติกรรมตนเองของนักเรียนตลอดระยะเวลาการทดลอง 20 สัปดาห์ (วัดระหว่างทดลอง) แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบของนักเรียนมีแนวโน้มสูงขึ้น
จากผลการวิจัยของครูสุมาลีครั้งนี้ ทำให้ครูสุมาลีได้ค้นพบแนวทางในการพัฒนาลักษณะนิสัยด้านความรับผิดชอบของผู้เรียนได้สำเร็จ และยังเป็นแนวทางให้ครูคนอื่นได้เกิดแนวคิดในการที่จะนำรูปแบบการเสริมสร้างลักษณะนิสัยนี้ไปใช้ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมต่าง ๆ ที่เป็นมาตรฐานด้านลักษณะนิสัยที่จะต้องพัฒนาปลูกฝังให้เกิดขึ้นในผู้เรียน อาทิเช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น ความมีระเบียบวินัยในตนเอง ความขยันอดทน ฯลฯ โดยครูผู้สอนอาจจะกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาผู้เรียนในแต่ละหน่วย แต่ละช่วงชั้นปี ภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ของตนหรือบูรณาการข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้

กรณีศึกษาที่ 10 : นิสัยรักการทำงาน
คุณครูนภาซึ่งสอนวิชาเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สังเกตพบว่า เวลาแบ่งกลุ่มให้นักเรียนปฏิบัติงานเกษตร นักเรียนจะไม่ค่อยร่วมมือกัน เกี่ยงกันทำงาน ขาดการวางแผน ไม่มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ไม่ดูแลเก็บรักษาอุปกรณ์ที่ใช้แล้ว และไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงาน คุณครูนภาค้นหาสาเหตุและพบว่านักเรียนขาดทักษะการทำงานกลุ่มและขาดนิสัยรักการทำงาน จึงได้ศึกษาเอกสาร วิธีการ และนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้พัฒนานิสัยในการทำงาน ซึ่งครูนภา พบว่า ถ้ากำหนดให้นักเรียนปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน จะทำให้เกิดนิสัยที่ดีในการทำงาน
คุณครูนภาจึงทำใบงานแบบง่าย ๆ กำหนดสิ่งที่นักเรียนต้องปฏิบัติตามลำดับขั้นตอน เช่น เลือกหัวหน้ากลุ่ม กำหนดขั้นตอนในการทำงานการจัดแบ่งหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่ม ลงมือทำงานตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ และมีการประเมินผลงานของกลุ่มตนเองเป็นระยะ ๆ และให้นักเรียนฝึกปฏิบัติงานตามใบงานที่กำหนด นอกจากนี้คุณครูนภายังสร้างแรงจูงใจในเรื่องนิสัยรักการทำงาน โดยการให้ / แก่กลุ่มที่สามารถทำงานได้ตามขั้นตอนและมีการดูแลอุปกรณ์เป็นอย่างดีทุกครั้งของการปฏิบัติงาน
จากการบันทึกผลการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีการทำงานเป็นกลุ่มมากขึ้น มีการวางแผนและแบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานทุกครั้ง และจากการที่ให้ประเมินผลงานของตนเองเป็นระยะ ๆ นักเรียนจะเอาใจใส่ดูแลผลิตผล อุปกรณ์มากยิ่งขึ้น
ในการนำผลการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องนี้ไปใช้ ควรมีกิจกรรม / วิธีการที่ให้ นักเรียนได้มีการวางแผน มีการแบ่งหน้าที่ มีการดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ และประเมินตนเองตลอดการปฏิบัติงาน















 

Create Date : 25 สิงหาคม 2551    
Last Update : 26 สิงหาคม 2551 0:33:22 น.
Counter : 14036 Pageviews.  

วิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา [ TK ]


ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ blog ของงานวิจัยการศึกษา ..หวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog แห่งนี้จะเป็นที่สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ที่สนใจงานวิจัยในชั้นเรียน (หรือไม่ได้สนใจ..แต่จำเป็นต้องทำ)ผู้เขียนไม่อยากให้บล็อกเป็นวิชาการมากเกินไป ก็เลยทำรูปแบบบล็อกเป็นแบบสบายๆไว้อ่านกันเล่นๆ ในบล็อกได้รวบรวมแหล่งเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน..รวมทั้งเกร็ดความรู้อื่นๆที่น่าสนใจในการทำวิจัย.(ด้านล่าง)..
แล้วเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันนะคะ.


ดูรายละเอียดการเขียนโครงร่างการวิจัยด้านล่าง



เริ่มต้นกับวิจัยในชั้นเรียน

(คลิกที่หัวข้อเพื่ออ่าน)

ความรู้เบื่องต้นในการทำวิจัย
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
ประเภทของการวิจัย
การเลือกปัญหาในการวิจัย
ตัวแปรและสมมติฐานในการวิจัย
การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือและเทคนิคในการรวบรวมข้อมูล
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การแปลความหมายข้อมูล
การเขียนรายงานวิจัย


แหล่งเรียนรู้สำหรับ การทำวิจัยในชั้นเรียน

ตัวอย่างงานวิจัยในชั้นเรียน
ห้องสมุดงานวิจัย
รวมงานวิจัยเกี่ยวกับการแก้ไขพฤติกรรมนักเรียน

การเขียนเค้าโครงการวิจัย


เค้าโครงการวิจัย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินการวิจัย ทั้งนี้เนื่องจากเค้าโครงการวิจัยเป็นสิ่งที่จะบอกให้ทราบถึงแผนดำเนินงาน และขั้นตอนที่นักวิจัยจะกระทำ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการวิจัย นอกเหนือไปจากนี้ยังช่วยเป็นแนวทางในการประเมินโครงการวิจัยที่จะจัดกระทำขึ้นว่ามีความเป็นไปได้ จะก่อประโยชน์แก่วงวิชาการและสังคม และมีคุณค่าเพียงใด และในกรณีที่ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยแล้วเสร็จ การเขียนรายงานการวิจัยนั้นก็จะต้องอาศัยเค้าโครงการวิจัยเป็นแนวทางสำหรับการเขียนรายงานการวิจัยนั้นๆ ด้วย เค้าโครงการวิจัยประกอบด้วยส่วนที่สำคัญสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นบทนำและส่วนที่กล่าถึงวิธีการที่จะดำเนินการวิจัย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

6.1 ส่วนบทนำ ส่วนบทนำประกอบด้วยส่วนสำคัญต่างๆ ดังนี้

6.1.1 ความเป็นมาของปัญหาหรือหลักการและเหตุผลของการวิจัย
ข้อความในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่บอกให้ทราบภูมิหลังและที่มาของปัญหาในการวิจัย ในการเขียนข้อความส่วนนี้ ผู้ที่จะดำเนินการวิจัยจะต้องค้นคว้าและอ้างอิงถึงทฤษฎี หลักการและเหตุผลในเรื่องที่ตนเองจะศึกษาหาคำตอบจากการวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึงแนวทางที่จะดำเนินการวิจัย
6.1.2 ข้อความที่เป็นหัวข้อปัญหาของการวิจัย
หลังจากที่ได้เขียนบทนำในส่วนที่เกี่ยวกับความเป็นมาของปัญหาในการวิจัยแล้ว ผู้วิจัยก็จะต้องเขียนข้อความที่เป็นหัวข้อปัญหาของการวิจัย ซึ่งในส่วนนี้จะต้องบอกวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยกล่าวถึงจุดสำคัญที่ตนเองต้องการศึกษาให้จำเพาะเจาะจงเป็นข้อๆ ซึ่งในที่นี้ก็จะต้องกล่าวถึงตัวแปรสำคัญๆ ที่ทำการศึกษาไว้ด้วย
6.1.3 การประมวลรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จุดมุ่งหมายของการประมวลรายงานการวิจัยหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่จะดำเนินการนั้น ก็เพื่อที่จะให้ผู้วิจัยทราบแวดวงของปัญหาในการวิจัยพร้อมทั้งภูมิหลัง หลักการและเหตุผลของเรื่องนั้นๆ ได้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อจะได้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับสร้างสมมติฐานในการวิจัยต่อไป การศึกษารายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้น ผู้วิจัยจะต้องรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย พร้อมทั้งผลสรุปของรายงานการวิจัยแต่ละเรื่องไว้ด้วย เพื่อที่จะได้วิเคราะห์เปรียบเทียบผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแต่ละเรื่อง และจะได้ลงสรุปข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจัยที่ได้มีผู้กระทำไปแล้ว
6.1.4 ความสำคัญของปัญหา ในการเขียนเค้าโครงการวิจัยนั้น ขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งก็คือ การกล่าวถึงความสำคัญของปัญหาในการวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานวิจัยของตนเองนั้นจะให้คำตอบแก่คำถามหรือปัญหาต่างๆ ในด้านทฤษฎีและด้านการปฏิบัติอย่างไร ซึ่งในที่นี้ผู้วิจัยก็จะต้องกล่าวถึงทั้งการประยุกต์ผลของการวิจัยไปใช้ และนัยของความรู้ที่ได้จากการวิจัยนั้นๆ ด้วย
6.1.5 คำจำกัดความและนิยามศัพท์เฉพาะ
การเขียนข้อความซึ่งเป็นศัพท์ใหม่ๆ หรือเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชานั้น ผู้วิจัยจะต้องให้ความหมายอย่างชัดเจน ซึ่งบางครั้งต้องเขียนออกมาในรูปของนิยามปฏิบัติการ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกัน
6.1.6 ขอบเขตของการวิจัย
ในการเขียนเค้าโครงการวิจัยนั้นผู้วิจัยจะต้องกล่าวถึง ขอบเขตของการวิจัยและรวมไปถึงข้อจำกัดในการวิจัยด้วย เพื่อที่จะไม่ให้การดำเนินงานวิจัยและผลของการวิจัยนั้นกินความกว้างขวางเกินไป ซึ่งก็จะเป็นการกระทบไปถึงงบประมาณในการวิจัยด้วย ในการกำหนดขอบเขตของการวิจัยแต่ละเรื่องผู้วิจัยควรจะได้พิจารณางบประมาณในการวิจัยและความเป็นไปได้ในการดำเนินงานวิจัยควบคู่กันไปด้วย

6.2 ส่วนวิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วยหัวข้อที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้

6.2.1 ตัวแปรในการวิจัย
ผู้วิจัยจะต้องกำหนดตัวแปรที่จะทำการศึกษาให้ชัดเจนว่า ตัวแปรใดคือตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม ตัวแปรแทรกแซง หรือตัวแปรที่เป็นตัวกลาง พร้อมทั้งอธิบายธรรมชาติ คุณลักษณะและวิธีการที่จะได้มาซึ่งตัวแปรนั้นๆ ด้วย
6.2.2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องกล่าวถึงประชากร ซึ่งเป็นจุดหมายที่ต้องการศึกษา ลักษณะของประชากร วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อเป็นตัวแทนของประชากรในการวิจัย และขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
6.2.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการวิจัยทางด้านการศึกษาส่วนมากนั้นเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลมักจะเป็น แบบทดสอบ แบบสอบถาม และแบบวัดพฤติกรรมต่างๆ ผู้วิจัยจะต้องอธิบายเกี่ยวกับลักษณะทางเครื่องมือและการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจน ถ้าหากจะนำเครื่องมือการวัดผลที่เป็นมาตรฐานมาใช้จะต้องกล่าวถึง ลักษณะและคุณภาพของเครื่องมือนั้นๆ รวมทั้งชื่อของหน่วยงานที่ผลิตเครื่องมือวัดผลด้วย
6.2.4 การดำเนินการรวบรวมข้อมูล ในส่วนการดำเนินการรวบรวมข้อมูลนั้น ผู้วิจัยจะต้องกล่าวถึงขั้นตอนในการดำเนินงาน วิธีการที่จะดำเนินการกับเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ส่วนของการดำเนินการรวบรวมข้อมูลนี้เป็นส่วนที่จำเป็นและสำคัญในการเขียนเค้าโครงการวิจัยเชิงทดลอง
6.2.5 การวิเคราะห์ข้อมูล
ในกรณีที่เค้าโครงการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยจะต้องอธิบายเกี่ยวกับวิธีการทางสถิติที่จะใช้วิเคราะห์ข้อมูลไว้ด้วย ในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเขียนสูตรหรือแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ แต่ผู้วิจัยจะต้องตระหนักว่าวิธีการทางสถิติที่นำมาใช้นั้นสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ปัญหาและข้อมูลซึ่งได้กล่าวอ้างไว้ในวัตถุประสงค์ของการวิจัย หรือข้อความที่เป็นหัวข้อปัญหาของการวิจัย ซึ่งอยู่ในส่วนบทนำของเค้าโครงการวิจัย


สรุปการเขียนเค้าโครงการวิจัย

• ชื่อโครงการวิจัย
• สาขาวิชาที่ดำเนินการวิจัย
• ชื่อผู้ดำเนินการวิจัย
• ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา หรือ หลักการและเหตุผล ของการวิจัย
• วัตถุประสงค์ของการวิจัย
• การประมวลวรรณกรรมและรายงานการวิจัยทีเกี่ยวข้อง
• คำจำกัดความและนิยามศัพท์เฉพาะ
• ขอบเขตของการวิจัย
• วิธีดำเนินการวิจัย
- ตัวแปรในการวิจัย
- กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
- เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
- การวิเคราะห์ข้อมูล
- ระยะเวลาในการดำเนินงานวิจัย


ขอขอบคุณ:
รองศาสตราจารย์ ดร. จริยา เสถบุตร
ภาควิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น








 

Create Date : 10 กันยายน 2550    
Last Update : 22 ธันวาคม 2550 8:02:52 น.
Counter : 2513 Pageviews.  

1  2  

kanni_m
Location :
ลำพูน Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




พรสวรรค์..ไม่ได้มีกันทุกคน.."พรแสวง" ต่างหากที่ทุกคนมีได้..และทำให้เราประสบความสำเร็จ

Krulemon ^_^









Google


จำนวนผู้ชมทั้งหมด จำนวนผู้ชมขณะนี้:

กล่องอภิปราย www.KruLemon.com

Friends' blogs
[Add kanni_m's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.