Business, Management, Skill, Experiences--แลกเปลี่ยน เรียนรู้ แบ่งปัน ประสบการณ์ บริหาร และอื่น ๆ
Group Blog
 
All blogs
 
สารพันประโยชน์ควรรู้ของ "การหัวเราะ" เหมาะทั้งเด็กและผู้ใหญ่

สารพันประโยชน์ควรรู้ของ "การหัวเราะ" เหมาะทั้งเด็กและผู้ใหญ่



"หัวเราะวันละนิดจิตแจ่มใส" คงเคยได้ยินวลีนี้มาบ้าง แต่มีน้อยคนที่ทราบว่า การหัวเราะไม่เพียงทำให้คนเรามีจิตใจที่แจ่มใสและเบิกบานได้เท่านั้น ทว่ามีประโยชน์มหาศาล หากเราดูแลตัวเองให้มีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพใจจะมีความสุข การหัวเราะจึงเป็นสัญญาณของความสุขที่เรามีได้อีกทางหนึ่ง

@ หัวเราะนั้นสำคัญไฉน>

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผลการศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าการหัวเราะขำขันจากความรู้สึกในใจลึกๆ ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่มีประโยชน์ ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือดหัวใจ ลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และทำให้ร่างกายผ่อนคลาย ช่วยลดความเครียด และความวิตกกังวลได้ด้วย แถมยังทำให้นอนหลับสบาย และนอนได้เต็มอิ่ม เพราะการหัวเราะทำให้กล้ามเนื้อร่างกายทำงานเต็มที่ เพียงหัวเราะอย่างต่อเนื่อง 15-20 นาที ก็เทียบได้กับการออกกำลังกายหัวใจได้ประมาณ 3-5 นาทีแล้ว


นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ เคยวิจัยโดยให้อาสาสมัครชมวิดีโอขำขันกันเต็มที่ ระหว่างนั้นก็วัดอัตราการไหลเวียนเลือดของพวกเขา ผลวิจัยพบว่า อัตราการไหลเวียนเลือดของอาสาสมัครดีขึ้นถึง 22% ซึ่งการไหลเวียนเลือดที่ดีขึ้นหมายถึงการช่วยรักษาสุขภาวะที่ดีให้กับหลอดเลือด ส่งผลช่วยยับยั้งการเกิดโรคหัวใจด้วย

@ แล้วการหัวเราะมีประโยชน์อย่างไรกับเด็กๆ

คุณหมออัมพรกล่าวมา แต่ถ้าพูดถึงเด็กๆ โดยปกติแล้วเด็กที่มีสุขภาพกายดีและมีพัฒนาการที่แข็งแรงจะเป็นเด็กที่มีสุขภาพจิตใจที่ดีและความสุข สัญญาณที่จะทำให้พ่อแม่รับรู้ได้ว่าเด็กมีความสุขก็คือ การหัวเราะนี่เอง ขณะเดียวกันพ่อแม่ก็ต้องหมั่นสังเกตลูกด้วยว่า เสียงหัวเราะของเขาจางลงไปบ้างหรือเปล่า เพราะเด็กๆ สามารถซึมซับความเครียดจากผู้ใหญ่ได้ แต่ไม่สามารถระบายออกมาให้ใครๆ เห็นได้ชัดเจน

พญ.อัมพร เบญจพล


พูดในเชิงทฤษฎี การหัวเราะกระตุ้นให้เกิดการหลั่ง "ฮอร์โมนโดพามีน" เป็นสารเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ การเคลื่อนไหว และความจำ

ที่สำคัญคือ เป็นฮอร์โมนลดความเครียด เมื่อความเครียดลดลง ระดับคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หากมีมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรค จะปรับลงมาอยู่ในระดับที่สมดุล การหัวเราะยังทำให้เราหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงสมองได้มาก ยังผลให้พัฒนาการทางสมองดี แถมทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันเลือดลดลง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราควรหัวเราะกันให้มากขึ้น และไม่ลืมกระตุ้นลูกหลานให้หัวเราะไปกับเราด้วย

@ มาสร้างเสียงหัวเราะกันดีกว่า

เพราะเสียงหัวเราะเป็นกุญแจสู่การมีสุขภาพดี ไม่ควรทำให้ขาดหายไปจากชีวิตประจำวัน ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ผู้ใหญ่ควรหัวเราะให้ได้ 17 ครั้ง/วัน ส่วนเด็กๆ ถ้าได้หัวเราะ 400 ครั้งต่อวันจะทำให้มีสุขภาพดี ฟังอย่างนี้แล้วอย่าเพิ่งคิดว่าเป็นเรื่องยาก เพียงคุณจัดสรรเวลาให้กับกิจกรรมประจำวันที่จะทำให้คุณผ่อนคลายมากขึ้น เสียงหัวเราะก็จะตามมาเอง

ในวันหยุด กำหนดช่วงเวลาทุกค่ำวันเสาร์เป็น "มูวี่ไนต์" ของครอบครัวแล้วเลือกหนังตลกหรือการ์ตูนขำๆ ที่เด็กๆ ชอบสักเรื่องหนึ่งมาชมร่วมกันทั้งครอบครัว แค่นี้ก็ได้ขำไปด้วยกันสองชั่วโมงเต็มอย่างไม่รู้ตัวแล้ว แถมยังได้กระชับความสัมพันธ์ในครอบครัวอีกต่างหาก หรือบางครอบครัวที่งดการออกไปเดินเที่ยวในห้าง เพราะต้องการรัดเข็มขัดในช่วงนี้ ก็อาจเปลี่ยนมาใช้วิธีช่วยกันทำอาหารทานในบ้านช่วงวันหยุด แค่ได้ใช้เวลาร่วมกันนอกจากเสียงหัวเราะจะตามมา ความเครียดก็จะมลายหายไปได้ด้วย

การหัวเราะมีประโยชน์มากมายหลายอย่างทั้งกับร่างกายและจิตใจ กับทุกคนตั้งแต่เด็กๆ จนถึงผู้ใหญ่ด้วย พูดถึงการหัวเราะขนาดนี้...วันนี้คุณหัวเราะแล้วหรือยัง?



ที่มา: //www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01epe01020652§ionid=0147&day=2009-06-02


Create Date : 02 มิถุนายน 2552
Last Update : 2 มิถุนายน 2552 9:25:04 น. 0 comments
Counter : 648 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

byonya
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




I am not a perfect, but simple!

 
 
Custom Search



 
 

Website น่าสนใจ  
 
หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท

เว็บการศึกษา Eduzones.com

Business Web Directory .biz - Business Directory
 


Word of the Day

This Day in History

Quote of the Day

Hangman




Friends' blogs
[Add byonya's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.