พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
15 พฤศจิกายน 2555
 
All Blogs
 
แฉ!ฝายกว่า 2 พันแห่งของกรมป่าไม้ พังแล้วกว่า 10%

แฉ!ฝายกว่า 2 พันแห่งของกรมป่าไม้ พังแล้วกว่า 10%

"บุญชอบ" เผยฝายต้นน้ำกว่า 2,000 แห่งของกรมป่าไม้ ชำรุดไปแล้วกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ หลังทุ่มงบประมาณ 143 ล้านสร้าง โดยใช้งานได้ไม่ถึงปี...

เมื่อวันที่14 พ.ย. นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ อธิบดีกรมป่าไม้ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากรมป่าไม้ได้โครงการฟื้นฟูการอนุรักษ์ป่าและดินการทำฝาย กึ่งถาวร และถาวรเพื่อเก็บกักน้ำ รวมทั้งฟื้นฟูป่าต้นน้ำที่ถูกทำลาย ในโครงการของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ดำเนินการในพื้นที่ 6 ลุ่มน้ำทางภาคเหนือเป็นหลัก โดยมีการก่อสร้างฝายถาวรจำนวน 610 แห่ง และฝายกึ่งถาวรจำนวน 2,200 แห่ง รวม 2,810 แห่ง ทั้งนี้การดำเนินการสร้างฝายได้แล้วเสร็จตั้งแต่ก่อนฤดูฝนที่ผ่านมา

นายบุญชอบ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม หลังสิ้นฤดูฝนกรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ ไปดำเนินการสำรวจสภาพการใช้งานของฝายถาวรและฝายกึ่งถาวรทั้ง 2,200 แห่ง พบว่ามีฝายชำรุด 10 เปอร์เซ็นต์ ส่วนฝายถาวรจำนวน 610 แห่งนั้น ชำรุดไปประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการชำรุดหมายความว่า ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ บางส่วนหายมีการยุบตัวไม่สามารถเก็บน้ำได้ ส่วนกรมป่าไม้จะมีการก่อสร้างฝายเพิ่มเติมในพื้นที่ต้นน้ำหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาล ซึ่งตนคิดว่าการสร้างฝายลักษณะนี้ได้ประโยชน์และเห็นผลมากกว่าการไปสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ อย่างเขื่อนแก่งเสือเต้น

“ทั้งนี้ไม่อยากให้มองว่า การก่อสร้างผิดสเปกหรือไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ เพราะจำนวนที่ชำรุดไม่ได้สูงมาก แต่ควรดูที่ว่าการสร้างฝายสามารถชะลอการไหลของน้ำในพื้นที่ต้นน้ำได้หรือเปล่า ถ้าถามผมก็ต้องบอกว่าฝายสามารถลดและชะลอการไหลของน้ำได้ดีมาก เพราะไม่มีน้ำท่วมในพื้นที่หมู่บ้านพื้นที่เสี่ยงเหมือนที่เคยเกิดขึ้นทุกปี แต่ปีนี้ก็ยังไม่สามารถประเมินได้เต็มที่นัก เพราะปริมาณฝนและน้ำน้อย” นายบุญชอบกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการก่อสร้างฝาย ทั้งในส่วนของฝายถาวรและฝายกึ่งถาวรในแต่ละพื้นที่นั้น เป็นการว่าจ้างบริษัทรับเหมาเอกชนให้เข้ามาดำเนินการตามรูปแบบที่กรมป่าไม้กำหนด โดยมีสัญญารับประกัน 1 ปี หากพบว่าฝายเกิดการชำรุด ไม่สามารถเก็บกักหรือชะลอน้ำได้ บริษัทรับเหมาจะต้องเข้ามาดำเนินการซ่อมแซม ให้แต่ต้องอยู่ในช่วงเวลาที่รับประกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการก่อสร้างฝายถาวรจำนวน 610 แห่ง ใช้งบประมาณฝายละ 9.8 หมื่นบาท และฝายกึ่งถาวรจำนวน 2,200 แห่ง ใช้งบประมาณฝายละ 3.8 หมื่นบาท คิดเป็นงบประมาณทั้งสิ้นจำนวนกว่า 143 ล้าน จากงบประมาณประมาณ 400 กว่าล้านบาท ที่กรมป่าไม้ได้รับอนุมัติจาก ครม.โดยงบประมาณที่เหลือจะนำไปดำเนินการในเรื่องการเพาะกล้าไม้ ทั้งไม้โตช้า และโตเร็วตามโครงการปลูกป่าเป็นวาระชาติของรัฐบาล ทั้งนี้พื้นที่ก่อสร้างฝายดำเนินการใน 6 ลุ่มน้ำ คือ ปิง วัง ยม น่าน ป่าสัก และสะแกกรัง พื้นที่ 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ตาก น่าน แพร่ ลำปาง เลย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี

ขณะที่นายธเนศ วีระศิริ เลขาธิการสมาคมวิศวกรรมสถาน กล่าวว่า เบื้องต้นต้องดูว่าสาเหตุของการพังทลายของฝายถาวรและกึ่งถาวร มีสาเหตุมาจากอะไร บางครั้งอาจจะเกิดจากปริมาณน้ำฝนที่มากเกินไป หรือทิศทางการไหลของน้ำเป็นต้น อย่างไรก็ตามโดยปกติอายุการใช้งานของฝายทั้ง 2แบบนี้ ถ้าเป็นฝายถาวรควรจะมีอายุเฉลี่ย 10 ปีขึ้นไป เพราะมีการสร้างที่ได้มาตรฐานใช้ปูนซีเมนต์ในการก่อสร้างซึ่งมีความแข็งแกร่งแน่นหนา ส่วนฝายกึ่งถาวรควรจะมีอายุการใช้งาน 3-5 เพราะมีการใช้วัสดุอย่างอื่นจากธรรมชาติมาประกอบด้วย แต่ถ้ามีการใช้งานไม่ถึงปีแล้วเกิดความเสียหายถึง 10 เปอร์เซ็นต์นั้น ก็มีนัยยะสำคัญที่ทางหน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้าไปค้นหาสาเหตุอย่างจริงจังว่าเกิดจากอะไร ต้องไปดูทั้งโครงสร้างและวัสดุการออกแบบก่อสร้างทำเลที่ตั้ง ว่าเหมาะกับการสร้างฝายประเภทนั้นๆ หรือไม่โดยขอเรียกร้องให้ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะก่อสร้างฝายในลักษณะไหน ให้มีความคงทนและคุ้มค่ามากที่สุด เพราะการใช้งบประมาณไปซ่อมแซมฝายที่สึกหรอทุกๆ ปี เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า และหากมีการสร้างฝายถาวรทั้งหมด ก็อาจเป็นการลงทุนที่สูงเกินไป และไม่คุ้มค่า การลงทุน ทางวิศวกรรมสถานเองก็ยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการศึกษาเรื่องการก่อสร้างฝายที่เหมาะสม หากภาครัฐต้องการความช่วยเหลือ

ด้าน นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ กล่าวว่า หน่วยงานราชการนำเอาแนวคิดในการสร้างฝายตามแนวพระราชดำริมาเพียงบางส่วนเท่านั้น แนวคิดของรัฐที่ว่าการสร้างฝายจะให้ความชุ่มชื้นกับป่า เป็นแนวคิดที่ควรยกเลิกไป เพราะไม่ใช่ป่าทุกประเภทเหมาะกับการสร้างฝายป่าที่เหมาะกับการสร้างฝาย คือป่าดิบชื้นที่มีสภาพฝนมากกว่า 6 เดือน จึงจะสามารถเก็บกักความชุ่มชื้นได้ แต่เท่าที่เห็นภาครัฐเร่งการสร้างฝายโดย เน้นในพื้นที่ป่าดิบแล้ง ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไร และเน้นเพียงปริมาณฝายที่สร้างก็ผุพังไปไม่ได้ใช้ประโยชน์ เพราะไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ตามธรรมชาติอยู่แล้ว ที่สำคัญคือหน่วยงานรัฐต้องพยายามผลักดันการสร้างฝายเพื่อตอบสนองกลุ่มการเมืองบางกลุ่ม มีการหักเปอร์เซ็นต์ และไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าการก่อสร้างมีมาตรฐานอย่างแท้จริงหรือไม่

โดย: ทีมข่าวการศึกษา




Create Date : 15 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2555 6:34:00 น. 0 comments
Counter : 1360 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.