พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
กันยายน 2556
 
3 กันยายน 2556
 
All Blogs
 
ของแพง-ท้องไม่อิ่ม วิกฤติศรัทธานโยบายเศรษฐกิจปู

ของแพง-ท้องไม่อิ่ม วิกฤติศรัทธานโยบายเศรษฐกิจปู

ในขณะที่คนไทยทั้งประเทศกำลังใช้ความพยายามอย่างหนัก เพื่อลดภาระค่าครองชีพ โดยตัดลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป เนื่องจากต้องการเก็บเงินสดไว้ในมือ เพราะไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว หลังจากในช่วงที่ผ่านมา ราคาสินค้าและบริการต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยชะลอตัวลงจากกำลังซื้อในประเทศถดถอย ประกอบกับเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างเปราะบาง แต่ในทางกลับกัน การดำเนินนโยบายของรัฐบาล ทำให้คนไทยมีภาระรายจ่ายต่อครัวเรือนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง!!!

ทุกข์ของคนไทยวันนี้คือ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สวนทางกับนโยบายหลักของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เคยกล่าวไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งว่า


"เราจะกระชากค่าครองชีพลงมา เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้บริโภค!!!"

แต่ทว่าในความเป็นจริง กลับสวนทางกับนโยบายที่พรรคเพื่อไทยเคยปราศรัยไว้ในช่วงหาเสียงอย่างสิ้นเชิง!!!!!!

1 ก.ย.2556 วันแรกที่สารพัดรายจ่ายจำเป็นในชีวิตประจำวัน พร้อมใจกันปรับเพิ่มขึ้น ทั้งราคาแอลพีจี ภาคครัวเรือน หรือก๊าซหุงต้ม ที่ปรับขึ้นเดือนละ 50 สตางค์/กิโลกรัม เป็นเวลา 1 ปี  ในวันเดียวกันนี้ ยังครบกำหนดวันแรกของการปรับขึ้นค่าทางด่วนอีก 5-10 บาท ภายใต้เงื่อนไขสัญญาสัมปทานของบริษัท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำกัด (กทพ.) และการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (ค่าเอฟที) ที่เพิ่มขึ้นอีก 7.08 สตางค์/หน่วย ทั้งหมดนี้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันเดียวกัน คือ 1 ก.ย. 2556


ย้ำอีกทีว่า ทั้งหมดนี้มีผลวันเดียวกันคือ 1 ก.ย. 2556!!! รอบเดียว 3 เด้ง กระชากค่าครองชีพคนไทยให้สูงขึ้นจนแทบตั้งตัวไม่ติด หลังจากยิ้มแก้มปริในช่วงต้นปีที่ผ่านมา กับค่าแรงขั้นต่ำคนละ 300 บาท/วัน เท่ากันทั่วประเทศ และการกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเริ่มต้นที่ 15,000 บาท/เดือน

ในขณะที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องพยายามออกมาแสดงท่าทีรับผิดชอบต่อค่าครองชีพของประชาชนที่เพิ่มขึ้น ด้วยการออกมาตรการเยียวยา โดยเฉพาะกรณีการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มที่ส่งผลกระทบต่อคนทั้งประเทศมากที่สุด เมื่อเทียบกับการปรับขึ้นค่าทางด่วนและค่าเอฟที โดยต้นเรื่องอย่าง ก.พลังงาน ออกมา take action ในบทบาทของพระเอกด้วยการออกมาตรการช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อยให้สามารถซื้อก๊าซหุงต้มได้ในราคาเดิม

ภาพจาก @GOOSOOGONG

ภาพจาก @GOOSOOGONG


ด้าน ก.พาณิชย์ โดยนายยรรยง พวงราช รมช.พาณิชย์ วางมือจากพ่อค้าขายข้าว มารับบทเพื่อนพระเอกชั่วคราว กำชับกรมการค้าภายในดูแลควบคุมราคาสินค้าอย่างเข้มงวด พร้อมขู่เอาผิดพ่อค้าแม่ค้าที่ขายอาหารทุกชนิด โดยเฉพาะอาหารตามสั่ง ข้าวราดแกง อาหารจานเดียว หากพบว่ามีการฉวยโอกาสขึ้นราคาแบบค้ากำไรเกินควร จะดำเนินคดีตามกฎหมายทันที โดยมีโททษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ

สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังการประกาศปรับราคาพลังงานถึง 2 รูปแบบ และการขึ้นค่าบริการทางด่วน โดยให้มีผลวันเดียวกัน คือ 1 ก.ย. 2556 คือผลกระทบด้านจิตวิทยาของผู้บริโภค กดดันยอดการจับจ่ายใช้สอยให้ปรับลดลงไปอีก จากเดิมที่ชะลอตัวลงเพราะไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ จนทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้  และเป็นที่มาที่ทำให้หน่วยงานหลักด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รวมทั้งสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจของภาคเอกชน ทบทวนปรับลดเป้าหมายจีดีพีในปีนี้ลง จนกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในที่สุด

ภาพจาก @อิฐบูรณ์ อ้นวงษา

ภาพจาก @อิฐบูรณ์ อ้นวงษา


โอกาสที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วง 5 เดือน ที่ยังเหลือก่อนสิ้นสุดรอบปี 2556 จึงค่อนข้างริบหรี่เต็มที แม้ ก.คลัง จะเข็น 4 มาตรการ 20 แนวทางออกมาสนับสนุนเศรษฐกิจไทยในช่วงเวลาที่ยังเหลือให้ขยายตัวขึ้น

สารพัดม็อบจึงเกิดขึ้น เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนมติการอนุมัติปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการทั้ง 3 ชนิด เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระรายจ่ายต่อครัวเรือนที่สูงขึ้น และเรียกร้องให้เอกชนผู้ประกอบธุรกิจแบกรับภาระแทน เพราะมีผลประกอบการสูงมากจนเกินพอที่จะรับภาระแทนผู้บริโภคได้

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายภาคประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มภาคีเครือข่ายประชาชน โดยมี น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.สรรหา ร่วมผลักดันให้รัฐบาลทบทวนการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม ทั้งยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม และเดินหน้าขอพึ่งอำนาจตุลาการ โดยยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว พร้อมถอดถอนมติ ครม.ที่เห็นชอบให้ ก.พลังงาน ขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม และหยุดขึ้นราคาทันที

ภาพจาก FB @Chanya Chwnsth

ภาพจาก FB @Chanya Chwnsth


เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวกับ “ไทยรัฐออนไลน์” ว่า ก.พลังงาน มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม แนวทางแรก คือเรียกเก็บเงินแอลพีจีสำหรับธุรกิจปิโตรเคมี เข้ากองทุนน้ำมันฯ ในอัตรา 12.55 บาท/กิโลกรัม จากปัจจุบันที่เรียกเก็บเพียง 1 บาท/กิโลกรัม เช่นเดียวกับที่เรียกเก็บเงินจากเบนซินและดีเซล เพื่อพยุงราคาขายปลีก ไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบ และถ้าทำได้ตามที่เสนอจะทำให้กองทุนน้ำมันมีเงินเพิ่มขึ้นถึงปีละ 30,000 ล้านบาท  หนี้กองทุนน้ำมันก็จะหมดไปในเวลาไม่ถึง 1 ปี และในอนาคตก็ไม่ต้องเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันอีกต่อไป

แนวทางที่ 2 คือ การปรับลดอัตราค่าผ่านท่อส่งก๊าซธรรมชาติให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจ และแนวทางที่ 3 คือ การกำหนดราคาเนื้อก๊าซที่จำหน่ายในอัตราเดียวกัน ทั้งๆ ที่เป็นก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยเป็นสมบัติของคนไทยทุกคน ดังนั้น จึงไม่ควรให้อภิสิทธิ์แก่กลุ่มธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง

ในขณะที่ นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวกับ “ไทยรัฐออนไลน์”​ โดยตั้งข้อสังเกตที่มาของเงินงบประมาณที่นำมาใช้ในการอุดหนุน ส่วนต่างราคาก๊าซหุงต้มที่ ก.พลังงาน เข้าช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยระบุว่า ที่ผ่านมา ก.พลังงาน ไม่มีการชี้แจงข้อมูล ที่ชัดเจนว่าจะใช้เงินจากไหนในการเยียวยา หากเป็นการนำเงินงบประมาณมาใช้ในการเยียวยาก็เท่ากับว่า รัฐบาลนำเงินภาษีของประชาชนอุ้มภาคธุรกิจ และปล่อยให้ประชาชนต้องจ่ายเงินให้แก่ภาคธุรกิจ เพื่อซื้อก๊าซและน้ำมัน

ภาพจาก @GOOSOOGONG

ภาพจาก @GOOSOOGONG


แม้จะมีการให้ข่าวในเบื้องต้นว่า ก.พลังงาน ว่าจะใช้เงินจากกองทุนน้ำมัน ในการเยียวยา แต่จากการลดอัตราเรียกเก็บเงินจากน้ำมันทุกประเภทเข้ากองทุนน้ำมันในการประชุม กบง. เมื่อวันที่ 27 ส.ค.ที่่ผ่านมา ทำให้กองทุนน้ำมันรายได้ลดลงถึง 28.46 ล้านบาทต่อวัน คงเหลือรายได้เพียง 6.48 ล้านบาทต่อวันเท่านั้น แม้จะยืนยันว่าฐานะของกองทุนน้ำมันเป็นบวกที่ 7,032 ล้านบาท แต่ยังคงยืนยันว่า ก.พลังงาน ไม่แจกแจงที่มาที่ชัดเจนของวงเงินที่นำมาใช้ในการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ซื้อก๊าซหุงต้มในราคาเดิม

นายอิฐบูรณ์ กล่าวว่า รัฐบาลบริหารกองทุนน้ำมันอย่างผิดพลาด เลือกปฏิบัติ เพราะมีส่วนได้ส่วนเสียกับกลุ่ม ปตท. ซึ่งปัจจุบันมีข้าราชการ ก.พลังงาน หลายรายมีตำแหน่งในกลุ่ม ปตท.และบริษัทในเครือ ดังนั้น การเรียกเก็บเงินจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในเครือของกลุ่ม ปตท. เพียง 1 บาทต่อกิโลกรัม ต่ำกว่าเอกชนรายอื่นที่ถูกเรียกเก็บในอัตรา 12 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจีสูงถึง 3,000 ล้านกิโลกรัมต่อปี นอกจากไม่มีมาตรฐานเดียวกันแล้ว ยังผลักภาระส่วนต่างให้กับผู้บริโภคต้องซื้อน้ำมันและก๊าซในราคาที่สูงขึ้น ทั้งๆ ที่ไทยขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติได้มากกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ภาพจาก @อิฐบูรณ์ อ้นวงษา

ภาพจาก @อิฐบูรณ์ อ้นวงษา


อย่างไรก็ตาม ในนามของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและภาคีเครือข่ายภาคประชาชน เรียกร้องให้ภาครัฐแก้ไขสัญญาสัมปทานปิโตรเลียมให้ทันสมัยขึ้น โดยหัวใจหลักคือ ให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากในช่วงที่ทำสัญญาสัมปทานในปี 2532 ที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอยู่ที่ 18 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ในขณะที่กิจกรรมการณรงค์ล่า 50,000 รายชื่อ เสนอปลด นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน และผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงพลังงานออกจากตำแหน่ง ยังคงดำเนินต่อไป ระหว่างวันที่ 1 ก.ย. จนถึง 8 ก.ย.นี้ บริเวณป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานใหญ่ ปตท. ถนนวิภาวดี ก่อนนัดชุมนุมใหญ่อีกรอบเพื่อแสดงพลังคัดค้านการขึ้นแอลพีจี ภาคครัวเรือนของ ก.พลังงาน ในวันที่ 9 ก.ย.นี้ โดยนายอิฐบูรณ์ระบุว่า ก่อนถึงกำหนดวันนัดชุมนุมใหญ่จะพิจารณาร่วมกับภาคีเครือข่ายพันธมิตรรายอื่นๆ อีกครั้งว่าจะยกระดับการชุมนุมหรือไม่ และยังไม่รับปากว่าการชุมนุมใหญ่ในวันที่ 9 ก.ย.นี้ จะเป็นการชุมนุมอย่างยืดเยื้อหรือไม่ โดยจะพิจารณาจากสถานการณ์อีกครั้ง.




Create Date : 03 กันยายน 2556
Last Update : 3 กันยายน 2556 10:42:57 น. 0 comments
Counter : 1221 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.