พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
กันยายน 2556
 
28 กันยายน 2556
 
All Blogs
 
ผ่านมหาอุทกภัย 2 ปี ยุ่นมองสหรัตนนคร ‘ไม่เก๋ไก๋’

ผ่านมหาอุทกภัย 2 ปี ยุ่นมองสหรัตนนคร ‘ไม่เก๋ไก๋’

ผ่านมาแล้ว 2 ปี กับเหตุมหาอุทกภัย ที่สร้างความเสียหายทั้งชีวิต และทรัพย์สิน โดยในภาคอุตสาหกรรมเสียหายกว่า 4.93 แสนล้านบาท ...ภาพเหล่านี้ยังติดตา เป็นความทรงจำที่ทุกคนไม่รู้ลืม

มาปีนี้ เมื่อชาวไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างจังหวัดสุรินทร์ ถูกน้ำท่วมหนักในรอบ 40 ปี และอีกหลายจังหวัดที่ไม่เคยถูกน้ำท่วม กลับต้องมาประสบเหตุ โดยเฉพาะที่เขตนิคมอุตสาหกรรม 304 จ.ปราจีนบุรี ทำให้ภาพ 6 นิคมอุตสาหกรรมในเขต จ.พระนครศรีอยุธยา และจ.ปทุมธานี จมอยู่ใต้บาดาล หวนคืนกลับมาอีกครั้ง

และเมื่อระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้น จากการระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา ทำให้พื้นที่บางส่วนใน จ.พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วม สร้างความตื่นตัวให้ภาครัฐ เร่งสำรวจกำแพงป้องกันเขตนิคมอุตสาหกรรม พื้นที่เศรษฐกิจที่จะให้เสียหายไม่ได้อีก เพราะหากเกิดขึ้น อาจหมดหนทางที่จะเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะนักลงทุนญี่ปุ่น

รมว.อุตสาหกรรม ตรวจเยี่ยมสหรัตนนคร

รมว.อุตสาหกรรม ตรวจเยี่ยมสหรัตนนคร

ตรวจแนวป้องกันนิคมอุตสาหกรรม

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการให้นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้บริหารจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ลงพื้นที่สำรวจความพร้อมอย่างเร่งด่วน

การป้องกันน้ำท่วม ปี2556

การป้องกันน้ำท่วม ปี2556

6 นิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญ ในภาคกลาง ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) เขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร สวนอุตสาหกรรมนวนคร และสวนอุตสาหกรรมบางกะดี

ณ วันนี้ 5 นิคมอุตสาหกรรม มีแนวป้องกันถาวร ที่ทำจากคอนกรีตพร้อมรับมือน้ำ แต่ที่น่าห่วงที่สุดคือ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ที่การก่อสร้างมีความคืบหน้าเพียงร้อยละ 30-40 เนื่องจากติดปัญหาการบริการจัดการภายใน จากการเปลี่ยนผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ ทำให้ขาดเงินมาลงทุน ขณะนี้อยู่ระหว่างรอเจ้าหนี้พิจารณาการใช้เงิน 558 ล้านบาท

สื่อญี่ปุ่น (ฟูจิทีวี) เกาะติดน้ำท่วม

สื่อญี่ปุ่น (ฟูจิทีวี) เกาะติดน้ำท่วม

ญี่ปุ่นเกาะติดน้ำท่วม

ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ลงสำรวจพื้นที่รอบนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร พบว่าสถานีโทรทัศน์ของญี่ปุ่น และนักวิจัย ให้ความสนใจกับสถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้อย่างมาก

ประตูน้ำบางเพลิง

ประตูน้ำบางเพลิง

ประตูน้ำบางเพลิง

ประตูน้ำบางเพลิง

หนึ่งในทีมวิจัยของญี่ปุ่น กล่าวกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ว่า “อีกไม่กี่วันก็จะครบ 2 ปี ที่มวลน้ำก้อนใหญ่หลากเข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร คือวันที่ 4 ตุลาคม 2554 ผ่านมาจะ 2 ปี การสร้างแนวป้องกันน้ำที่นี่ไม่เก๋ไก๋”

นักวิจัยชาวญี่ปุ่น ให้คำจำกัดความของคำว่าเก๋ไก๋ว่า ไม่ได้ดีขึ้น และเลวลง คือทุกสิ่งทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง อย่างประตูน้ำบางเพลิง ที่หูช้างแตกเมื่อครั้งก่อน น้ำจึงหลากเข้านิคม ก็ยังคงเสียหายอยู่เหมือนเดิม มีการซ่อมแบบชั่วคราว จึงติดใจกับงบประมาณที่นำมาลงทุนสร้างแนวป้องกันน้ำในเขตเศรษฐกิจ เพราะที่ผ่านมาได้สำรวจแล้วหลายที่ หลายครั้ง สะท้อนไปยังภาครัฐของไทย แต่ไม่มีอะไรกลับมา แต่วันนี้พวกเขายอมรับว่า “ปีนี้ยังไม่น่าห่วง น้ำยังไม่มากเท่า ญี่ปุ่นยังคงลงทุนในไทย แต่อาจต้องย้ายฐานการผลิต หรือปรับลักษณะของการทำงาน เช่น ย้ายสายพานการผลิตไปอยู่ชั้น 2 และให้ชั้น 1 เป็นสำนักงานแทน”

โรงงานปิดกิจการ

โรงงานปิดกิจการ

สหรัตนนคร 'พร้อม' หรือ 'ไม่พร้อม' รับน้ำ

ทีมข่าวสำรวจพื้นที่ภายในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ด้านทิศเหนือ จุดเสี่ยงเดิมที่ไม่สามารถสกัดมวลน้ำไว้ได้ มีสภาพรกร้าง ถุงทรายขนาดใหญ่ หรือบิ๊กแบ็ก ที่บางส่วนมีสภาพเสื่อมโทรม ยังคงถูกใช้เป็นแนวป้องกัน

สโมสร สนามกอล์ฟที่เคยคึกคัก ถูกปล่อยทิ้ง โรงงานในแถบนี้ ส่วนใหญ่ปิดกิจการ ติดป้ายประกาศให้เช่า/ขาย

นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร มีพื้นที่ 30,000 ไร่ แต่มีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่ 900 ไร่ ถูกโอบล้อมด้วยถนนทางหลวงชนบท ความสูง 6.50 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.ร.ทก.) ระยะทางรวม 32.50 กิโลเมตร ถนนจึงกลายเป็นแนวกั้นแรก สกัดน้ำที่อาจหลากมาจากแม่น้ำป่าสัก (ทิศเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) และแม่น้ำลพบุรี (ทิศใต้)

ทิศเหนือ

ทิศเหนือ

ทิศเหนือ

ทิศเหนือ

ทิศเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ กรมทางหลวงได้สร้างถนนขึ้นใหม่คู่ขนานกับเส้นเดิม สูง 8.20 เมตร ทำให้มีกำแพงป้องกันอีกชั้น

ส่วนด้านอื่น มีแนวคันดินเป็นแนวป้องกัน ฐาน 15 เมตร สูง 6.50 เมตร ระยะทางรวม 6 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 17 ล้านบาท ยังเหลืออีก 1 กิโลเมตร ที่คาดว่าจะสร้างเสร็จในอีก 4 เดือนข้างหน้า หรือเดือนมกราคม ปี 2557

แนวกั้นแรก ถ.ทางหลวงชนบท

แนวกั้นแรก ถ.ทางหลวงชนบท

คันดิน

คันดิน

ขณะที่เขื่อนถาวรยาว 7 กิโลเมตร ซึ่งเป็นการเสริมฐานดินเขื่อนชั่วคราวให้กว้างขึ้นพร้อมเพิ่มความสูงเป็น 7.50 เมตร พร้อมเสริมความสูงด้วยคอนกรีตป้องกันการกัดเซาะอีก 1 เมตร รวมความสูงแนวป้องกันน้ำ 8.50 เมตร จะเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2557 งบประมาณรวม 558 ล้านบาท (รวมที่สร้างเขื่อนดินชั่วคราว)

แม้จะยังสร้างแนวป้องกันถาวร และชั่วคราวไม่เสร็จ แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มั่นใจว่า "เอาอยู่ รอด รอด" ขณะเดียวกันกนอ. ได้เตรียมแผนฉุกเฉิน หากน้ำมาประชิดจริง ก็จะใช้ถุงกำแพงดิน หรือ แท็บแบ็ก ที่บรรจุทรายแน่น ความสูง 1.2 เมตร ยาว 20 กิโลเมตร มาเป็นแนวเสริม

ถนนที่สร้างใหม่

ถนนที่สร้างใหม่

คันดินที่ยังสร้างไม่เสร็จ

คันดินที่ยังสร้างไม่เสร็จ

โดยระยะทาง 1 กิโลเมตร ใช้เวลาติดตั้ง 2 ชั่วโมง ดังนั้น ภายใน 1 วัน ระยะทาง 6 กิโลเมตร ติดตั้งเสร็จแน่นอน ทำให้แนวคันดินมีความสูงเป็น 7.70 เมตร สามารถรับระดับที่เคยท่วมในปี 2554 ที่ความสูง 7.2 เมตรได้ และปรับปรุงความมั่นคงแข็งแรงของคันดินให้ทนทางต่อกระแสน้ำ

พร้อมติดตั้งระบบสูบน้ำขนาด 1.5 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)/วินาที จำนวน 3 เครื่อง และเครื่องสูงน้ำขนาด 0.3 ลบ.ม./วินาที อีก 2 เครื่อง อีกทั้งได้ตั้งศูนย์ประสานงานที่สำนักงานใหญ่ กทม. เพื่อเฝ้าระวัง 6 พื้นที่อุตสาหกรรม โดยจัดส่งผู้บริหารเข้าพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์ และวางแผนรับมือหากน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้น

ถุงกำแพงดิน

ถุงกำแพงดิน

ถุงกำแพงดิน

ถุงกำแพงดิน

ผู้บริหารสหรัตนนครมั่นใจไม่ท่วม

สอดคล้องกับผู้บริหารสหรัตนนคร นางประภาพรรณ รัฐกาญจน์ รองผู้อำนวยการ รักษาการกรรมการผู้จัดการบริษัท สหรัตนนคร จำกัด ผู้พัฒนาและดูแลนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ที่มั่นใจว่า จะไม่ท่วมนิคมแน่นอน เพราะมีมาตรการเฝ้าระวังอย่างดี โดยได้ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบระดับน้ำใน 3 เขื่อน คือเขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนป่าสัก และเขื่อนพระราม 6 ทุกวัน ล่าสุดในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมา ระดับน้ำลดลงต่อเนื่อง

แต่เพื่อความไม่ประมาท จะยังคงเฝ้าติดตรวจสอบระดับน้ำต่อไปจนหมดช่วงมรสุม หรือ ประมาณกลางเดือนตุลาคม ว่าจะปลอดภัยจากปัญหาน้ำท่วม และหากกรณีเลวร้ายระดับน้ำจาก 3 เขื่อน รวมเพิ่มสูงถึง 2,800 ลบ.ม./วินาที จากปัจจุบันอยู่ที่ 2,400-2,500 ลบ.ม./วินาที จะนำถุงกำแพงดินเคลื่อนที่เร็วเข้าติดตั้งบนแนวคันดินทันที

ติดธงเตือนสถานการณ์

ติดธงเตือนสถานการณ์

ติดธงเตือนสถานการณ์

ติดธงเตือนสถานการณ์

ทางนิคมฯ ยังติดตั้งธงสีต่างๆ เพื่อส่งสัญญาณ ธงสีเขียว หมายถึง ระดับน้ำปกติ หากระดับน้ำเพิ่มสูงอีก 50 เซนติเมตร จะเปลี่ยนเป็นธงสีฟ้า ระดับเฝ้าระวัง สีเหลืองระดับเตรียมอพยพ และสีแดงระดับอพยพ ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในระดับเขียว

ปัจจุบันมีผู้ประกอบกิจการ 30 ราย จากจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด 46 ราย เงินลงทุนประมาณ 6,762 ล้านบาท จำนวนแรงงานประมาณ 9,760 คน ผู้ประกอบการ 90% เป็นชาวญี่ปุ่น เช่น บริษัทธนาคม อินเจ็คชั่น จำกัด ผลิตรองเท้ากีฬายี่ห้อแพน DIADORA KAPPA และรองเท้า ECCO บริษัท KATOLEC  ทำธุรกิจเกี่ยวกับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ทิศเหนือ

ทิศเหนือ

ทิศเหนือ

ทิศเหนือ

และเพื่อเตรียมความพร้อม เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ที่ผ่านมา ได้ฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีเกิดเหตุอุทกภัย แนวป้องกัน มาตรการ และอุปกรณ์ที่เตรียมพร้อมไว้ มั่นใจนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร และอีก 5 นิคม รอดแน่นอน

แต่มีทิ้งท้ายว่า ถ้าฝนไม่ตก น้ำไม่เยอะกว่านี้

พูดแบบนี้คงต้องช่วยกันลุ้น..เอาใจช่วยให้ฟ้าฝนไม่กระหน่ำลงมามากกว่านี้.




Create Date : 28 กันยายน 2556
Last Update : 28 กันยายน 2556 4:21:55 น. 0 comments
Counter : 1235 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.