พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
18 กันยายน 2555
 
All Blogs
 
"ชัชชาติ" ยันไม่มีล็อกสเปก 34 บริษัททั่วโลกยื่นจัดระบบน้ำ 3.05 แสนล้าน

"ชัชชาติ" ยันไม่มีล็อกสเปก 34 บริษัททั่วโลกยื่นจัดระบบน้ำ 3.05 แสนล้าน

คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยของประเทศไทย เผยมีผู้สนใจยื่นคุณสมบัติเบื้องต้น 34 ราย เพื่อร่วมประมูลจัดระบบบริหารจัดการน้ำ โดยเป็นบริษัทชั้นนำจากทั่วโลก ทั้งบริษัทไทย และเกาหลี จีน ญี่ปุ่น อิสราเอล เนเธอร์แลนด์ อเมริกา สิงคโปร์ ขอเวลากรองคุณสมบัติก่อนประกาศจริงวันที่ 24 ก.ย. “ชัชชาติ” ยันไม่มีล็อกสเปกแน่นอน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมช.คมนาคม เปิดเผยในฐานะรองประธานและโฆษกคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกกรอบแนวคิดเพื่อออกแบบก่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย ว่า จนถึงวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมา มีบริษัทเอกชนมายื่นคุณสมบัติเบื้องต้นเพื่อรับการคัดเลือกเข้าเสนอกรอบแนวคิด (Conceptual Plan) เพื่อออกแบบก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัย มูลค่าโครงการ 305,000 ล้านบาท ทั้งสิ้น 34 ราย แบ่งออกเป็น 1.บริษัทต่างชาติอย่างเดียว 7 ราย โดยในจำนวนนี้ สนใจยื่นเดี่ยว 5 ราย ยื่นค้าร่วม (Consortiam) 2 ราย และมีบริษัทไทยอย่างเดียว 11 ราย สนใจยื่นเดี่ยว 9 ราย ยื่นร่วมค้า (Joint Venture) 2 ราย 3.บริษัทไทยร่วมกับต่างชาติ 16 ราย โดยเป็นการยื่นค้าร่วม (Consortiam) 13 ราย และยื่นร่วมค้า (Joint Venture) 3 ราย

“ความแตกต่างระหว่างยื่นค้าร่วม หรือ Consortiam จะเป็นการรวมตัวกันของบริษัทต่างๆ โดยไม่จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ และแบ่งงานกันรับผิดชอบ ส่วนยื่นร่วมค้าหรือ Joint Venture หากได้รับคัดเลือกแล้วจะไปจดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบนี้ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบเพราะเงื่อนไขของรัฐบาลเปิดรับทั้ง 2 อย่าง”

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนบริษัทที่มายื่นขอเอกสารจากคณะกรรมการมีจำนวน 395 ราย และจากที่มายื่นทั้งสิ้น 34 รายนี้ ประกอบไปด้วยจำนวน 169 บริษัท มีทั้งบริษัทจากไทย จีน เกาหลีใต้ ฮ่องกง สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ อเมริกา อิสราเอล อังกฤษ โดยเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกและชั้นนำของไทย และมีทั้งบริษัทที่ปรึกษาและบริษัทก่อสร้างรวมอยู่ในนี้ทั้งหมด

สำหรับขั้นตอนจากนี้ทางนายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ในฐานะเลขาธิการสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (สบอช.) จะพิจารณาคุณสมบัติของไทยและต่างชาติ ว่าตรงตามร่างเงื่อนไขทีโออาร์หรือไม่ จากนั้นจะประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 ก.ย. เวลา 09.30 น.และกรณีผู้ไม่ผ่านคุณสมบัติงานตามทีโออาร์จะให้เวลาได้ร้องอุทธรณ์สิทธิ์และชี้แจงเพิ่มเติมภายใน 2 วัน เพื่อแจ้งผลผู้ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นวันที่ 24 ก.ย. จากนั้นจะให้เวลาอีก 60 วันเพื่อยื่นแผนแนวคิด หรือ Conceptual Plan พร้อมราคา เวลา และเทคนิค คือในวันที่ 23 พ.ย.

นายชัชชาติยังได้ตอบคำถามถึงกรณีที่มีข่าวว่ารัฐบาลล็อกสเปกบริษัทไว้แล้วว่า ตนไม่เคยทราบมาก่อนและยืนยันว่าการคัดเลือกเอกชนโปร่งใสทุกขั้นตอน เพราะมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ขอยืนยันว่าไม่มีการล็อกสเปกให้ใคร และในการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นจะไม่ได้ดูอะไรมาก และคงดูประสบการณ์เป็นหลัก ส่วนขั้นตอนต่อไปที่ยื่นกรอบแนวคิด ได้วางกรอบการให้คะแนนไว้คือ ด้านเทคนิค 35 คะแนน ด้านราคา 35 คะแนน ประสบการณ์ 20 คะแนน และข้อเสนอเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ 10 คะแนน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ยื่นคุณสมบัติเบื้องต้น 34 ราย ในส่วนของบริษัทต่างชาติที่ยื่นเดี่ยว 5 ราย มาจากประเทศเกาหลีใต้ ได้แก่ บริษัท วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น (เค-วอเตอร์) และเบนท์-โคเรีย จำกัด (มหาชน) ขณะที่มีบริษัทจากจีน คือ ไชน่า ซีเอเอ็มซี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และไชน่า นอร์ทเทิร์น มิวนิซิเปิล เอ็นจิเนียริ่ง ดีไซน์และรีเสิร์ท และบริษัท ไชน่า ไฮเวย์ กรุ๊ป จากฮ่องกง ส่วนที่ยื่นค้าร่วม หรือ Consortiam กลุ่มแรกเป็น สิงคโปร์ คอนซัลเตียม และอีกกลุ่มมาจากจีน เป็นกลุ่มบริษัท กวางตุ้ง ไฮโดรพาวเวอร์ ส่วนบริษัทไทยที่ยื่นเดี่ยว 9 ราย เช่น บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง บริษัท เซาท์อีสท์ เอเชีย เทคโนโลยี บริษัท ไทย-คอนซัลแตนท์ เอ็นจิเนียริ่ง เป็นต้น และที่ยื่นร่วมค้าหรือ Joint Venture กลุ่มแรกใช้ชื่อ กิจการร่วมค้า ซัมมิท เอสยูที และกลุ่มที่ 2 ใช้ชื่อกิจการร่วมค้าทีมไทยแลนด์ โดยกลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย 8 บริษัท เช่น บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด เป็นต้น

นอกจากนี้ ในส่วนที่บริษัทไทยร่วมกับต่าง ชาติ 16 ราย โดย 13 รายแรกเป็นยื่นค้าร่วม หรือ Consortiam ได้แก่ กลุ่มบริษัทร่วมค้าล็อกซเล่ย์ ระหว่างไทย-อเมริกา กลุ่มร่วมค้า SINO-FIFTH ระหว่างไทย-จีน และมีกิจการร่วมค้าญี่ปุ่น-ไทย ที่รวมตัวกันถึง 11 บริษัท และมีกลุ่มไทย วอเตอร์ เมเนจเมนท์ หรือ TWIN Group ที่ร่วมมือกัน 10 บริษัท และมาจากบริษัทสัญชาติไทย-เนเธอร์แลนด์—อังกฤษ-จีน-เกาหลี เป็นต้น ส่วนยื่นร่วมค้า หรือ Joint Venture มี 3 ราย เป็นการรวมกันของบริษัทไทยและจีนทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ กิจการร่วมค้า พาวเวอร์ ลิงค์ พีอาร์พีเอสดีซี, พีเคคิวทีซี จอยท์เวนเจอร์ และไอทีดี พาวเวอร์ ไชน่า เจวี ซึ่งเป็นการร่วมกันของบริษัทอิตาเลี่ยนไทย ดีเวลลอปเมนต์ บริษัทปัญญา คอนซัลแตนท์ และบริษัทจากประเทศจีน.

โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ




Create Date : 18 กันยายน 2555
Last Update : 18 กันยายน 2555 8:48:29 น. 0 comments
Counter : 1752 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.