พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
2425262728 
 
6 กุมภาพันธ์ 2556
 
All Blogs
 
'ธีระชัย'แรง!! โพสต์เฟซบุ๊ก อัด'โต้ง'ล้วงลูก ธปท.

'ธีระชัย'แรง!! โพสต์เฟซบุ๊ก อัด'โต้ง'ล้วงลูก ธปท.


"ธีระชัย" อดีต รมว.คลัง โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว สับ "โต้ง" ไม่ควรแทรงแซง ธปท. กดดันให้ลดดอกเบี้ยตามต้องการ ระบุการตัดสินใจควรเป็นหน้าที่ฝ่ายวิชาการ  ระบุอย่าอ้างเกรงแบงค์ชาติขาดทุนกว่า 4 แสนล้านบาท กระทบเสถียรภาพเศรษฐกิจ  เตือนความจำ ในอดีตทำไมเคยเสนอโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาท เป็นภาระแบงค์ชาติ  …

เมื่อเวลาประมาณ 22.30 น.  วันที่ 5 ก.พ.56 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพลต์เฟซบุ๊กส่วนตัว  โดยใช้หัวข้อว่า "รัฐมนตรีคลังไม่ควรแทรกแซงแบงค์ชาติ" โดยแบ่งเป็น 3 ตอน โดยเนื้อหา กล่าวถึงกรณีนายนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกและรัฐมนตรีคลังได้ทำหนังสือถึงบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุในฐานะลูกหม้อธปท.และเคยเป็นรมว.คลัง เห็นว่าเป็นการไม่ให้เกียรติ  โดยพยายามกดดันให้บอร์ด และบีบให้ธปท.ลดดอกเบี้ย ถือเป็นการแทรงแซงธปท.โดยตรง

สำหรับเนื้อหาทั้งหมด ได้แก่

รัฐมนตรีคลังไม่ควรแทรกแซงแบงค์ชาติ

- นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกและรัฐมนตรีคลังได้ทำหนังสือถึงบอร์ดแบงค์ชาติ เพื่อย้ำว่ากรรมการแบงค์ชาติทุกคนจะต้องร่วมรับผิดชอบ  ต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และต่อความเสียหายที่แบงค์ชาติทำ
-  นายกิตติรัตน์อ้างว่าเป็นห่วงเป็นใยกับการที่แบงค์ชาติมีขาดทุนสะสมกว่า 400,000 ล้านบาท  และไม่ต้องการให้ขาดทุนดังกล่าว  กระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจ  หรือเป็นหนี้สาธารณะ

-  ผมเองต้องแสดงความเห็นเรื่องนี้  ในฐานะที่เคยเป็นลูกหม้อแบงค์ชาติ  และเคยเป็นรัฐมนตรีคลัง
-   แต่ขอย้ำว่ามิใช่เพื่อนัยทางการเมืองใดๆ  ทั้งนี้  ตั้งแต่พ้นตำแหน่งเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2555 ไปแล้วนั้น  ผมไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับพรรคการเมืองใดทั้งสิ้น  จึงแสดงความเห็นจากแง่มุมวิชาการและประสบการณ์เป็นสำคัญ

-   วิธีการทำหนังสือไปขู่กรรมการแบงค์ชาติอย่างนี้  ผมเห็นว่าเป็นการไม่ให้เกียรติ  เป็นการทึกทักเอาเองว่ากรรมการแบงค์ชาติเพิกเฉยต่อภาวะเศรษฐกิจ  หรือต่อผลขาดทุนของแบงค์ชาติ

-   ผมไม่เคยเห็นรัฐมนตรีคลังผู้ใดทำเช่นนี้ในอดีตที่ผ่านมา  ไม่ว่าในประเทศไทย  หรือในประเทศอื่นใด

การ ทำหนังสือดังกล่าว  เป็นการพยายามบีบให้กรรมการกลัว  และเป็นการกดดันแบงค์ชาติให้ลดดอกเบี้ย  ตามที่รัฐมนตรีคลังต้องการ  จึงเป็นการแทรกแซงแบงค์ชาติโดยตรง

รัฐมนตรีคลังไม่ควรแทรกแซงแบงค์ชาติ (2)

-การ ทำนโยบายการเงินของประเทศหนึ่งๆ นั้น  มีทางเลือกสองทาง  ทางหนึ่งคือทำนโยบายของตัวเองเป็นอิสระ  ส่วนอีกทางหนึ่ง  ไม่ทำนโยบายของตัวเอง  แต่ไปขอยืมใช้นโยบายการเงินของประเทศหลัก
-    เหตุที่บางประเทศต้องไปขอยืมใช้นโยบายการเงินของประเทศอื่นนั้น  เป็นเพราะสะดวกบ้าง  เป็นเพราะนโยบายของตนเองอาจจะไม่ได้รับความเชื่อถือบ้าง  เป็นประเทศเล็กที่ค้าขายส่วนใหญ่กับประเทศหลักบ้าง  เป็นประเทศที่ไม่มีกลไกให้ภาคเอกชนป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนบ้าง  เป็นต้น

-    ในอดีตย้อนไปหลายสิบปี  ประเทศหลักที่ประเทศอื่นๆ นิยมขอยืมใช้นโยบายด้วยนั้น  คือประเทศอังกฤษ  แต่ปัจจุบันคือประเทศสหรัฐ

-   กรณีที่ประเทศใดไปขอยืมใช้นโยบายการเงินของประเทศสหรัฐนั้น  ก็ต้องรักษาอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามสหรัฐทุกประการ  ค่าเงินก็จะผูกโยงกับดอลลาร์

-   แต่ประเทศที่ขอยืมใช้นโยบายการเงินของสหรัฐนั้น  มักจะมีปัญหาว่า  ในบางขณะ  ระดับดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับสหรัฐ  อาจจะไม่เหมาะสมกับประเทศตัวเอง

-   กรณีประเทศไทยสมัยก่อนก็ขอยืมใช้นโยบายการเงินของสหรัฐมาเป็นเวลานาน  แรกๆ ก็ผูกเงินบาทไว้กับดอลลาร์แบบตายตัว  หลังๆ ก็ใช้ระบบตะกร้า  แต่เงินในตะกร้าส่วนใหญ่ก็คือดอลลาร์นั่นเอง

-  แต่การขอยืมใช้นโยบายการเงินของสหรัฐ  ได้นำประเทศไทยไปสู่วิกฤตต้มยำกุ้ง  ไทยจึงได้เปลี่ยนไปใช้ระบบลอยตัว  มีนโยบายการเงินเป็นอิสระ

-   เมื่อมีนโยบายการเงินเป็นอิสระแล้ว  ไทยก็ไม่จำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยเงินบาท  ไว้เท่ากับดอลลาร์  แต่สามารถกำหนดให้เหมาะกับสภาวะเฉพาะของประเทศไทยได้

-  ดังนั้น  หากแบงค์ชาติจะลดดอกเบี้ย  ก็ควรจะเป็นผลจากปัจจัยในประเทศเป็นหลัก  ส่วนผลดีในการชะลอเงินทุนไหลเข้านั้น  ก็ควรเป็นปัจจัยประกอบพิจารณาเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น

-  แบงค์ชาติไม่ควรลดดอกเบี้ยเพียงเพื่อสะกัดเงินทุนไหลเข้าปัจจัยเดียว

-  การลดดอกเบี้ยควรจะทำหรือไม่  รัฐมนตรีคลังจึงควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักวิชาการ  นักเศรษฐศาสตร์  และกรรมการนโยบายการเงิน  ควรปล่อยให้เขาถกเถียงกัน  ไม่ใช่เข้าไปแทรกแซง

รัฐมนตรีคลังไม่ควรแทรกแซงแบงค์ชาติ (3)

-          สำหรับการที่นายกิตติรัตน์อ้างข้อกังวลว่าแบงค์ชาติขาดทุนกว่า 400,000 ล้านบาทนั้น  ขอเรียนว่าไม่จำเป็นต้องกังวล

-          ตราบใดที่การบริหารเศรษฐกิจโดยรวมของแบงค์ชาติและของกระทรวงการคลังเป็นที่ น่าเชื่อถือ  ก็จะไม่มีผู้ใดมีข้อกังวลเกี่ยวกับขาดทุนของแบงค์ชาติ

-          ขาดทุนแบงค์ชาตินั้นเป็นการสะท้อนบัญชีเศรษฐกิจของประเทศ  เพราะขาดทุนเกือบทั้งหมดนั้น  เกิดจากการที่แบงค์ชาติเข้าไปสะสมทุนสำรอง

-          การที่แบงค์ชาติเข้าไปสะสมทุนสำรอง  ก็เพื่อมิให้เงินบาทแข็งตัวเร็วเกินไป

-          หากเงินบาทแข็งเร็วจนปรับตัวไม่ทัน  นักธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อมก็จะถูกกระทบ  อาจถึงขั้นปิดกิจการ  และจะกระทบต่อการจ้างงาน

-          แบงค์ชาติจึงเอาตัวเข้าไป  ช่วยรับภาระแทนธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อมเหล่านี้  ขาดทุนของแบงค์ชาติ  จึงมีตัวเลขกำไรเกิดขึ้นในภาคธุรกิจ  เป็นภาพสะท้อนในกระจกเงา  เป็นจำนวนที่ไม่น้อยกว่ากัน

-          ผมจึงเห็นว่าเราไม่จำเป็นต้องไปกังวลกับขาดทุนแบงค์ชาติมากจนเกินไป  และก็มีหลายประเทศในโลก  ที่ธนาคารกลางหรือองค์กรที่มีทุนสำรองของประเทศ  มีผลการดำเนินงานขาดทุน

-          นอกจากนี้  ขาดทุนแบงค์ชาติ  ก็ไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ  ไม่ว่าตามกฎหมายไทย  หรือตามนัยทางเศรษฐศาสตร์  ซึ่งทั่วโลกก็ถือปฏิบัติตามนี้  ดังนั้น  ข้อกังวลของนายกิตติรัตน์  ว่าขาดทุนแบงค์ชาติจะกระทบหนี้สาธารณะนั้น  ตัดทิ้งไปได้เลย

-          ส่วนประเด็นที่นายกิตติรัตน์  กลัวว่าขาดทุนแบงค์ชาติจะกระทบเสถียรภาพเศรษฐกิจนั้น  ผมแปลกใจว่า  ทำไมนายกิตติรัตน์เพิ่งจะมาแสดงความกังวลเอาตอนนี้

-          ผมจำได้ว่าในช่วงที่ผมเป็นรัฐมนตรีคลัง  ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 27 ธันวาคม 2554  นายกิตติรัตน์ในฐานะรองนายก  ได้เป็นผู้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีด้วยตนเอง  ให้โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาท  ไปให้เป็นภาระของแบงค์ชาติ

-          นายกิตติรัตน์ชี้แจงเหตุผลว่า  เดิมในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง  แบงค์ชาติฐานะอ่อน  รัฐบาลขณะนั้นจึงต้องเข้าไปช่วยรับภาระหนี้ดังกล่าวไว้  แต่บัดนี้แบงค์ชาติฐานะดีขึ้นแล้ว  จึงควรโอนหนี้ไปให้แบงค์ชาติ  ซึ่งผมคัดค้าน

-          และเรื่องนี้  เป็นเหตุให้เราทั้งสองแถลงข่าวขัดกัน  โดยนายกิตติรัตน์แถลงว่าคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการ  แต่ผมแถลงว่าคณะรัฐมนตรีให้ไปปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน

-          เรื่องนี้ในภายหลัง  ผมก็ได้เสนอทางออก  โดยให้แบงค์พาณิชย์ทั้งระบบเข้ามาช่วยกันรับภาระหนี้แทน

-          แต่ทั้งนี้  ในวันนั้น  สมมุติหากคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ไปให้แบงค์ชาติตามที่นายกิตติรัตน์เสนอจริงๆ  ผลขาดทุนของแบงค์ชาติในวันนี้จะไม่ใช่  400,000 ล้านนะครับ  แต่จะเป็น 1.5 ล้านล้าน

-          ถ้าในวันนั้น  นายกิตติรัตน์มิได้กังวล  ที่แบงค์ชาติจะขาดทุนบานเบิกออกไป  ถึงระดับ 1.5 ล้านล้าน  ทำไมวันนี้  กลับจะมากังวลกับตัวเลขขาดทุนเพียง 400,000 ล้าน  ผมไม่เข้าใจ


  • ข่าวการศึกษา
  • ข่าวการเมือง
  • ข่าวกีฬา
  • ข่าวดาราบันเทิง
  • ข่าวต่างประเทศ
  • ข่าวพระเครื่อง
  • ข่าวรถยนต์
  • ข่าวศาสนา
  • ข่าวสังคม สตรี
  • ข่าวเศรษฐกิจ
  • ข่าวไอที ข่าวเทคโนโลยี
  • ตลาดพระ
  • พระเครื่อง
  • วาไรตี้
  • สนามพระ
  • เว็บไอที



  • Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2556
    Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2556 3:28:53 น. 0 comments
    Counter : 1826 Pageviews.

    amulet108
    Location :
    กรุงเทพฯ Thailand

    [ดู Profile ทั้งหมด]

    ฝากข้อความหลังไมค์
    Rss Feed
    Smember
    ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








    Friends' blogs
    [Add amulet108's blog to your web]
    Links
     

     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.