พระโพธิสัตว์-โพธิญาณ-โพธิจิต ของพุทธมหายาน ตอน3

พระเจ้ากนิษกะ หรือ พระเจ้ากนิษกะมหาราช (อังกฤษ: Kanishka, กุษาณะ ) เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งอาณาจักรกุษาณะในเอเชียใต้ ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 ทรงมีชื่อเสียงจากความสำเร็จด้านการทหาร การปกครอง และฐานะผู้นำที่ยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ยังทรงเป็นผู้กำหนดมหาศักราชขึ้นด้วย ที่สำคัญคือ ทรงเป็นองค์อัครราชูปถัมภ์ที่ยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งเปรียบได้กับพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ทรงเป็นองค์อัครราชูปถัมภ์ของนิกายหินยาน ราชธานีของพระองค์คือเมืองเปศวรในประเทศปากีสถานปัจจุบัน

พระเจ้ากนิษกะเป็นนัดดาของพระเจ้ากัทพิเสส ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรกุษาณะ ได้ครองราชย์ในปี พ.ศ. 621 พระองค์มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนามากจนได้รับขนานนามว่า "พระเจ้าอโศกองค์ที่ 2" และทรงแผ่อาณาจักรกว้างไกลครอบคลุม คันธาระ แคชเมียร์ สินธุ และมัธยประเทศ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอิหร่าน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน เติร์กเมนิสถาน และบางส่วนของอินเดีย) ในสมัยนี้พุทธศาสนามหายานแผ่ไปสู่เอเชียกลางและจีนอย่างรวดเร็ว วรรณคดีภาษาสันสกฤตได้เจริญรุ่งเรืองแทนภาษาบาลี พระภิกษุที่มีความรู้ ในยุคนี้คือ ท่านปารศวะ ท่านอัศวโฆษ ท่านนาคารชุน  ท่านวสุมิตร เป็นต้น (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี) พระภิกษุข้างต้นล้วนเป็นผู้บรรลุธรรมชั้นสูงและพระอรหันต์ทั้งสิ้น

rustanyou.com


บารมี 6 ของพระโพธิสัตว์ มีดังนี้

1.ทานบารมี พระพุทธศาสนาเน้นคุณธรรมเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้อื่น เช่น เมตตา กรุณาและทานเป็นพิเศษ จนเห็นว่าแตกต่างจากศาสนาอื่น ๆ ในอินเดียยุคเดียวกันการให้หรือทานในที่นี้จึงมีนัยที่น่าพิจารณา เพื่อสลัดความเห็นแก่ตัว สร้างความอ่อนโยนให้กับจิตใจ


           พระโพธิสัตว์ปรารถนาที่จะเป็นยาและเป็นแพทย์รักษาผู้เจ็บป่วยให้หายป่วยปรารถนาที่จะเป็นอาหารและน้ำให้ผู้อดอยากหิวโหยได้ดื่มกินทั้งในยามปกติและเมื่อคราวประสบทุพภิกขภัยปรารถนาเป็นขุมทรัพย์ที่ไม่มีวันหมดสำหรับคนขัดสนสิ้นเนื้อประดาตัวและเป็นแหล่งบรรเทาทุกข์อื่น ๆ สำหรับผู้ต้องการความช่วยเหลือ


ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำหรับคุณธรรมขั้นสูงต่อไป

      (มหายานถือว่าทานที่ล้ำเลิศยิ่งกว่าทานทั้งปวงคือธรรมทาน)


2.ศีลบารมี ศีลหมายถึงปกติหรือการประพฤติที่อยู่ในครรลองคลองธรรม ในพระไตรปิฎกของเถรวาทมักมาร่วมกับสมาธิและปัญญาที่เป็นหลักไตรสิกขา พระพุทธโฆสาจารย์แบ่งศีลออกเป็น 2 ประการคือวารีตศีล ได้แก่ข้อห้าม และจารีตศีล วัตถุประสงค์ของศีล คือการรักษาตนเองเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น ด้วยอำนาจของศีลกิเลสอย่างหยาบจะอยู่ภายใต้การควบคุม อย่างน้อยก็ชั่วคราว


3.กษานติบารมี บารมีธรรมข้อที่ 3 คือ กษานติบารมี กษานติ แปลว่า อดทน เป็นธรรมที่เป็นข้าศึกต่อโทสะและความพยาบาท พระธรรมบทขุททกนิกาย กล่าวว่า ความอดทนเป็นตบะอย่างยิ่งยวด แบ่งความอดทนออกเป็น 3 ชนิดคือ 1) อดทนต่อความทุกข์ 2) อดทนต่อคำสอน และ 3) อดทนต่อความเจ็บปวดและการดูถูกเหยียดหยาม ความทุกข์มีอยู่ในสังสารวัฏ ควรที่ทุกคนจะเผชิญหน้ากับมันด้วยความกล้าหาญ นอกจากนั้น ความทุกข์ยังช่วยให้เจริญก้าวหน้าในธรรมหลายประการ เช่น ทำให้ไม่ประมาทมัวเมาในชีวิตทำให้รู้จักเห็นใจผู้อื่น และเพิ่มพูนศรัทธาในพระพุทธเจ้า

4.วิริยบารมี วิริยะ คือความขยันและกล้าหาญ ซึ่งหมายความว่าการจะบรรลุจุดหมายสูงสุดทางศาสนานั้น ต้องอาศัยความเพียรพยายามไม่ใช่อาศัยความเกียจคร้าน วิริยะหรือความเพียรอย่างไม่ย่อท้อจึงจำเป็นต่อการบรรลุพระโพธิญาณ นอกจากจะมั่นคงไม่เบื่อหน่ายในเป้าหมายแล้วผู้บำเพ็ญวิริยบารมีจะต้องเพียรป้องกันตนเองจากบาปอกุศลต่าง ๆ ด้วยจะหักห้ามใจตนเองจากความเพลิดเพลินในกาม เพราะกามสุขเป็นเสมือนหนึ่งคมมีดอาบน้ำผึ้งที่พร้อมจะบาดผู้ที่หลงระเริงดื่มกินได้ทุกเมื่อ พระโพธิสัตว์จะกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความระมัดระวังรอบคอบเสมอ แต่เมื่อได้ตัดสินใจกระทำสิ่งใดแล้ว จะทำด้วยความมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อจนกว่าจะบรรลุผลสำเร็จ

5.สมาธิบารมี หลังจากบำเพ็ญวิริยบารมีจนเต็มกำลังแล้ว พระโพธิสัตว์ควรทำใจให้สงบ การสั่งสมบารมีของพระโพธิสัตว์ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเมตตากรุณาต่อผู้อื่นอย่างเดียว แต่ความสงบภายในตน ไม่ว่าจะเป็นกายวิเวก จิตวิเวก และอุปธิวิเวก พระโพธิสัตว์ต้องสั่งสมให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์เช่นกันเพราะความสุขสงบภายในตน ย่อมทำให้เข้าใจธรรมเอาชนะกิเลสในใจตนและมองเห็นความเท่าเทียมกันระหว่างตนกับผู้อื่นช่องทางการทำใจให้สงบมี 2 ประการคือ สมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา อารมณ์ของทั้ง 2 ภาวนา จะทำให้เกิดดวงปัญญาและคลายความลุ่มหลงมัวเมาในกามและสมบัติทางโลกทั้งมวล

6.ปัญญาบารมี ปัญญาคือความเห็นแจ้งในกุศลและอกุศลซึ่งถือว่าเป็นบูรณาการขั้นสุดท้ายของทุกบารมีดังกล่าวมาแล้ว พระตถาคตเจ้าทรงตรัสรู้และทรงได้รับพระสมยานามเช่นนั้นก็ด้วยพระปัญญาบารมี จะเห็นว่าปัญญาบารมีที่เต็มเปี่ยมยังประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่เทพและมนุษย์ทั้งหลาย ดังที่อัษฏสาหสริกาปรัชญาปารมิตา กล่าวว่า


CREDIT : ดร.วิทยา ศักยาภินันท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.





Create Date : 06 ตุลาคม 2555
Last Update : 6 ตุลาคม 2555 20:54:02 น.
Counter : 1847 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ตุลาคม 2555

 
8
10
11
12
18
22
23
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog