คัมภีร์ อรรถศาสตร์ และ การสร้างเทวสถานปราสาทหินในสุวรรณภูมิ

             ดินแดนและชนชาติทั้งหลายตั้งอยู่ ถ้ามีองค์ความรู้-ภูมิปัญญา-วีรบุรุษ เข้ามาหล่อหลอม สร้างความเจริญรุ่งเรืองและอารยธรรมขึ้น   ภูมิภาคอีสานเป็นดินแดนต้นกำเหนิดอารยธรรมยุคต้นของมนุษย์ชาติในอุษาคเนย์ ก่อนที่จะแผ่ขยายเป็นอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงครอบคลุมเมืองพระนครในดินแดนเขมรต่ำแห่งประเทศกัมพูชา ( เขมรสูง-เขมรต่ำ ต้นรากมาจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องของความสูงความต่ำทางชนชาติ )ในดินแดนอัฟริกา บางประเทศยังเป็นสังคมคนป่าอยู่เพราะขาดการเรียนรู้และนำเข้าอารยธรรมที่ก้าวหน้ากว่ามาประยุกต์ใช้ในสังคมและสร้างสังคมให้ก้าวหน้า

 

             อาณาจักรขอมโบราณและปราสาทหินในภาคอีสาน ได้รับองค์ความรู้และอิทธิพลความเจริญจากอารยธรรมอินเดียผ่านเข้ามาตามเส้นทางการค้าทางทะเล ระหว่าง อินเดีย-ศรีวิชัย-จีน โดยมีเมื่องท่าศักด์สิทธิ์คือเมือง ออกแก้ว ในกัมพูชา เป็นศูนย์การค้าใหญ่  ต่อมาใด้พัฒนารูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะของตนเองขึ้นและมีความเจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องยาวนานนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่11 จนกระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ 18 ก็เสื่อมสลายลงอันเนื่องจากความออ่นแอภายในและเส้นทางการค้า-เทคโนโลยีการเดินเรือที่เปลี่ยนไป

 

       อิทธิพลฮินดูและฐานความรู้ใหม่สู่ดินแดนสุวรรณภูมิ คือ ลัทธิเทวราชา /GOD KING และตำราการปกครองชื่อ อรรถศาสตร์ ที่พราหมณ์ จาณํกยะหรือเกาฎิลย์นักปราชญ์-ราชครูของ  พระเจ้าจันทรคุปต์ ผู้เป็นต้นราชวงค์ เมารยะ ของพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้รวบรวมขึ้น    ตำนานการสร้างปราสาทเขาพระวิหารและพนมรุ้ง  ที่เปรียบเสมือนเขาไกรลาส อันเป็นที่สิงค์สถิตย์ของพระศิวะและมหาเทพของฮินดู ที่จะบรรดาลความอุดมสมบูรณ์ ความผาสุข แก่ประชาชนทั่วหล้า และปัดเป่าอุปสรรค ทุกขภัย โรคร้ายต่างๆ  คัมภีร์แห่งมนต์ไสยศาสตร์ที่ชนชั้นปกครองถอดรูปลักษณ์มาจากปราชญ์ ในราชวงค์ เมารยะ กล่าวใด้ว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ในด้านการปกครอง การรักษาอำนาจรัฐและการสร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่ ทีเป็นรากฐานความรู้ทางรัฐศาสตร์ เล่มแรก ของสุวรรณภูมิและยาวนานต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน (ในยุคโบราณนั้นเป็นสังคมทาส และ ระบบวรรณะ-เชื้อชาติทางสังคม )

 

        ราว พ.ศ 700 มีตำนานการเกิดอาณาจักรฟูนัน เล่าว่าพราหมณ์โกณทัญญะรบชนะนางพระยาหลิวเย่หรือนางนาค ผู้ปกครองชุมชนพื้นเมืองและได้แต่งงานกันในที่สุด (ในยุคนั้นแคว้นกลิงคะหรือโอริสสา ในปัจจุบันนี้ ถูกเผ่าอารยันรุกรานตั้งแต่สมัยพุทธกาลและพระเจ้าอโศกยกทัพเข้าโจมตีเมื่อ พ.ศ 300 เศษผู้คนล้มตายจำนวนมากจากการฆ่าแบบล้างเผ่าพันธ์ บ้างก็อพยพหนีออกนอกประเทศตามเส้นทางการค้าที่มีการบุกเบิกและเครือญาติตั้งรกรากอยู่แล้วเช่น ศรีวิชัย-ฟูนัน-จามปา-ลังกาสุกะ เป็นต้น )การก่อสร้างอาณาจักรขึ้นมาใหม่นั้น พราหมณ์เป็นเพียงผู้ถ่ายทอด  นักรบเป็นผู้ตั้งรัฐและอาศัยปราชญ์มาตีความปัญหาต่างๆ  คัมภีร์ อรรถศาสตร์ เป็นเสมือนคู่มือการปกครองในยามที่เกิดวิกฤติการณ์ในการปกครอง หรือเมื่อยามที่ต้องการเรียนรู้การปฎิวัติรัฐประหาร  สอนให้ใช้กลเม็ดเด็ดพรายหลากหลาย  ทั้งต่อศัตรูและต่อมิตร  ทั้งต่อประชาชนและระหว่างรัฐต่อรัฐ  ปราสาทหินและคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์นี้มีเพียงพราหมณ์ผู้ประกอบพิธีกรรมเท่านั้นที่สามารถติดต่อกับพระผู้เป็นเจ้า  และชนชั้นปกครองเข้ามาเรียนรู้คัมภีร์ อรรถศาสตร์ ที่เป็นเสมือนคู่มือการปกครองอันศักดิ์สิทธิ์  จึงไม่น่าแปลกใจที่ยามใดกษัตริย์ตามลัทธิฮินดูนี้ออ่นแอ   ก็จะถูกปุโรหิตเฒ่าผู้กระหายอำนาจ  จัดการรัฐประหารยึดอำนาจและเข้ามาครอบครองอาณาจักร  โดยอาศัยฐานความรู้ด้านนี้เท่านั้น (ตามประวัติศาสตร์อินเดีย ราว พ.ศ 358รุ่นหลานพระเจ้าอโศกมหาราช ถูกพราหมณ์ปุโรหิตยึดอำนาจและประหารชีวิต สถาปนาตนเองขึ้นครองราชตั้งราชวงศ์ศุงคะ และก่อปราสาทราชวังเป็นศูนย์กลางแห่งสวรรค์และมหาเทพ  และในประวัติศาสตร์ขอมโบราณก็เช่นเดียวกัน  การเปลี่ยนราชวงค์และปฎิวัติภายในเกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยโดยมีพราหมณ์ปุโรหิต อยู่เบื้องหลัง )                     

 

 

 




Create Date : 11 กันยายน 2555
Last Update : 12 กันยายน 2555 11:21:10 น.
Counter : 2362 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กันยายน 2555

 
 
 
 
 
 
7
14
15
22
24
29
30
 
 
All Blog