เมื่อฆราวาสผู้หลงใหลในรูปโฉม บรรลุอรหันต์

  ภาพจาก dhammajak.net

 

พระบรมศาสดาทอดพระเนตรเห็นพระนางกำลังเสด็จมา จึงทรงเนรมิตนางเทพอัปสร
นางหนึ่ง ซึ่งกำลังถือพัดก้านใบตาลถวายงานพัดให้พระองค์อยู่เบื้องหลัง พระนางเขมาเทวี เห็น
นางเทพอัปสรนั้นแล้วถึงกับตกพระทัยดำริว่า “แย่แล้วสิเรา สตรีที่งามปานเทพอัปสรเห็นปานนี้
ยืนอยู่ใกล้ พระทศพล แม้เราจะเป็นปริจาริกา หญิงรับใช้ของนาง ก็ยังไม่คู่ควรเลย เพราะเหตุ
ไร เราจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจจิตคิดชั่วหลงมัวเมาอยู่ในรูปเช่นนี้หนอ”
พระนางยืนทอดพระเนตรเพ่งดูสตรีนั้นอยู่ ในขณะนั้นเอง พระบรมศาสดา ได้ทรง
อธิษฐานให้สตรีนั้นมีสรีระเปลี่ยนแปลงล่วงเลยปฐมวัยแล้วย่างเข้าสู่มัชฌิมวัย ล่วงจากมัชฌิมวัย
แล้วย่างเข้าสู่ปัจฉิมวัย เป็นผู้มีหนังเหี่ยวย่น ผมหงอก ฟันหัก แก่หง่อม แล้วล้มลงกลิ้งพร้อมกับ
พัดใบตาลนั้น
พระนางเขมาเทวี ได้ทอดพระเนตรเห็นรูปสตรีนั้นโดยตลอดแล้ว จึงดำริว่า “สรีระที่
สวยงามเห็นปานนี้ยังถึงงามวิบัติอย่างนี้ได แม้สรีระของเราก็จักมีคติเป็นไปอย่างนี้เหมือนกัน”
ขณะที่พระนางกำลังมีพระดำริอย่างนี้อยู่นั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถาภาษิตว่า:-
“ชนเหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมตกไปในกระแสราคา
เหมือนแมลงมุมตกไปในข่ายใยที่ตนทำเอง
เมื่อชนเหล่านั้นตัดกระแสนั้นได้ โดยไม่มีเยื่อใยแล้ว
ละกามสุขเสียได้ ย่อมออกบวช”
เมื่อจบพระพุทธดำรัสคาถาภาษิตแล้ว พระนางเขมาเทวี ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อม
ด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ในอิริยาบถที่ประทับยืนอยู่นั่นเอง
 
เมื่อพระนางบวชแล้วได้นามว่า “พระเขมาเถรี” เพราะอาศัยเหตุที่พระนางมีปัญญามาก
บรรลุพระอรหัตผลทั้ง ที่อยู่ในเพศฆราวาส พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องเธอไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้มีปัญญา และทรงแต่งตั้งให้เป็น อัครสาวิกาฝ่าย
ขวา
 
ขอขอบคุณ http://84000.org/one/2/02.html
              ในคัมภีร์โพธิจรรยาวตาร พระศานติเทวะ ซึ่งเป็นพระภิกษุผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนาอยู่ในมหาวิทยาลัย นาลันทา ได้รจนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 12 ได้กล่าวเกี่ยวกับความไม่เที่ยงแท้ยั่งยืนหรือความไม่มีสาระแก่นสารของตัวตนว่า เมื่อบุคคลได้แยกจิตออกจากร่างกายด้วยปัญญาอันชอบแล้ว ก็จักพบความจริงว่า ร่างกายนี้เป็นสิ่งไม่มีสาระ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นและไม่ควรเพียรพยายามเฝ้ารักษาด้วยความหลงงมงาย โง่เขลา แต่ควรใช้ร่างกายนี้เป็นไปเพื่อบำเพ็ญประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ และควรมุ่งสละชีวิตอุทิศตนเพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั้งหลายอย่างกว้างขวาง โดยปราศจากการยึดมั่นถือมั้นในตัวตนเสีย
              พุทธศาสนามองว่าสรรพสิ่งไม่ยั่งยืนถาวร ไม่มีตัวตนแท้จริง มีลักษณะเป็น อนัตตา ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้..ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ เป็น อนัตตา ฉะนั้นจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ใด้ในรูปเป็นต้นนั้นว่า จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนี้เลย เพราะเบญจขันธ์นี้เป็นอัตตา เป็นไปเพื่อความเจ็บและไม่ตั้งอยู่ในอำนาจของใครที่จะบังคับได้ว่า ขอให้เป็นอย่างนี้ อย่าเป็นอย่างนั้นเลย อัตตาหรือตัวตนเป็นเพียงการประกอบขึ้นจากธาตุ 4 และ ขันธ์ 5 เป็นสิ่งไม่มีตัวตนที่เทียงแท้ถาวร



Create Date : 06 สิงหาคม 2555
Last Update : 6 สิงหาคม 2555 17:11:57 น.
Counter : 3903 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
สิงหาคม 2555

 
 
 
2
9
14
19
21
26
31
 
 
All Blog