พุทธมหายานและดวงอาทิตย์ทั้ง4

        เหตุการณ์ในอินเดียก่อนเกิดพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนั้น กล่าวคือราว พ.ศ400 หลังสิ้นราชวงศ์พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ราชวงศ์ใหม่นับถือศาสนาฮินดูและพระภิกษุในยุคนั้นไม่มีใครเป็นปราชญ์ที่เก่งกล้าสามารถโต้วาทีเอาชนะศาสนาอื่นและสร้างศรัทธาให้พระมหากษัตริย์ในยุคนั้นกลับใจหันมาอุปถัมป์พุทธศาสนาดังที่พระพุทธเจ้าโคตรมะได้เคยแสดงปาฎิหารเอาไว้ก่อนหน้านั้น ถ้าศึกษาประวัติศาสนศาสนาก็จะพบว่าในสมัยพระเจ้าอโศกราว พ.ศ 300 นั้นพุทธศาสนามีพวกอลัชชีแอบเข้ามาบวชเพื่อหวังลาภสักการะมากจนทำให้ญาติโยมเสื่อมความเหลื่อมใส (เหมือนประเทศสารขัณฑ์ขณะนี้) จนต้องสังคายนาพุทธศาสนาและไล่พระปลอมออกจากวัดจำนวนมากมายมหาศาล ต่อมาราว พ.ศ 504 จึงเกิดปราชญ์ที่เป็นพระโพธิสัตว์/พระอรหันต์ที่มีปัญญามาก เปรียบดังดวงอาทิตย์ที่ให้แสงสว่างและไล่ความมืด/อวิชชา ไปจากโลกมนูษย์และใด้กอบกู้พุทธศาสนาขึ้มาอีกครั้งดังนี้

 

1.พระคุรุนาครชุน : สมัยพระเจ้ายัชญศรี เคาตมีบุตร  กษัตริย์แห่งราชวงศ์ศาตวาหนะ มีคณาจารย์องค์ที่สำคัญมากในฝ่ายมหายาน ท่านหนึ่ง นามว่า "พระคุรุนาคารชุน" ซึ่งเป็นนักปรัชญาทางพุทธศาสนา เป็นนักตรรกศาตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก มิใช่แต่เพียงในอินเดียเท่านั้น เป็นผู้สร้างปรัชญามหายานด้วยกวีนิพนธ์ ชื่อว่า  "มาธยมิกศาตร์ จากกวีนิพนธ์เล่มดังกล่าว  ได้เป็นที่รวบรวมปรัชญาของนานานิกายทางพระพุทธศาสนาไว้เกือบหมด  ปรัชญาทางศาสนาพราหมณ์ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ด้วย  แล้วยังอธิบายถึงปรัชญาศูนยตา ได้อย่างลึกซึ้งถึงแก่นด้วยวิภาษวิธี  ชื่อเสียงของท่านจึงโด่งดังอย่างรวดเร็ว  นิกายมหายานจึงแพร่หลายไปในหมู่ชนทุกชั้น  จนสามารถกลายเป็นนิกายที่เด่นและเจริญรุ่งเรืองที่สุดของพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ 6-10 ในทิเบตท่านได้รับการยกย่องให้เป็นอันดับแรกในหกอริยะประดับชมพูทวีป ซึ่งประกอบด้วย นาคารชุน,อสังฺค,ทิคนาค,อารยเทว,วสุพนธุ,ธรมกีรติ  พระถังซำจั๋งได้กล่าวยกย่องให้ท่านเป็น หนึ่งในสี่ดวงอาทิตย์ที่ยังโลกให้สว่าง ซึ่งประกอบด้วย พระอัศวโฆษ  พระนาคารชุน พระกุมารลัพธะ และพระอารยเทวะ  ท่านเป็นผู้จุดประกายความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากถูกศาสนาอื่นโจมตี จนแทบไม่เหลือที่มั่นหรือเกือบหมดไป ด้วยอัจฉริยภาพในด้านพุทธปรัชญา ความปราดเปรื่องของท่านเป็นที่ยอมรับกระทั่งได้ฉายาว่าเป็น “พระพุทธเจ้าองค์ที่สอง”

 

ตรรกศาสตร์  ศาสตร์ที่ท่านมีความเชี่ยวชาญลึกซึ้งและสร้างชื่อเสียงให้ท่านมากที่สุด ปรัชญาทั้งปวงของท่านมาจากการใช้ตรรกศาสตร์ที่เรียกว่าวิภาษวิธีแทบทั้งสิ้น ท่านได้ชื่อว่าเป็นนักตรรกที่ยิ่งใหญ่ของโลกทั้งในยุคของท่านและในโลกปัจจุบัน ท่านใช้วิภาษวิธีอย่างเชี่ยวชาญและได้ผล จนหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ในยุคนั้น ท่านต่อสู้ทางปัญญากับนักปราชญ์ทั้งหลายทั้งจากปราชญ์ชาวพุทธเองและปราชญ์จากศาสนาอื่นๆ ด้วยวิภาษวิธี ในแต่ละครั้งที่ท่านลงโต้วาที ท่านใช้เหตุผลซักไซ้ความน่าจะเป็นทางปรัชญาของคู่ต่อสู้ จนคู่ต่อสู้ไม่สามารถยืนยันความเป็นเหตุเป็นผลในปรัชญาของตนเองได้ และยอมแพ้ในที่สุด ในช่วงสุดท้ายของชีวิต นาคารชุน อาศัยอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์ อันติวหนะพระสหาย การหวนกลับมาอยู่ในอุปถัมภ์ของกษัตริย์อันตีวหนะอีกครั้ง พระนาคารชุนได้ปรุงยาอมฤตถวายจนกษัตริย์อายุยืนยาวและดำรงความหนุ่มอยู่ตลอดกาล ทำให้ราชโอรสของพระองค์นามว่า ศักติมน ซึ่งมีความคาดหวังว่าจะได้ผู้สืบราชบังลังก์ต่อไปไม่พอใจ จนคิดที่จะสังหารพระนาคารชุนเสีย จนวันหนึ่งขณะที่ พระนาคารชุนกำลังนั่งสมาธิตามลำพังและอยู่ในสมาธิอันลึกล้ำ ณ  ศรีปรวาตะ ดังที่ได้ปฏิบัติเป็นประจำ องค์ชายศักติมน ได้เข้าไปและใช้ดาบฟันที่คอพระนาคารชุน แต่ดาบหาได้ระคายผิวคอของนาคารชุนได้เลย นาคารชุนถอนจากสมาธิและได้กล่าวแก่องค์ชายศักติมนว่า  “องค์ชายอย่าตกใจไปเลยว่าและอย่ากลัวว่าจะไม่สมหวัง เมื่ออดีตหลายชาตินานมาแล้วที่อาตมาได้บังเอิญฆ่าแมลงตัวหนึ่งตายด้วยใบหญ้าอันคม ผลกรรมแห่งการกระทำนั้นได้ถึงเวลาที่จะต้องชดใช้แล้ว แม้ไม่มีอาวุธใด พระองค์ก็สามารถจะใช้ใบหญ้าฟันศีรษะของอาตมาออกมาได้ นี่คือกฎแห่งกรรม” 

 

2.พระอัศวโฆษ เป็นเชาวเมืองสาเกต แคว้นอโยธยา บุตรของนาสุวรรณเกษี ท่านเป็นบุตรพราหมณ์และรอบรู้พระเวทอย่างแตกฉาน เมื่อครั้งยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุ ท่านมีความทะนงในความรู้ความสามารถของท่านมาก ได้เที่ยวท้าทายพระภิกษุให้วิสัชชนา-ปุจฉาถึงข้อธรรมในศาสนาพราหรมณ์และศาสนาพุทธว่าศาสนาใดจะลึกซึ้งกว่า ปรากฏว่าไม่มีพระภิกษุรูปใดสามารถที่จะโต้อภิปรายกันท่านได้

            ภายหลังพระปารศวเถระเจ้า ทราบข่าวนึ้จึงประกาศโต้อภิปรายกันท่าน ท่ามกลางมหาชนที่มาชุมนุมกัน และเหล่าราชาบดี อัศวโฆษทะนงความรู้ถึงกับกล่าวท้ายทายกันพระปารศวะเถระว่า หากตนแพ้จะตัดลิ้นตนทิ้งเสียหลังโต้อภิปรายแล้ว ผลปรากฏว่า อัศวโฆษได้แพ้แก่พระปารศวะเถระ แต่พระมหาเถระได้ขอร้องให้อัศวโฆษบวชเป็นพระภิกษุโดยมิต้องตัดลิ้นของตน อัศวโฆษก็ตกลง

            หลังจากบวชเรียบร้อยแล้ว ก็พยายามศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน มี่ชื่อเสียงในการเทศนาว่า ไพเราะจับใจเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้รับฟังยิ่งนัก เดิมทีท่านอัศวโฆษอาศัยอยู่ในกรุงปาฏลีบุตร เมื่อเกิดสงครามระหว่างปาฏลีบุตรและพระเจ้ากนิษกะมหาราชแล้ว พระเจ้าปาฏลีบุตรยอมอ่อนน้อม และถูกปรับให้ชดใช้บรรณาการเป็นจำนวนทองถึง 3 โกฎิ พระเจ้าปาฏลีบุตรได้นำของมีค่าคู่บ้านคู่เมืองมาใช้แทนทองดังกล่าวมีบาตรของพระพุทธเจ้าและของมีค่าอื่นๆอีกมาก แต่ก็ไม่พอกับจำนวนทองดังกล่าว ในที่สุดต้องยอมยกตัวอัศวโฆษรวมไปด้วย พระเจ้ากนิษกะจึงพอใจ

 

พระอัศวโฆษเป็นนักโต้วาทีที่มีความสามารถในการหาเหตุผลและยังเป็นนักกวีนิพนธ์ที่มีชื่อเสียง งานที่สร้างชื่อทางกวีได้แก่  พุทธจริต ซึ่งพรรณนาถึงพุทธประวัติ โดยบรรยายเป็นบทกาพย์ ซึ่งแต่งได้ไพเราะลึกซึ้งมาก ถึงกับได้รับยกย่องเป็นรัตนฯกวีชั้นเยี่ยม นอกจากนี้ยังมีกวีนิพนธ์อีกหลายต่อหลายเรื่องรวมทั้งพระสูตร และพระธรรมเทศนาของท่านอีกเป็นจำนวนมาก ในสมัยของพระอัศวโฆษ พระสูตรทางมหายานได้รับการขยายความเป็นจำนวนไม่น้อย แต่ยังปราศจากอิทธิพลเท่าที่ควร  เพราะเป็นระยะแรกของการก่อตั้งนิกายมหายานอย่างเป็นทางการ

   พระอัศวโฆษเป็นนักปราชญ์ทางพุทธศาสนาฝ่ายนิยมภาษาสันสกฤต ซึ่งเจริญรุ่งเรืองอยู่แถบตอนเหนือของอินเดียโบราณ ขณะที่พระพุทธศาสนาฝ่ายนิยมบาลีถอยร่นจากตอนเหนือ มายึดที่มั่นอยู่แถบตอนใต้ของอินเดียเลยไปจนถึงเกาะลังกา   อัศวโฆษเป็นพระภิกษุที่มาจากตระกูลพราหมณ์ มีความรู้ความสามารถหลายด้าน คือท่านเป็นนักกวีเอก นักโต้วาที (วิภาษวิธี) นักดณตรี และนักปราชญาเมธีทางพุทธศาสนานิกายสรวาสติกวาทผู้ยิ่งใหญ่ ท่านมีชื่อเสียงโดดเด่นมากๆในด้านประวัติศาสตร์แนวคิดทางพระพุทธศาสนา และในด้านกวีนิพนธ์ทางศาสนาและบทละครอิงธรรม ทั้งท่านยังเป็นอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งผู้เป็นที่รู้จักกันดีของฝ่ายเถรวาทเดิม นิกายสรวาสติวาทหรือสรวาสติวาทิน ท่านเป็นหนึ่งในบรรดาพระภิกษุนักปรัชญ์ทางพระพุทธศาสนาชาวอินเดียผู้ยิ่งใหญ่ 4 ท่าน คือ พระอัศวโฆษ พระนาคารชุน พระกุมารัพธะหรือกุมารลาตะ และพระอารยเทพ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ดวงตะวัน 4 ดวงที่ให้แสงสว่างแก่ชาวโลก” 

ยุคสมัยของอัศวโฆษเชื่อกันว่าท่านอยู่ร่วมสมัยเดียวกับ พระเจ้ากนิษกะมหาราช แห่งราชวงศ์กุษาณ อยู่ในช่วงพศ.621-644  โดยเชื่อว่าท่านมีอายุมากกว่าพระเจ้ากนิษกะ คือช่วงพ.ศ.608-693 ท่านเป็นที่ปรึกษาทางจิตวิญญาณของพระเจ้ากนิษกะ ในขณะที่หมอจารกะ เป็นหมอหลวงดูแลพระวรกายพระเจ้ากนิษกะ

 

นับเป็นเกียรติประวัติของพระอัศวโฆษอีกประการหนึ่ง ในฐานะของผู้สร้างประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาอย่างใหญ่หลวง นั่นคือ การเป็นรองประธานการจัดประชุมสังคายนาพระพุทธศาสนาครั้งที่ 4 ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้ากนิษกะมหาราช การสังคายนาครั้งนี้ บางท่านกล่าวว่าทำที่วัด กุณฑลวันวิหาร แคว้นกัศมีระ แต่ก็มีบางท่านกล่าวว่า ทำที่วัดกุวนะ เมืองชลันธระ  จะเป็นวัดไหนก็ตาม แต่ที่แน่นอนคือทำในแคว้นกัศมีระ และมีพระเจ้ากนิษกะมหาราชเป็นองค์อุปถัมภ์ ( ดร.อภิญวัฒน์  โพธิ์สาน )

          พระอัศวโฆษเป็นนักคิดที่เน้นย้ำเป็นพิเศษในเรื่องความภักดีต่อพระพุทธเจ้า  นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าพระอัศวโฆษเป็นพระฝ่ายเถรวาท แต่ได้เขียนเรื่องมหายานไว้ด้วย ท่านได้แต่งสูตรไว้หลายสูตรที่พูดถึงหลักธรรมของฝ่ายมหายาน และได้แสดงดนตรีประกอบธรรม(ธรรมสังคีต)ด้วย ด้วยเหตุนี้ฝ่ายมหายานจึงกล่าวอ้างว่า ท่านเป็นพระภิกษุมหายาน คือเชื่อว่าท่านเป็น “ปฐมาจารย์”ที่ประกาศหลักธรรมของฝ่ายมหายานโดยผ่านสูตรต่างๆโดยเฉพาะคัมภีร์มหายานศรัทโธตปาทศาสตร์

 




Create Date : 22 กรกฎาคม 2555
Last Update : 31 ตุลาคม 2555 16:59:06 น.
Counter : 1753 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กรกฏาคม 2555

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
29
 
 
All Blog