คนไทและอาณาจักรไท ก่อนพ.ศ.1000

คนไทและชุมชนไทมีความเป็นเครือญาติและความสามัคคีสูง ร่วมกันก่อร่างสร้างตัวมายาวนานกว่า1500ปี จนเป็นเมืองไทยที่ยิ่งใหญ่ของเราในปัจจุบัน                แต่อนิจจา!    บัดนี้ทำไมเราจึงขัดแย้งกันจนแทบจะหาทางออกไม่ใด้... ลองมาดูอดีตของคนไทว่ามีความเป็นมาอย่างไร ในสุวรรณถูมิแห่งนี้

 

ในพงศาวดารเมืองแถง(แถน) กล่าวถึง การกำเนิดมนุษย์และถิ่นกำเนิดของชาวภูไทว่า เกิดจากเทพสามีภรรยา 5 คู่ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน เมื่อหมดอายุบนสวรรค์จึงอธิษฐานจิตเนรมิตน้ำเต้าขึ้นมา เทพทั้ง 5 คู่ ก็เข้าไปอยู่ในน้ำเต้า น้ำเต้าลอยจากสวรรค์มาตกบนภูเขาที่ทุ่งนาเตา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองแถงไปทางตะวันออกเป็นระยะทางเดิน 1 วัน น้ำเต้าได้แตกออก เทพได้กลายเป็นมนุษย์ 5 คู่ ออกมาจากน้ำเต้าทีละคู่ตามลำดับ คือ ข่า แจะ ภูไท ลาวพุงขาว ฮ่อ(จีน) และแกว(ญวน) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมนุษย์ 5 เผ่าพันธุ์ ในเวลาต่อมาคนเหล่านี้ได้แยกย้ายกันตั้งรกรากในพื้นที่ต่าง ๆสำหรับชาวภูไทตั้งบ้านเรือนที่เมืองแถง มีขุนลอคำเป็นหัวหน้า ประชากรของภูไทได้เพิ่มจำนวนถึง 33,000 คนในเวลาต่อมา และขยายตัวไปตั้งรกรากหลายเมือง ขุนบรมราชบุตรของขุนลอคำ ได้เป็นเจ้าเมืองแถงใน พ.ศ. 1274 ขุนลอบุตรของขุนบรมราชาได้มาตั้งเมืองหลวงพระบางใน พ.ศ. 1283จากพงศาวดารเมืองไล กล่าวว่า ชาวภูไท ในดินแดนนี้ 2 พวกคือ

1. ภูไทขาว อาศัยอยู่เมืองเจียน เมืองมุน เมืองบาง มีเมืองไลเป็นเมืองใหญ่ รวม 4 เมือง ดินแดนแถบนี้อยู่ใกล้ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อากาศหนาว ชาวภูไทจึงมีผิวขาว อีกทั้งได้รับอารยธรรมจากจีน โดยเฉพาะการแต่งกายในพิธีศพ ซึ่งนิยมนุ่งขาว ห่มขาว จึงเรียกชาวภูไทกลุ่มนี้ว่า “ภูไทขาว”

2. ภูไทดำ อาศัยอยู่เมือง ควาย ( เมืองอัตตปือในลาว ),เมืองคุง เมืองม่วย, เมืองลา เมืองโมะเมืองหวัด เมืองซาง มีเมืองแถง(แถน) เป็นเมืองใหญ่ รวมเป็น 8 เมือง ชาวภูไทกลุ่มนี้มีผิวคล้ำกว่าภูไทตอนบน และนิยมแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองย้อมครามเข้ม และอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำดำ ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม จึงเรียกว่า “ภูไทดำ”

ชาวภูไททั้ง 2 กลุ่ม รวมกันแล้วเป็น 12 เมือง จึงเรียกว่า แคว้น “สิบสองจุไทย” เมืองไล เมืองของชาวภูไทขาว ตั้งอยู่ในดินแดนคาบเกี่ยว หรือตะเข็บของลาว จีน และญวน เพื่อความอยู่รอด เมืองนี้จึงจำเป็นต้องอ่อนน้อมแก่ทั้ง 3 ฝ่าย ต้องส่งส่วยแก่ทุกฝ่ายเดิมแคว้นสิบสองจุไทย ขึ้นกับอาณาจักรน่านเจ้า ครั้นต่อมาไปขึ้นอยู่กับอาณาจักรโยนกเชียงแสน เมื่ออาณาจักรโยนกเชียงแสน ถูกพวกภูไทมาทำลายลง สิบสองจุไทยได้ไปขึ้นกับแคว้นหิรัญเงินยวง //www.panyathai.or.th/wiki/index.php

 

สำหรับถิ่นฐานดั้งเดิมของคนภูไทนั้น มีการกล่าวกันว่าถิ่นฐานดั้งเดิมตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของมณฑลยูนานในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน ในเวลาต่อมาจึงได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าแคว้นสิบสองจุไท แต่ส่วนใหญ่แล้วมีการอ้างอิงถึงถิ่นกำเนิดของคนเผ่าภูไทอยู่ในแค้วนสิบสองจุไท ซึ่งมีศูนย์กลางตั้งอยู่ในเมืองแถน(หรือเมืองแถง) เพราะว่ามีหลักฐานและมีสิ่งที่ยืนยันได้มากกว่า เนื่องจากยังคงมีคนภูไทหรือไทดำอาศัยอยู่ในดินแดนนี้อยู่ในปัจจุบัน ส่วนที่กล่าวว่าคนภูไทเคยอาศัยอยู่ในมณฑลยูนานมาก่อนนั้นคงต้องหากหลักฐานหรือสืบค้นกันต่อไป แต่เมื่อพิจารณาจากที่ตั้งแล้วก็อาจจะมีเค้าโครงของความเป็นไปได้ เพราะความเป็นมาของคนภูไทก็มีประวัติศาสตร์ร่วมกับคนหลายเผ่าพันธุ์

พญาสิงหนวัต ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ได้สถาปนาเมืองโยนกนาคพันธุสิงหนวัติขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง ดินแดนที่ราบในเมืองเชียงราย เมื่อ      พ. ศ .1117 โดยทำการแย่งชิงที่ดินจากพวกขอมดำ หรือ กล๋อม ที่มีอิทธิพลอยู่ในแถบนั้น ทำให้ต้องพากันหนีไปตั้งหลักแหล่งอยู่ทางใต้ บริเวณถ้ำอุโมงค์เสรานครครั้งนั้นพญาสิงหนวัติ ได้รวบรวมเอาพวกมิลักขุหรือ คนป่าคนดอยเข้ามาอยู่ในอำนาจของเมืองโยกนาคนครทำให้มีอาณาเขตทิศเหนือติดเมืองน่าน ทิศใต้จรดปากน้ำโพ ทิศตะวันออกจรดแม้น้ำดำ ในตังเกี๋ย ทิศตะวันตกจรดแม่น้ำสาละวินโดยมีเมืองสำคัญคือ เมืองไชยปราการ บริเวณแม่น้ำฝาง และแม่น้ำกก ดินแดนทางใต้สุด คือเมืองกำแพงเพชร

ในปี พ.ศ.๑๒๒๗ หรือค.ศ.๗๓๑ ขุนบรมราชาธิราช ได้ลงมาสร้างเมืองใหม่ที่ทุ่งนาน้อยอ้อยหนู (หรือน้ำน้อยอ้อยหนู) หลังจากสร้างเมืองเสร็จแล้ว ได้ตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า “เมืองแถน” หรือเมือง “กาหลง” ขุนบรมราชาธิราช ทรงประทับอยู่ที่ เมืองแถนหรือเมืองกาหลง ถึง ๘ ปี แม้จะสร้างเมืองแถนขึ้นแล้ว คล้ายกับว่าจะถอยห่างออกจากอาณาจักรจีนไปเรื่อยๆ ทว่าว่าในระหว่างที่ทรงประทับอยู่เมืองแถนนั้นขุนบรมราชาธิราช ได้ยกกองทัพขึ้นไปตีเอาหัวเมืองของอาณาจักรจีนที่อยู่ใกล้เขตแดนของธิเบตได้หลายเมือง แล้วขุนบรมราชาธิราชได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นอีกในดินแดนที่ตีเมืองได้ เรียกว่า “เมืองตาห้อ” หรือ “หอแต” เมืองนี้อยู่ห่างจากเมืองหนองแสไปทางเหนือ ๔๐ ลี้ (๑ลี้ เท่ากับ ๕๐๐เมตร) แล้วขุนบรมราชาธิราชก็เสด็จไปประทับที่เมืองตาห้อนี้ ลุถึงปี พ.ศ.๑๒๘๓ หรือ ค.ศ.๗๔๐ ขุนบรมราชาธิราช มีพระโอรสประสูติจาก พระนางยมพาลา เอกอัครมเหสี และพระนางเอ็ดแคง เทวีฝ่ายซ้าย รวมพระโอรส จำนวน ๗ พระองค์ ปรากฏในหนังสือล้านช้างว่า เมื่อพระราชโอรสของขุนบรมราชาธิราชโตขึ้นได้ไปครองเมืองต่างๆ ๗ เมือง




Create Date : 22 กรกฎาคม 2555
Last Update : 23 กรกฎาคม 2555 15:25:59 น.
Counter : 3630 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กรกฏาคม 2555

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
29
 
 
All Blog