อาณาจักรโบราณที่สาปสูญ ฟูนัน-เจนละ พ.ศ 700-1300

อาณาจักรเจนละ หรือเจิ้นละ อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ของอาณาจักรหลินยี่(จามปา) ปัจจุบันนี้คือประเทศกัมพูชาและดินแดนภาคอิสานตอนใต้ของประเทศไทยแถบลุ่มแม่น้ำมูล ซึ่งเป็นพิ้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์ เดิมนั้นอาณาจักรเจนละเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรฟูนันต่อมาได้มีกำลังกล้าแข็งจึงประกาศอิสรภาพในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ เจ้าชายจิตรเสน แห่งอาณาจักรเจนละ(ต่อมาครองราชย์เป็นพระเจ้ามเหนทรวรมัน)ได้ยกทัพไปรุกรานอาณาจักรฟูนันแถบฝั่งแม่น้ำโขง บริเวณจามปาศักดิ์หรือปราสาทวัดพู และแม่น้ำมูล ในระหว่าง พ.ศ. ๑๑๑๐–๑๑๕๐ในสมัยนั้นพระโอรสของพระองค์คือพระเจ้าอิศานวรมัน ได้ทำการปราบปรามและครอบครองดินแดนของอาณาจักรฟูนันได้ทั้งหมดทรงตั้ง เมืองอิศานปุระ ขึ้นทางเหนือของเมืองกัมปงธมโดยมีปราสาทสัมโบร์ไพรกุกเป็นสัญลักษณ์ ชนชาติเจนละเป็นต้นตระกูลของเขมรโบราณหรือขอมพลเมืองของอาณาจักรเจนละประกอบด้วยชนเผ่าขอมในเขมร และขอมที่อพยพมาตามลำแม่น้ำโขงกับพวกจามจากเมืองจำปาศักดิ์ ชนชาตินี้ได้รับวัฒนธรรมสืบมาจากอาณาจักรฟูนัน เช่น การสร้างวัดบนภูเขาการใช้น้ำเพื่อการเกษตร และลัทธิที่นับกษัตริย์นั้นเป็นผู้แทนอารยธรรมจากอินเดีย

อาณาจักรเจนละตั้งศูนย์กลางอยู่ตอนเหนือของทะเลสาปเขมรมีเมืองหลวงอยู่ใกล้เมืองกำปงธมในปัจจุบัน ชนชาติเจนละแบ่งออกเป็นสองพวกคือพวกเจนละบก อยู่ในที่สูง อยู่บริเวณดินแดนลาวตอนใต้เช่น เมืองโคตรบอง เมืองเศรษฐปุระ(บริเวณปราสาทวัดภู แขวงจำปาสัก) เมืองสุวรรณเขตแขวงท่าแขก ประเทศลาว ลงมาถึงแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ส่วนพวกเจนละน้ำ อยู่บริเวณทะเลสาปเขมรประกอบด้วยเมืองสวายเรียง เมืองกระเตี้ย และเมืองเสียมราฐ เมืองศรีมโหสถ(อยู่ในอำเภอโคกปีบจังหวัดปราจีนบุรี)

ที่มา //www.darkwing.uoregon.edu


ไขปริศนาที่มา"เจนฬะ"นิทานวีรบุรุษกบฎ"พญาโคตรบอง" ท่าแขก ไฉนแขกมาขึ้นท่ามากปานนั้นนี่คือร่องรอยที่ไม่เลื่อนลอย

 เจนฬะ นครรัฐที่จีนเรียก ฟูนัน(กรุงพนม) รุ่งเรืองและร่วงโรยในรอบ ๖๐๐ ปี แต่ไม่สูญไปไหนแต่วิวัฒนาการมาเป็นกัมพูชาระหว่างนั้น นครรัฐจามปา เริ่มรุ่งเรืองขึ้นมาแต่ขณะที่ กลุ่มอำนาจชนชั้นนำเขมรโบราณแตกแยก ช่วงชิงแย่งกันเป็นใหญ่
ในช่วงแรกของฟูนัน กรุงโคกธลอก สมัยราชวงศ์พระทองมลนางนาค (โฮ อินเตียนกับพระนางโสมา) มีอำนาจประมาณ ๓๐๐ ปี จนถึง พ.ศ.๑๐๒๘ต่อมาเริ่มยุคกษัตริย์สร้อยพระนามว่า "วรมัน" จาก พระบาทโกฑิณยะชัยวรมันเชื้อสายอินเดียใต้ร่วมกับพวกกบฏโจมตีกรุงโคกธลอก แล้วย้ายไปตั้งเมืองหลวงใหม่ว่าวยาธปุระ ซึ่งเริ่มถูกเรียกว่า เจนฬะส่วนราชวงศ์ดั้งเดิมย้ายขึ้นไปทางเหนือสร้างเมืองใหม่ริมฝั่งแม่น้ำโขงชื่อ ศัมภปุระ และภวปุระ (ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตอนล่างพ.ศ.๑๐๙๓) 

ต่อมา เกิดจลาจลในเมืองหลวงวยาธปุระเจ้าชายภววรมัน แห่งเมืองภวปุระ และเจ้าชายจิตรเสน แห่งศัมภปุระสายราชวงศ์พื้นเมือง ได้เข้าครอบครอง วยาธปุระ และรวมกันเข้ากับอาณาจักรเจนฬะ ช่วงพ.ศ. ๑๑๐๐-๑๑๗๐ สมัยพระบาทภววรมัน ที่ ๑ และ พระบาทมหินทรวรมัน หรือ มเหนทรวรมัน(เจ้าชายจิตรเสน)ได้แผ่ขยายอำนาจเข้าไปในเขตเทือกเขาพนมดองเร็ก และลุ่มแม่น้ำมูล โดย มเหนทรวรมันย้ายเมืองหลวงกลับมาอยู่ วยาธปุระ เมื่อสิ้นรัชกาลพระบาทชัยวรมันที่ ๑(ครองราชย์พ.ศ.๑๒๐๗-๑๒๑๑) อาณาจักรในยุคนี้ ถูกแบ่งเป็น ๒แคว้นใหญ่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน เชื่อกันว่า เจนละบกอาณาบริเวณอยู่ทางตอนเหนือที่เป็นภูเขาและที่ราบสูงภาคอีสาน เจนละน้ำกินอาณาบริเวณทางตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มจนจรดชายฝั่งทะเล นี่คือ คร่าว ๆก่อนจะถึงสมัยพระบาทชัยวรมันที่ ๒ (พ.ศ.๑๓๔๕-๑๓๙๓) รวมกันเข้าเป็นอาณาจักรพระนคร(เริ่มสร้างปราสาทหินกันอย่างจริงจัง) ปัญหาอยู่ที่คำว่า “เจนฬะ”มีความหมายอย่างไรแน่ นักประวัติศาสตร์กัมพูชาเองค้นไม่พบจากจารึกไหน

ที่แน่ ๆ ปรากฏในจดหมายเหตุจีนของ สมณทูตจิว ตัก ก่วง (โจว ต้า กวน) เข้ามาดินแดนนี้เมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙ เจนฬะภาษาจีนแต้จิ๋ว(สมัยโน้น) ออกเสียง จิง - ฬะ จิง คือ แท้, เก่ง, รู้, จริง ฬะ คือไขมัน(จากสัตว์) อาจแปลเอาความได้ว่า เมืองแห่งไขมันสัตว์ จากพราน ซึ่งเรียกตามชื่อกรุงวยาธปุระ หมายถึง เมืองแห่งนายพราน จีนออกเสียง “เทมู”ซึ่งถ่ายเสียงมาจากคำเขมรโบราณว่า ธมัก หรือ ธรมัก แปลว่า นายพราน

อ่านเพิ่มเติม  //www.teak-teca.com/wp-content/uploads/2012/07/Esan2012.pdf






Create Date : 08 กันยายน 2555
Last Update : 13 กันยายน 2555 15:56:37 น.
Counter : 7927 Pageviews.

3 comments
  
ดีมากค่ะ
โดย: ปอปลา IP: 27.55.231.240 วันที่: 15 สิงหาคม 2556 เวลา:18:16:05 น.
  
งง
โดย: ่่่ IP: 223.204.49.145 วันที่: 25 สิงหาคม 2556 เวลา:20:33:35 น.
  
เจนละ ฟังคล้าย โจฬะ?
โดย: MANU DEEUDOM IP: 202.28.250.114 วันที่: 20 เมษายน 2566 เวลา:15:30:27 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กันยายน 2555

 
 
 
 
 
 
7
14
15
22
24
29
30
 
 
All Blog