มนุษย์-จักรวาลและพุทธปรัชญา
มนุษย์และจักรวาล : มนุษย์ปรัชญาจะครอบคลุมทั้งจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล ที่เรียกว่าmacrocosmic ไล่เรียงไปถึงระดับอะตอม ที่เรียกว่า microcosmic ธรรมชาติของทั่วทั้งจักรวาลประกอบด้วย2ขั้วที่ก่อเกิดจักรวาล รวมทั้งส่งผลต่อความคิดจิตใจของคนเราด้วย มนุษย์ปรัชญาถือว่ามนุษย์เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะดำรงตนอยู่ในความสมดุลย์ระหว่างพลังทั้งสองฝ่ายนี้ สำหรับพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงกุศลเจตสิก อกุศลเจตสิก ซึ่งเกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต และเป็นธรรมะที่กำหนดให้ดวงจิตที่เกิดในแต่ละขณะเป็นกุศลจิตหรื่ออกุศลจิต อันมีผลต่อการกระทำของคนเราและเกิดเป็นทุกข์ เป็นยางเหนียวที่ยึดโยงผู้คนให้เวียนว่ายอยู่ในวัฎสงสาร การพ้นจากทุกข์ได้ คือการละทั้งกุศลและอกุศล อันเป็นหนทางของพระนิพพาน (..บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล)

              พุทธปรัชญาในพุทธชัยมงคล 8 คาถา เพื่อละเสียซึ่งอุปัทวันตรายทั้งหลายมีประการต่างๆเป็นอเนก แลถึงซึ่งวิโมกข์( พระนิพพาน ) อันเป็นบรมสุข มีดังนี้ 1.ทานบารมี-ด้วยธรรมวิธีทานบารมี พระสัมมาพุทธเจ้า ได้ทรงชำนะพญามาร (จิตสำนึกที่ถูกครอบงำด้วย กิเลส-ตัณหา-ราคะ-อวิชชา ) ซึ่งได้เนรมิตรแขนตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้างพลายคีรีเมขล์ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องกึกก้อง  2. ขันติบารมี-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนี ใด้ทรงชำนะอาฬวกยักษ์ผู้ดุร้าย ผู้มีจิตกระด้างลำพอง (จิตใต้สำนึกในด้านมืดหรือขันธ์ 5 ที่ทำให้มนุษย์ตกอยู่ในวัฎฎะสงสาร ) หยาบช้ายิ่งกว่าพญามาร เข้ามารุกรานราวี ตลอดราตรีทั้งสิ้น ด้วยวิธีทรมานเป็นอันดีด้วยขันติธรรม 3. เมตตาบารมี-พระจอมมุนี ได้ทรงพญาช้างนาฬาคีรี ซึ่งกำลังเมามัน ร้ายแรงเหมื่อนไฟป่าที่ลุกลาม ร้องโกญจนาทเหมื่อนฟ้าฟาด( โทสะ-โมหะ-อหังการณ์ ) ด้วยวิธีรดด้วยน้ำคือแผ่พระเมตตา 4. อิทธิปาฏิหาริย์บารมี-พระจอมมุนี ได้ทรงชำนะองค์คุรีมาลโจรผู้ทารุณร้ายกาจนัก ทั้งฝีมือเยียม ควงดาบไล่ตามพระองค์ไปตลอดทาง 3โยชน์ ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ 5. สมาธิบารมี-พระจอมมุนี ได้ทรงชำนะนางจิญจมาณวิกา ที่ทำมารยาเสแสร้งกล่าวโทษพระองค์ โดยผูกท่อนไม้กลมแนบเข้ากับท้องทำเป็นท้องมีครรภ์แก่ ด้วยสมาธิวิธีคือความสงบ 6. ปัญญาบารมี-พระจอมมุนี ผู้รุ่งเรืองด้วยดวงประทีปคือปัญญา ได้ทรงชำนะสัจจกนิครนถ์ ผู้มีนิสัยตลบตะแลง มีสันดานโอ้อวดมืดมน( อวิชชา-ตัวกู-ของกู) ด้วยพระปัญญาดุจประทีปอันโชติช่วงนั้น 7.ฤทธิ์บารมี-พระจอมมุนี ได้ทรงโปรดให้พระโมคคัลลานเถระ พุทธชิโนรส เนรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมาณพญานาคราชชื่อนันโทปนันทะ ผู้มีฤทธิ์มากแต่มีความรู้ผิด (หัวหน้าเผ่าชุมชนที่นับถือศาสนาเดิม ) ด้วยวิธีทรงแนะนำการแสดงฤทธิ์นั้น  8. ญาณบารมี-พระจอมมุนี ได้ทรงชำนะพรหมผู้มีฤทธิ์(คุรุ- ฤาษีบางสำนักที่ได้ญาณสมาบัติแต่ยังไม่บรรลุอรหันต์ทีเป็นพระธรรมสูงสุด ) มีความสำคัญผิดว่าเป็นผู้มีฤทธิ์ รุ่งเรืองด้วยวิสุทธิคุณ ถือมั่นด้วยมิจฉาทิฏฐิ เหมือนดังถูกงูร้ายกำลังขึงรัดไว้แน่นแฟ้น ด้วยวิธีประทานยาพิเศษคือเทศนาญาณนั้น
         องค์ธรรม : โพชฌงค์ 7 ประการเหล่านี้คือ : สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์  ปิติโพชฌงค์ ปัมสัทธิสัมโพชฌงคฺ์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์: อันพระมุนีเจ้าผู้เห็นธรรมทั้งสิ้น ตรัสไว้ขอบแล้ว, ที่บุคคลมาเจริญ ทำให้มากแล้ว , ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่งเพื่อพระนิพพาน และเพื่อความตรัสรู้
          ผู้ลอยบาปออกจากใจเหล่าใด ซึ่งเป็นผู้เข้าถึงธรรมทั้งปวง ขอนอบน้อมแด่พระโพธิญาณ อันเปรียบประดุจดวงพระอาทิตย์ ที่คอยให้แสงสว่างแก่โลกแลมนุษย์ ขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรมคือธรรมเป็นเครื่องพ้นทุกข์.
ขอขอบคุณ คู่มือพุทธบริษัท เล่ม2 ฉบับวัดปัญญานันทาราม

นิโรธอริยสัจ   ในหัวใจพระพุทธศาสนา

นิโรธ คือความดับทุกข์เพราะดับกิเลสได้ ท่านแสดงไว้ 5 อย่างคือ  (วศิน อินทสระ)

1.ตทังคนิโรธ  ความดับด้วยองค์นั้นๆหรือดับกิเลสได้ชั่วคราว เช่น เมื่อมีความเมตตากรุณาเกิดขึ้น ความโกรธและความคิดพยาบาท คือความคิดเบียดเบียนย่อมดับไป  เมื่ออสุภสัญญาคือความกำหนดว่าไม่งามเกิดขึ้น ราคะความกำหนัดยินดีในกามคุณ 5 ย่อมดับไป  รวมความว่าดับกิเลสด้วยองค์ธรรมที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว

 

2.วิกขัมภนนิโรธ  ดับกิเลสหรือข่มกิเลสไว้ได้ด้วยกำลังฌาน เช่น ข่มนิวรณ์ 5 ด้วยกำลังแห่งฌาน ตั้งแต่ปฐมฌานป็นต้นไป ตลอดเวลาที่ฌานยังไม่เสื่อม  บุคคลผู้ได้ฌานย่อมมีอาการเสมือนหนึ่งผู้ไม่มีกิเลส  ท่านเปรียบเหมือนหญ้าที่ศิลาทับไว้หรือเหมือนโรคบางอย่างที่ถูกคุมไว้ด้วยยา  ตลอดเวลาที่ยามีกำลังคุมอยู่โรคย่อมสงบระงับไป

 

3.สมุจเฉทนิโรธ  ความดับกิเลสอย่างเด็ดขาดด้วยกำลังแห่งอริยมรรค  กิเลสใดที่อริยมรรคตัดแล้วย่อมเป็นอันตัดขาดไม่กลับเกิดขึ้นอีก  เปรียบเสมือนต้นไม้ที่ถูกถอนรากและเผาไฟทิ้ง  เป็นอันได้สิ้นเสร็จเด็ดขาดไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดขึ้นได้อีก  ตัวอย่างเช่น  การตัดกิเลสของพระอริยบุคคล 4 จำพวกมีพระโสดาบัน เป็นต้น

4.ปฏิปัสสัทธินิโรจ  ความดับกิเลสอย่างสงบระงับไปในขณะแห่งอริยผลนั้นเอง  เรียกว่าปฏิปัสสัทธินิโรธ  ไม่ต้องขวานขวายเพื่อการดับอีก  เหมือนคนหายโรคแล้วไม่ต้องขวานขวายหายาเพื่อดับโรคนั้นอีก

 

5. นิสสรณนิโรธ  แปลตามตัวว่าดับกิเลสด้วยการสลัดออกไป  หมายถึงภาวะแห่งการดับกิเลสนั้นอย่างยั่งยืนตลอดไป  ได้รับความสุขจากความดับนั้นยั่งยืนตลอดไป  ได้แก่นิพพานนั่นเอง  เหมือนความสุขความปลอดโปร่งอันยั่งยืนของผู้ที่หายโรคแล้วนั้นอย่างเด็ดขาด (นิโรธ3ประการคือ มรรค-ผล-นิพพาน)

 

 

 

 

 

 

 

 




Create Date : 17 กรกฎาคม 2555
Last Update : 12 สิงหาคม 2555 12:49:49 น.
Counter : 2299 Pageviews.

1 comments
  
ดีมากเลยเจ้าค่ะได้อ่านแล้วจะปฏิบัติตามอยู่
โดย: นางยุพิน อู้สไบ ท่อนสัน IP: 94.23.252.21 วันที่: 17 มกราคม 2559 เวลา:23:51:14 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กรกฏาคม 2555

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
29
 
 
All Blog