อาณาจักร เศรษฐปุระ-ฟูนัน ในสุวรรณภูมิ (ตอน2)
 
ในช่วงแรกของฟูนัน กรุงโคกธลอก สมัยราชวงศ์พระทอง-นางนาค (โฮ อินเตียน กับพระนางโสมา) มีอำนาจประมาณ ๓๐๐ ปี จนถึง พ.ศ.๑๐๒๘ ต่อมา เริ่มยุคกษัตริย์สร้อยพระนามว่า "วรมัน" จาก พระบาทโกฑิณยะชัยวรมัน เชื้อสายอินเดียใต้ร่วมกับพวกกบฏโจมตีกรุงโคกธลอก แล้วย้ายไปตั้งเมืองหลวงใหม่ว่า วยาธปุระ ซึ่งเริ่มถูกเรียกว่า เจนฬะ ส่วนราชวงศ์ดั้งเดิมย้ายขึ้นไปทางเหนือ สร้างเมืองใหม่ริมฝั่งแม่น้ำโขงชื่อ ศัมภปุระ และภวปุระ (ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตอนล่าง ..๑๐๙๓) ต่อมา เกิดจลาจลในเมืองหลวงวยาธปุระ เจ้าชายภววรมัน แห่งเมืองภวปุระ และเจ้าชายจิตรเสน แห่งศัมภปุระ สายราชวงศ์พื้นเมือง ได้เข้าครอบครอง วยาธปุระ และรวมกันเข้ากับอาณาจักรเจนฬะ ช่วง .. ๑๑๐๐-๑๑๗๐ สมัยพระบาทภววรมัน ที่ และ พระบาทมหินทรวรมัน    หรือ  มเหนทรวรมัน(เจ้าชายจิตรเสน) ได้แผ่ขยายอำนาจเข้าไปในเขตเทือกเขาพนมดองเร็ก และลุ่มแม่น้ำมูล โดย มเหนทรวรมัน ย้ายเมืองหลวงกลับมาอยู่ วยาธปุระ เมื่อสิ้นรัชกาลพระบาทชัยวรมันที่ (ครองราชย์พ.ศ.๑๒๐๗-๑๒๑๑) อาณาจักรเขมรโบราณ ถูกแบ่งเป็น แคว้นใหญ่
 
อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า อาณาจักรฟูนัน  ตั้งอยู่ที่ฝั่งทะเลแห่งหนึ่ง ราชธานีแห่งอาณาจักรนี้เรียกว่ากรุงโคกธลอก ในสมัยของพระทองมล นางนาค ราชวงศ์นี้มีอำนาจอยู่ประมาณ 300 ปี จนถึง พศ. 1028 ต่อมาในยุคที่กษัตริย์ลงท้ายว่า "วรมัน" เริ่มต้นด้วย พระเจ้าเกาณฑินยะชัยวรมัน ชาวอินเดียใต้ร่วมกับพวกกบฎโจมตีกรุงโคกธลอกแล้วย้ายเมืองหลวงเข้าไปตามฝั่งแม่น้ำใหญ่ 500 ลี้ตั้งชื่อเมืองหลวงว่า วยาธปุระ แปลว่าเมืองแห่งนายพราน ส่วนพวกราชวงศ์พื้นเมืองเดิมก็ย้ายขึ้นไปทางเหนือ สร้างเมืองใหม่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ชื่อศัมภปุระ และภวปุระ (ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตอนล่าง .. 1093) เกิดจลาจลในเมืองวยาธปุระ เจ้าชายภววรมันแห่งเมืองภวปุระ และเจ้าชายจิตรเสนแห่งศัมภปุระ สายราชวงศ์พื้นเมือง ได้ครอบครองวยาธปุระและรวมเข้ากับอาณาจักรเจนละ ในสมัยของภววรมันนี้เอง พระองค์ได้แผ่ขยายอำนาจเข้าไปในเขตบริเวณภูเขาดงเร็ก และลุ่มแม่น้ำมูล ต่อมาเจ้าชายจิตรเสน ได้อภิเษกเป็นกษัตริย์ ทรงพระนาม มเหนทรวรมัน ทรงย้ายเมืองหลวงกลับมาอยู่ วยาธปุระ .. 1143-1145 ได้ขยายดินแดนเข้ามาในเขตลุ่มแม่น้ำมูลและภูเขาดงเร็ก มีการสร้างเทวสถานขึ้นในบริเวณนี้หลายแห่ง
อาณาจักรศรีวิชัย-ฟูนัน-จามปา-เจนละ-อ้ายลาว
พระนางทุรคาเหยียบควาย  ศิลปจามปาที่วิหารโพธินาคา เวียตนามกลางในปัจจุบัน น่าจะอายุรุ่นราวเดียวกันกับเทวสถานปราสาทหินวัดพู จามปาศักดิ์ ประเทศลาว โดยมีคติในการเลือกทำเลก่อตั้งเทวสถานที่มีด้านหน้าชนแม่น้ำใหญ่ ด้านหลังมีภูเขาสูงชันมียอดคล้ายแท่งศิวะลึงค์ (ดูภาพบน )ในยุคนั้นมีคติความเชื่อในการบูชาศิวลึงค์ พระศิวะ และจ้าวแม่ทุรคา ณ.เขาไกลาส เช่นเดียวกัน บางตำนานเล่าว่าเมื่อ1300ปีมาแล้วมีพิธีฆ่ามนุษย์ต่างเผ่าพันธ์บูชาเทพเจ้าด้วย และต่อมาเป็นการฆ่ากระบือแทนซึ่งสืบต่อเนื่องถึงปัจจุบัน คนอินเดียหรือจามมาอยู่แถบนี้เพื่อแสวงหาทองคำ-ทองแดง-เงิน ที่มีอยู่มากในดินแดนไทย-ลาว



Create Date : 12 กันยายน 2555
Last Update : 18 กันยายน 2555 14:48:02 น.
Counter : 2016 Pageviews.

1 comments
  
กำลังอ่านเรื่องเมืองยโสธรค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา:14:23:58 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กันยายน 2555

 
 
 
 
 
 
7
14
15
22
24
29
30
 
 
All Blog