จารึก จิตรเสน หลักฐานชุมชนไทอีสานโบราณ พ.ศ 1143

          นักปราชญ์ฝรั่งเศสเคยบอกว่าจุดเริ่มต้นรัฐเจนละคือการก่อตั้งศูนย์กลางแห่งแรกขึ้นที่เมืองเศรษฐปุระมีปราสาทวัดภูที่แขวงจำปาสักเป็นศาสนสถานที่สำคัญ เมืองเศรษฐปุระเคยอยู่ในเครือข่ายอิทธิพลของจามปา (เวียดนาม)มาก่อน เพราะพบจารึกเทวนิกา (Devanika) ภาษาสันสกฤตอยู่ใกล้กับปราสาทวัดภูจารึกนี้มีอายุประมาณหลัง พ.ศ. 800หลังจากนั้นจึงขยายอำนาจเข้าอีสานทางปากแม่น้ำมูล แต่หลักฐานใหม่ ยืนยันว่าจิตรเสน ( ชื่อไทย )รวบรวมอำนาจท้องถิ่นขึ้นที่อีสานก่อนแล้วขยายออกจากปากแม่น้ำมูลไปสองฟากแม่น้ำโขงลงทางใต้จนถึงเศรษฐปุระ รัฐเจนละจึงเกิดขึ้นจากการรวมตัวของแคว้นเศรษฐปุระและแว่นแคว้นของจิตรเสน เมื่อตกลงกับเศรษฐปุระได้แล้วจิตรเสนก็แผ่อิทธิพลจากอีสานผ่านบุรีรัมย์ ช่องเขาพนมดงเร็กลงสู่ภาคตะวันออกของประเทศไทยจนถึงอรัญประเทศ (จ. สระแก้ว)และคงเริ่มแผ่อิทธิพลเข้าสู่บริเวณรอบทะเลสาบเขมรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง โอรสของพระเจ้าจิตรเสนหรือมเหนทรวรรมัน คือ อีศานวรรมันสานต่อนโยบายขยายอาณาเขตลงสู่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง บริเวณรอบทะเลสาบพร้อมกับแผ่ล่วงเข้าไปถึงเขตจันทบุรีด้วย หลังจากนั้นได้ตั้งราชธานีนามว่าอีศานปุระ (แสดงว่าเอาชื่อเมื่องบรรพบุรุษเดิมไปตั้งชื่อ ) ในดินแดนกัมพูชาที่สมโบร์ไพรกุก ทางทิศเหนือของเมืองกำพงธมหลังรัชกาลพระเจ้าอีศานวรรมัน เอกสารจีนบันทึกว่ารัฐเจนละแยกเป็น 2 พวกคือ เจนละบกกับเจนละน้ำ



จารึกถ้ำเป็ดทอง อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ทำขึ้นราวหลัง พ.ศ. 1100 (พุทธศตวรรษที่ 12)

จารึกถ้ำเป็ดทอง ด้านใน

คำจารึก

ภกฺตฺยา ภควตศรฺณมุคตา ปิตฺโร

คำแปล

มารดาและบิดาทั้งสองได้ถึงพระผู้เป็นเจ้าว่าเป็นที่พึ่งด้วยความภักดี



เจนละ เป็นชื่อรัฐโบราณมีตัวตนแท้จริง เริ่มมีพัฒนาการเมื่อหลัง พ.ศ. 1000 อาจารย์ดร. ธิดา สาระยาอธิบายไว้ในหนังสือ อาณาจักรเจนละ :ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ (สำนักพิมพ์มติชนพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2535 และคำอธิบายตอนอื่นๆ เกี่ยวกับรัฐเจนละต่อไปทั้งหมดได้จากหนังสือเล่มนี้) ว่าชื่อ เจนละ เป็นคำที่จีนใช้เรียกอาจเพี้ยนมาจากคำว่า กัมพุช, กัมลุช, คะแมร์(ชื่อนี้เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักเดินเรืออาหรับ)

บริเวณที่เป็นถิ่นกำเนิดของรัฐเจนละคือปลายลุ่มน้ำมูล-ชี ปัจจุบันเรียกว่า บ้านเมืองเตย, บ้านตาดทอง, บ้านบึงแก, บ้านเปือยหัวดง, บ้านโพนเมือง และที่อื่นๆ ในเขต จ. อุบลราชธานี, จ. อำนาจเจริญ, จ. ยโสธร และ ฯลฯ

เฉพาะที่บ้านเมืองเตยอาจารย์ ดร. ธิดาตรวจพบว่ามีร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีและศิลาจารึกยืนยันว่า ที่นี่เป็นภูมิลำเนาเดิมของกษัตริย์(เจนละ) แห่งสกุล เสนะ

กษัตริย์องค์สำคัญในสายสกุลเสนะนี้คือพระเจ้าจิตรเสน (หรืออีกพระนามหนึ่งว่า มเหนทรวรรมัน)ฉะนั้นบริเวณบ้านเมืองเตยจึงเป็นฐานอำนาจระยะแรกของกษัตริย์ในสายสกุลเสนะ(www.sujitwongthes.com/.../ต้นฉบับบุรีรัมย์_)


จารึกจิตรเสน ถ้ำเป็ดทอง เมืองบุรีรัมย์ แสดงความเป็นบ้านเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรเจนละซึ่งมีมาก่อนที่เมืองพระนครแห่งขอมโบราณจะ รุ่งเรืองดังปรากฏหลักฐานจารึกบนผนังถ้ำเป็ดทอง ต. ปะคำ อ. ปะคำที่เขียนขึ้นในสมัยพระเจ้ามเหนทรวรมัน หรือเจ้าชายจิตรเสน (น่าจะเป็นคนไทอีสานโบราณทีเป็นวีรบุรุษแห่งลุ่มแม่น้ำมูลสายตระกูล บ้านดงเมืองเตย จ.ยโสธร หรือแถบเทือกเขาพนมดงเร็ก บุรีรัมย์เพื่อนร่วมสาบาน กับกษัตริย์ ดินแดน เจนละน้ำ และลุกไปเป็นใหญ่ เจนละน้ำ มีเมืองยโสธรปุระเป็นหลักฐาน) กษัตริย์องค์ที่ 2แห่งอาณาจักรเจนละ (ขึ้นครองราชย์ราว พ.ศ. 1143ครั้งนั้นมีการสร้างศิวลึงค์ขึ้นเพื่อประกาศอำนาจของพระองค์ที่แผ่อิทธิพลเหนือเมืองต่างๆ


         มีหลักฐานของชุมชนขนาดใหญ่ในยุคนั้นคือเครื่องเคลือบเขมรและเตาเผาโบราณ (Khmer Glaze Ceramics and Kilns) ในพื้นที่อีสานใต้และกัมพูชาน่าจะเกิดขึ้นช่วงระยะแรกในราวพุทธศตวรรษที่ 13 – 14 โดยได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรม– เทคโนโลยี (ภูมิปัญญา)จากกลุ่มชนทางตอนใต้ของจีน (Chinese Influences) เริ่มต้นเดินทางตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่8 ผ่านทางแนวชายฝั่งทะเล (CoastalZone) ของทะเลจีนใต้ผ่านกลุ่มวัฒนธรรมจาม – จามปา (Champa) เข้าสู่ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในวัฒนธรรมเขมร-กัมพุชเทศและกระจายตัวขึ้นสูงเขตเขมรสูง (อีสานใต้)ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 15 ( ที่มา www.oknation.net/blog/voranai/2011/12/11/entry-1)


หลักฐานเหล่านี้ล้วนแสดงถึงความมีอยู่จริงของชุมชนและวีรบุรูษ-วีรสตรี ทีมีอยู่จริงในภาคอีสานโบราณ ประวัติศาสตร์ชาติไทยนั้นสอนกันเริ่มจากยุคสุโขทัย พ.ศ 1800 แม้กระทั่งศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงก็ยังกังขากันอยู่ ประวัติศาสตร์เป็นของผู้ชนะนั้นคือความจริงที่อาจไม่จริงในบางเรื่อง.






Create Date : 13 ตุลาคม 2555
Last Update : 13 ตุลาคม 2555 19:50:15 น.
Counter : 6608 Pageviews.

1 comments
  
กำลังเข้ามาอ่านเรื่อง จิตรเสนค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 25 มิถุนายน 2557 เวลา:10:05:52 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ตุลาคม 2555

 
8
10
11
12
18
22
23
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog