กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2567
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
25 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

พูดปฏิบัติแบบโยงศัพท์ทางธรรม



235 คคห. หนึ่ง  450   11    ยังไม่ใช่ภาคปฏิบัติ  แต่อ่านพระสูตรแล้วคิดวาดภาพไปตามศัพท์แสงทางธรรม


->ผมอ่านกระทู้ และความเห็นในกระทู้มานานพอสมควร  สังเกตุดูพอจะสรุปได้อย่างหนึ่งว่า ผู้นั่งหลับตาปฎิบัติ  จะเข้าใจคำว่า "ฌาน"  "สมาธิ"  "ญาณ"  "ปัญญา"  ในพระสูตร ไม่เหมือนกันกับผู้  "ลืมตาปฎิบัติ"  ในพระสูตรเดียวกัน

และผู้หลับตาปฎิบัติเหมือนกัน ก็จะเข้าใจคำเหล่านี้  ต่างกันไปอีก และยังไม่เจอผู้ปฎิบัติแบบลืมตาเปิดทวารทั้ง 6 ไว้ สติตื่นเต็มร้อยกำจัดนิวรณ์ 5 อยู่ เนือง ๆ  ปฎิบัติไปพร้อมกับการดำเนินชีวิตประจำวัน อ่านกายในกาย  เวทนาในเวทนา  จิตในจิต  ธรรมในธรรม

แล้วปรับเปลี่ยนโดยทำใจในใจให้มันเป็นสัมมาปฎิบัติ  เป็น  "ปัจจุบันธรรม"  ตากระทบรูป  หูกระทบเสียง จมูก... ฯ  เกิด "เวทนา" สุข-ทุกข์ ชอบ-ชัง ดูด-ผลัก ที่ใจ เมื่อรู้ว่า "กิเลส" ม้นเกิด  ก็ปฎิบัติ  "อริยสัจ 4"  รู้ทุกข์  หาเหตุแห่งทุกข์  เจอเหตุแล้วก็ดับมันด้วยมรรค  มันดับเราก็รู้ว่ามันดับ .... ก็ปฎิบัติ  ซ้ำแบบนี้ทุกครั้งที่  "กิเลส"  หรือ "ทุกข์ "  มันเกิด  ทำบ่อย ๆ ก็เกิดความชำนาญ เหมือนผู้ทำงานอาชีพต่าง ๆ เมื่อเราปฎิบัติอย่างนี้ กิเลส/ทุกข์ มันก็จะเบาบาง จางคลายลงเรื่อย ๆ
ตัวไหนเคยดับมันได้สนิทแล้ว มันก็จะไม่มาเกิดอีก หรือถ้ายังเหลือ  มันโผล่หัวมา เราก็ปฎิบัติซ้ำ มันก็จะดับสนิท
ฌาน สมาธิ ญาณ ปัญญา วิชชา จะเกิดอยู่ตลอด  ด้วยการปฎิบัติที่กล่าวแล้วข้างต้น โดยลืมตาปฎิบัติในชีวิตประจำวัน

ส่วนหลับตา ปลีกตัวไปปฎิบัติจากการใช้ชีวิตประจำวัน ปิดทวาร 5 ไว้ เปิดทวารใจไว้ทวารเดียว "เวทนา 36"  ที่เป็น "ปัจจุบันธรรม" ไม่เกิดแล้วจะปฎิบัติ "อริยสัจ 4" อย่างไร เพราะหลับตาจะมีแต่ "เวทนาอดีต 36" กับ "เวทนาอนาคต 36" เท่านั้นที่เกิด (ดูเวทนา108)

และหลับตาไปได้ฌานมาแบบอาฬาดาบส อุทกดาบส ได้ถึง "ฌาน 8" พระพุทธเจ้าไม่รับรองแม้กระทั่ง "โสดาบัน"  เพราะไม่มีการกำจัดกิเลส ตัณหา อุปปทานออกจากจิตเลย แล้วจะต้องปฎิบัติกันไปอีกนานเท่าไหร่ จึงจะ "นิพพาน"

ก็ฝากไว้พิจารณาในวัน "มาฆบูชา 67" นี้

นั่งหลับตาปฎิบัติ จะเข้าใจ "ฌาน" "สมาธิ" "ญาณ" "ปัญญา" ไม่เหมือนกันกับ "ลืมตาปฎิบัติ" ในพระสูตรเดียวกัน - Pantip




235 ตัวอย่างคนปฏิบัติหลับตา ลืมตา 


- ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

-> วันแรกๆ ก็ไม่เป็นอะไร  พอวันที่สามนั่งไปซักพักประมาณสิบนาทีเริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจนเวียนหัว จึงนั่งต่อไม่ได้ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น  เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก  จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้  แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

     จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเอง  จนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม  คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ  หายใจตอนแรกก็ยาว    ก็ตามไปซักพัก  เริ่มพิจารณาตามสติปัฏฐาน  คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย   ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ   จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง  ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา  ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

คำถามครับ

       1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี   ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

       2. จุดมุ่งหมายจริงๆ   คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ     

     ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ  พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว  เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา     เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนา  ทำให้เราเข้าใจว่า  ทุกอย่างมีเกิด-ดับของมัน เป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด   แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร  หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง   จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ   หลังสึกออกมาทุกวันนี้     เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน   แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง    ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน 

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=09-04-2021&group=5&gblog=2


235 ผู้ปฏิบัติธรรมไม่ต้องไปตั้งใจละกิลงกิเลสอะไรดอก  ทำไปปฏิบัติไป  เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วกิเลสมันสงบระงับเอง   ตัวอย่างผู้ปฏิบัตินี่เห็นชัด  หนังสือเขาก็อ่านชัดสะด้วย  แต่ก็นั่นแหละ ไปไม่รอด


235 ข้อสังเกต  ผู้ลงมือทำ แทบไม่พูดคำศัพท์ทางธรรมสักตัว  บอกแต่ว่าทำแล้วมันมีปัญหาแบบนี้ๆ  พอปัญหาเกิดแล้ว ไม่รู้จะเอาอิท่าไหนดี  9


-> สวัสดีค่ะ ขอรบกวนสอบถาม คือปกติเราเป็นคนเข้าวัด ทำบุญ สวดมนต์ไหว้พระปกตินะคะ ตั้งแต่เด็ก จิตก็ฟุ้งบ้างสงบบ้างธรรมดา  แต่พื้นฐานเป็นคนคิดมาก  คิดไปไกล  บางทีคิดมั่วจนตัวเองงง ทีนี้  โดยปกติแล้ว  จิตเรามันก็ดีบ้างชั่วบ้าง  แวบไปมา แต่ก่อนเวลาจิตมันคิดชั่วก็ปัดๆทิ้ง   นานๆมันมาที   ก็ไม่เดือดร้อนอะไร

    ทีนี้เรามาสวดแบบทำกรรมฐานค่ะ  สวดแบบตั้งสัจจะอธิษฐาน   แล้วก็เกิดศรัทธาท่วมท้น เหมือนคนพบแนวทาง   รู้สึกเกิดความแน่ใจ   เราสวดเช้าเย็น   ว่างก็ฟังธรรม  นึกได้ก็สวดในหัว ทีนี้ไม่นาน   เรารู้สึกว่าจิตมันเบาขึ้น   สวดได้นิ่งขึ้นปัญหาก็ตามมา   คือพอรู้สึกว่าตัวเองเริ่มทำดีแล้วเนี่ย  จิตอกุศลมันมากวนบ่อย   แล้วมันมาแบบชั่วช้ามากกว่าแต่ก่อน    มันเกิดกับครูบาที่เราเคารพมากๆด้วย  กับท่านอื่นไม่เป็นนะคะ    ตอนแรกตกใจมากๆ ทำตัวไม่ถูก ก็ปัดๆออก  แต่มันก็มาอีกเรื่อยๆ   จนเราคิดว่าหรือเราหมกมุ่นอะไรมากไปไหม   เราก็เริ่มกลัวแล้วก็ถอยๆออกมา หาเรื่องอื่นมาใส่หัว  ไม่กล้ามองรูปท่าน  ไม่กล้านึกถึงท่านมากเท่าไร ใจมันกังวล


- ศึกษาหลักที่

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=09-11-2021&group=28&gblog=16


235  ตัวอย่างนั่งคิด  450 ยกเอาศัพท์นั่นนี่โน่น  ยกลมหายใจเข้า-ออกขึ้นตั้งแล้วก็โยงศัพท์  วิตก  วิจาร  เป็นต้น ไปเรื่อย    

เจริญอานาปานสติ จนจิตตั้งมั่น - Pantip

> เมื่อใด้เจริญอานาปานสติ รู้ลมเข้า รู้ลมออก จนเกิด อาการ วิตก วิจาร ขึ้น คือ ไม่มีเจตนาจะกำหนดระลึก รู้ ลมหายใจเข้า ออก เองแล้ว จิตรู้ลม ลม เข้า ลมออกเอง โดย ไม่ต้องจงใจ หรือบังคับ จิตเหมือนสงบวูบเข้าไป วิตก วิจาร ในลมก็หายไป แต่ก็ยังมีสัมปชัญญะ รู้ถึงการมีอยู่แห่งกาย รู้การมีอยู่แห่งลมหายใจ เข้า ลมหายใจออก ในขณะที่ รู้จิตตั้งมั่นอยู่นั้น เมื่อสังขารความคิดเกิดขึ้น แม้จิตจะตั้งมั่นไม่ใด้ยึดถือความคิดเช่นว่านั้น สักแต่ว่า รู้ ความเข้าใจอันหนึ่งที่มีขึ้นมา คือ เห็นว่า สังขารความคิดที่เกิดดับเหล่านั้น เป็นโทษเป็นภัยอย่างยิ่ง จึงมีความคิดจะหาทางหลีกหนีจากสังขารทั้งหลายเหล่านั้นตามลำดับไป  (ยกมาเพียงคร่าวๆเบื้องต้น )  ประเด็นของตัวผม คือ 1. ระลึกรู้อยู่ว่ามีกาย คือกายไม่ใด้ดับหายไป  2. จิตสงบตั้งมั่น  3. วิตก วิจาร ในลมหายใจเข้า ออก หายไป ลมหายใจเข้าออก เป็นเพียง สัญญาอันหนึ่ง คือ เห็นสัญญาในลม ไม่ใช่ตัวเนื้อลม  4. คือเข้าใจสิ่งที่ตามเห็น ปรากฏชัดขึ้นมาโดยไม่มีเจตนาจะคิดพิจารณาในสิ่งที่ตามเห็นนั้นไปโดยลำดับจนเห็นความจริงสิ่งใดสิ่งหนึ่งในท้ายสุด  นี่เป็นประสบการณ์ส่วนตัวที่เจริญมา  ซึ่งต่างจากในหลายแนวทางที่เคยใด้ยินใด้ฟังมา  ถ้าจิตตั้งมั่นไม่มี วิตก วิจาร จะจัดว่าเป็นฌานไหม ?   ยังรับรู้ถึงการมีอยู่ของกาย   แม้เป็นเพียงสัญญญาอันหนึ่ง  จะถือว่า  กายดับหายไปไหม ?   ความเข้าใจในสิ่งที่ตามเห็น ณ ขณะนั้น ถือว่า ตั้งใจคิดพิจารณา ใน รูป นาม กายใจ ขันธ์ 5 อายตนะ 6 ไหม เอาสังขารไปกระทำเช่นนั้นจะพ้นออกจากสังขารไหม ? แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ เจริญในธรรมทุกท่านครับ


11




 

Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2567
0 comments
Last Update : 8 มีนาคม 2568 20:20:39 น.
Counter : 216 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space