กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มิถุนายน 2564
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
space
space
21 มิถุนายน 2564
space
space
space

ถึงอารมณ์เบื่อทุกอย่าง
   
235  มันยังไม่ลงตัว   จะว่า ถึงญาณเบื่อก็ได้  107   ต้องไปอีก ไปด้วยการกำหนดอารมณ์เบื่อหน่ายนี่แหละ   ชีวิต ขันธ์ ๕  (สังขาร)  มันมีมันเป็นของมันยังงั้น มันก็เป็นยังงั้น 450    

 93 ผมนั่งสมาธิโดยการกำหนด ยุบหนอ-พองหนอ โดยกำหนดจิตรับรู้การเคลื่อนของกระเพาะอาหารเวลาลมหายใจเข้าไปและออกมาครับ

    กระผมคิดเอาเองว่าคงนั่งได้ประมาณ 2 ชม.ได้แล้ว และผมก็ได้รู้สึกว่า ร่างกายของผมเหมือนไม่มี เหมือนจิตผมหยุดนิ่งอยู่ที่ใดที่หนึ่งโดยไม่รู้ว่า  สิ่งที่ผมกำหนดตอนแรก หายไปไหน ลมหายใจของผมประหนึ่งกับดับไป  ผมพยายาม  กำหนดต่อไป  แต่คราวนี้มันกำหนดยุบหนอ พองหนอ ไม่ได้เสียแล้วเพราะ  เหมือนกับว่าร่างกายนี้ไม่มีอยู่ครับ    ผมเลยใช้การกำหนดดูจิต ที่ยังพอรู้สึกได้อย่างเลือนลางนั่นต่อไป   จนผมเริ่มเกิดความรู้สึกขึ้นมาอีกครั้ง คือ ผมไม่ได้หายใจ  แต่ใจผมยังคงหยุดอยู่ที่สิ่งแรกอยู่  แต่รู้สึกสิ่งนั่น  ที่ใจนึกถึงนั่น  มันเด่นชัดมากขึ้น   ผมนั่งต่อไปอีกสักระยะหนึ่งครับ   แต่ไม่รู้ว่าจะกำหนดอะไรต่อไปแล้ว  เพราะเหมือนรู้สึกว่า ไม่มีอะไรเลยครับ    เหมือนทุกสิ่งทุกอย่างหายไปหมด คือ เหมือนร่างกาย ก็ไม่มี และสิ่งรอบข้าง ก็หายไปหมด เหมือนกับว่าไม่มีอะไรอยู่ข้างกายแบบนี้อ่ะครับ

     ผมเลย นึกในใจอยากออกจากสมาธิ   ก็เริ่มรู้สึกถึงร่างกายของผมเองขึ้นมาที่ละนิด ๆ แล้วก็รู้สึกว่า มีสิ่งแวดล้อมรอบตัว กลับมาอีกครั้ง รู้สึกถึงการหายใจขึ้นมาอีกครั้ง ผมค่อย ๆๆถอดออกจากสมาธิ   แล้วลืมตา ในตอนนั้น  ในตอนที่รู้สึกถึงร่างกายอ่ะครับ   ผมกลับมีความรู้สึกอีกอย่าง  เข้ามาในใจอย่างรุนแรงมาก คือ เหมือนว่า ร่างกายผมอ่ะครับมันสกปรกมาก เหมือนกับซากศพอะไรซักอย่าง (ไม่ได้กิเลสนะครับ แต่เป็นความรู้สึกในตอนนั้น)   และผมก็เกิดความกลัวไปหมด กลัวจะผิดศีล 5 กลัวภัยในแต่ละวันเหมือนจิตจะฟุ้งซ่านมากในขณะนั่นเลยครับ

     หลังจากคืนนั่น ในคืนต่อ ๆ มา ผมก็นั่งสมาธิตามปกติ และก็ได้รับรู้ความรู้สึกเช่นที่เป็นมา ทุกคืนติดต่อกัน  แต่ทุกๆ คืน จนถึงวันนี้  ผมเหมือนกับเบื่อหน่าย ที่จะทำงาน ไม่อยากเจอหน้าภรรยา   ไม่อยากเจอหน้าพ่อแม่   ไม่อยากเจอหน้าลูก  เหมือนเบื่อหน่ายทุกสิ่งในโลก อาหาร แม้แต่ตัวเองวัน ๆ อยากนั่งทำสมาธิ เพราะในช่วงที่เล่าให้ฟัง มันมีความสุขมาก เหมือนผมลืมทุกอย่างไปเลย

ในสิ่งที่ผมถามและอยากรู้นะครับ คือ

     1. ผมปฎิบัติผิดตรงไหนหรอเปล่าครับ

     2. ถ้าไม่ผิด ผมจะปฎิบัติยังไงต่อครับ

     3. สิ่งที่เกิดขึ้นกับผมในขณะนั่นมันคืออะไรกันแนะครับ

     วันต่อมา   เมื่อวานนี้   ได้นั่งพิจารณาอารมณ์และตามดูจิต ยืน เดิน นั่ง นอน ได้แทบทั้งวัน รู้สึกถึงความเย็น สงบ ใครนินทา กล่าวร้าย ไม่รู้สึกเสียใจอะไรเลย มันนิ่งได้ทั้งวันจริง ๆ

     พอตกดึก มาเจริญสติอีกครั้ง คราวนี้  มีอาการเช่นเดิม คือ เหมือนสภาพร่างกายหายไปแบบตอนแรกแต่   ครั้งนี้  เกิดนิมิตเป็นลูกแก้วใสสว่าง ขึ้นมา จากลูกเล็กๆๆ กลายเป็นลูกใหญ่ แล้วคือเวลาเราหลับตาอ่ะครับ    มันจะดำๆๆ ใช่ไหมครับ   แต่พอ  ลูกแก้วขนาดจนเต็มความรู้สึกเหมือนสว่างไสวไปหมด เป็นสี ขาว มีประกาย ทั่วที่หลับตาอยู่นั่นเอง  และพอกำหนดให้มันเล็กลง มันก็เล็กได้ดังใจ เหมือนกับว่า ในขณะนั่นจิตจะสั่งการอะไร ได้หมด

ความรู้สึกเบื่อหน่ายเริ่มหายไปแล้ว แต่รู้สึก กายนี้มีแต่ทุกข์ จิตนี้ก็มีแต่ทุกข์ สิ่งใดๆ ก็ทุกข์ เกิดแล้วดับ วนเวียนไปไม่หมดสิ้น  พิจารณาอยู่นานเหมือนกัน  ตอนนั่นไม่รู้สึกอะไรแล้ว ลมหายใจขาดหายไป ความรู้สึกรอบตัว อาการเย็น ร้อน อ่อน แข็งรอบ ๆ ตัว หายไป หลังจากกำหนด ลูกแก้ว ให้เล็กจนหายไป   ภาพกลับมาเหมือนตอนหลับตาปกติ    คราวนี้   เกิดนิมิตใหม่ คือ ได้เห็น ช่วงเวลาตอนบ่าย ตอนเช้า ทุก ๆ ขณะที่กระทำสิ่งใดไปในแต่ล่ะวัน ค่อยๆ ปรากฎเป็นภาพอย่างเห็นได้ชัดเหมือนกับว่า ได้กลับไปอยู่ในสถานการณ์นั่น ๆ อีกครั้งหนึ่ง   ได้เห็น สิ่งที่ทำไป ในอดีต ค่อย ๆๆ ผุดขึ้นมาที่ละนิดๆ   จนได้รู้สึกถึงตอนวัยรุ่น ตอนเด็ก ๆๆ ได้ทำอะไรลงไปบ้าง  บางขณะ ได้ทำอะไรดีดี จิตก็รู้สึกดี   ก็ตามพิจารณารู้ว่ารู้สึกดีตลอด   บางขณะ ได้ทำอะไรชั่ว ก็ได้ตามพิจารณาว่าทำชั่ว    สภาพจิตเหมือนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง   รู้ถึงตอนที่    พ่อมาเยี่ยมที่โรงพยาบาล   พอถึงตอนนี้   ในความรู้สึกเหมือนน้ำตาไหล   ที่เห็นพ่อแม่อยู่ด้วยกัน   (ความเป็นจริงไม่อยู่แล้ว)   เลยอธิฐานขอออกจากสมาธิ   ภาพเหล่านั่นก็หายไป   แล้วความรู้สึก    ถึงสภาวะรอบตัว   และร่างกายกลับมาอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็ออกจากสมาธิครับ

     สิ่งที่ผมเห็น   ผมคิดไปเองหรือเปล่าครับ   หรือว่าผมปฎิบัติอะไรผิดอีกแล้วคราวนี้   ความรู้สึกหลาย ๆ อย่าง ไม่เคยจำได้ แต่เห็นเป็นภาพอย่างชัดแจ้ง   เมื่อเช้าได้ถามแม่ ในหลายๆเรื่องที่จำไม่ได้ แต่เห็นในนิมิตนั่น   แม่ก็บอกว่าจริงทุกเรื่อง และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตของผมจริง ๆ

     ช่วยแนะนำการปฎิบัติต่อไป  ให้ผู้โง่เขลาในธรรมด้วยครับ  ไม่อยากยึดติดกับอะไร ให้เป็นทุกข์อีกต่อไป.



วางตัวอย่างนี้  450 เทียบให้ดู   ประสบการณ์ชีวิตครั้งอดีต ซึ่งยังฝังในใจผุดให้เห็น   


    นั่งสมาธิแล้วมีภาพเจ้ากรรมนายเวรลอยมาให้เห็นครับ

     เวลาผมนั่งสมาธิ พอภาวนาไปซักพัก เริ่มตัดภาวนาไปแล้วทีนี้ก็จะเกิดอาการขนลุกเย็นทั้งตัว แล้วหลังจากนั้นก็จะมีภาพ คน สัตว์ แมลง ที่เราเคยทำร้ายเคยทำให้เค้าตาย หรือเจ็บลอยมาให้เห็น คือ แปลกใจว่า บางเรื่องเป็นเรื่องที่นานมากบางเรื่องเป็นเรื่องสมัยเด็กๆอยู่ด้วยซ้ำ ซึ่งบางทีนึกถึงยังนึกไม่ออกเลย เพราะนานมาก แต่พอมานั่งสมาธิ ก็ลอยมาให้เห็นเฉยเลย



วางวิปัสสนาญาณเทียบให้พิจารณา  450

วิปัสสนาญาณ 9 

     1. อุทยัพพยานุปัสสนา   หรือเรียกสั้นๆว่า  อุทยัพพยญาณ    ญาณอันตามเห็นความเกิด-ดับ  คือ   พิจารณาความเกิดขึ้น และความดับไปแห่งเบญจขันธ์   จนเห็นปัจจุบันธรรมที่กำลังเกิดขึ้น และดับสลายไปๆ ชัดเจน  เข้าใจภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง  ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาตามความอยากของใคร   หยั่งทราบว่า  สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น  ครั้นแล้ว ก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด  เมื่อเกิดการรับรู้ หรือเคลื่อนไหวใดๆ ในแต่ละขณะ ก็มองเห็นนามธรรม รูปธรรม และตัวรู้ หรือ ผู้รู้ที่เกิดขึ้น  แล้วทั้งรูปธรรม นามธรรม และตัวรู้นั้น  ก็ดับไปพร้อมกันทั้งหมด เป็นความรู้เห็นชัดแก่กล้า (พลววิปัสสนา) ทำให้ละนิจจสัญญา สุขสัญญา และอัตตสัญญาได้
 
      2. ภังคานุปัสสนาญาณ    เรียกสั้นๆ ว่า ภังคญาณ  ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิด-ดับเช่นนั้น ชัดเจนถี่เข้าๆ   ก็จะคำนึงเห็นเด่นชัด ในส่วนความดับที่เป็นจุดจบสิ้น มองเห็นแต่อาการที่สิ่งทั้งหลาย ดับไปๆ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง  ล้วนจะต้องดับสลายไปทั้งหมด
 
     3. ภยตูปัฏฐานญาณ    เรียกสั้นว่า ภยญาณ  ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นแต่ความแตกสลาย  อันมีแก่สิ่งทั้งปวงหมดทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด  ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น

     4. อาทีนวานุปัสสนาญาณ   เรียกสั้นว่า อาทีนวญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง ล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัว ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์
 
     5. นิพพิทานุปัสสนาญาณ    เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ
 
     6. มุญจิตุกัมยตาญาณ    ญาณหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น
 
     7. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หรือ ปฏิสังขาญาณ  ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อให้เห็นทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย  จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป
 
     8. สังขารุเปกขาญาณ    ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป  ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา หรือ เป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง จึงวางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจในสังขารทั้งหลาย  แต่นั้น  ก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน  เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย  ญาณข้อนี้ จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด และเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรค อันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึด หรือออกจากสังขาร

     9. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ  ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ   เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย   ไม่พะวง และญาณก็โน้มน้อมแล่นมุ่งตรงสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ
 
      อนึ่ง พึงทราบว่า วิปัสสนาญาณ 9 นั้น คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนับรวม สัมมสนญาณ เข้าในชุดด้วย จึงเป็น วิปัสสนาญาณ 10 (สงฺคห.55)

10


227วางธรรมุทธัจจ์ หรือ วิปัสสนูปกิเลสเทียบไว้อีก  มันยังขึ้นๆลงๆอยู่

วิปัสสนูปกิเลส (เกิดในขณะอุทยัพพญาณอย่างอ่อน - ตรุณวิปัสสนา)

๑. โอภาส    เห็นแสงสว่างต่างๆ

๒. ปีติ ๕ อย่าง (จะเกิดขึ้น) ดังนี้

1. ขุททกาปีติ    มีลักษณะดังนี้
   1.1 เยือกเย็น ขนลุกตั้งชันไปทั้งตัว
   1.2 ร่างกาย มึน ตึง หนัก
   1.3 น้ำตาไหลพราก
   1.4 ปรากฏเป็นสีขาวต่างๆ

๒. ขณิกาปีติ    มีลักษณะดังนี้
    2.1 เป็นประกายดังฟ้าแลบ
    2.2 ร่างกายแข็ง หัวใจสั่น
    2.3 แสบร้อนตามเนื้อตามตัว
    2.4 คันยุบยิบ เหมือนแมลงไต่ตามตัว

๓. โอกกันติกาปีติ    มีลักษณะดังนี้
    3.1 ร่างกายไหวโยก โคลงแคลง บางครั้งสั่นระรัว
    3.2 สะบัดหน้า สะบัดมือ สะบัดเท้า
    3.3 น้ำลายสอในปาก คลื่นไส้ อาเจียน
    3.4 มีอาการคล้ายๆละลอกคลื่นซัด
    3.5 ปรากฏมีสีม่วงอ่อน สีเหลืองอ่อน

๔. อุเพงคาปีติ    มีลักษณะดังนี้
    4.1 มีอาการคล้ายๆกายสูงขึ้น ตัวเบา ตัวลอย
    4.2 คันยุบยิบ เหมือนมีตัวไร ตอมไต่ตามหน้าตา
    4.3 ท้องเสีย ลงท้อง
    4.4 สัปหงกไปข้างบ้าง ข้างหลังบ้าง
    4.5 หัวหมุนไปมา
    4.6 กัดฟันบ้าง อ้าปากบ้าง หุบปากบ้าง
    4.7 กายงุ้มไปข้างหลังบ้าง ข้างๆบ้าง
    4.8 กายกระตุก ยกแขน ยกขา
    4.9 ปรากฏสีไข่มุก สีนุ่น

๕. ผรณาปีติ    มีลักษณะดังนี้
    5.1 ร่างกายเยือกเย็นแผ่ซ่านไปทั้งตัว
    5.2 ซึมๆไม่อยากลืมตา ไม่อยากเคลื่อนไหว
    5.3 ปรากฏเป็นสีคราม สีเขียว สีบงกด

๓. ญาณ   (ความรู้) ปรากฏว่า ตัวมีความรู้เปรื่องปราชญ์ หมดจด อย่างไม่เคยมีมาก่อน

๔. ปัสสัทธิ     มีความรู้สึกสงบเยือกเย็น ทั้งกายและใจ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระวนกระวาย สงบเงียบดังเข้าผลสมาบัติ

๕. สุข    ได้แก่    วิปัสสนาสุข รู้สึกว่ามีความสุขที่สุด อย่างไม่เคยพบมาก่อน ยินดี เพลิดเพลิน ไม่อยากออกจากการปฏิบัติ อยากจะพูด อยากจะบอก ผลที่ตนได้ แก่ผู้อื่น

๖. อธิโมกข์ (สัทธา) มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย เป็นต้น อย่างแรงกล้า

๗. ปัคคาหะ (ความเพียร) ขยันเกินควร ตั้งใจปฏิบัติจริง ยอมสู้ตาย ไม่ถอย จนเกินพอดี

๘. อุปัฏฐานะ (สติ) สติมากเกินไป ระลึกถึงแต่เรื่องในอดีตและอนาคต จนทิ้งอารมณ์ปัจจุบันเสีย

๙. อุเบกขา   รู้สึกเฉยๆ ไม่ยินดี ยินร้าย ใจลอย หลงๆลืมๆ เป็นต้น อะไรมากระทบก็เฉย ขาดการกำหนด ปล่อยใจไปตามอารมณ์

๑๐. นิกันติ    ความพอใจติดใจที่สร้างความอาลัยในวิปัสสนา มีอาการ สุขุม ซึ่งความจริงเป็นตัณหาที่ละเอียด แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดจับได้ว่าเป็นกิเลส ธรรมทั้งหมดนี้ (เว้นแต่นิกันติ ซึ่งเป็นตัณหาอย่างสุขุม) โดยตัวมันเอง   มิใช่เป็นสิ่งเสียหาย   มิใช่เป็นอกุศล แต่เพราะเป็นประสบการณ์ประณีตล้ำเลิศที่ไม่เคยเกิดมีแก่ตนมาก่อน  จึงเกิดโทษ  เนื่องจากผู้ปฏิบัติไปหลงสำคัญผิดเสียเองว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นฌานขั้นนั้นขั้นนี้

 


 
   สังเกตดู  มีสภาวะใดบ้างคงที่   ไม่มีเลย  ไม่มี  มันเปลี่ยนแปลงนั่นนี่โน่นวนไป   ดังนั้น  ท่านจึงให้กำหนดรู้ดูมันเหมือนเราดูหนังดูละคร    (แต่ก็ไม่ใช่ร้องไห้ เมื่อถึงฉากพระเอกนางเอกถูกตัวโกงถูกนางอิจฉาตบตีนะ 107  ดูแบบนี้ใช้ไม่ได้)    ไม่ว่านิมิตนั้น อารมณ์จะดีจะร้าย ชอบใจไม่ชอบใจ  กำหนดรู้ดูมัน    แต่ก็ยึดหลักคือลมเข้าลมออก  ซึ่งเป็นปัจจุบันไว้  ครั้นลมหายใจเข้า-ออกหาย พอง ยุบหาย  ก็กำหนดรูปนั่งปัจจุบันไว้  เมื่อรูปหายร่างกายหาย  ก็กำหนดตรงจุดที่ชัด  เช่น ก้นกบที่กดกับพื้น   เมื่อพอง ยุบ คืน ลมหายใจเข้า-ออกคืน  ก็กำหนดหลักคือลมเข้า-ออก  พอง ยุบ ต่อไป  

   สรุป   ก็คือนิมิตอื่นๆก็กำหนดรู้  แต่ไม่ใช่อารมณ์หลัก  ถึงไม่ใช่หลักก็ต้องกำหนดรู้เพื่อไม่ให้จิตหลงยึดติดมัน    (คนที่เพื้ยนก็หลงนิมิตหลงอารมณ์พวกนี้) 

  อนึ่ง  ถึงนิมิตที่ปรากฏจะเป็นอารมณ์รองไม่ใช่อารมณ์หลักดัง พอง กับ  ยุบ   ดังลมหายใจเข้า-ออกก็ตาม ก็กำหนดด้วย     ไม่ใช่ปล่อยไปเรื่อยเปื่อย  หรือเบือนหน้าหนีมัน  ไม่ใช่  ไม่เอาแบบนี้  ให้กำหนดมันตามที่เห็น  ได้ยิน  ได้กลิ่น  ตามที่ใจคิด   (เห็นหนอ  เสียงหนอ  กลิ่นหนอ  คิดหนอ เป็นต้น)  ตัวอย่างข้างบน    เขาเห็นนิมิตเป็นลูกแก้ว  กำหนดจนมันหายไป   (นิมิตดีๆพอรู้พอทนกันได้    แต่ถ้าเป็นนิมิตร้ายๆ คนจะเตลิด  นิมิตพวกนี้เป็นภาพจากจิตเอง ซึ่งสติยังไม่แข็งแรงพอ สติจะเกิดก็จากการกำหนดทันปัจจุบันอารมณ์นั่นเอง)
 


Create Date : 21 มิถุนายน 2564
Last Update : 2 ธันวาคม 2566 7:51:33 น. 0 comments
Counter : 1904 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space