กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
ตุลาคม 2567
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
space
space
20 ตุลาคม 2567
space
space
space

ไม่ใช่มองเห็นการนั่งเป็นสมาธิไป 
 


235 สมาธิก็สมาธิ  นั่งก็นั่ง คนละส่วนกัน  สมาธิเป็นนามธรรมมองไม่เห็น  ที่เห็นนั่งนั่นเรียกว่ารูป (รูปธรรม) ชีวิตมีเพียงรูปธรรม กับ นามธรรม  (ว่าตามสายพุทธธรรม) 

"นั่งสมาธิบนหิมะ" ไม่ผิดวินัยสงฆ์ ไม่ได้อวดอุตริ.  พระอาจารย์พยอมสื่อดังเข้าใจสมาธิผิดด้วย คือว่า  ท่าน ว. ถ่ายรูปด้วยท่านั่งอย่างนั้นตรงนั้น เพื่อเอามาลงเฟสท่าน ที่ถ่ายรูปอิริยาบถยืนก็มี แต่คนไปดราม่ารูปนั่งสมาธิ  121
  
พูดสั้นๆ นั่งสมาธิ ชวนให้เข้าใจผิด  ก็พูดยาว ใช้อิริยาบถนั่งเจริญสมาธิ  เป็นต้น เอาชัดๆไปเลย ที่ว่าเป็นต้น มันมิใช่มีแต่สมาธิเท่านั้นที่ถูกฝึก ยังมีธรรมะตัวอื่นอีก  เช่น  สติ  สัมปชัญญะ  สัญญา  ผัสสะ   เจตนา  ชีวิตินทรีย์  มนสิการ  เยอะแยะที่เกิดร่วมกัน (สัมปยุตตธรรม) 


 

 


 

ท่านั่ง

     หลักการอยู่ที่ว่า อิริยาบถใดก็ตาม ที่ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะผ่อนคลายสบายที่สุด แม้ปฏิบัติอยู่นานๆ ก็ไม่เมื่อยล้า และทั้งช่วยให้การหายใจคล่องสะดวก ก็ใช้อิริยาบถนั้น

     การปรากฏว่า อิริยาบถที่ท่านผู้สำเร็จนับจำนวนไม่ถ้วน ได้พิสูจน์กันมาตลอดกาลนานนักหนาว่า ได้ผลดีที่สุดตามหลักการนั้น ก็คือ อิริยาบถนั่งในท่าที่เรียกกันว่า "ขัดสมาธิ" หรือที่พระเรียกว่า "นั่งคู้บัลลังก์"

     ตั้งกายตรง คือ ให้ร่างกายท่อนบนตั้งตรง กระดูกสันหลัง ๑๘ ข้อ มีปลายจดกัน ท่านว่านั่งอย่างนี้ หนังเนื้อและเอ็นไม่ขด ลมหายใจก็เดินสะดวก เป็นท่านั่งที่มั่นคง เมื่อเข้าที่ดีแล้ว จะมีดุลยภาพอย่างยิ่ง กายจะเบา ไม่รู้สึกเป็นภาระ นั่งอยู่ได้แสนนาน โดยไม่มีทุกขเวทนารบกวน ช่วยให้จิตเป็นสมาธิง่ายขึ้น กัมมัฏฐานไม่ตก แต่เดินหน้าได้เรื่อย

     ตามที่สอนสืบกันมา ยังมีเพิ่มว่า ให้ส้นเท้า เอาขาขวาทับขาซ้าย (เอาขาซ้ายทับขาขวาบ้างก็ได้ไม่ห้าม) ฯลฯ รายละเอียดเหล่านี้ ขึ้นต่อดุลยภาพแห่งร่างกายของแต่ละบุคคลด้วย

     ผู้ที่ไม่เคยนั่งท่านี้ หากทนหัดทำได้ ก็คงดี แต่ถ้าไม่อาจทำได้ ก็อาจนั่งบนเก้าอี้ ให้ตัวตรงสบาย หรืออยู่ในอิริยาบถอื่นที่สบายพอดี

     มีหลักการสำทับอีกว่า  ถ้ายังนั่งไม่สบาย มีอาการเกร็ง หรือเครียด พึงแก้ไขเสียให้เรียบร้อยก่อนปฏิบัติต่อไป  ส่วนตาจะหลับหรือลืมก็ได้  สุดแต่สบาย และใจไม่ซ่าน  ถ้าลืมตา  ก็อาจทอดลง หรือมองที่ปลายจมูกให้เป็นที่สบาย


135


*  อานาปานสติ  เป็นกรรมฐานอย่างเดียว  ในบรรดาข้อปฏิบัติเป็นอันมากในมหาสติปัฏฐานสูตร ที่มีคำแนะนำกำหนดเกี่ยวกับอิริยาบถว่า ให้พึงนั่งอย่างนี้ 

   ส่วนกัมมัฏฐานอย่างอื่น  ย่อมเป็นไปตามอิริยาบถต่างๆ ที่เข้าเรื่องกัน หากจะมีการนั่ง ก็ย่อมเป็นไปเพราะความเหมาะสมกัน โดยอนุโลม กล่าวคือ เมื่อกัมมัฏฐานใดนั่งปฏิบัติได้ดี และในเมื่อการนั่งอย่างนี้ เป็นท่านั่งที่ดีที่สุด ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่พึ่งนั่งอย่างนี้  ตัวอย่าง  เช่น การเพ่งกสิณ และการพิจารณาธรรมารมณ์ต่างๆนานๆ เป็นต้น เหมือนคนจะเขียนหนังสือ ท่านั่งย่อมเหมาะดีกว่ายืนหรือนอน  เป็นต้น พึงเข้าใจความหมายของการนั่งอย่างนี้  มิใช่มองเห็นการนั่งเป็นสมาธิไป  พูดอีกอย่างหนึ่งว่า  การนั่งแบบคู้บัลลังก์นี้  เป็นท่านั่งที่ดีที่สุดแก่สุขภาพและการงาน  ดังนั้น  เมื่อจะนั่ง หรือในกรณีจะทำอะไรที่ควรจะต้องนั่ง  ท่านก็แนะนำให้นั่งท่านี้   (แม้แต่นั่งคิด นั่งพัก นั่งสนทนา นั่งทำใจ เช่น ม.ม.13/589/537 ฯลฯ)  เหมือนที่แนะนำว่า  เมื่อจะนอน  ก็ควรจะนอนแบบสีหไสยา หรือเมื่อจะเดินอยู่ลำพัง  ก็ควรเดินแบบจงกรม  ดังนี้  เท่านั้นเอง


133

235 ในเมื่อสมาธิเป็นนามธรรมมองไม่เห็นแล้วผู้ปฏิบัติธรรมจะรู้ได้ยังไงว่าจิตมีสมาธิแล้ว  พอรู้ได้ ตัวอย่าง  เช่น  (ที่ขีดเส้นใต้)   

> หลังจากนั้นผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน เวลาเดิน ก็รู้สึกดีครับ รู้สึกเพลินกับการยึดลมหายใจ  หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง  ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ 

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น

https://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=56815&start=30


- เราใช้อะไรเป็นกรรมฐานสุดแท้แต่จิตรับรู้อยู่กับสิ่งนั้นๆ แสดงว่าสมาธิจิตเกิดมีแล้ว

 
  นี่ใช้อิริยาบถเดิน ยืน เป็นกรรมฐาน คือเพื่อฝึกจิต
 


 
 

นี่ว่าตรงๆ นั่งสมาธิกลางหิมะ ร้อยเกือบทั้งร้อยที่เข้าใจผิด




 



Create Date : 20 ตุลาคม 2567
Last Update : 21 ตุลาคม 2567 15:04:07 น. 0 comments
Counter : 106 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

BlogGang Popular Award#20


 
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space