กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
เมษายน 2566
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
space
space
26 เมษายน 2566
space
space
space

ใช้สอบอารมณ์ตนเองได้




    ผู้ภาวนามัย ซึ่งใช้พอง-ยุบก็ดี  ลมเข้า-ออกแล้วพุท-โธ ก็ดี  หรืออื่นๆจากนี้  ยกเว้นผู้พูดๆเอานั่นเอานี่  ใช้บทความนี้สอบอารมณ์ตนเองได้ 

235 คุณค่าไตรลักษณ์ด้านการทำจิต หรือคุณค่าเพื่อความหลุดพ้นเป็นอิสระ  
 
   คุณค่าด้านนี้   พร้อมทั้งหลักปฏิบัติเพื่อเข้าถึงคุณค่านั้น   เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยจุดหมายสูงสุดของพุทธธรรม   ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ สำคัญ เป็นส่วนคลุมยอดของระบบทั้งหมดของพระพุทธศาสนา มีขอบเขตกว้างขวาง   อีกทั้งมีรายละเอียดในการปฏิบัติที่พึงทำความเข้าใจโดยเฉพาะ คัมภีร์ทั้งหลายจึงกล่าวถึงบ่อยและมาก   บางคัมภีร์ก็นำมาประมวลแสดงเป็นขั้นตอนตามลำดับโดยตลอด ดังเช่นคัมภีร์วิสุทธิมัคค์  เป็นต้น   แม้ในหนังสือนี้เอง ก็ได้บรรยายไว้ทั่วๆ ไปแล้ว จึงจะไม่นำมากล่าวรวมไว้ในที่นี้    แต่จะพูดไว้พอเป็นแนวสำหรับความเข้าใจอย่างกว้างๆ
 
   ตามปกติ  ผู้เจริญปัญญาด้วยการพิจารณาไตรลักษณ์  จะพัฒนาความเข้าใจต่อโลกและชีวิตให้เข้มคมชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมกับมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพจิตเป็นขั้นตอนสำคัญ ๒ ขั้นตอน คือ
 
   ขั้นตอนที่ ๑ เมื่อเกิดความรู้เท่าทันสังขารมองเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่เป็นตัวตนชัดเจนขึ้นในระดับปานกลาง   จะมีความรู้สึกทำนองเป็นปฏิกิริยาเกิดขึ้น  คือรู้สึกในทางตรงกันข้ามกับความรู้สึกที่เคยมีมาแต่เดิม   ก่อนนั้นเคยยึดติดหลงใหลในรูปรสกลิ่นเสียง เป็นต้น   มัวเมาเพลิดเพลินอยู่กับสิ่งเหล่านั้น   คราวนี้   พอมองเห็นไตรลักษณ์เข้าแล้ว ความรู้สึกเปลี่ยนไป   กลายเป็นรู้สึกเบื่อหน่าย   รังเกียจ   อยากจะหนีไปเสียให้พ้น   บางทีถึงกับรู้สึกเกลียดกลัว หรือขยะแขยง   นับว่าเป็นขั้นที่ความรู้สึกแรงกว่าความรู้   (เรียกอย่างภาษาไทยว่า อารมณ์เหนือปัญญา)
 
   ขั้นตอนแรกนี้   แม้ว่าจะเป็นขั้นตอนที่ปัญญายังไม่สมบูรณ์   และความรู้สึกยังเอนเอียง  แต่ก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญ หรือบางทีถึงกับจำเป็น   ในการที่จะถอนตนให้หลุดออกไปได้จากความหลงใหลยึดติด   ซึ่งเป็นภาวะที่มีพลังแรงมาก   เพื่อจะสามารถก้าวต่อไปสู่ภาวะที่สมบูรณ์ในขั้นตอนที่ ๒ ต่อไป ในทางตรงข้าม ถ้าหยุดอยู่เพียงขั้นนี้ ผลเสียจากความรู้สึกที่เอนเอียงก็จะเกิดขึ้นได้
 
   ขั้นตอนที่ ๒  เมื่อความรู้เท่าทันนั้นพัฒนาต่อไป  จนกลายเป็นความรู้เห็นตามความเป็นจริง ปัญญาเจริญเข้าสู่ภาวะสมบูรณ์   เรียกว่ารู้เท่าทันธรรมดาอย่างแท้จริง   ความรู้สึกเบื่อหน่ายรังเกียจและอยากจะหนีให้พ้นไปเสียนั้น  ก็จะหายไป  กลับรู้สึกเป็นกลาง  ทั้งไม่หลงใหล  ทั้งไม่หน่ายแสยง ไม่ติดใจ   แต่ก็ไม่รังเกียจ   ไม่พัวพัน  แต่ก็ไม่เหม็นเบื่อ   มีแต่ความรู้ชัดตามที่มันเป็น และความรู้สึกโปร่งโล่งเป็นอิสระ พร้อมด้วยท่าทีของการที่จะปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ ไปตามความสมควรแก่เหตุผล และตามเหตุปัจจัย
 
   พัฒนาการทางจิตปัญญาในขั้นตอนที่สองนี้  ในระบบการปฏิบัติของวิปัสสนา ท่านเรียกว่าสังขารุเปกขาญาณ   (ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร)    เป็นขั้นตอนที่สำคัญและจำเป็น   ในการที่จะเข้าถึงความรู้ประจักษ์แจ้งสัจจะ และความเป็นอิสระของจิตโดยสมบูรณ์
 
   คุณค่าด้านความเป็นอิสระหลุดพ้นของจิตนี้   โดยเฉพาะในระดับที่พัฒนาสมบูรณ์แล้ว  (ถึงขั้นตอนที่ ๒) จะมีลักษณะและผลข้างเคียงที่สำคัญ ๒ ประการ คือ
 
   ๑) ความปลอดทุกข์ คือ เป็นอิสระหลุดพ้นจากความรู้สึกบีบคั้นที่เกิดจากความยึดติดถือมั่นต่างๆ มีความสุขที่ไม่อิงอาศัยอามิส  หรือไม่ขึ้นต่อสิ่งล่อ ปลอดโปร่ง ผ่องใส สดชื่น เบิกบาน ไร้กังวล ไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก ไม่เหี่ยวแห้งไปตามความผันผวนปรวนแปรขึ้นๆ ลงๆ ที่เรียกว่าโลกธรรม ไม่ถูกกระทบกระแทกเนื่องจากความสูญเสียเสื่อมสลายพลัดพราก เป็นต้น
 
     ลักษณะข้อนี้มีผลไปถึงจริยธรรมด้วย   ในแง่ที่จะไม่ก่อปัญหาเนื่องจากการระบายทุกข์ของตนแก่ผู้อื่นหรือแก่สังคม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของปัญหาจริยธรรม และในแง่ที่มีสภาพจิตใจซึ่งง่ายต่อการเกิดขึ้นของคุณธรรม โดยเฉพาะเมตตากรุณา ความมีไมตรีจิตมิตรภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกื้อกูลแก่จริยธรรมเป็นอันมาก
 
   ๒) ความปลอดกิเลส  คือ เป็นอิสระหลุดพ้นจากอำนาจบีบคั้นครอบงำ และบงการของกิเลสทั้งหลาย เช่น ความโลภ ความโกรธ ความติดใคร่ ชอบชัง ความหลง ความริษยา และความถือตัวถืออำนาจ เป็นต้น โปร่งโล่ง เป็นอิสระ สงบ และบริสุทธิ์ ลักษณะข้อนี้มีผลโดยตรงต่อจริยธรรม ทั้งด้านภายในที่จะคิดการหรือใช้ปัญญาอย่างบริสุทธิ์เป็นอิสระ ไม่เอนเอียงไปด้วยชอบชังรังเกียจและความปรารถนาผลประโยชน์ส่วนตัว  เป็นต้น  และด้านภายนอก  ที่จะไม่ทำความผิดความชั่วต่างๆ ตามอำนาจบังคับบัญชาของกิเลสทุกอย่าง   ตลอดจนสามารถทำการต่างๆ  ที่ดีงามตามเหตุผลได้อย่างจริงจังเต็มที่  เพราะไม่มีกิเลส  เช่น  ความเกียจคร้าน  ความห่วงผลประโยชน์ เป็นต้น มาคอยยึดถ่วงหรือดึงให้พะวักพะวน
 
     อย่างไรก็ดี คุณค่าข้อที่ ๑ นี้ ในขั้นที่อยู่ระหว่างกำลังพัฒนา ยังไม่สมบูรณ์สิ้นเชิง ถ้ามีแต่ลำพังอย่างเดียว ก็มีช่องทางเสีย  คือ  อาจก่อให้เกิดโทษได้ ตามหลักที่ว่า กุศล เป็นปัจจัยแก่อกุศลได้   กล่าวคือ   เมื่อทำจิตได้แล้ว  ใจสบาย  มีความสุขแล้ว  ก็ติดใจเพลิดเพลินอยู่กับความสุขทางจิตใจเสีย หรือพอใจในผลสำเร็จทางจิตนั้น  แล้วหยุดความเพียรพยายามเสีย  หรือปล่อยปละละเลยไม่เร่งทำกิจที่ควรทำ   ไม่จัดการแก้ไขปัญหาภายนอกที่ค้างคาอยู่   เรียกว่าตกอยู่ในความประมาท ดังตัวอย่างในพุทธพจน์ที่ว่า
 
      “นันทิยะ  อย่างไรอริยสาวกจะชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท ?  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลทั้งหลายที่พระอริยะยอมรับ...อริยสาวกนั้น พอใจ (หรืออิ่มพอ=สันโดษ) ด้วยความเลื่อมใส... ด้วยศีลทั้งหลายที่พระอริยะยอมรับเหล่านั้น  ย่อมไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป ฯลฯ อย่างนี้แล นันทิยะ อริยสาวกชื่อว่าเป็นอยู่ด้วยความประมาท”
 
   ทางออกที่จะป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียที่กล่าวถึงนี้ ก็คือ จะต้องปฏิบัติตามหลักการที่จะให้เกิดคุณค่าข้อที่ ๒ ควบคู่กันไปด้วย.



วางตัวอย่างเทียบไว้ด้วย


235 ผมนั่งสมาธิโดยการกำหนด ยุบหนอ-พอง หนอ โดยกำหนดจิตรับรู้การเคลื่อนของกระเพาะอาหารเวลาลมหายใจเข้าไปและออกมา
       
     กระผม คิดเอาเองว่าคงนั่งได้ประมาณ 2 ชม.ได้แล้ว และผมก็ได้รู้สึกว่า ร่างกายของผมเหมือนไม่มี เหมือนจิตผมหยุดนิ่งอยู่ที่ใดที่หนึ่งโดยไม่รู้ว่า สิ่งที่ผมกำหนดตอนแรก หายไปไหน ลมหายใจของผมประหนึ่งกับดับไป ผมพยายาม กำหนดต่อไป แต่คราวนี้มันกำหนด ยุบหนอ พองหนอ ไม่ได้เสียแล้ว เพราะเหมือนกับว่า ร่างกายนี้ไม่มีอยู่ครับ

      ผมเลยใช้การกำหนดดูจิต ที่ยังพอรู้สึกได้อย่างเลือนลางนั่นต่อไป จนผม เริ่มเกิดความรู้สึกขึ้นมาอีกครั้ง คือ ผมไม่ได้หายใจ แต่ใจผม ยังคงหยุดอยู่ที่สิ่งแรกอยู่ แต่รู้สึก สิ่งนั่น ที่ใจนึกถึงนั่น มันเด่นชัดมากขึ้น

      ผมนั่งต่อไปอีกสักระยะ หนึ่งครับ แต่ไม่รู้ว่าจะกำหนดอะไรต่อไปแล้ว เพราะเหมือนรู้สึกว่า ไม่มีอะไรเลยครับ    เหมือนทุกสิ่งทุกอย่างหายไปหมด คือ เหมือนร่างกายก็ไม่มี และสิ่งรอบข้าง ก็หายไปหมด เหมือนกับว่า ไม่มีอะไรอยู่ข้างกายแบบนี้

      ผมเลย นึกในใจอยากออกจากสมาธิ ก็เริ่มรู้สึกถึงร่างกายของผมเองขึ้นมาที่ละนิด ๆ แล้วก็รู้สึกว่า มีสิ่งแวดล้อมรอบตัว กลับมาอีกครั้ง   รู้สึกถึงการหายใจขึ้นมาอีกครั้ง ผมค่อยๆ ถอดออกจากสมาธิ แล้วลืมตา ในตอนนั้น ในตอนที่รู้สึกถึงร่างกาย ผมกลับมีความรู้สึกอีกอย่าง เข้ามาในใจอย่างรุนแรงมาก คือ เหมือนว่าร่างกายผมมันสกปรกมาก เหมือนกับซากศพอะไรซักอย่าง  (ไม่ได้กิเลสนะครับ แต่เป็นความรู้สึกในตอนนั้น)  และผมก็เกิดความกลัวไปหมด กลัวจะผิดศีล  5 กลัวภัยในแต่ละวัน เหมือนจิตจะฟุ้งซ่านมากในขณะนั่นเลย หลังจากคืนนั่น ในคืนต่อ ๆ มา ผมก็นั่งสมาธิตามปกติ และก็ได้รับรู้ความรู้สึกเช่นที่เป็นมา ทุกคืนติดต่อกัน

     แต่ทุก ๆ คืน จนถึงวันนี้  ผมเหมือนกับเบื่อหน่าย ที่จะทำงาน ไม่อยากเจอหน้าภรรยา ไม่อยากเจอหน้าพ่อแม่ ไม่อยากเจอหน้าลูก เหมือนเบื่อหน่ายทุกสิ่งในโลก อาหาร แม้แต่ตัวเอง  วันๆอยากนั่งทำสมาธิ เพราะในช่วงที่เล่าให้ฟัง มันมีความสุขมาก เหมือนผมลืมทุกอย่างไปเลย

 


Create Date : 26 เมษายน 2566
Last Update : 13 ธันวาคม 2566 19:08:07 น. 0 comments
Counter : 265 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space