กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2566
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
space
space
10 กุมภาพันธ์ 2566
space
space
space

เหมือนตัวหาย ,

235 ปัญหามีว่า 450


- ถามท่านผู้รู้  เกี่ยวกับสภาวะที่เกิดจากการนั่งสมาธิด้วยค่ะ


->ตัวหนูเองเพิ่งเริ่มหัดนั่งสมาธิแบบจริงๆจังๆได้ไม่นานมานี้  โดยการกำหนดดูลมหายใจเข้าออก คือเวลานั่งกำหนดดูลมหายใจไปแล้วสักพัก   ก็จะรู้สึกเหมือนมีมวลแม่เหล็กกลมๆจับอยู่ที่บริเวณสันจมูกและบริเวณข้างๆจมูกโดยรอบ   พอเรานั่งดูเวทนานั้นไปเรื่อยๆ  ก็เกิดความรู้สึกเหมือนว่าตัวหาย   ได้แต่นั่งดูความว่างเปล่าไปเรื่อยๆจนพอถอนตัวจากสมาธิ  แล้วค่อยๆลืมตาขึ้น ตัวก็ยังไร้ความรู้สึกและขยับตัวเองไม่ได้   เหมือนเป็นอัมพาตได้แต่ลืมตาและกระพริบตาเท่านั้น (ตอนนั้นตกใจมาก คิดว่านั่งทับเส้นหรือเปล่า) ต้องรอสัก1-2 นาที ถึงจะขยับตัวได้  พอลุกขึ้นยืนก็ไม่มีแม้แต่ความรู้สึกปวดขา หรือปวดตามร่างกายเลยค่ะ  เพราะโดยปกติหนูจะนั่งสมาธิในท่าเดียวได้ไม่ค่อยนาน   ประมาณ 15-20 นาที   ก็จะรู้สึกปวดเมื่อยและขยับตัวหรือออกจากสมาธิไปเลย
และพอหลังจากวันนั้นมา    เวลาจะนั่งสมาธิพอกำหนดดูลมหายใจปุ๊บ ไม่ถึง  5-10 นาที ก็จะเกิดสภาวะไร้ความรู้สึกขึ้นมาทุกครั้งเลยค่ะ   (แต่ก็ถือว่าเป็นผลดีที่ทำให้เรานั่งได้นานๆเป็นชั่วโมง โดยที่เราไม่รู้สึกเจ็บหรือปวดเลย)
และอีกหนึ่งสภาวะคือถ้าตั้งใจนั่งสมาธิมากๆ   พอนั่งไปสักพักร่างกายจะสั่นแรงมาก  ความรู้สึกเหมือนขับรถด้วยความเร็วสูงมากๆ ประมาณว่าคล้ายๆ ตอนขึ้นเครื่องบินแล้วเครื่องบินกำลังจะเทคออฟค่ะ คือมันพุ่งไปข้างหน้าอย่างเร็วแรงมาก
หนูเลยอยากทราบว่า   สิ่งที่เกิดขึ้นในสภาวะแบบนี้คืออะไร    ถูกต้องหรือไม่ และหนูต้องนั่งดูสภาวะแบบนี้ไปเรื่อยๆ แล้วปล่อยว่างอุเบกขาใช่หรือไม่   และสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ถึงขั้นไหนในการทำสมาธิแล้วคะ   และจะมีอันตรายหรือผลที่จะตามมาไหมคะ    ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

https://pantip.com/topic/37406925


235 ชาวพุทธควรทำความเข้าใจความหมายคำศัพท์  สภาวะ สภาวธรรม ให้ชัด 

  - สภาพ, สภาวะ, สภาวธรรม    ความหมายเดียวกัน  หมายถึง  ความเป็นเอง,สิ่งที่เป็นเอง, สิ่งที่เป็นเองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย

เมื่อสภาวธรรมนั่นนี่โน่นเกิด  โยคีพึงกำหนดรู้ตามเป็นจริง  คือ ตามที่มันเป็นของมัน  กำหนดรู้ตามนั้นสัก ๓-๔ ครั้งแล้วปล่อย  รู้แล้วปล่อย  ไม่แช่ไม่จมอยู่กับสภาวะนั่นนี่โน่น  ดึงจิตมารู้ลม เข้า-ออก.  หรือพอง กับ ยุบ ไปใหม่  แล้วแต่กรรมฐานที่ใช้

   เดินจงกรม คือ เดินกำหนดอารมณ์ควบกับนั่งด้วย  อย่าเอาแต่นั่งกำหนดอารมณ์อย่างเดียว เพราะจะทำให้สมาธิเกินอินทรีย์ตัวอื่น 

ไม่ผิดแต่สมาธิแรงเกินความเพียร (วิริยะ) จึงว่า  เดินจงกรม (ปรับอินทรีย) ร่วมด้วย  ซ้ายขวาๆๆๆๆๆ  เดินเร็วนิดหนึ่ง ซ้ายขวาๆๆๆๆ เดินมากกว่านั่งหน่อย

 


235 ผู้ปฏิบัติร้อยละ ๙๖-๙๗ % เริ่มต้นการปฏิบัติไม่ครบ  เช่น  ผู้ใช้พุทโธ  ผู้ที่ดูลมหายใจเข้า-ออกเฉยๆ แล้วดูเวทนาแล้วให้วางอุเบกขา แก้ปัญหาไม่ตก แก้ปัญหายาก 

 



Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2566
Last Update : 28 กรกฎาคม 2567 18:06:56 น. 0 comments
Counter : 184 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

BlogGang Popular Award#20


 
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space