กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ(สํ.สฬ.18/217/166) เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า"ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
เบญจขันธ์
อายตนะ
ไตรลักษณ์
ปฏิจจสมุปบาท
กรรม
วิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน
ผู้บรรลุนิพพาน
หลักบรรลุนิพพาน
มัชฌิมาปฏิปทา
ปรโตโฆสะ
โยนิโสมนสิการ
ปัญญา
ศีล
สมาธิ
อริยสัจ ๔
อารยธรรมวิถี
แรงจูงใจคน
ความสุข ๑
ความสุข ๒
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้พิพากษาตั้งตุลาให้สังคม ฯ
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
เรื่องเหนือสามัญวิสัย
รู้เขา รู้เรา
คำพูดของคนใกล้สิ้นลม
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
นิพพาน-อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท
มาฆบูชา กับ วาเลนไทน์
แรงดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก
บาลี
<<
เมษายน 2565
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
7 เมษายน 2565
Hi อานาปานะ
ถามเกี่ยวกับการนั่งสมาธิค่ะ
ธัมมะธัมโมโฮ่กันอยู่ได้
ปฏิบัติแบบนี้ก็พอได้
กำหนดเพื่อให้รู้เห็นชัด
เสียงจากการนั่งสมาธิ
ตัวอย่างเทียบ กท. ล่าง
คำถามเรื่องสมาธิ
ขณะหลงไม่รู้ ขณะโกรธไม่รู้ ดับแล้วจึงรู้
ได้ยินเสียงนั่นนี่โน่นขณะนั่งสมาธิ-สวดมนต์
Hi อานาปานะ
ปฏิบัติต้องลงมือทำ
ถามเจ็บ
100 ทั้ง 100
ทำ = ภาวนา. ภาวนา=ทำ. ทำ=ปฏิบัติ
ไม่ต้องตามหา เดี๋ยวมาเอง
ไม่รู้จะตั้งชื่ออะไร ดูเอง
เทียบนั่งสมาธิกับการบำเพ็ญบารมีสิบ
เห็น เกิด ดับ
ผู้ปฏิบัติแท้จะไม่หวั่นนิมิตใดๆทั้งทางกายทางใจ
อารมณ์ที่เกิดจากจิตซึ่งเป็นสมาธิแล้ว
เห็นสัจธรรมแล้วทุกข์คลายเองโดยอัตโนมัติ
หากต้องการเข้าถึงความจริง มนุษย์ต้องเข้าใจตัวเขาเอง
ขณะจิตที่บรรลุมรรคผล
ถึงอารมณ์เบื่อทุกอย่าง
เขาถามกันว่า
หายไปทั้งตัว
มีใครนั่งสมาธิแล้วเพี้ยน เป็นบ้าบ้าง
จิตร้องเพลง มีเสียงพูดเสียงสอน
ถามเกี่ยวกับสภาวะจากนั่งสมาธิ
กิเลสต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้
ใช้ หนอ
ประสบการณ์ชีวิตเยอะ ธรรมารมณ์ก็เยอะ
สมาธิล้ำองค์ธรรมอื่น
อย่าฝืน อย่าต้านสภาวธรรม
ทำสมาธิแล้วเกิดสภาวะทางกาย
ผู้ปฏิบัติดู Blog นี้แล้ว ดู Blog ภาคปฏิบัติด้วย
ทำสมาธิแล้วได้ยินเสียงสวดมนต์
นี่เขาใช้ หนอ
นี่ไม่ใช้คำภาวนาใดๆ
คำภาวนาใดๆ ไม่ใช่สาระ
ดูลมเข้า-ออก
แยก สมมุติ กับ สภาวธรรม ให้ชัด
ใช้พุทโธ.
สภาวธรรม หมายถึง
Hi อานาปานะ
รู้จักอานาปาน-สติ
คำว่า
อานาปาน
สติ แยกความหมายเป็นสามคำ คือ คำว่า
อานะ
แปลว่า
ลมหายใจเข้า
ตรงกับคำว่า
อัสสาสะ
คำว่า
อาปานะ
แปลว่า
ลมหายใจออก
ตรงกับคำว่า
ปัสสาสะ
และคำว่า
สติ
ความระลึกรู้ตาม, การกำหนดพิจารณา รวมสามคำเข้าด้วยกัน เป็น
อานาปานสติ
แปลว่า การกำหนดพิจารณาลมหายใจเข้าและลมหายใจออก หมายถึงการใช้สติเป็นตัวกำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออกของตนซึ่งเป็น
ปัจจุบันแต่ละขณะๆ
เป็นหนึ่งในวิธีฝึกกัมมัฏฐาน ๔๐ วิธี โดยจัดอยู่ในข้อที่ ๙ แห่งอนุสติ ๑๐
เพราะเป็นหนึ่งในวิธีการฝึกกัมมัฏฐาน จึงเรียกว่า อานาปานสติกัมมัฏฐาน ซึ่งหมายถึงกัมมัฏฐานที่ใช้สติกำหนดลมหายใจเข้า-ออก หรือเรียกว่าว่า อานาปานสติสมาธิ หมายถึง วิธีการฝึกสมาธิโดยใช้สติเป็นเครื่องกำหนดลมหายใจเข้า-ออกทุกๆขณะ นอกจากนี้ ยังเรียกรวมๆว่า อานาปานสติภาวนา หมายถึงการเจริญกัมมัฏฐานโดยวิธีอานาปานสติ หรือการฝึกสมาธิเจริญปัญญาด้วยการใช้สติระลึกอยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออก และนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า อานาปานสติ หรือ อานาปานะ อานาปาน์
รู้แล้วท่านให้เอาไปฝึกหัดพัฒนาจิตตนเอง
ถาม
อานาปานสติ
กับ การใช้
คำภาวนาพุทโธ
แตกต่างกันอย่างไร
เผอิญตอนเย็นไปเจอบทความ สอนการทำสมาธิ แบบหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ท่านสอน “ให้มีสติกับคำภาวนาไม่ต้องดูลมหายใจเมื่อเป็นสมาธิจะทิ้งคำภาวนาเอง”
รวมกับเมื่อปี 2559 ตอนบวชเรียนกับหลวงปู่จันทร์เรียน ท่านสอนผมเป็นการส่วนตัวให้ “ภาวนาพุทโธ” (วัดป่าให้มีสติอยู่ที่คำบริกรรมไม่สนลมหายใจ)ให้ทิ้งวิธีเก่า คือ อานาปานสติ ผมฝึกมา 6 ปี (ปัจจุบัน 11 ปี) แต่ดื้อไม่เชื่อตามที่หลวงปู่สอน เพราะ เชื่อฝังใจว่าอานาปานสติ (มีสติกับลมหายใจอย่างเดียวไม่บริกรรมภาวนา) เป็นวิธีทำสมาธิแบบพระพุทธเจ้าจึงไม่ยอมภาวนาพุทโธ
ตั้งแต่วันที่ 9 -23 เม.ย.64 ผมจึงทดลองสลับนั่งระหว่าง
อานาปานสติ
และ
ภาวนาพุทโธ
วันละ 1 ชม. 30 นาที ถึง 2 ชม. ทุกวัน เมื่อวานตั้งใจจะลองภาวนาพุทโธ อีกครั้ง 2 ชม. ปรากฏการณ์ทางจิต คือ
ภาวนาพุทโธไม่เรื่อยๆเหมือนสวดมนต์ ระลึกถึงคำว่าพุทโธ ไม่สนลมหายใจ
เมื่อจิตสงบ
เกิดแสงสว่างสีขาวไม่แสบตา ที่กลางกระหม่อม ยิ่งภาวนา แสงยิ่งสว่างปกคลุมไปทั้งร่างกาย ร่างกายค่อยเบา โปร่งใสไปเรื่อย เหมือนร่างเรากลายเป็นแสงขาวทั้งร่าง เกิดปีติ น้ำตาไหล ขนลุก ซาบซ่านไปทั้งกาย เกิดความสุขสงบ สบายไปทั้งตัว แสงขาวสว่างมากยิ่งสบายมากเหมือนถูกฟอกไปทั้งตัว
ขณะนั้นคำภาวนาเป็นไปแบบอัตโนมัติต่อเนื่อง ภาวนาไปเรื่อยๆ จิตจะทิ้งคำภาวนาไปเอง เหลือแต่ความสงบ
จิตสว่างไสวเป็นแสงขาวเด่นชัดที่กลางกระหม่อม ความว่างสงบ เหมือนไม่มีกาย
อยากจะอยู่ในสมาธินานๆ นั่งไปสักพักจิตอิ่มถอนออกจากสมาธิ แล้วแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย เวลาผ่านไป 2 ชม.
ขออนุญาตแชร์ประสบการณ์ ทำสมาธิแบบภาวนา พุทโธให้ทุกท่านครับ
https://pantip.com/topic/41361323
มีสองตอน ตอนแรกสงสัย (
อานาปานสติ
กับ การใช้
คำภาวนาพุทโธ
แตกต่างกันอย่างไร
) ก็ตามนั้น ลมหายใจเข้า + ลมหายใจออก + สติ + คำภาวนาพุทโธ, นับตัวเลข, นั่นนี่โน่น ธัมโม สังโฆ เป็นอาทิ
เมื่อเรานั่งระลึกนั่งนึกนั่งท่องพุทโธๆๆๆๆๆๆ ซ้ำไปซ้ำมา พุทโธๆๆอยู่ในใจ จิตก็ไม่ซ่านไม่ส่ายคิดเรื่องอื่น ก็เรียกว่าจิตมีสมาธิขั้นเริ่มต้น ตอนนี้จะเกิดปรากฎการณ์อย่างที่เล่า เช่น เห็นแสงสว่าง ตัวเบา ไม่มีกาย เป็นต้น ขั้นนี้เรียกว่าขั้น
สมถะ
(จิตพอสงบ)
หากผู้ปฏิบัติเกิดความยินดีพอใจชื่นชมกับสภาวะนั่นนี่โน่น ตอนนี้เรียกตามหลักว่า
วิปัสสนูปกิเลส
ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่จะหลงจะติดกันอยู่แค่นี้ ในบางรายถึงกับเพี้ยนจำเลขบ้านไม่ได้ก็มี
https://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2010/10/Y9785609/Y9785609.html
ความหมายสติ ซึ่งมักมาคู่กับสัมปชัญญะ คือปัญญาระดับเริ่มต้น (แบบสั้นๆ
สติ
ความระลึกได้
สัมปชัญญะ
ความรู้ตัว)
สติ
ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจหรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่ทำที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้
ลมหายใจเข้า-ออก = กัมมัฏฐาน คำภาวนานั่นนี่โน่นก็ดี การนับตัวเลข เป็นต้นก็ดี เหมือนเครื่องตรึงจิตให้อยู่กับกัมมัฏฐานได้ดีเท่านั้น
ส่วนที่ว่า นั่งว่าพุทโธๆๆๆๆๆๆๆ ไม่สนใจลมหายใจเข้า-ออก ได้ไหม ? ก็ได้ ท่องไป พุทโธๆๆๆๆ นอกจากพุทโธก็ได้อีก เอาธัมโมๆๆๆๆๆๆๆ สังโฆๆๆๆๆๆๆๆ ท่องไปภาวนาไป จิตก็ไม่ฟุ้งคิดเรื่องอื่นมันก็สงบอยู่กับสิ่งที่เรานึกท่อง พุทโธๆๆๆๆๆๆๆ
ฝนตกฟ้าร้องก็ไม่สนใจท่องพุทโธๆๆ
จิตสงบๆหน่อย
เอาแล้วทีนี้ มีตัวเบา ตัวลอย ตัวหาย มีความสุข ฯลฯ ซึ่งตนเองไม่เคยประสบมาเลยในชีวิต ก็หลงติดยึดมั่นหมาย
กลายเป็นกิเลส (วิปัสสนูปกิเลส) ขัดขวางวิปัสสนา (ปัญญา) ไปฉิบ
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samathijit&month=04-2021&date=06&group=1&gblog=14
ก็ติดวนอยู่ตรงนั้นจึงไปไม่สุดทางของไตรสิกขา ที่ว่า ศีลเพื่อสมาธิ
สมาธิ
เพื่อปัญญา
ปัญญา
เพื่อวิมุตติ
นั่งตีความตัวอักษรกัน
เช่นตีความ สติ ตีความไปสู่ป่า ....ไปสู่บ้าน ไปสู่นั่นสู่นี่ นั่นภิกษุ นั่นชาวบ้าน
https://pantip.com/topic/41508657
พระพุทธเจ้าท่านให้หลักกว้างๆไว้ เราเองก็ต้องมาดูความเหมาะสมอีก ปัจจุบันป่าหายากแล้ว มีแต่ภูเขาหัวโล้น มีแต่ป่าสงวนจะเข้าไปก็ต้องขออนุญาต จนท. เขาจะให้เข้าไปไหม (แอบเข้าไปหลงป่ากันเป็นแถวมีข่าวออกบ่อยไป) ทีนี้เมื่อไม่มีสถานที่เช่นว่านั้น เป็นภิกษุอยู่ที่วัดของตน ก็ฝึกหัดปฏิบัติที่วัดนั้น เป็นฆราวาสก็ที่ห้องนอนของตน มันก็เท่านี้ ไม่ใช่ไปเล่นทื่อๆตามตัวอักษรเด่ไปยังงั้น
สำนักนั่น เบื้องต้นเข้าไปศึกษากับสำนักเรียนที่มีผู้รู้ภาษาบาลีก่อน ถึงเราอ่านพระไตรปิฎก แต่เราไม่มีพื้นฐานภาษาบาลีเลย อ่านตามที่เขาแปลมาให้ บางทีเขาก็แปลทับศัพท์ เช่น สติ นี่ทับศัพท์ พอเราไม่รู้ก็ตีความศัพท์นั่นเอาเองตามความเข้าใจของตนตามภาษาไทยประเพณีไทย ก็จึงหลงกู่ไม่กลับ
หากที่บ้านไม่สะดวก ที่วัดก็ไม่สะดวก ตนเองก็ไปอาศัยสำนักที่สัปปายะมีครูอาจารย์ที่รู้ภาคปฏิบัติแนะนำให้ มันก็เท่านี้
เรายังไม่รู้ก็ต้องฝึกทำเพื่อให้รู้ ไม่ใช่รู้ด้วยอนุมานเอาดังเจ้าสำนัก เป็นมิจฉาทิฏฐิ
"พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงตื่นเองแล้ว จึงทรงแสดงธรรมเพื่อปลุกให้ตื่น ทรง
ฝึกพระองค์เองแล้ว
จึงทรง
แสดงธรรมเพื่อความ
ฝึก
ทรงสงบเองแล้ว จึงทรงแสดงธรรมเพื่อความสงบ ทรงข้ามพ้นเองแล้ว จึงทรงแสดงธรรมเพื่อการข้ามพ้น ทรงหายร้อนสนิทเองแล้ว จึงทรงแสดงธรรมเพื่อเพื่อความดับร้อน"
(ที.ปา.11/30/57)
นี่ไปเข้าใจ
อนัตตา
ว่าฝึกไม่ได้บังคับบัญชาไม่ได้
อ้าว แล้วทำไมพระพุทธเจ้าฝึกฝนตนเองได้ ไปฝึกอยู่ในสำนักอื่นตั้งห้าหกปี แล้วไปฝึกเองต่ออีก
อนัตตาไม่ใช่ว่าฝึกไม่ได้. ตามตำราว่า รูปนามมันเป็นอนัตตา (น+อัตตา) มันเป็นอนัตตานั่นแหละมันจึงฝึกได้พัฒนาได้ ถ้ามันเป็นอัตตาขวางลำทื่ออยู่นี่สิฝึกไม่ได้
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้.
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตใจที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม คือ นินทา สรรเสริญนั้น เป็นจิตใจที่ประเสริฐยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์นี้ ผู้ใด
ฝึกตน
ให้เป็นคนอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่นได้จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ม้าอัสดร ม้าสินธพ พญาช้างตระกูลมหานาคที่ได้รับการฝึกดีแล้ว จัดเป็นสัตว์ที่ประเสริฐ แต่
บุคคลที่ฝึกตนดีแล้วยังประเสริฐกว่า
สัตว์เหล่านั้น"
เขาว่าว่า
ธรรมเครื่อง
อยู่เป็นสุขในปัจจุบันของคฤหัสถ์ไม่ใช่อานาปานสติ
https://pantip.com/topic/41517258
https://www.youtube.com/watch?v=-cQ02TR6e1U&t=470s
มองแค่นั้นเขาก็พูดถูก
อานาปาน-สติไม่ใช่ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของคฤหัสถ์ เพราะ
อานาปาน
-ได้แก่ ลมหายใจเข้า กับ ลมหายใจออก
ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ได้แก่ สมาธิระดับฌาน. (มองแบบกำปั้นทุบดิน ถ้าคฤหัสถ์ไม่มีลมหายใจเข้า-ออก ก็ตาย ไม่มีความสุขในปัจจุบัน
)
แต่ถ้าฟังอธิบายนั่นนี่โน่นแล้ว ผู้พูดเป็นนักอ่านหนังสือคนหนึ่ง อ่านตรงไหนติดตรงนั้น เหมือนตาบอดคลำช้างคลำตรงไหนยึดตรงนั้น
ไม่เห็นไม่ได้ภาพรวมของพุทธธรรม แล้วก็ไม่เคยทำอานาปานสติกรรมฐาน ไม่เคยทำกรรมฐาน
Create Date : 07 เมษายน 2565
Last Update : 4 กรกฎาคม 2565 9:54:22 น.
0 comments
Counter : 275 Pageviews.
(โหวต blog นี้)
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ให้ทิปเจ้าของ Blog
[
?
]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com