 |
|
|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | |
|
 |
 |
|
|
 |
 |
|
- นั่งสมาธิแล้วหายใจไม่ออก
- เรียนรู้จากประสบการณ์
- อาการแบบนี้นี้ที่เกิดขึ้นขณะนั่งสมาธิคืออะไรคะ
- นั่งสมาธิตัวสั่นโยกอย่างเร็วแล้วหยุด
- ดวงตาเห็นธรรม คืออะไรสำคัญสำหรับชีวิตคนเราไหมคับ ?
- อวิชชา, วิชชา
- ใช้สอบอารมณ์ตนเอง
- อยากฟังประสบการณ์คนนั่งสมาธิค่ะ
- อันตรายที่ซ่อนอยู่ ต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้
- นั่งสมาธิแล้วตัวหด
- ง่วงเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติธรรม ผ่านไปไม่ได้
- นั่งก็นั่ง สมาธิก็สมาธิ
- บีบกด VS เป็นไปเอง
- ฌาน
- ตัวอย่าง รู้ตามที่เราอยากให้มันเป็น ๒
- ตัวอย่าง รู้ตามที่เราอยากให้มันเป็น ๑
- ใกล้ตายจิตสงบง่าย
- สมถะวิปัสสนายาใจยามเจ็บ
- นั่งสมาธิวันละ 40 นาที 4 เดือนแล้วไม่เกิดอะไรเลย
- นั่งสมาธิแล้วลมหายใจหายทำไงต่อ
- ภาวนาพุท/โธ โดยไม่ดูลมหายใจได้ไหมคะ ?
- อวิชชา คือความไม่รู้ตามความเป็นจริง
- เมื่อทุกข์ ค้นหาเหตุ กำจัดเหตุ ทุกข์ดับ
- นั่งสมาธิแล้วรู้สึกกลัวเหมือนกำลังจะตาย
- ถึงนิมิตแล้วจะผ่านไปได้อย่างไร ,
- ภาวนาตัวสั่น ตัวหาย
- คนที่เริ่มภาวนา เคยพบบางสิ่งกันไหม มีวิธีออกจากสิ่งเหล่านั้นอย่างไร?
- สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย
- ธรรมสากัจฉาเรื่อง "โอภาส" แสงสว่าง
- อาจารย์สำนักหนึ่งแนะนำ วิ ธี บ ร ร ลุ ธ ร ร ม
- ทำกรรมฐานแล้วหูแว่วแก้ยังไงดีคะ
- เหตุใด ผู้ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน หลายคนจึงนิมิตเห็นหลวงปู่มั่น ?
- นั่งสมาธิเกิดปรากฏการณ์ทางจิตแปลกๆ ,
- ภาวะที่เป็นอวิชชา ก็คือการไม่มองเห็นไตรลักษณ์
- นั่งสมาธิเหมือนมีอะไรกดดันที่คอจนได้เลิกนั่ง
- การนั่งสมาธิกับความคิด ,
- พูดปฏิบัติแบบโยงศัพท์ทางธรรม
- นั่งสมาธิมีเสียงในหัวหยุดความคิดไม่ได้
- อ่านแล้วรู้สึก VS เข้าถึงแล้วรู้สึก
- กัดฟันสู้ VS สู้อย่างรู้เข้าใจ
- เห็นนั่นนี่โน่น พื้นๆ
- ๒ แนวปฏิบัติ สมถะ กับ วิปัสสนา
- กำหนดพุทโธพร้อมลมหายใจ หายใจเร็วและถี่ ควรแก้ไขอย่างไรครับ
- ทุกข์เป็นสภาวะด้านหนึ่งของชีวิต
- นั่งสมาธิแล้วลมหายใจสั้นแผ่วหาย
- ทำสมาธินานๆ แล้วเห็นแสงมีจริงหรือครับ
- นั่งสมาธิตัวสั่นโยกเร็วแล้วหยุด ,
- มหัศจรรย์ ครั้งแรกในชีวิตกับการภาวนา
- ลมหายใจหาย อึดอัดทนไม่ไหว
- การนั่งสมาธิที่ถูกต้องต้องทำอย่างไร
- ญ รัก ช.มักต้องการให้เขาเป็นคนดี แต่ ช. รัก ญ มักตามใจจนเสียคน
- จุดตายโกก้า
- ความหมาย วิปัสสนา
- ???
- ปล่อยวางความแค้นในอดีต ได้ยังไง
- นั่งสมาธิเห็นสิ่งที่ไม่ใช่คน
- มือไม้ ลูกกะตา ปาก ขา ทั้งร่างกาย เคลื่อนไหวเอง
- ประสบการณ์จากการฝึกสมาธิ
- วิธีแผ่เมตตาจิต
- อยากหยุดความรู้สึกที่ไม่ดี
- จิตจะพัฒนาไปเรื่อย
- นั่งสมาธิแล้วเกิดนั่นนี่โน่น กลัวค่ะ ,
- นั่งสมาธิแล้วเหมือนโดนไฟช็อต
- นั่งสมาธิจงกรมแล้วอารมณ์ยังเหวี่ยงง่าย
- เป็นวิปัสสนูปกิเลส
- นั่งสมาธิแล้วเหมือนมีแมลงไต่
- นั่งสมาธิแล้วภาพ สัตว์ แมลงลอยให้เห็น ,
- ประสบการณ์จากการฝึกสมาธิ ,
- วิปัสสนูปกิเลส
- ฝึกเป็นอริยบุคคล ,
- หลักพระอรหันต์แท้
- นั่งสมาธิมีเสียงพูดเสียงสอน
- ออกจากสมาธิแล้วคิดอะไรไม่ออก
- จิตส่งเสียงคล้ายคนสวดมนต์
- จิตบอกให้หยุดหายใจ ,
- สภาวะปีติ ๕
- ประสบไตรลักษณ์อย่างไม่รู้เท่าทัน ,
- นั่งสมาธิแล้วร่างกายสั่นจริง
- นี่ใช้พุท-โธเป็นไง ดู
- หลักสอบอารมณ์ตนเอง
- ลมหายใจหาย
- ภาวนาแล้วรู้สึกกายใจสกปรก
- ธงชัยพระอริยบุคคล
- นั่งสมาธิแล้วมีความสุขมาก
- สวดมนต์ เจอกิเลสมารคิดชั่วร้ายกับครูอาจารย์
- ปฎิบัติธรรมเอง แล้วทุกอย่างเปลี่ยนไปเพราะอะไรหรอคะ ?
- มิจฉาปฏิปทา
- นั่งสมาธิแล้วร่างกายคล้ายๆมวลสาร สารพัด
- ธัมมุทธัจจ์ ๑๐
- ถามสภาวะที่เกิดจากนั่งสมาธิ
- นั่งสมาธิแล้วเหมือนประจุไฟฟ้าแล่นไปแล่นมา
- นั่งสมาธิฟุ้งซ่านมากแก้ไขอย่างไรดีคะ
- กลัวการนั่งสมาธิค่ะ
- มีปัญหาในการนั่งสมาธิค่ะ กลัวมาก
- ไปปฏิบัติธรรมแล้วสามีมีอาการเหมือนคนบ้า
- วิปัสสะนึก ต่อ
- วิปัสสะนึก
- อารมณ์สมถะ - วิปัสสนา ,
- นั่งสมาธิแล้วลมหายใจหาย ต้องทำไงต่อ
- นั่ ง ส ม า ธิ แล้วเหมือนมีแมลงไต่
- นั่งสมาธิแล้วหยุดหายใจ
- วิธีล้างเจ้ากรรมนายเวรออก
- วิบเดียว มีตัวอย่างประกอบ
- จิตเกิด-ดับรวดเร็ว มีตัวอย่างประกอบ
- นั่งสมาธิแล้วเกิดอาการชาๆตึงๆ
- ธรรมะไม่ถูกใจคน ,
- นั่งสมาธิแล้วรู้สึกมีลมเย็นพัดผ่านหลัง
- ธัมมะธัมโมโฮ่กันอยู่ได้
- นั่งสมาธิเห็นเป็นคนมาล้อม, กลัว
- กำหนดรู้ตามที่มันเป็นเพื่อให้รู้เห็นชัด ,
- นั่งสมาธิแล้วได้ยินเสียงคนพูด
- ตัวอย่างเทียบ กท. ล่าง ,
- เห็นเทวดาพนมมือรับบุญ
- โทสะกำลังเกิดคนไม่รู้ตัว มันดับไปแล้วจึงรู้
- สวดมนต์นั่งสมาธิ ได้ยินเสียงนั่นนี่โน่น
- รู้จัก อานาปานสติ
- อ่านเข้าใจแล้วต้องไปปฏิบัติ
- ชาวพุทธเข้าใจคำว่าธรรม ว่าหมายถึงอะไรกันบ้างเหรอครับ ,
- ขอคำอธิบาย จากผู้รู้ ว่าการภาวนา การทำสมาธิ มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
- นั่งสมาธิแล้วลมหายใจชอบหาย
- การปฎิบัติธรรมทำให้เราเห็นโลกอีกมิติ จริงไหมคะ
- นั่งสมาธิ กับ บารมี ๑๐
- ใช้คำว่า ดับไม่กลับมาอีกเลย
- ผู้ปฏิบัติแท้จะไม่หวั่นนิมิตใดๆ ทั้งทางกาย ทางใจ ,
- ทำอย่างไร จึงจะทำให้จิตนิ่งและแข็งขึ้นดีคะ
- เห็นสัจธรรมแล้วทุกข์คลายเอง
- หากต้องการเข้าถึงความจริง มนุษย์ต้องเข้าใจตัวเขาเอง ,
- ขณะจิตบรรลุมรรคผล
- นั่งสมาธิแล้ว เ บื่ อ ทุกอย่าง
- ชอบถามธรรมะระดับแก่น
- นั่งสมาธิแล้วหายไปทั้งตัว
- มีใครนั่งสมาธิแล้วเพี้ยน เป็นบ้าบ้างคะ ?
- นั่งสมาธิได้ยินเสียงสิ่งที่มองไม่เห็น
- นั่งสมาธิตัวหาย กายสั่น
- จะทำยังไงให้ไม่คิดแค้นหรือโกรธใครคะ
- ใช้ พอง-ยุบ เป็นกรรมฐาน
- ประสบการณ์ชีวิตเยอะ ธรรมารมณ์ก็เยอะ
- นั่งสมาธิแล้วรู้สึกเหมือนจะตาย
- อย่าฝืน อย่าต้านสภาวธรรม
- นั่งสมาธิเหมือนมีคนจับหน้าบิดไปมา
- ผู้ปฏิบัติดู Blog นี้แล้ว ดู Blog ภาคปฏิบัติด้วย
- ทำสมาธิแล้วได้ยินเสียงสวดมนต์
- ตัวอย่าง ใช้พองหนอ ยุบหนอ
- ตัวอย่าง ไม่ใช้คำภาวนาใดๆ
- คำภาวนา ไม่ใช่สาระ
- นั่งสมาธิแล้วลมหายใจชอบหาย
- แยก สมมุติ กับ สภาวธรรม ให้ชัด
- ตัวอย่างใช้ พุทโธ
- ความหมาย สภาวธรรม ตัวอย่าง
|
|
 |
|
|
- ใช้สอบอารมณ์ตนเองภาคปฏิบัติธรรม, ปฏิบัติกรรมฐาน, เจริญภาวนา เป็นต้นได้
๑. อินทรียภาวนา: “ดูกรอานนท์ ก็อินทรียภาวนา อย่างยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน เป็นอย่างไร ? ดูกรอานนท์ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้, เธอรู้ชัด (รู้เท่าทัน) อย่างนี้ว่า สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพที่ทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ เกิดขึ้นแล้วแก่เราเช่นนี้ ก็แต่ว่า สภาพน่าชอบใจ สภาพไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจนั้นแล เป็นภาวะปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น สภาวะนี้จึงสงบ สภาวะนี้จึงประณีต กล่าวคืออุเบกขา (ใจเฉยโดยตระหนักรู้อยู่ในดุล), สภาพน่าชอบใจ สภาพไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ ที่เกิดขึ้นแก่เธอนั้น ก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิท. ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปหนึ่งรูปใด ที่สภาพน่าชอบใจ สภาพไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิท โดยเร็ว โดยพลันทันที โดยไม่ยากลำบาก เหมือนดังบุรุษมีตาดี ลืมตาแล้วหลับตา หรือหลับตาแล้วลืมตา ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อินทรียภาวนาในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน;
“ดูกรอานนท์ ข้ออื่นยังมีอีก เพราะได้ยินเสียงด้วยหู ... เพราะดมกลิ่นด้วยจมูก ... เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น ... เพราะต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ (ทำนองเดียวกับข้อก่อน) ... ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปหนึ่งรูปใด ที่สภาพน่าชอบใจ สภาพไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิท โดยเร็ว โดยพลันทันที โดยไม่ยากลำบาก เหมือนดังบุรุษมีกำลัง เอาหยาดน้ำสองหรือสามหยาด หยดลงในกระทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดทั้งวัน การหยดลงไปแห่งหยาดน้ำนั้นยังช้า (ไม่ทันที่) หยาดน้ำนั้นจะถึงความเหือดหาย หมดสิ้นไปฉับพลันทันใด โดยแน่แท้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อินทรียภาวนาในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยใจ อันยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน;
“ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นอินทรียภาวนา อันยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน.
๒. ก) เสขปาฏิบท (ผู้ยังฝึกศึกษา): “ดูกรอานนท์ ก็พระเสขะ ผู้ยังปฏิบัติอยู่ เป็นอย่างไร ? ดูกรอานนท์ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้, เธออึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจ ด้วยสภาพน่าชอบใจ สภาพไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้วนั้นๆ, เพราะได้ยินเสียงด้วยหู ... เพราะดมกลิ่นด้วยจมูก ... เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น ... เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ... เธออึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจ ด้วยสภาพน่าชอบใจ สภาพไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้วนั้นๆ; ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระเสขะ ผู้ยังปฏิบัติอยู่.
๒. ข) ภาวิตินทรีย์ (ผู้ศึกษาพัฒนาจบแล้ว): “ดูกรอานนท์ ก็พระอริยะ ผู้ภาวิตินทรีย์ เป็นอย่างไร ? ดูกรอานนท์ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้, เธอนั้น หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งปฏิกูล ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้, หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้, หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้, หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูล ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้, หากจำนงว่า เราจะเว้นคำนึงทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง มีอุเบกขาอยู่โดยมีสติสัมปชัญญะ ก็มีอุเบกขาในสิ่งนั้นๆ อยู่โดยมีสติสัมปชัญญะได้;
“ดูกรอานนท์ ข้ออื่นยังมีอีก เพราะได้ยินเสียงด้วยหู ... เพราะดมกลิ่นด้วยจมูก ... เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น ... เพราะถูกต้องด้วยกาย ... เพราะรู้ด้วยใจ ... สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้, เธอนั้น ... หากจำนงว่า เราจะเว้นคำนึงทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง มีอุเบกขาอยู่โดยมีสติสัมปชัญญะ ก็มีอุเบกขาในสิ่งนั้นๆ อยู่โดยมีสติสัมปชัญญะได้;
“ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระอริยะ ผู้ภาวิตินทรีย์.” * (ม.อุ. 14/853/541)

* คำว่า “ปฏิกูล” ไม่พึงมองความหมายแคบๆ อย่างที่มักเข้าใจทำนองว่าสกปรก ยกตัวอย่างตามที่ท่านอธิบายไว้ เช่น คนหน้าตาไม่ดี มีกิริยาอาการไม่งาม เรามองด้วยเมตตา หรือของไม่สวย เรามองตามสภาวะของธาตุ ให้เห็นเป็นน่าชื่นชมหรือสบายตา ก็เรียกว่า หมายรู้ในของปฏิกูลเป็นไม่ปฏิกูล คนหรือของที่เห็นกันว่าสวยงาม เรามองด้วยอนิจจตา หรือตามสภาวะของธาตุ ก็กลายเป็นไม่สวยงาม อย่างนี้ก็เรียกว่า หมายรู้ในของไม่ปฏิกูลเป็นปฏิกูล (ดูคำอธิบายใน ขุ.ปฏิ.31/690/599)
Create Date : 07 มีนาคม 2568 |
Last Update : 10 มีนาคม 2568 13:02:37 น. |
|
0 comments
|
Counter : 72 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|