 |
|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | |
|
 |
 |
|
|
 |
 |
|
- อวิชชา, วิชชา
- ใช้สอบอารมณ์ตนเอง
- อยากฟังประสบการณ์คนนั่งสมาธิค่ะ
- อันตรายที่ซ่อนอยู่ ต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้
- นั่งสมาธิแล้วตัวหด
- ง่วงเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติธรรม ผ่านไปไม่ได้
- นั่งก็นั่ง สมาธิก็สมาธิ
- บีบกด VS เป็นไปเอง
- ฌาน
- ตัวอย่าง รู้ตามที่เราอยากให้มันเป็น ๒
- ตัวอย่าง รู้ตามที่เราอยากให้มันเป็น ๑
- ใกล้ตายจิตสงบง่าย
- สมถะวิปัสสนายาใจยามเจ็บ
- นั่งสมาธิวันละ 40 นาที 4 เดือนแล้วไม่เกิดอะไรเลย
- นั่งสมาธิแล้วลมหายใจหายทำไงต่อ
- ภาวนาพุท/โธ โดยไม่ดูลมหายใจได้ไหมคะ ?
- อวิชชา คือความไม่รู้ตามความเป็นจริง
- เมื่อทุกข์ ค้นหาเหตุ กำจัดเหตุ ทุกข์ดับ
- นั่งสมาธิแล้วรู้สึกกลัวเหมือนกำลังจะตาย
- ถึงนิมิตแล้วจะผ่านไปได้อย่างไร ,
- ภาวนาตัวสั่น ตัวหาย
- คนที่เริ่มภาวนา เคยพบบางสิ่งกันไหม มีวิธีออกจากสิ่งเหล่านั้นอย่างไร?
- สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย
- ธรรมสากัจฉาเรื่อง "โอภาส" แสงสว่าง
- อาจารย์สำนักหนึ่งแนะนำ วิ ธี บ ร ร ลุ ธ ร ร ม
- ทำกรรมฐานแล้วหูแว่วแก้ยังไงดีคะ
- เหตุใด ผู้ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน หลายคนจึงนิมิตเห็นหลวงปู่มั่น ?
- นั่งสมาธิเกิดปรากฏการณ์ทางจิตแปลกๆ ,
- ภาวะที่เป็นอวิชชา ก็คือการไม่มองเห็นไตรลักษณ์
- นั่งสมาธิเหมือนมีอะไรกดดันที่คอจนได้เลิกนั่ง
- การนั่งสมาธิกับความคิด ,
- พูดปฏิบัติแบบโยงศัพท์ทางธรรม
- นั่งสมาธิมีเสียงในหัวหยุดความคิดไม่ได้
- อ่านแล้วรู้สึก VS เข้าถึงแล้วรู้สึก
- กัดฟันสู้ VS สู้อย่างรู้เข้าใจ
- เห็นนั่นนี่โน่น พื้นๆ
- ๒ แนวปฏิบัติ สมถะ กับ วิปัสสนา
- กำหนดพุทโธพร้อมลมหายใจ หายใจเร็วและถี่ ควรแก้ไขอย่างไรครับ
- ทุกข์เป็นสภาวะด้านหนึ่งของชีวิต
- นั่งสมาธิแล้วลมหายใจสั้นแผ่วหาย
- ทำสมาธินานๆ แล้วเห็นแสงมีจริงหรือครับ
- นั่งสมาธิตัวสั่นโยกเร็วแล้วหยุด ,
- มหัศจรรย์ ครั้งแรกในชีวิตกับการภาวนา
- ลมหายใจหาย อึดอัดทนไม่ไหว
- การนั่งสมาธิที่ถูกต้องต้องทำอย่างไร
- ญ รัก ช.มักต้องการให้เขาเป็นคนดี แต่ ช. รัก ญ มักตามใจจนเสียคน
- จุดตายโกก้า
- ความหมาย วิปัสสนา
- ???
- ปล่อยวางความแค้นในอดีต ได้ยังไง
- นั่งสมาธิเห็นสิ่งที่ไม่ใช่คน
- มือไม้ ลูกกะตา ปาก ขา ทั้งร่างกาย เคลื่อนไหวเอง
- ประสบการณ์จากการฝึกสมาธิ
- วิธีแผ่เมตตาจิต
- อยากหยุดความรู้สึกที่ไม่ดี
- จิตจะพัฒนาไปเรื่อย
- นั่งสมาธิแล้วเกิดนั่นนี่โน่น กลัวค่ะ ,
- นั่งสมาธิแล้วเหมือนโดนไฟช็อต
- นั่งสมาธิจงกรมแล้วอารมณ์ยังเหวี่ยงง่าย
- เป็นวิปัสสนูปกิเลส
- นั่งสมาธิแล้วเหมือนมีแมลงไต่
- นั่งสมาธิแล้วภาพ สัตว์ แมลงลอยให้เห็น ,
- ประสบการณ์จากการฝึกสมาธิ ,
- วิปัสสนูปกิเลส
- ฝึกเป็นอริยบุคคล ,
- หลักพระอรหันต์แท้
- นั่งสมาธิมีเสียงพูดเสียงสอน
- ออกจากสมาธิแล้วคิดอะไรไม่ออก
- จิตส่งเสียงคล้ายคนสวดมนต์
- จิตบอกให้หยุดหายใจ ,
- สภาวะปีติ ๕
- ประสบไตรลักษณ์อย่างไม่รู้เท่าทัน ,
- นั่งสมาธิแล้วร่างกายสั่นจริง
- นี่ใช้พุท-โธเป็นไง ดู
- หลักสอบอารมณ์ตนเอง
- ลมหายใจหาย
- ภาวนาแล้วรู้สึกกายใจสกปรก
- ธงชัยพระอริยบุคคล
- นั่งสมาธิแล้วมีความสุขมาก
- สวดมนต์ เจอกิเลสมารคิดชั่วร้ายกับครูอาจารย์
- ปฎิบัติธรรมเอง แล้วทุกอย่างเปลี่ยนไปเพราะอะไรหรอคะ ?
- มิจฉาปฏิปทา
- นั่งสมาธิแล้วร่างกายคล้ายๆมวลสาร สารพัด
- ธัมมุทธัจจ์ ๑๐
- ถามสภาวะที่เกิดจากนั่งสมาธิ
- นั่งสมาธิแล้วเหมือนประจุไฟฟ้าแล่นไปแล่นมา
- นั่งสมาธิฟุ้งซ่านมากแก้ไขอย่างไรดีคะ
- กลัวการนั่งสมาธิค่ะ
- มีปัญหาในการนั่งสมาธิค่ะ กลัวมาก
- ไปปฏิบัติธรรมแล้วสามีมีอาการเหมือนคนบ้า
- วิปัสสะนึก ต่อ
- วิปัสสะนึก
- อารมณ์สมถะ - วิปัสสนา ,
- นั่งสมาธิแล้วลมหายใจหาย ต้องทำไงต่อ
- นั่ ง ส ม า ธิ แล้วเหมือนมีแมลงไต่
- นั่งสมาธิแล้วหยุดหายใจ
- วิธีล้างเจ้ากรรมนายเวรออก
- วิบเดียว มีตัวอย่างประกอบ
- จิตเกิด-ดับรวดเร็ว มีตัวอย่างประกอบ
- นั่งสมาธิแล้วเกิดอาการชาๆตึงๆ
- ธรรมะไม่ถูกใจคน ,
- นั่งสมาธิแล้วรู้สึกมีลมเย็นพัดผ่านหลัง
- ธัมมะธัมโมโฮ่กันอยู่ได้
- นั่งสมาธิเห็นเป็นคนมาล้อม, กลัว
- กำหนดรู้ตามที่มันเป็นเพื่อให้รู้เห็นชัด ,
- นั่งสมาธิแล้วได้ยินเสียงคนพูด
- ตัวอย่างเทียบ กท. ล่าง ,
- เห็นเทวดาพนมมือรับบุญ
- โทสะกำลังเกิดคนไม่รู้ตัว มันดับไปแล้วจึงรู้
- สวดมนต์นั่งสมาธิ ได้ยินเสียงนั่นนี่โน่น
- รู้จัก อานาปานสติ
- อ่านเข้าใจแล้วต้องไปปฏิบัติ
- ชาวพุทธเข้าใจคำว่าธรรม ว่าหมายถึงอะไรกันบ้างเหรอครับ ,
- ขอคำอธิบาย จากผู้รู้ ว่าการภาวนา การทำสมาธิ มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
- นั่งสมาธิแล้วลมหายใจชอบหาย
- การปฎิบัติธรรมทำให้เราเห็นโลกอีกมิติ จริงไหมคะ
- นั่งสมาธิ กับ บารมี ๑๐
- ใช้คำว่า ดับไม่กลับมาอีกเลย
- ผู้ปฏิบัติแท้จะไม่หวั่นนิมิตใดๆ ทั้งทางกาย ทางใจ ,
- ทำอย่างไร จึงจะทำให้จิตนิ่งและแข็งขึ้นดีคะ
- เห็นสัจธรรมแล้วทุกข์คลายเอง
- หากต้องการเข้าถึงความจริง มนุษย์ต้องเข้าใจตัวเขาเอง ,
- ขณะจิตบรรลุมรรคผล
- นั่งสมาธิแล้ว เ บื่ อ ทุกอย่าง
- ชอบถามธรรมะระดับแก่น
- นั่งสมาธิแล้วหายไปทั้งตัว
- มีใครนั่งสมาธิแล้วเพี้ยน เป็นบ้าบ้างคะ ?
- นั่งสมาธิได้ยินเสียงสิ่งที่มองไม่เห็น
- นั่งสมาธิตัวหาย กายสั่น
- จะทำยังไงให้ไม่คิดแค้นหรือโกรธใครคะ
- ใช้ พอง-ยุบ เป็นกรรมฐาน
- ประสบการณ์ชีวิตเยอะ ธรรมารมณ์ก็เยอะ
- นั่งสมาธิแล้วรู้สึกเหมือนจะตาย
- อย่าฝืน อย่าต้านสภาวธรรม
- นั่งสมาธิเหมือนมีคนจับหน้าบิดไปมา
- ผู้ปฏิบัติดู Blog นี้แล้ว ดู Blog ภาคปฏิบัติด้วย
- ทำสมาธิแล้วได้ยินเสียงสวดมนต์
- ตัวอย่าง ใช้พองหนอ ยุบหนอ
- ตัวอย่าง ไม่ใช้คำภาวนาใดๆ
- คำภาวนา ไม่ใช่สาระ
- นั่งสมาธิแล้วลมหายใจชอบหาย
- แยก สมมุติ กับ สภาวธรรม ให้ชัด
- ตัวอย่างใช้ พุทโธ
- ความหมาย สภาวธรรม ตัวอย่าง
|
|
 |
|
|
แค่โอภาส ก็ติดกันงอมแงมแล้ว
- วิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสของวิปัสสนา ได้แก่ ธรรมารมณ์อันน่าชื่นชม ที่เกิดแก่ผู้ได้ตรุณวิปัสสนา ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางไม่ให้ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ (บาลีเรียก ธรรมมุธัจจ์ ความฟุ้งซ่านธรรม) มี ๑๐ อย่าง คือ
๑. โอภาส แสงสว่าง ซึ่งรู้สึกงามเจิดจ้าแผ่ซ่านไปสว่างไสวอย่างไม่เคยมีมาก่อน
๒. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ รู้สึกเต็มเปี่ยมไปทั่วทั้งตัว (สภาวะของปีตินี่พิสดารมากๆ)
๓. ญาณ ญาณหยั่งรู้ที่เฉียบแหลมคมกล้า รู้สึกเหมือนว่าจะพิจารณาอะไรเป็นไม่มีติดขัด
๔. ปัสสัทธิ ความสงบเย็น เกิดความรู้สึกว่าทั้งกายและใจสงบสนิท เบา นุ่มนวล คล่องแคล่ว แจ่มใสเหลือเกิน ไม่มีความกระวนกระวาย ความกระด้าง หนัก ความไม่สบาย หรือความรำคาญขัดขืนใดๆเลย
๕. สุข มีความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อนลึกซึ้งอย่างยิ่งแผ่ไปทั่วทั้งตัว
๖. อธิโมกข์ เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าประกอบเข้ากับวิปัสสนา ทำให้จิตใจมีความผ่องใสอย่างเหลือเกิน
๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่ประกอบกับวิปัสสนา ซึ่งพอเหมาะพอดี เดินเรียบ ไม่หย่อนไม่ตึง
๘. อุปัฏฐาน สติที่กำกับชัด มั่นคง ไม่สั่นไหว จะนึกถึงอะไร ก็รู้สึกว่าระลึกได้คล่องแคล่วชัดเจน เหมือนดังแล่นไหลไปถึงหมด ๙. อุเบกขา ภาวะจิตที่ราบเรียบ เที่ยง เป็นกลางในสังขารทั้งปวง
๑๐. นิกันติ ความพอใจติดใจที่สร้างความอาลัยในวิปัสสนา มีอาการ สุขุม ซึ่งความจริงเป็นตัณหาที่ละเอียด แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดจับได้ว่าเป็นกิเลส
ธรรมทั้งหมดนี้ (เว้นแต่นิกันติ ซึ่งเป็นตัณหาอย่างสุขุม) โดยตัวมันเอง มิใช่เป็นสิ่งเสียหาย มิใช่เป็นอกุศล แต่เพราะเป็นประสบการณ์ประณีตล้ำเลิศที่ไม่เคยเกิดมีแก่ตนมาก่อน จึงเกิดโทษ เนื่องจากผู้ปฏิบัติไปหลงสำคัญผิดเสียเองว่าเป็นการบรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นฌานขั้นนั้นขั้นนี้คิดฟุ้งไป
ในพระไตรปิฎก เรียกอาการฟุ้งซ่านที่เกิดจากความสำคัญผิด เอาโอภาส เป็นต้น นั้นว่าเป็นมรรคผลนิพพาน ว่า "ธัมมุทธัจจะ" (ธรรมุธัจจ์ ก็เขียน) แต่ท่านระบุชื่อ โอภาส เป็นต้นนั้น ทีละอย่าง โดยไม่มีชื่อเรียกรวม, "วิปัสสนูปกิเลส" เป็นคำที่ใช้ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา (พูดสั้นๆ ธัมมุธัจจ์ ก็คือความฟุ้งซ่านที่เกิดจากความสำคัญผิดต่อวิปัสสนูปกิเลส)
เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาน้อย จะฟุ้งซ่านเขวไป และเกิดกิเลสอื่นๆ ตามมาด้วย, ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาปานกลาง ก็ฟุ้งซ่านไป แม้จะไม่เกิดกิเลสอื่นๆ แต่จะสำคัญผิด, ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้า ถึงจะฟุ้งซ่านเขวไป แต่จะละความสำคัญผิดได้ และเจริญวิปัสสนาต่อไป, ส่วนผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้ามาก จะฟุ้งไม่ซ่านเขวไปเลย แต่จะเจริญวิปัสสนาก้าวต่อไป
วิธีปฏิบัติต่อเรื่องนี้ คือ เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นแล้ว พึงรู้เท่าทันด้วยปัญญาตามเป็นจริงว่า สภาวะนี้ (เช่นว่าโอภาส) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา มันเป็นของไม่เที่ยง เกิดมีขึ้นตามเหตุปัจจัย แล้วก็จะต้องดับสิ้นไป ฯลฯ เมื่อรู้เท่าทัน ก็ไม่หวั่นไหว ไม่ฟุ้งไปตามมัน คือกำหนดได้ว่ามันไม่ใช่มรรคไม่ใช่ทาง แต่วิปัสสนาที่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ ซึ่งดำเนินไปตามวิถีนั่นแหละเป็นมรรคเป็นทางที่ถูกต้อง
นี่คือเป็นญาณที่รู้แยกได้ว่ามรรค และมิใช่มรรค นับเป็นวิสุทธิข้อที่ ๕ คือ มัคคามัคคญาณทัสสนาวิสุทธิ
วิปัสสนาตั้งแต่ญาณเริ่มแรก (คือนามรูปปริจเฉทญาณ) จนถึงมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินี้ ท่านจัดเป็นวิปัสสนาอย่างอ่อน (ตรุณวิปัสสนา) ส่วนวิปัสสนาตั้งแต่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ไปแล้ว (จนถึงสังขารุเปกขาญาณ) จัดเป็นวิปัสสนาที่มีกำลัง ที่แรงกล้า หรืออย่างเข้ม (พลววิปัสสนา)
เมื่อปฏิบัติถูกทางแล้วธัมมุทธัจจ์เกิดแล้ว ทางออก ดังนี้
ทางออกหรือวิธีปฏิบัติเมื่อจิตเขวเพราะธรรมุทธัจจ์ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ อธิบายความหมายว่า เมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์ ๕ อย่างหนึ่งอย่างใดโดยไตรลักษณ์ เกิดมี โอภาส ปีติ ญาณ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐาน อุเบกขา หรือ นิกันติ ขึ้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ปฏิบัตินึกถึงโอภาส เป็นต้น นั้น ว่าเป็นธรรม (คือเข้าใจว่าเป็นมรรค ผล หรือนิพพาน) เพราะการนึกไปเช่นนั้น ก็จะเกิดความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ผู้ปฏิบัติมีใจถูกชักให้เขวไปด้วยอุทธัจจะแล้ว ก็จะไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งสภาพที่ปรากฏอยู่ โดยภาวะเป็นของไม่เที่ยง โดยภาวะเป็นทุกข์ โดยภาวะเป็นอนัตตา ดังนั้น จึงเรียกว่า มีจิตถูกชักให้เขวไปด้วยธรรมุทธัจจ์
แต่ครั้นมีเวลาเหมาะที่จิตตั้งแน่วสงบสนิทลงได้ในภายใน เด่นชัด เป็นสมาธิ มรรค ก็เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัตินั้นได้ วิธีปฏิบัติที่จะให้จิตสงบเป็นสมาธิได้ ก็คือกำหนดด้วยปัญญา รู้เท่าทันฐานะทั้ง ๑๐ มีโอภาส เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้จิตกวัดแกว่งหวั่นไหวเหล่านี้ เมื่อรู้เท่าทันแล้ว ก็จะเป็นผู้ฉลาดในธรรมุทธัจจ์ จะไม่ลุ่มหลงคล้อยไป จิตก็จะไม่หวั่นไหว จะบริสุทธิ์ ไม่หมองมัว จิตภาวนาก็จะไม่คลาด ไม่เสื่อมเสีย
แปะ กท. นี้เทียบไว้
ปฏิบัติบูชาองค์หลวงปู่จันทร์เรียน วันแรกที่วัดถ้ำสหาย - Pantip
ตอนผมบวชเป็นพระศึกษาธรรมกับหลวงปู่จันทร์เรียน วัดถ้ำสหายเมื่อปี 2559 - Pantip
กายเรา ความคิดเรา ล้วนไม่ใช่เรา - Pantip
การรู้เห็นกรรมตัวเองจากการนั่งวิปัสนากรรมฐาน และเห็นแสงเมื่อทำสมาธิ - Pantip
Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2566 |
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2568 17:56:10 น. |
|
0 comments
|
Counter : 421 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|