กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กันยายน 2567
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
space
space
16 กันยายน 2567
space
space
space

ฌาน


235 หัวข้อล่างเขาอ้างอิงฌาน  

- ความหมายของ ฌาน


     ผู้เริ่มศึกษาพึงทราบว่า คำว่า ฌาน ๔ ตามปกติหมายถึง รูปฌาน ๔ ดังนั้น จะพูดว่าฌาน ๔ หรือ รูปฌาน ๔ ก็มีความหมายเท่ากัน; อนึ่ง ไม่พึงสับสนฌาน ๔ กับฌาน ๕ เพราะฌาน ๕ ก็คือฌาน ๔ นั่นเอง เป็นแต่ขยายละเอียดออกไปตามแนวอภิธรรม และฌานที่ ๕ ตามแนวอภิธรรมนั้น ก็ตรงกับฌานที่ ๔ ในที่นี้นั่นเอง  (ฌานที่แยกเป็น ๔ เรียกว่าฌานจตุกกนัย เป็นแบบหลักที่พบทั่วไปในพระสูตร ส่วนฌานที่แยกขยายออกเป็น ๕ ตามแนวอภิธรรม เรียกว่า ฌานปัญจกนัย)

     ฌาน ๔ นี้ควรจะกล่าวถึงในบทว่าด้วยมรรค  ตอนสัมมาสมาธิ   ในภาคปฏิบัติข้างหน้า แต่เมื่อเอ่ยถึงในที่นี้แล้ว  ก็ควรทำความเข้าใจเล็กน้อย

     “ฌาน”  แปลว่า  เพ่ง  หมายถึง  ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่   ได้แก่  ภาวะจิตที่มีสมาธินั่นเอง  แต่สมาธินั้นมีความประณีตสนิทชัดเจนผ่องใส และมีกำลังมากน้อยต่างๆ กัน แยกได้เป็นหลายระดับ  ความต่างของระดับนั้น  กำหนดด้วยคุณสมบัติของจิตที่เป็นองค์ประกอบร่วมของสมาธิในขณะนั้นๆ องค์ประกอบเหล่านี้ ได้แก่ วิตก  (การจรดจิตลงในอารมณ์)  วิจาร  (การที่จิตเคล้าอยู่กับอารมณ์)  ปีติ  (ความอิ่มใจ)  สุข  อุเบกขา  (ความมีใจเป็นกลาง) และ เอกัคคตา (ภาวะที่จิตมีอารมณ์แน่วแน่เป็นหนึ่งเดียว คือตัวสมาธินั่นเอง)

     ฌานที่มีรูปธรรมเป็นอารมณ์  (รูปฌาน) ท่านนิยมแบ่งออกเป็น ๔ ระดับ มีองค์ประกอบที่ใช้กำหนดระดับ ดังนี้

        ๑. ปฐมฌาน  (ฌานที่ ๑) มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

        ๒. ทุติยฌาน  (ฌานที่ ๒) มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา

        ๓. ตติยฌาน  (ฌานที่ ๓) มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา

        ๔. จตุตถฌาน  (ฌานที่ ๔) มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา

     ฌานที่สูงขึ้นไปกว่านี้  คือ อรูปฌาน ก็มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา เหมือนจตุตถฌาน แต่กำหนดอรูปธรรมเป็นอารมณ์ และมีความประณีตยิ่งขึ้นไปโดยลำดับ  ตามอารมณ์ที่กำหนด อรูปฌาน ๔ แต่ละข้อ   (ตรงกับวิโมกข์ข้อ ๔ ถึง ๗) 

     ฌาน อาจใช้ในความหมายอย่างหลวมๆ โดยแปลว่า เพ่ง พินิจ ครุ่นคิด เอาใจจดจ่อ ก็ได้ และอาจใช้ในแง่ที่ไม่ดี  เป็นฌานที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ   เช่น   เก็บเอากามราคะ พยาบาท ความหดหู่ ความกลัดกลุ้มวุ่นวายใจ  ความลังเลสงสัย  (นิวรณ์ ๕) ไว้ในใจ  ถูกอกุศลธรรมเหล่านั้นกลุ้มรุมใจ เฝ้าแต่ครุ่นคิดอยู่  ก็เรียกว่าฌานเหมือนกัน  (ม.อุ. ๑๔/๑๑๗/๙๘) หรือ กิริยาของสัตว์ เช่น นกเค้าแมวจ้องจับหนู  สุนัขจิ้งจอกจ้องหาปลา  เป็นต้น ก็เรียกว่าฌาน  (ใช้ในรูปกริยาศัพท์ เช่น ม.มู. ๑๒/๕๖๐/๖๐๔)

     บางทีก็นำมาใช้แสดงความหมายด้านวิปัสสนาด้วย  โดยแปลว่า  เพ่งพินิจ หรือ คิดพิจารณา ในอรรถกถาบางแห่งจึงแบ่งฌานออกเป็น ๒ จำพวก คือ การเพ่งอารมณ์ตามแบบของสมถะ เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน  (ได้แก่ ฌานสมาบัตินั่นเอง)  การเพ่งพิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์ ตามแบบวิปัสสนา หรือวิปัสสนานั่นเอง เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน   (ในกรณีนี้ แม้แต่มรรคผล ก็เรียกว่าฌานได้  เพราะแปลว่าเผากิเลสบ้าง  เพ่งลักษณะที่เป็นสุญญตาของนิพพานบ้าง) (ดู องฺ.อ.๑/๕๓๖; ฯลฯ )

 


Create Date : 16 กันยายน 2567
Last Update : 16 กันยายน 2567 20:14:12 น. 0 comments
Counter : 79 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

BlogGang Popular Award#20


 
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space