Group Blog
 
<<
มีนาคม 2567
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
18 มีนาคม 2567
 
All Blogs
 
โบสถ์ศิลาแลง, วัดพระบรมธาตุ กำแพงเพชร

06.22 น. เช้าวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 แม่น้ำปิง หน้าห้องพักเรา





เรากินมื้อเช้ากันง่าย ๆ (กาแฟ + ขนมปัง) แล้วออกไปวัดหนองปลิง อยู่ใกล้ ๆ ที่พักค่ะ



ตอนเรามา 7 โมงกว่า โบสถ์ยังไม่เปิด มีแต่พวกเรา 3 คน เดินดู เดินถ่ายรูปรอบนอก สักพักมีพี่ผู้ชายคนหนึ่ง เดินมาเปิดประตูให้ พี่เค้าเป็นช่างงานแกะภายในโบสถ์ค่ะ


 

วัดหนองปลิง ตั้งอยู่บ้านคลองบางทวน ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร จากคำบอกเล่า เชื่อว่าละแวกนี้เคยเป็นหนองน้ำและมีปลิงจำนวนมาก จึงทำให้คนในชุมชนเรียกว่า หนองปลิง ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2540 โดยมีพระครูวิเชียรธรรมนาทหรือหลวงพ่อสีหนาท เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทั้ง 2 พระองค์เคยใช้เป็นสถานที่พักรบและซ้อมรำดาบ รำทวน ทั้งยังเป็นเมืองหน้าด่าน ชื่อว่า “เมืองเนินทอง”

ตามประวัติของวัดหนองปลิง จะตั้งอยู่ทางด้านเหนือของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประมาณ 3 กิโลเมตร ส่วนทางด้านหน้าของวัดหนองปลิง มีคลองน้ำยาวไปถึงศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เรียกว่า “คลองรำดาบรำทวน” ต่อมาชาวบ้านได้เรียกบริเวณนี้ว่า “คลองบางทวน”  

         ปัจจุบันวัดหนองปลิงได้การรับแต่งตั้งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกำแพงเพชรแห่งที่ 2 (ดีเด่น) 



ศิลาแลง (Laterite) เป็นวัสดุธรรมชาติที่เกิดขึ้นบริเวณมรสุมเขตร้อน ในภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้นำศิลาแลงมาใช้ในการก่อสร้างวัดและปราสาทหินดังที่พบเห็นในประเทศไทย กัมพูชา และลาว มีอายุย้อนหลังไปตั้งแต่ 700 – 1,000 ปี ที่ผ่านมา โดยทั่วไปจะพบเห็นศิลาแลงอยู่บนผิวดินหรือใต้ผิวดินเพียงเล็กน้อย ศิลาแลงจึงจัดเป็นตะกอนพื้นผิว การเกิดศิลาแลงส่วนมากเป็นการผุพังทางเคมี ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสภาพของแร่ที่ประกอบอยู่ในหิน หรือในตะกอนที่สะสมตัวอยู่บริเวณนั้น ศิลาแลงจะมีโทนสีแดง แดงปนเหลือง แดงอมส้ม น้าตาลแดง และสีอิฐ เป็นต้น

สีของศิลาแลงส่วนมากจะขึ้นอยู่กับปริมาณของเหล็กและแมงกานีสตามระยะเวลาที่เกิดการผุพังทางเคมี รวมทั้งปริมาณของธาตุอื่นที่ประกอบอยู่ในศิลาแลง เช่น อลูมิเนียม ปกติจะมีสีขาวแต่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงคล้ำเมื่อผสมกับเหล็กซิลิกา จะมีสีแดงแบบสนิมเหล็กเมื่อผสมกับไฮดรอกไซด์ของเหล็ก สถานที่ที่สามารถพบศิลาแลง ได้แก่ บริเวณเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ วัดอาวาสใหญ่ วัดซุ้มกอ วัดสิงห์ วัดกรุสี่ห้อง และบ่อศิลาแลงพรานกระต่าย เป็นต้น



โบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2557 โดยใช้หินศิลาแลงในการก่อสร้างทั้งหลัง ด้วยความตั้งใจของหลวงพ่อสีหนาท ท่านเจ้าอาวาสวัดหนองปลิง เพราะศิลาแลงเป็นวัสดุขึ้นชื่อของจังหวัดกำแพงเพชร ดั่งคำขวัญจังหวัดท่อนหนึ่งว่า “ศิลาแลงใหญ่” โดยให้ช่างผู้ชำนาญเป็นผู้แกะสลักศิลาแลงเป็นลวดลายต่าง ๆ ที่มีความประณีตและละเอียด


บริเวณด้านหน้าทางขึ้นประดับด้วยรูปปั้นของนาคี-นาคา เป็นผู้คอยปกปักรักษาโบสถ์ และรูปปั้นช้างทรงเครื่อง หน้าประตูทางเข้าโบสถ์ ประดับด้วยท้าวเวสสุวรรณ





ส่วนผนังโบสถ์ด้านหลังสลักเป็นพระพุทธรูปปางเปิดโลก อิริยาบถยืนอยู่เหนือดอกบัว ข้างใต้พระพุทธรูปเป็นภาพนักษัตร 12 ราศี เปรียบเหมือนพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์




กำแพงรอบโบสถ์แกะสลักเป็นคติสอนธรรมและพุทธประวัติ รวมแล้วมีมากกว่าหนึ่งร้อยช่อง











ไปค่ะ เข้าไปด้านในกัน โบสถ์เปิดแล้ว





 พระพุทธเจ้าเงินไหลมา เป็นพระประธานภายในโบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง ศิลปะหมวดกำแพงเพชร แบบพระพุทธสิหิงค์ เนื้อเงินบริสุทธิ์ทั้งองค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 32 นิ้ว หนักประมาณ 400 กิโลกรัม



สวยเนาะ







ร่วมทำบุญตามกำลังศรัทธาได้ค่ะ 



ภายในโบสถ์ ใช้ไม้ตะเคียนเนื้อแข็งแท้จากประเทศเมียนมาร์ แกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ ทั้งหลัง

พื้นส่วนที่เป็นสีอ่อน ปลวกขึ้นค่ะ เดี๋ยวน่าจะมีการรื้อปิดซ่อม



















08.21 น. ไปแล้วค่ะ 



จะกลับที่พัก เพิ่งเห็นว่าตรงนี้เป็นหน้าวัด เป็นทางขึ้น วัดตั้งอยู่บนเนินเขาค่ะ







กลับที่พัก เช็คเอาท์...ที่นี่ บ่อน้ำสีฟ้า ดูภาพจากเน็ตสวยมาก...



บ่อน้ำสีฟ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบ่อดินลูกรังขนาดใหญ่ มีความลึกประมาณ 8-10 เมตร



เราไม่ได้เดินไปไกล หญ้าขึ้นรกมาก ไม่มีคนด้วย



10.02 น. วัดพระบรมธาตุ





วัดพระบรมธาตุนครชุม
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดเก่าแก่อยู่คู่เมืองกำแพงเพชรมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  จากจารึกนครชุมเดิมภายในวัดมีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ทรงดอกบัว) สามองค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน สันนิษฐานว่าสร้างโดยกษัตริย์ในสมัยกรุงสุโขทัย คือพระมหาธรรมราชาลิไทหรือพระยาลิไท สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1900 เพื่ออุทิศถวาย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์องค์หนึ่ง พ่อขุนรามคำแหงองค์หนึ่ง และพระเจดีย์ประจำรัชกาลอีกองค์ และได้นำพระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ ไว้ในพระเจดีย์องค์กลาง และพระองค์ได้เสด็จมาพระมหาธาตุเจดีย์เป็นประจำทุกปี ซึ่งในสมัยสุโขทัยนั้นวัดพระบรมธาตุนครชุมมีความเจริญมากเพราะเป็นพระอารามหลวงประจำเมือง

วัดพระบรมธาตุเจริญรุ่งเรืองมากกว่า 200 ปี จนกระทั่งแม่น้ำปิงกัดเซาะแนวกำแพงเมืองนครชุมพังทลาย เมืองฝั่งตรงข้ามทางทิศตะวันออก คือ เมืองกำแพงเพชร ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่ วัดพระบรมธาตุร้างมากว่า 300 ปี จนกระทั่งถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ วัดพระบรมธาตุมีหลักฐานที่ชัดเจนอีกครั้ง จากหนังสือพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 เมื่อเดือนสิงหาคม 2449  ณ เมืองกำแพงเพชร ความว่า…ในพ.ศ. ๒๓๒๙ สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม ได้เสด็จมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร พักที่วัดเสด็จได้อ่านจารึกนครชุมที่ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดเสด็จ ตำบลเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ได้ทราบว่ามีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ริมน้ำปิงฝั่งตะวันตก ตรงข้ามเมืองเก่าสามองค์ ได้ให้เจ้าเมืองกำแพงเพชรพระยารามณรงค์สงคราม (น้อย) ได้ป่าวร้อง ให้ประชาชนแผ้วถางพบเจดีย์ตามจารึกและปฏิสังขรณ์ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๑๔ (ซงพอหรือพระยาตะก่า)

พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงมีใจศรัทธาจะบูรณะปฏิสังขรณ์ พระเจดีย์วัดพระบรมธาตุนครชุม พระยากำแพงเพชร เจ้าเมืองได้ทำหนังสือขออนุญาตลงมาที่กรุงเทพฯ ทางกรุงเทพฯจึงตอบอนุโมทนาและอนุญาตให้ซ่อมแซมได้





สิ่งสำคัญที่สุดภายในวัดก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ เดิมนั้นเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ทรงดอกบัว) สามองค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2414 (แซภอ หรือพระยาตะก่า) และพ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงมีใจศรัทธาจะบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดพระบรมธาตุนครชุม โดยสร้างครอบฐานเดิม ต่อมา พ.ศ. 2418 แซภอ ถึงแก่กรรม การปฏิสังขรณ์ชะงักไป จนถึง พ.ศ. 2447 - 2448 พะโป้ จึงรวบรวมทุนทรัพย์ เริ่มปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่จนสำเร็จและยกยอดฉัตรขึ้นประดิษฐานในเดือน 6 พ.ศ. 2499 ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร เพียง 3 เดือน

ปัจจุบันพระบรมธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงไทยประยุกต์มอญ เนื่องจากการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยาตะก่า และพะโป้คหบดีพ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยง ได้สร้างพระเจดีย์ทรงมอญครอบไว้บนฐานเดิม เนื่องจากใช้ช่างชาวกะเหรี่ยง ลักษณะองค์จึงออกไปทางศิลปะพม่า พระเจดีย์จึงมีรูปอย่างที่เห็นในปัจจุบัน และได้บูรณะใหม่ อีกครั้ง ในปี 2533 โดยทำเป็นสีทองทั้งองค์ มีซุ้มจรนำทั้งสี่ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำซุ้ม ตั้งอยู่บนฐานสูงประมาณ 1 เมตร มีกำแพงล้อมรอบ เป็นองค์เจดีย์ขนาดใหญ่ที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง เพราะภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ 



















พระบรมราชานุสาวรีย์ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท)









ถ่ายมาครบทั้ง 4 มุมเลยค่ะ











ออกจากวัดนี้ วิ่งเข้าสุโขทัยกันต่อค่ะ




Create Date : 18 มีนาคม 2567
Last Update : 18 มีนาคม 2567 20:58:24 น. 0 comments
Counter : 569 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณปรศุราม, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณnamfaseefoon, คุณtoor36, คุณhaiku, คุณกะว่าก๋า, คุณหอมกร, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณThe Kop Civil, คุณtuk-tuk@korat, คุณฟ้าใสทะเลคราม, คุณร่มไม้เย็น, คุณSweet_pills, คุณดอยสะเก็ด, คุณnonnoiGiwGiw, คุณEmmy Journey พากิน พาเที่ยว, คุณpeaceplay, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณผู้ชายในสายลมหนาว, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ


สายหมอกและก้อนเมฆ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [?]




เป็นคุณแม่ของ 1 ลูกสาว และ 1 ลูกชายค่ะ

เป็นแม่บ้านฟูลทาม อาชีพ ขสมก.
(แปลว่า...ขอสามีกิน อ่านเจอที่ไหนไม่รู้ ชอบค่ะ เลยยืมมาใช้หน่อย)

เมื่อไหร่ที่พอจะจัดสรรเวลาได้...
จะไปเที่ยวด้วยกันทั้งครอบครัวเสมอค่ะ...

โลกนี้แสนกว้างใหญ่ มีอะไรให้เราเรียนรู้อีกมากมาย พบเจออะไรดี ๆ ที่พอจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง ไม่มากก็น้อย เลยเอามาแบ่งปันกัน

ลิขสิทธิ์...เป็นของบุคคลที่อยู่ในภาพ
ขอบคุณค่ะ

Friends' blogs
[Add สายหมอกและก้อนเมฆ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.