|
 |
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
|
|
 |
25 กันยายน 2566
|
|
|
|
จารึกวัดพระงาม : ทวารวตีวิภูติ (จบ)
In the year of the king of the Çaka. . . . . . . . the eighth day of the waxing moon. . . . . . . . . in the east the earth not divided in two. . . . . . . . . . . . famous in the East. . . . . . . . . . . (images of) Çiva were erected by this king, grandson of Çrī Cakravartin, son of ÇrīPrathivīndravarman, (named) Çrī Bhavavarman, similar to Indra, at the time when he acceded to royalty. เราใช้ google translate จากภาษาฝรั่งเศสที่แปลไว้จะเห็นได้ว่า จุดสำคัญที่เราสนใจคือ เสมอด้วยพระเจ้าพระภววรมันนั้น ศ. เซเดสได้แปลต่างออกไปว่า ศรีภวรมันผู้เสมอด้วยพระอินทร์ สอดคล้องกับรายงานการวิจัยของ อ. กังวล ที่แปลออกมาแบบเดียวกัน ในปีของราชาแห่งพวกศกะ .... วันขึ้น 8 ค่ำ ... ในทิศทั้งหลาย ที่แผ่นดินเป็นหนึ่งเดียว ..... พระศรีภววรมะ ผู้มีชื่อเสียงไปทั่วทุกทิศ ผู้เป็นนัดดา (หลานปู่) ของพระเจ้า จักรพรรดิ เป็นโอรส (ลูกชาย) ของพระศรีปฤถิวีนทรวรมะ ผู้เสมอกับพระอินทร์ ได้โปรดให้สร้าง.....ศิลาทั้งหลาย ในเวลาขึ้นครองราชย์ของพระองค์ เพื่อความเจริญรุ่งเรือง แห่ง......ทั้งหลาย

อ. กังวล ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องจารึกนั้นได้ข้อคิดเห็นไว้ด้วยว่า อักษรแบบปัลลวะในจารึกบ้านวังไผ่ นั้นคลี่คลายมาจากยุคแรกไปบ้างแล้ว ทำให้ค่อนข้างชัดแจนว่าจารึกนี้น่าจะทำขึ้นในสมัยพระเจ้าภววรมันที่ 2 ซึ่งครองราชย์หลังจากสมัยของพระเจ้าภววรมันที่ 1 ราว 60-70 ปี
ซึ่งงานวิจัยนี้จะต้อง identify ว่าเป็นจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมันหรือไม่ แต่ อ. กังวลไม่ได้ชี้ว่าเป็นของพระเจ้าภววรมันที่ 2 แต่ให้ความเห็นช่วงท้ายว่า อาจจะเป็นของกษัตริย์ศรีเทพก็ได้ แต่ผมอยากจะเห็นแย้งว่า น่าจะเป็นจารึกของภววรมันที่ 2 เพราะในเวลาเดียวกัน คงไม่มีกษัตริย์ชื่อ ศรีภววรมันซ้ำกันเป็นแน่
แต่ในความคิดผม อ. กังวลอาจจะติดว่าไม่มีกษัตริย์เจนละชื่อ ศรีปฤถิวีนทรวรมะ และขนบจารึกของเขมรสมัยเมืองพระนครจะไม่ใช้คำว่า วรมันกับผู้ที่ไม่ได้เป็นกษัตริย์ แต่ถ้าจะคิดว่านี่เป็นสมัยเจนละขนบนี้ก็อาจจะยังไม่มี จีงไม่แปลกที่พระเจ้าภววรมันที่ 2 จะสถาปนาพระราชบิดาของพระองค์ให้ลงท้ายนามว่าวรมัน ก็เป็นไปได้
หากผมคิดเช่นนั้นก็ต้องลองอธิบายความสัมพันธ์ของกษัตริย์เจนละให้ได้ ซึ่งผมนึกไปถึงเบื้องหลังภาพยนต์สุริโยไท ที่ มจ. ชาตรีเฉลิม ยุคล ตีความ ความสัมพันธ์ของสมเด็จพระไชยราชากับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิว่า เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน ดังนั้นผมจึงนำมาเชื่อมโยงการครองราชย์ของกษัตริย์เจนละออกมาได้ดังนี้

อาณาจักรเริ่มต้นจากรัชกาลของพระเจ้าภววรมันที่ 1 ซึ่งเป็นโอรสสายตรงของกษัตริย์ก่อนหน้า ซึ่งอาจจะเป็นราชวงศ์ของเมืองในตำนานอย่างเศรษฐปุระ ปัจจุบันเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดภู ซึ่งเดิมอาจจะเป็นเมืองในการปกครองของฟูนัน
ในขณะที่เจ้าชายจิตรเสนซึ่งมีอายุมากกว่ามีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องเลือกออกจากเมือง ทำหน้าที่เป็นแม่ทัพออกไปโจมตีเมืองต่างๆที่อยู่รายรอบวัดภู พระองค์ได้ทิ้งจารึกไว้ตามเมืองต่างๆ
เมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าภววรมันที่ 1 เจ้าชายจิตรเสนขึ้นเป็นพระเจ้ามเหนทรวรมัน ต่อด้วยรัชกาลของพระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 ซึ่งเป็นโอรสสายตรงของพระองค์ ในเวลาเดียวกันโอรสของพระเจ้าภววรมันที่ 1 คือ ศรีปฤถิวีนทรวรมะ ซึ่งไม่ได้ครองราชย์แต่ก็ยังอยู่ในราชสำนักและมีโอรสสืบสายสกุลของตน
เมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 แทนที่โอรสของพระองค์จะได้ขึ้น กลับมีการแย่งชิงอำนาจการขึ้นครองราชย์จากหลานของพระเจ้าภววรมันที่ 1 ซึ่งพระองค์เลือกที่จะใช้นามตามปู่ของพระองค์เป็นพระเจ้าภววรมันที่ 2 จักรวาทินในจารึกบ้านวังไผ่จึงหมายถึงการเชิดชูเกียรติพระเจ้าภววรมันที่ 1
โอรสของพระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 แม้ไม่ได้ขึ้นครองราชย์ แต่ก็ยังน่าจะอยู่ในราชสำนัก เมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าภววรมันที่ 2 ไม่ปรากฏว่ากล่าวถึงการแย่งชิงราชสมบัติ โดยผู้ที่ขึ้นครองราชย์ในรัชกาลต่อมาคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 โดยพระองค์อ้างความชอบธรรมว่า เป็นหลานของพระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 ตามจารึกในรัชกาลนี้ซึ่งมีหลายหลัก กล่าวว่าอาณาจักรนั้นยังคงยิ่งใหญ่ แต่มีเพียงปัญหาเดียวก็คือ พระองค์ไม่มีทายาทที่เป็นผู้ชาย นำไปสู่การแตกออกของอาณาจักร ตามบันทึกของจีนว่าเจนละบกและน้ำ เมื่อได้ที่มาของพระเจ้าภววรมันที่ 2 แล้ว เราจะกลับไปที่จารึกบ้านวังไผ่อีกครั้ง

เมื่อคำสำคัญของจารึกบ้านวังไผ่คือ ศรีภววรมันผู้เสมอด้วยพระอินทร์ และจารึกช่องสระแจงก็กล่าวไว้ว่า มเหนทรวรมันผู้เสมอด้วยพระอินทร์ การแสดงตนของกษัตริย์ว่าเป็นพระศิวะ พระวิษณุ หรือพระอินทร์นั้น มีนัยยะสำคัญอะไรที่ซ่อนเร้นอยู่หลังคำ เราทราบกันดีว่า ศาสนาพราหมณ์นับถือพระศิวะหรือพระวิษณุ แต่ศาสนาพุทธให้ความสำคัญกับพระอินทร์ที่คอยมาช่วยพระพุทธเจ้า การปักจารึกช่องสระแจงที่สระแก้ว สมัยของพระเจ้ามหเหนทรวรมันพระองค์สำแดงตนเป็นองค์อินทร์ เวลาล่วงไปจนถึงการปักจารึกเขาน้อย สมัยพระเจ้าภวรมันที่ 2 พระองค์กลับสำแดงตนเป็นพระวิษณุ
แสดงให้เห็นว่า ช่วงเวลานั้นเจนละได้ปกครองเมืองสระแก้วมานานพอ ที่ทำให้ความเชื่อของผู้ปกครอง ได้รับการยอมรับจากคนในพื้นที่ จากการอ้างว่าเป็นพระอินทร์เพื่ออิงกับพุทธศาสนา มาเป็นพระวิษณุในศาสนาพราหมณ์ตามความเชื่อของตนเอง แต่เมื่อพระเจ้าภววรมันที่ 2 ไปปักจารึกบ้านวังไผ่ ที่น่าจะเป็นศรีเทพ พระองค์นั้นก็ยังต้องกลับไปสำแดงตนว่าเป็นพระอินทร์ แสดงให้เห็นว่า อาณาจักรเจนละต้องย้อนเวลาไปเหมือนสมัยพระเจ้ามเหนทรวรมัน เข้ามาปกครองเมืองสระแก้ว เพื่อเชื่อมโยงตนเองเข้ากับพุทธศาสนา

จารึกนั้นทำขึ้นในนามกษัตริย์ เราไม่อาจทราบว่า เนื้อหานั้นเท็จจริงกี่ส่วน แต่การตามหาอดีตที่ยาวนานกว่า 1300 ปีก่อน จารึกนั้นก็เป็นหลักฐานเดียว ที่เราสามารถเห็นเชิงประจักษ์ได้ว่า เรื่องราวในสมัยนั้นเป็นอย่างไร สงครามของพระเจ้าภววรมันที่ 2 กับศัมพูกะในจารึกบ้านกุดแต้ กับจารึกแสดงอำนาจของพระองค์ที่บ้านวังไผ่ใกล้กับเมืองศรีเทพ ทำให้เราอาจคลี่คลายปริศนา ว่าเมืองศัมพูกะที่ตามหานั้นอยู่ที่ใด และในทางกลับกัน เราอาจทราบชื่อในอดีตของเมืองศรีเทพด้วย
สิ่งที่อยากบอกกล่าว คือ blog นี้แทบจะไม่เคยพูดถึงเชื้อชาติ หากไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะสิ่งที่ผมสนใจนั้น คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และเพราะอะไร ผ่านพัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างกาลเวลา ศาสนา และผู้ปกครอง ขอมคือเขมรหรือไม่ ทวารวดีคือไทยหรือมอญล้วนไม่สำคัญ ควรก้าวผ่านพ้นไป Blog นี้ขอแสดงความยินดีที่ วันที่ 19 กันยายน 2566 เมืองศรีเทพได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก และหวังว่าจะเป็นจุดกระตุ้นให้ผู้มีอำนาจ ทวงคืนโบราณวัตถุจำนวนมากที่ยังอยู่ต่างประเทศกลับมา
Create Date : 25 กันยายน 2566 |
|
6 comments |
Last Update : 26 กันยายน 2566 13:31:39 น. |
Counter : 89 Pageviews. |
 |
|
|
| |
โดย: ทนายอ้วน 25 กันยายน 2566 20:54:40 น. |
|
|
|
| |
โดย: หอมกร 26 กันยายน 2566 7:10:32 น. |
|
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|