|
 |
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
|
|
 |
29 พฤษภาคม 2568
|
|
|
|
ตึก : ทัสนา/สถาปัตยกัม (จบ)
หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พระสาโรชรัตนนิมมานก์) พ.ศ. 2475 กระทรวงธรรมการ มีคำสั่งให้โอนการสอนวิชาสถาปัตยกรรม โรงเรียนเพาะช่าง ไปตั้งเป็นคณะสถาปัตยกรรม จุฬาฯ นำชาวต่างชาติที่เป็นกลางอย่าง Lucien Coppé สถาปนิกชาวเบลเยี่ยม เข้ามาเป็นอธิการบดีคนแรก พ.ศ. 2477 สถาปนิกที่มีจำนวนไม่มากนั้น ร่วมกันก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยาม พ.ศ. 2479 พลตรีหลวงพิบูลสงคราม เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดี เป็นช่วงเวลาที่จุฬาฯ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการขยายตัวของคณะต่างๆ เช่น ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี เป็นต้น พ.ศ. 2480 ก่อสร้างหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2482 ออกแบบโดยพระสาโรชรัตนนิมมานก์ และพระพรหมพิจิตร ซึ่งเป็นศิษย์ของกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ดังนั้นไม่น่าแปลกใจ ที่จะมีกลิ่นไออุโบสถของวัดราชาธิวาส เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พร้อมระเบียง 3 ด้าน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี ภายในเป็นโถงชั้นเดียว ด้านหน้ายกพื้นเป็นเวที ด้านหลังและด้านข้างเป็นชั้นลอยมีอัฒจันทร์ มีบันไดลงทั้งภายในและภายนอก
อาคารนี้ถูกสร้างขึ้นบนเส้นแกน จากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก แต่ด้านหน้าของอาคารหันไปยังทิศตะวันตก ทำให้ถนนพญาไท กลายเป็นด้านหน้าของมหาวิทยาลัย แทนที่ถนนอังรีดูนังต์ที่เคยเป็นด้านหน้า ในช่วงที่มหาจุฬาลงกรณ์วิทยาลัยเป็นอาคารหลักเพียงอาคารเดียว
เป็นอาคารแบบตะวันตกที่มีศิลปะแบบไทยประเพณีหลังสุดท้าย ก่อนที่จะเหลือเป็นเพียงลวดลายประดับ และถูกลบหายไปในที่สุด
อาคารศิลปวัฒนธรรม (Ercole Pietro Manfredi)ยุคที่สี่ อาคารศิลปวัฒนธรรม เดิมชื่ออาคารเคมี 1 สร้างในแนวแกนเหนือ-ใต้ ตามแผนแม่บทดั้งเดิมของจุฬาฯ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอิตาเลียน Ercole Pietro Manfredi ที่เข้ามารับราชการในสยามในปลายรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2452
ถือได้ว่าเป็นสถาปนิกอิตาเลียนคนสำคัญ ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 ร่วมกับตามาญโญ ในการออกแบบโดมของพระที่นั่งอนันตสมาคม ที่แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2458 นอกจากนี้ยังมีอาคารอีกหลายหลัง ที่ทำงานร่วมกับตามาญโญ เช่น บ้านนรสิงห์
พ.ศ. 2466 ได้เป็นสถาปนิกหลักที่ออกแบบพระราชวังมฤคทายวัน
พ.ศ. 2480 เริ่มก่อสร้างอาคารศิลปวัฒนธรรม โดยได้รับอิทธิพลอาคารแบบ Bauhaus ของเยอรมัน เป็นอาคารสองชั้น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว มีหน้าต่างจำนวนมาก เพื่อให้เข้ากับภูมิอากาศร้อนชื้นของไทยในช่วงแรกเป็นสถานที่เรียนของทั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์ และน่าจะใช้เป็นห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ของคณะที่เกี่ยวข้องกันด้วย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2549 จึงได้รับการปรับปรุงเป็นอาคารศิลปวัฒนธรรม
พ.ศ. 2483 เริ่มตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ E. Manfredi ก็ได้เป็นผู้ออกแบบอาคารเรียนหลังแรก ในปีเดียวกันได้รับสัญชาติไทย โดยมีชื่อว่า เอกฤทธิ์ หมั่นเฟ้นดีพ.ศ. 2516 เขาเสียชีวิตลงเมื่ออายุได้ 90 ปี
คณะสถาปัตยกรรม (Lucien Coppé) พ.ศ. 2481 Lucien Coppé ซึ่งเป็นคณบดีคนแรกได้ออกแบบ อาคารเรียนหลังแรกของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใช้ศิลปะแบบ Art Deco ซึ่งเป็นอาคารทรงเรขาคณิตเรียบง่าย ไม่มีการประดับลวดลายพรรณพฤกษา แบบศิลปะ Art Nouveau
อาคารเป็นแบบสมมาตร เรียบ เกลี้ยง ตัดทอนรายละเอียดลวดลาย แต่ยังมีการสอดแทรกลวดลายแบบไทย ที่บัวหัวเสามุขทางเข้าอาคาร และไว้ที่เสาด้านข้าง แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2483
มีตึกที่เป็นฝาแฝดกัน คืออาคารคณะศิลปกรรมศาสตร์ที่ตั้งอยู่ข้างๆ ไม่มีประวัติมาก ทราบแต่ว่าเดิมเป็นอาคารของคณะเภสัชกรรมศาสตร์ ที่สร้างเสร็จพร้อมกันกับอาคารของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
ศิลปะแบบ Art Deco คือต้นแบบของสถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร ที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2480-2490 ลักษณะแข็งกร้าว มีการลดทอนลักษณะของฐานานุศักดิ์ในสถาปัตยกรรมลง สะท้อนถึงความเสมอภาคในระบบประชาธิปไตย
นอกจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นบ้านเกิดของนายปรีดี พนมยงค์ ลพบุรีก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ ที่มีอาคารในศิลปะแบบคณะราษฎรหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นที่ทำการของรัฐบาล โรงเรียน ค่ายทหาร หรือโรงหนัง โดยได้รับการผลักดันจาก พลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ก่อนที่ประเทศไทยจะเข้าสู่สงครามมหาเอเชียบูรพา
อาคารของคณะศิลปกรรมศาสตร์ เราจะขึ้นรถบัสที่คณะทำงานจัดให้ เพื่อไปยังสนามศุภชลาศัย ซึ่งนาวาโทหลวงศุภชลาศัยอธิบดีกรมพละศึกษา เป็นผู้ที่ริเริ่มในการเช่าที่ดินบริเวณวังวินเซอร์เดิม เพื่อก่อสร้างโรงเรียนกรมพละศึกษา และสนามกีฬากลาง เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2480 แล้วเสร็จ พ.ศ. 2484 ออกแบบโดยพระสาโรชฯ อาคารเป็นรูปทรงเรขาคณิตหนักแน่น มีการตกแต่งอาคารด้วยองค์ประกอบของแท่งตั้ง เหนือกรอบประตูมีรูปไก่ ซึ่งเป็นปีเกิดของหลวงพิบูลสงครามซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเวลานั้นยุคที่ห้า หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ความขัดแย้งในอำนาจของคณะราษฏร สายพลเรือนและทหารจบลง เมื่อจอมพล ผิน ชุณหะวัณ นำทหารบกปฏิวัติ ในปี พ.ศ. 2490 และมอบอำนาจให้นายควง อภัยวงศ์ ในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม จะกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นช่วงเวลาที่กล่าวได้ว่า ศิลปะของคณะราษฏรได้ลดบทบาทลง เมื่อพระสาโรชฯ ได้ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2492 พระพรหมวิจิตร ขึ้นมาเป็นสถาปนิกคนสำคัญที่ออกแบบอาคารในเวลานั้นแทน อาคารหน่วยงานราชการต่างจังหวัด ที่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเรียบง่าย หรืออาคารอื่นๆ ในกรุงเทพ ที่มีการนำศิลปะแบบไทยประเพณีกลับมาใช้อีกครั้ง สนามศุภชลาศัย (พระสาโรชรัตนนิมมานก์)
หลัง พ.ศ. 2500 โลกเข้าสู่ยุคสงครามเย็น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการประกาศใช้แผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 1 เพื่อสร้างความเจริญไปยังต่างจังหวัด มีการตัดถนนจำนวนมาก เพื่อให้อำนาจรัฐลงรากอย่างมั่นคง และทำให้ประชาชนมีฐานะที่ดีขึ้น บ้านเมืองเริ่มพัฒนา เศรษฐกิจของชาติขยายตัวมากขึ้น นิสิตจำนวนมากที่จบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมในประเทศ ได้สรรค์สร้างอาคารหน่วยงานของราชการและห้างร้านเอกชน ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ที่มีความสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์
และทั้งหมดนี้คืออาคาร 13 หลัง ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เป็นตัวแทนของช่วงเวลาต่างๆ ของสถาปัตยกรรมไทย ทำให้เราได้เห็นถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ศิลปะ ตั้งแต่ใช้สถาปนิกชาวต่างชาติจนถึงสถาปนิกไทยในสมัยคณะราษฎร
นั้นจึงเป็นบทเริ่มต้นแห่งการเดินทาง ในการตามหาอาคารเก่าๆ เพราะเมื่อเวลาผ่านไป อาคารเหล่านี้ก็มีแต่จะสูญหายไปตามกาลเวลา โดยสถาปัตยกรรมของอาคารเหล่านี้ ล้วนมีความโดดเด่นทางด้านศิลปะ จนยากที่จะมีงานออกแบบอาคารสมัยใหม่เทียบเท่าได้อีกแล้ว
Create Date : 29 พฤษภาคม 2568 |
|
4 comments |
Last Update : 2 มิถุนายน 2568 9:13:44 น. |
Counter : 579 Pageviews. |
 |
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณAnanya Amy_1994, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณ**mp5**, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณปัญญา Dh, คุณหอมกร, คุณtuk-tuk@korat, คุณดอยสะเก็ด, คุณnewyorknurse, คุณสมาชิกหมายเลข 3902534, คุณอุ้มสี |
| |
โดย: หอมกร 30 พฤษภาคม 2568 7:24:53 น. |
|
|
|
| |
โดย: อุ้มสี 3 มิถุนายน 2568 1:06:47 น. |
|
|
|
| |
โดย: **mp5** 4 มิถุนายน 2568 10:14:58 น. |
|
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|