สวนรถไฟ : นกเฉี่ยวบุ้งใหญ่

ไปเดินสวนรถไฟก็ไม่เคยได้นกแปลกๆ กับเขาบ้างเลยนกธรรมดาในวันนี้ มาในหน้าหนาวนั่นคือ นกเฉี่ยวบุ้งใหญ่ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า cuckooshrike เพราะว่านกชนิดนี้
มีลักษณะภายนอกที่เป็นส่วนผสมระหว่างนกคัคคู จากการมีหางยาวและท้องมีลายพาด กับนกอีเสือ ที่มีปากหนา และปลายปากเป็นตะขอ
มีถิ่นผสมพันธุ์อยู่แถบเทือกเขาหิมาลัยและตอนใต้ของจีน ในฤดูหนาวจะอพยพลงมายังอินเดีย พม่า ไทย อินโดจีน โดยไม่เลยลงไปถึงมาเลเซีย และหมู่เกาะต่างๆ ที่ต่ำลงไป ในไทยจัดว่าเป็นนกอพยพ แต่พบที่เป็นนกประจำถิ่นทางภาคเหนือ ซึ่งก็มีพฤติกรรมทำรังบนเทือกเขา และอพยพลงมาที่ราบในฤดูหนาวเช่นกัน จับแมลงต่างๆ กินเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวบุ้งตามต้นไม้ ทำให้คนไทยตั้งชื่อว่านกเฉี่ยวบุ้ง จากพฤติกรรมหาอาหารนั่นเอง ลำตัวโดยรวมสีเทาเข้ม ปลายหางมีแต้มสีขาวขนาดใหญ่ เพศผู้มีลำตัวสีเทาเข้ม ตะโพกสีเทาอ่อนกว่าลำตัว ท้องสีอ่อน ปีกสีดำ เพศเมียคล้ายกันแต่โทนสีโดยรวมอ่อนกว่า มักมีลายขวางบาง ๆ บนท้อง นกวัยเด็กมีลำตัวด้านบนสีน้ำตาลดำ และลำตัวด้านล่างสีเทาปนน้ำตาล
Create Date : 19 มิถุนายน 2568 |
|
3 comments |
Last Update : 20 มิถุนายน 2568 8:53:21 น. |
Counter : 294 Pageviews. |
 |
|
|
| |
โดย: หอมกร 19 มิถุนายน 2568 21:03:26 น. |
|
|
|
| |