Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มิถุนายน 2566
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
28 มิถุนายน 2566

มุมลับ : วัดบางนาใน


 

มุมนี้ก็ copy เค้ามาอีกที จากสถานีรถไฟฟ้า BTS 
ส่วนจะสวยหรือไม่นั้น ก็คงแล้วแต่ความชอบส่วนบุคคล
ซึ่งอาจจะสัมพันธ์กับฝีมือช่างกล้องคนที่ไปถ่ายมาก็ได้ 555
หากภาพนี้มีความสวยงามก็คงเพราะเห็นการตัดกันของกาลเวลา
ระหว่างเจดีย์ในพุทธศาสนากับตึกสูงระฟ้าที่สร้างมาภายหลัง

เจดีย์ทรงระฆังสูงชะลูด อันเป็นที่นิยมในสมัยของรัชกาลที่ 4
ที่ทรงเชื่อว่าเจดีย์ปรางค์ย่อมุมที่นิยมสร้างมาแต่สมัยอยุธยากลาง
ถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น ไม่ได้เป็นเจดีย์แบบที่มีในลังกา
ที่ต้องเป็นเจดีย์ทรงลอมฟาง อย่างที่ทรงสร้างพระปฐมเจดีย์
 
หากย้อนเวลาไปในสมัยที่เจดีย์องค์นี้เพิ่งสร้างเสร็จนั้น
ท่ามกลางเรือกสวนไร่นา ก็มีเพียงบ้านที่มุงหลังคาจากเท่านั้น
เจดีย์อันสูงสง่าคงสามารถมองเห็นมาได้จากระยะไกล
 
ดึงความคิดกลับมาตรงหน้า
แม้ว่าเจดีย์องค์นี้จะอยู่ที่เดิม แต่สิ่งแวดล้อมแรกเริ่มนั้นสูญหายไป
เปลี่ยนมาเป็นมหานครที่คนหลับไหลอาศัยอยู่ในตึกสูง
สูงกว่าองค์เจดีย์ ที่ชาวบ้านนั้นได้เคยกราบไหว้
 
นั่นล่ะ อาจจะเป็นภาพที่กระตุกต่อมความคิดของผู้คนว่า
เรายังคงเป็นพุทธศาสนิกชนที่อ่อนน้อมถ่อมตนต่อพระศาสนา
เหมือนกับชาวบ้านเมื่อครั้งในอดีตอยู่หรือไม่
หรือว่าจะเป็นเพียงคนที่มีคำว่าศาสนาพุทธปรากฏในบัตรประชาชน
เพราะพ่อแม่แจ้งลงไว้กับเจ้าหน้าที่อำเภอก็แค่นั้นเอง



เกร็ดความรู้เล็กน้อยว่าทำไม
บางพื้นที่ถึงมีความเชื่อว่าห้ามผู้หญิงขึ้นเจดีย์
เพราะในคติการสร้างสถูปที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ไทยนั้น
อาจจะย้อนไปในสมัยทวารวดี

เจดีย์ที่เราพบค่อนข้างสมบูรณ์อย่างเจดีย์จุลประโทน
ที่อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-14 ชี้ให้เห็นว่า
เป็นการสร้างเชิงสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงพระศาสดา
โดยมีการสร้างลานประทักษิณเพื่อเดินรอบเท่านั้น

คล้ายกับความเชื่อที่สร้างสถูปสาญจีในสมัยพระเจ้าอโศก
ส่วนความเชื่อพระธาตุนั้นปรากฏเป็นหลักฐานครั้งแรกในศิลาจารึกเมื่อ

พ.ศ. 1830 พ่อขุนรามให้ขุดเอาพระธาตุขึ้นมาทำพิธีบูชา
เป็นเวลาหกวันจากนั้นให้ก่อเจดีย์ทับไว้ที่เมืองศรีสัชนาลัย
ซึ่งการฝังสิ่งมีค่าแล้วก่อปราสาทหรือเจดีย์ทับแบบนี้
ดูจะเป็นวัฒนธรรมร่วมกันที่พบได้ทั้งมอญและเขมรโบราณ

เมื่อความเชื่อเรื่องการฝังพระธาตุไว้กลางเจดีย์แบบนี้สืบต่อมา
ตั้งแต่ล้านนาถึงอยุธยาตอนต้น ทำให้เกิดความเชื่อว่า
ผู้หญิงไม่ควรขึ้นไปบนเจดีย์ เพราะไม่มีใครรู้ว่า
สตรีผู้นั้นเป็นระดูหรือเปล่า

ซึ่งเป็นความเชื่อที่รับมาจากศาสนาฮินดูที่ยังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน
ว่าผู้หญิงวัยมีประจำเดือนนั้นถือว่าไม่บริสุทธิ์ ห้ามเข้าศาสนสถาน
เมื่อความเชื่อนี้ผสานกับความเชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุ
ทำให้มีการห้ามสตรีขึ้นไปบนเจดีย์ของบางพื้นที่นีั่นเอง

แต่หลังสมัยอยุธยาตอนกลางเป็นต้นมา ได้เปลี่ยนความคิดใหม่ว่า
พระธาตุนั้นเป็นของสูงจึงมีการบรรจุไว้บนส่วนยอดของเจดีย์
ทำให้ความเชื่อเรื่องห้ามผู้หญิงขึ้นไปบนเจดีย์
จึงไม่ปราฏหลงเหลืออยู่ในพื้นที่แถบภาคกลาง



Create Date : 28 มิถุนายน 2566
Last Update : 29 มิถุนายน 2566 11:25:37 น. 3 comments
Counter : 573 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณtuk-tuk@korat, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณหอมกร, คุณnewyorknurse


 
ทางเหนือพระธาตุจะฝังไว้ใต้ดิน ผู้หญิงจึงถูกห้ามเข้าไปในกำแพงแก้ว
ทางใต้เช่นเมืองนคร พระธาตุอยู่ด้านบน จึงเข้าไปที่ฐานในเจดีย์ได้ ถ้าจำไม่ผิดนะคะ

จากบล็อก
งานนี้คุณสาขับมือเดียว ทางดี ถนนว่าง รถ crv ใหม่ช่วยให้เหนื่อยน้อยลง
เชียงใหม่-ลำปาง 90 ลำปาง-เถิน 85 เถิน-ตาก 85 ราวๆ 3ชั่วโมง
ตาก-โขทัย 85 โขทัย พิดโลก 50 พิดโลก-แยกโพทะเล 85 ก็แวะพักไปทีละ 200 โล ก็พอได้นะคะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 28 มิถุนายน 2566 เวลา:12:49:21 น.  

 
เดี๋ยวต้องมีวัดยานนาวามาโชว์แน่ๆ



โดย: หอมกร วันที่: 29 มิถุนายน 2566 เวลา:7:18:57 น.  

 
เป็นความรู้ที่ส่งต่อให้รุ่นลูกรุ่นหลาน ขอบคุณครับ


โดย: ลุงแดง ไม้ไอติม (idea4thai ) วันที่: 4 กรกฎาคม 2566 เวลา:10:21:21 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]