ภาพผลงานศิลปะและประวัติของศิลปินแห่งชาติ ถวัลย์ ดัชนี เรียกได้ว่าเป็นราชาแห่งวงการศิลปะของไทยเลยก็ว่าได้ เพราะก่อนที่ท่านจะเข้ามามีบทบาทในวงการศิลปะในประเทศ ท่านได้ต่อสู้และสร้างผลงานจนเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ ได้รับเลือกกจากองค์การสหประชาชาติ ให้เป็นผู้แทนวัฒนธรรมทางศิลปะภาคตะวันออก ไปแสดงผลงานที่นิวยอร์ก ปารีส โรม ลิสบอน แคนเบอร่า และโตเกียว และได้รับรางวัล Arts and Culture Prize จาก FUKUOKA ASIAN CULTURE PRIZE COMMITTEE ผลงานเป็นที่ถูกใจของนักสะสม ทำให้ราคาผลงานที่ถูกจัดแสดงในต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ![]() ภาพผลงานในระยะแรก ![]() ภาพผลงานสีน้ำมัน ![]() ![]() ![]() ภาพผลงานวาดเส้น ![]() ![]() ![]() สถาปัตยกรรม บ้านดำ จ.เชียงราย ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() หลังกลับมาประเทศไทยได้เปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้รวดเร็วขึ้น โดยใช้แปรงในการทำงานเพียงครั้งเดียว ได้รับเชิญให้เป็นกรรมการการตัดสินการประกวดศิลปกรรมของประเทศเช่น ศิลปกรรมแห่งชาติ และได้รับเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ปี2544 การที่เพิ่งมามอบราวัลศิลปินแห่งชาติในปี2544 ทำให้อาจารย์รู้สึกเหมือนให้ความสำคัญในตัวอาจารย์ช้าไป จึงดูเหมือนถูกลดตำแหน่ง เพราะอาจารย์ได้รับรางวัลจากองค์การสหประชาชาติ และรางวัล Arts and Culture Prize จาก FUKUOKA ASIAN CULTURE PRIZE COMMITTEE มาก่อนหน้านี้นานแล้ว ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() อ.ถวัลย์ ได้สัญจรไปทั่วทุกมุมโลก เก็บมาเป็นประสบปการณ์ เพื่อพัฒนาตนเอง โดยมีเพื่อนร่วมเดินทางอย่าง กมล ทัศนาญชลี และเพื่อนศิลปิน ที่มีอุดมการณ์เดียวกัน ที่ต้องการพัฒนาวงการศิลปะของประเทศให้ดีขึ้น ![]() ผลงานภาพพิมพ์ร่วมกัน ถวัลย์ , กมล , ประหยัด ![]() ![]() อ.ถวัลย์ ร่วมกับเพื่อนศิลปิน ![]() ![]() กมล ทัศนาญชลี เป็นศิลปินไทยเพียงคนเดียวในเอเชียที่ผลงานศิลปะถูกบันทึกไว้ใน Gardner's Art Through The Ages หรือ หนังสือประวัติศาสตร์ศิลป์โลก เป็นผู้อุทิศตัว ในการทำงานศิลปะ สร้างแรงบันดาลใจ สนับสนุน และให้ทุนแก่นักเรียนศิลปะ ร่วมกับเหล่าศิลปินแห่งชาติ ออกสัญจรไปทั่วประเทศ ตามโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือสถาบันสอนศิลปะต่างๆ ให้ความรู้ แนะแนวทาง สร้างแรงพลักดันในการทำงานศิลปะ และร่วมสร้างสรรค์งานศิลปะไปพร้อมกัน แต่มักไม่ค่อยออกสื่อ อาจด้วยความที่ชอบทำงานอยู่เบื่องหลัง จึงทำให้เป็นที่รักของนักเรียนศิลปะ ![]() นักศึกษาศิลปะส่วนใหญ่น่าจะรู้จักดี ในโครงการค่ายเยาชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ที่ส่งเสริมนักศึกษาและครูศิลปะ ไปดูผลงานศิลปะของจริงยังประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มจากการคัดเลือกผลงานศิลปะของนักศึกษา ที่ส่งมาจากมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ คัดให้เหลือ30-50คน ไปอบรมเข้าค่ายทำงานศิลปะของตัวเองที่บ้านดำ จ.เชียงราย โดยได้รับการสนับสนุกจาก อ.ถวัลย์ ดัชนี และคัดเลือกให้เหลือ10-13คน พาไปดูงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เรียกได้ว่าเป็นที่ใฝ่ฝันของนักศึกษาศิลปะเลยก็ว่าได้ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ผลงานของ อ.กมลส่วนใหญ่จะเป็นผลงานสื่อผสม ภาพพิมพ์ สีน้ำ ประติมากรรม ผสมผสานธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในการสร้างเป็นงานศิลปะ อ.กมล มีความช่ำชองในการสร้างผลงานที่สามารถทำได้ทั้งในกระดาษที่มีขนาดเล็ก หรือกลางแจ้งที่ใช้พื้นที่มากๆ ผลงานส่วนใหญจัดแสดงในสหรัฐอเมริกา ส่วนในไทยจะอยู่ตามคณะศิลปกรรมศาสตร์ ของแต่ละมหาวิทยาลัย หออัครศิลปิน เป็นต้น ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ชลูด นิ่มเสมอ ได้รับประกาศนียบัตร Diploma of Fine Arts จากสถาบันศิลปะ Accademia di Belle Arti ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี โดยในสมัยเรียนที่ศิลปากรนับได้ว่าเป็นศิษย์รุ่นแรกๆของ ศ.ศิลป์ พีระศรี ผลงานส่วนใหญ่แสดงออกถึงลายเส้นที่เป็นเอกลักษณ์ ![]() ![]() ![]() รูปหญิงสาว กับลายเส้นใบไม้ง่ายๆ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ประหยัด พงษ์ดำ ศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด พงษ์ดำ ได้รับเลือกเป็นศิลปินเกียรติยศ สาขาภาพพิมพ์ จากสถาบันศิลปะกรุงฟลอเรนส์ อิตาลี โดยรัฐบาลอิตาลี เมื่อ พ.ศ. 2506 เป็นศิลปินที่มีความสามารถ จนเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะทั้งระดับชาติและระดับสากล ได้รับเกียรติให้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม ในการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติในประเทศไทย และได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ![]() ![]() ![]() ได้รับการยกย่องว่าเป็นทั้งครูผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่ศิษย์ด้วยความเสียสละ ด้วยวิญญาณแห่งความเป็นครูอย่างแท้จริง อุทิศตนทำงานเพื่อวงการศิลปะร่วมกับเพื่อนศิลปินคนสำคัญอย่าง ถวัลย์ ดัชนี การจากไปของ อ.ถวัลย์ เป็นเหมือนดวงจันทร์ที่ขาดหายไปยามค่ำคืน จนทำให้เงาจันทร์อย่าง อ.ประหยัด พงษ์ดำ ต้องเลือนหาย จากไปตามกัน เป็นการสูญเสียที่ติดกันอย่างน่าใจหาย จนเกือบหยุดการหมุน ของวงการศิลปะในประเทศไปเลย ![]() ![]() ![]() อิทธิพล ตั้งโฉลก ผลงานส่วนใหญ่เป็นแนวนามธรรมที่มีความสลับซับซ้อนด้วยเทคนิควิธีการที่ทันสมัย ทั้งการใช้วัสดุผสม การพิมพ์ ที่มีความพิถีพิถันในการสร้างสรรค์ผลงานให้ออกมาในรูปแบบเฉพาะตัว ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ปรีชา เถาทอง สร้างสรรค์ศิลปะพร้อมกับผสมผสานกับการศึกษาค้นคว้าด้านวิชาการศิลปะ อีกทั้งยังได้ค้นพบทฤษฎีแสงเงา โดยนำไปสร้างสรรค์ผลงานในแบบนามธรรมที่มีบุคลิกเฉพาะตัว และพัฒนาไปสู่ความสำเร็จสูงสุดในการสร้างสรรค์ศิลปกรรม ![]() ระยะแรกผลงานของอาจารย์มุ่งเน้นทางด้านศิลปะไทย ![]() ต่อมาได้นำทฤษฎีแสงเงาเข้ามามีส่วนร่วมในผลงาน ร่วมกับหลักศิลปกรรมไทย ![]() ![]() ![]() ![]() ผลงานมีทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ![]() ![]() ![]() และล่าสุดได้พัฒนาผลงานเพื่อถวายพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยความศรัทธาในพระอัจฉริยะภาพที่มีต่อปวงชนชาวไทย ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เดชา วราชุน ผลงานส่วยใหญ่เป็นสื่อผสม โดยใช้วัสดุก่อกำเนิดรูปทรงต่างๆ ใช้พื้นผิวของวัสดุมาตัดทอนรูปทรงให้เกิดมิติเคลื่อนไหว ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ประเทือง เอมเจริญ เป็นศิลปินที่ศึกษาศิลปะด้วยตนเองอย่างมุ่งมั่น อดทน ด้วยการศึกษาค้นคว้างานทางศิลปะอย่างหนัก ศึกษาปรัชญาชีวิตทั้งศิลปะของอินเดีย จีนและศึกษาธรรมชาติ โดยเฉพาะ ดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของพลังแสงสว่าง จนเกิดมุมมองในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่เป็น รูปแบบของตนเอง มองโลกในแง่ดี เชื่อในคุณงามความดี สร้างสรรค์งานศิลปะในรูปแบบการผสมผสานระหว่างสิ่งที่รับรู้จากธรรมชาติและอารมณ์ความรู้สึกของตนเองด้วยสีสันสดใส สร้างรูปทรงต่างๆ อย่างอิสระและทรงพลัง ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ผลงานที่โดดเด่นเป็นรูปทรง ๓ มิติ มีความสัมพันธ์ของเส้นและปริมาตรอันกลมกลืนงดงาม โดยนำเสนอผ่านความรู้สึก อารมณ์และความปรารถนา เพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงความเป็นจริงของธรรมชาติ และต่อมาในภายหลังได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีเนื้อหาแฝงปรัชญาทางพุทธศาสนา ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เป็นศิลปินที่มีสไตร์เฉพาะตัว ด้วยลักษณะท่าทางที่โดดเด่นในการกล้าแสดงออกและเปิดเผย ทำให้เป็นผู้แย่งซีนในงานเสมอ ผลงานส่วนใหญ่แสดงออกถึงประเพณีไทย ถูกจัดแสดงทั้งในและต่างประเทศ เช่น ภาพจิตรกรรมไทยในอุโบสถวัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขียนภาพประกอบบทพระราชนิพนธ์พระมหาชนก วัดร่องขุ่น จ.เชียงราย ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ธงชัย รักปทุม ผลงานมีรูปทรงลายเส้นที่สมดุล การใช้สีที่สนุกสนาน เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ มีบุคลิกที่สนุกสนานและเป็นกันเองกับเด็ก ผลงานได้รับคัดเลือกเป็น “The World Master in Art and Culture” จากองค์กรศิลปะประเทศเกาหลี ในปี2553 ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ทวี รัชนีกร สะท้อนภาวะของสังคม วิถีชีวิต ความเชื่อ ความเป็นท้องถิ่นและเรื่องราวสะเทือนใจที่มีต่อประชาชน โดยเสนอทัศนะต่อสังคมให้ตระหนักถึงความยุติธรรมและความจริงของมนุษย์ที่จะมอบให้แก่กันและกัน ในส่วนของกระบวนการแสดงออกยังได้นำเอาวัสดุพื้นบ้านอีสานมาพัฒนาสู่การสร้างสรรค์ในระดับสากล ผลงานได้รับรางวัลและเกียรติคุณจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติหลายครั้ง นอกจากนั้นยังเป็นผู้เผยแพร่ความรู้ทางทัศนศิลป์แก่นักศึกษาศิลปะในฐานะอาจารย์ตั้งแต่รับราชการจนกระทั่งเกษียณอายุ อีกทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกการสร้างงานเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนให้แก่ศิลปินและวงวิชาการศึกษาทางด้านนี้ จนเกิดการพัฒนารูปแบบมาถึงปัจจุบัน นับได้ว่าผลงานศิลปะและงานวิชาการทางศิลปะต่างๆ ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติเป็นอย่างมาก เป็นศิลปินที่ดำรงชีวิตในการสร้างสรรค์งานศิลปะอย่างมีความมั่นคง และประกอบกิจการงานด้วยคุณธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() วิโชค มุกดามณี ผลงานสร้างสรรค์ส่วนใหญ่เป็นผลงานสื่อผสมที่มีความทันสมัย ใช้วัสดุ เช่นโลหะ ในการสร้างผลงาน ด้วยแนวความคิดที่ได้อิทธิพลของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ความเจริญทางด้านวัตถุและสภาวการณ์ต่างๆ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ช่วง มูลพินิจ ผลงานมีลักษณ์ของความนุ่มนวลอ่อนช้อยในรูปแบบลวดลายการสร้างสรรค์ศิลปะไทยที่ถูกนำมาประยุกต์ในรูปแบบของตัวเอง ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() จักรพันธุ์ โปษยกฤต มีความเชี่ยวชาญด้านจิตรกรรมทั้งแบบไทยประเพณีและศิลปะร่วมสมัย มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง อีกทั้งผลงานอื่นๆ ได้แก่ งานพุทธศิลป์ ประเภทจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์ ปัจจุบันได้ก่อตั้งมูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต ซึ่งเป็นทั้งพิพิธภัณฑ์ มูลนิธิ สถานที่ทำงาน และโรงละครหุ่นกระบอก ขึ้นที่บริเวณบ้านพัก ถนนเอกมัย ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ข้อมูลบางส่วนจาก กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
|
Group Blog All Blog |
||||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |