"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2557
 
28 พฤษภาคม 2557
 
All Blogs
 

มาดามตวง เขียน ฮอกไกโด...ดินแดนในฝันของคนชอบกิน (ตอนที่ 1)

ที่มา : คอลัมน์ มาดามตวง Food Work มติชนรายวัน




เนื้อแกะ อร่อยไม่รู้ลืม!


เกาะฮอกไกโดเป็นจุดหมายที่คนอยากไปมากที่สุด ไม่เว้นแม้แต่ชาวญี่ปุ่นเองยังกล่าวว่า ครั้งหนึ่งในชีวิตต้องไปให้ถึง แต่ฤดูกาลทั้งสี่ในฮอกไกโดนั้นมีความแตกต่างอย่างชัดเจน ผู้มาเยือนจะได้เพลิดเพลินไปกับความมหัศจรรย์ของธรรมชาติในแต่ละฤดูกาล สามารถเที่ยวกันได้ทั้งปีในแต่ละภาคของเกาะ

ฤดูใบไม้ผลิ (เดือนเมษายน-มิถุนายน) แม้อากาศจะอบอุ่นขึ้น ก็ยังเห็นหิมะหลงเหลืออยู่บนภูเขา ดอกซากุระและดอกบ๊วยจะบานพร้อมๆ กัน ในช่วงนี้ ฮอกไกโดเป็นจุดสุดท้ายของปีที่จะเห็นดอกซากุระบาน

ไปฮอกไกโดจะกินอะไรดี? ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นครัวของประเทศญี่ปุ่นจากความอุดมสมบูรณ์ของดินฟ้าอากาศ ดินดีเกิดจากลาวาภูเขาไฟ และด้วยภูมิประเทศที่เป็นเกาะ ล้อมรอบด้วยน้ำถึง 3 แหล่ง ทะเลโอค็อตสก์ ทะเลญี่ปุ่น และมหาสมุทรแปซิฟิค

อาหารทะเลที่ขึ้นชื่อ คือปูยักษ์ ปูทาราบะ ปูสุไว ปูฮานาซากิ ปูเคคานิ ปลาฮกเกะที่นิยมนำมาย่าง ปลาเกงกิ ปลาราคาแพงติดอันดับ กุ้งโบะตัน (กุ้งหวานตัวโตๆ) ไข่ปลาแซลมอน ไข่ปลาประเภทต่างๆ ปลาแซลมอน หอยเชลล์ฮอกไกโด

แม้กระทั่ง "หอยเม่น" ซึ่งอาหารขึ้นชื่อว่าแพงอีกประเภทหนึ่งของญี่ปุ่นและเป็นที่นิยมไปทั่วโลก แม้กระทั่งในยุโรป หลายๆครั้งถูกจัดไว้ในอาหารชุดพิเศษของเชฟโลก

ดังนั้น ครั้งนี้มาดามตวงจึงขอพลีชีพบุกชิมถึงแหล่งหอยเม่น ซึ่งอยู่ทางเหนือสุดของประเทศเพื่อลองลิ้มชิมรสกันเต็มที่เลยค่ะ ทริปนี้เราเดินทางจากกรุงเทพฯไปถึงวักกะไน เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในกิ่งจังหวัดโซยะ ของจังหวัดฮอกไกโด

แล้วเดินทางต่อโดยเรือเฟอร์รี่เพื่อชมเกาะขึ้นชื่อของเมืองนี้คือ เกาะเรบุน (Rebun) โดยระหว่างการเดินทางสามารถมองเห็นความสวยงามของหมู่เกาะริชิริ (Rishiri) อย่างใกล้ชิด และที่เกาะเรบุนนี้เอง ได้มีโอกาสไปฟาร์มหอยเม่น ความจริงควรจะเรียกว่าที่เขากักหอยเม่นไว้เพื่อแกะเอาเนื้อ หอยเม่นนี้มีหลายพันธุ์ด้วยกัน

ที่นี่คนญี่ปุ่นบอกกับมาดามตวงว่า ส่วนที่สีเหลืองๆ ในตัวหอยเม่นที่เราเอามารับประทานกันแท้จริงแล้วไม่ใช่ไข่ตามที่เขาเข้าใจ แต่เป็นเนื้อของหอยเม่นเองต่างหาก เขาต้องทานเฉพาะหอยเป็นๆ เท่านั้น

วิธีเอาเนื้อออกทำได้โดยใช้อุปกรณ์พิเศษคล้ายๆ กรรไกร แต่มีปลายแหลมเหมือนปากเป็ด เจาะเข้าไปบนเปลือกหอย จากนั้นเมื่อบีบอุปกรณ์นี้ก็จะแหวะเอาเปลือกหอยออกมาได้อย่างง่ายๆ หลังจากนั้น ก็จะใช้ช้อนควักเอาเนื้อหอยที่สีเหลืองๆ ออกมาใส่ตะแกรง เพื่อเอาไปร่อนล้างในน้ำสะอาดให้ได้เฉพาะแต่เนื้อหอย

ส่วนเศษดำๆ ที่เหลือนั้นความจริงทานได้เพราะคือสาหร่ายคอมบุ แต่ไม่อร่อยจึงนิยมหนีบออกทิ้ง วิธีรับประทานที่นิยมกัน อาจทานแบบดิบๆ เช่น เอามาวางบนข้าว หรือเอามาเผาไฟโดยใช้ปืนไฟเผาพอสุก รสชาติของหอยเม่นนี้ เค็มๆ มันๆ หวานด้วยรสชาติกลมกล่อมของน้ำทะเล

อาหารเลื่องชื่ออีกอย่างที่ต้องขอกล่าวถึง คือเนื้อและนมค่ะ เนื่องจากที่นี่ทุ่งหญ้าอุดมสมบูรณ์ อากาศดี วัวเนื้อ และวัวนมจึงมีคุณภาพมากๆ นม เนย ชีส หอมอร่อยกว่าที่อื่น ส่วนเมนูจากเนื้อชื่อดังมีชื่อว่า "เนื้อเจงกิสข่าน" ค่ะ เนื้ออีกชนิดที่เซอร์ไพรส์มาดามตวงอย่างมากคือเนื้อแกะ

เพราะความนุ่มแบบนี้หาที่ไหนไม่ได้ในโลก ย่างบนกระทะเหล็ก กลิ่นเนื้อหอมมาก ไม่ต้องง้อเครื่องหมัก เครื่องปรุงรสใดๆ อย่างมากแค่จิ้มน้ำจิ้มโชยุ (ซีอิ๊วญี่ปุ่น) สูตรเฉพาะของร้าน ขอบอกว่า นี่คือความสุดยอดของเนื้อแกะชนิดนี้ ที่ยังคงถวิลหาถึงแม้ว่ากลับมาเมืองไทยแล้วก็ตาม

นอกจากนี้ ประเภทพืชผักช่วงนี้ มีหน่อไม้ และหน่อไม้ฝรั่งทั้งขาวและเขียว แตงแคนตาลูป สตรอเบอรี่ที่ทั้งหอมและหวาน ก็ยังมีเยอะอยู่ในช่วงนี้ค่ะ

ด้วยเหตุนี้คนไทยนิยมไปเที่ยวญี่ปุ่นกันมากแบบถล่มทลายก็คงเป็นเพราะญี่ปุ่นอยู่ใกล้กว่ายุโรป อาหารก็ถูกปากคนไทย อากาศดี วิวทิวทัศน์สวยงาม รวมถึงความสะอาด (โดยเฉพาะห้องน้ำสาธารณะทุกที่มีกระดาษทิชชูบริการอย่างสะดวกสบาย

คนญี่ปุ่นก็เป็นคนโอบอ้อมอารี มีระเบียบมากๆ ซึ่งเขาจะไม่ทิ้งขยะเรี่ยราด จะมีการแยกขยะทุกครั้ง หากคนญี่ปุ่นหาถังขยะไม่เจอก็จะเก็บไว้ในกระเป๋าก่อนแล้วค่อยไปทิ้งที่บ้านก็มี) ไม่ต้องพูดถึงเรื่องความมีมารยาท โดยรวมแล้วคนไทยเทใจให้พี่ยุ่นเต็มร้อย


ขอบคุณ มติชนออนไลน์
คอลัมน์ มาดามตวง Food Work มติชนรายวัน

สิริสวัสดิ์วุธวารค่ะ




 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2557
0 comments
Last Update : 28 พฤษภาคม 2557 13:48:23 น.
Counter : 2837 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.