อพท.2 ชวนมาที่ยว ชุมชนบ้านโพธิ์กอง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

อพท.2 พาอุ้มสีมาเยือนชุมชนบ้านโพธิ์กอง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นชื่อเรียกตามลักษณะของต้นโพธิ์ประจำหมู่บ้านที่เอนโค้ง คำว่า "โค้ง" ในภาษาเขมร เรียกว่า "กอง" ก็เลยเรียกตามกันมาว่า บ้านโพธิ์กอง ชุมชนบ้านโพธิ์กองเป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตธรรมชาติในท้องถิ่นเขมรถิ่นไทย มีศิลปะการแสดง วัฒนธรรม และการเป็นอยู่ ที่ผสมผสานกันระหว่างไทย-เขมรที่หลากหลายมายาวนาน และมีเรื่องราวและกิจกรรมอื่นๆมากมายที่น่าสนใจ ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2193 เป็นหมู่บ้านผ้าไหม (Thai Silk Village) เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และกิจกรรมบ้านพัก (โฮมสเตย์)

คลิกที่นี่ย้อนไปอ่านตอนที่ 1 ชุมชนบ้านอาลึ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์




นางสาวกัญจน์กนก มีแสง ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ อพท.2 (เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้) เปิดเผยว่า อพท.2 ขอเชิญชวนทุกท่านมาเที่ยวชุมชนบ้านโพธิ์กอง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ชุมชนบ้านโพธิ์กองเป็นหมู่บ้านผ้าไหมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และกิจกรรมบ้านพักโฮมสเตย์ ถิ่นที่มีชื่อเสียงการทอผ้าไหม ซึ่งเป็นเส้นไหมขั้นหนึ่งหรือ "ไหมน้อย" ภาษาเขมรเรียก โซกซัก พิเศษตรงเส้นเล็กเรียบนิ่ม ใส่แล้วเย็นสบายมากกว่าที่อื่น
นอกจากนี้ชุมชนทางยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ ที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม และที่สำคัญนั่นก็คือ "การอนุรักษ์ภาษาเขมรถิ่นไทย" และทั้งยังเป็นต้นกำเนิดการละเล่น "กะโนบติงต็อง" ซึ่งภาษาเขมรแปลว่า "การแสดงตั๊กแตนตำข้าว" อีกทั้งยังมีหลักสูตรในการเปิดเรียนภาษาและตัวหนังสือเขมรอีกด้วย
สำหรับทางด้านวิถีชีวิตนั้นจะมีอาชีพเกษตรกรรม, ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม มีการใช้ภาษา "เขมรถิ่นไทย" สำหรับเมนูอาหารที่เด่นๆ ของชุมชนโพธิ์กองที่ต้องมาลิ้มลองรับประทานนั่นก็คือ "กังแกบบอบ" คือ "กบยัดไส้", "โบ๊ะโดง" ก็คือตำปลาทูใส่มะพร้าว, "ละแวกะดาม" ก็คือ "แกงคั่วปู" นักท่องเที่ยวต้องมาลองรับประทานด้วยตัวท่านเองเป็นอาหารพื้นถิ่นที่ไม่ควรพลาด
ในส่วนรางวัลมาตรฐานต่างๆ ชุมชนบ้านโพธิ์กอง ได้รับรางวัลมากมายหลายรางวัลด้วยกัน อย่างล่าสุดเป็นชุมชนที่ อพท.นำเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน หรือ CBT Thailand ไปพัฒนาและได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (กินรี) รางวัลระดับดีเด่น สาขาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในปี พ.ศ.2564 ที่จัดขึ้นโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อีกทั้งชุมชนบ้านโพธิ์กองยังผ่านเกณฑ์โครงการยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) หรือ Amazing Thailand Safety & Health Administration ที่เป็นโครงการความร่วมมือของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย,กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ
โดยนำมาตรการความปลอดภัยด้านสาธารณสุข ผนวกกับมาตรฐานการให้บริการที่มีคุณภาพของสถานประกอบการ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยวว่าทุกคนจะได้รับประสบการณ์ที่ดี มีความสุข และความปลอดภัยด้านสุขอนามัยผ่านเกณฑ์มาเรียบร้อยแล้วเมื่อปี พ.ศ.2563
ส่วนกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่ อพท.รวมทั้งหลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว อีกทั้งชุมชนบ้านโพธิ์กองยังมีการผลิตน้ำดื่มจากธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่อีกด้วย และที่สำคัญนักท่องสามารถมาปั่นจักรยานชมวิวทิวทัศน์ทุ่งนา มาสูดโอโซนบรรยากาศดีดีและเที่ยวชมวิถีชุมชนภายในหมู่บ้าน และชุมชนยังมีสถานที่ไว้รองรับกิจกรรม CSR เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้ามาร่วมกันปลูกต้นไม้พื้นถิ่นรอบๆ ชุมชน
เป็นการสร้างความอุดมสมบูรณ์เพิ่มความเขียวชอุ่มให้แก่ชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย เป็นการต่อยอดเพิ่มเส้นทางสีเขียวให้แก่ทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชน เป็นเส้นทางท่องเที่ยวเขิงธรรมชาติอย่างยั่งยืนอีกด้วย
ในส่วนเส้นทางท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงที่สำคัญภายในอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ นั่นก็คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ ที่ตั้งอยู่ที่ถนนสุรินทร์-ช่องจอม ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และปราสาทบ้านพลวง และที่สำคัญทางชุมชนก็มีสิ่งอำนวยความสะดวกไว้รองรับนักท่องเที่ยว สำหรับการประชุมสัมมนาที่เพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์มาตรฐาน และเครื่องเสียงสำหรับการประชุม 50 คน/1 ห้องอีกด้วย ขอเชิญชวนมาเที่ยวชุมชนบ้านโพธิ์กอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

พันเอกนาวิน ปรีชาพณิชยกุล ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 2 อพท.


ตามวัฒนธรรมธรรมเนียมประเพณีของการเข้ามาเยือนชุมชนบ้านโพธิ์กอง หลังจากเข้าร่วมวงรำฟ้อนต้อนรับอย่างสนุกสนานครื้นเครงกันแล้ว เราก็มากราบไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ "ศาลปู่ตา" เนื่องจากไม่ไกลเราก็พากันเดินมาเข้าร่วม พิธีกรรมเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้านกันค่ะ ศาลปู่ตาเป็นศาลศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านโพธิ์กองให้ความเชื่อและนับถือมาก เป็นขวัญและเป็นกำลังใจในการดำเนินชีวิต นับเป็น "พิธีกรรมเซ่นไหว้ศาลปู่ตา" ที่เป็นความเชื่อที่อยู่คู่กับชุมชน นักท่องเที่ยวต้องมาสัมผัสกับตาคุณเอง


รับดอกไม้มาไหว้กันเพื่อความเป็นสิริมงคลค่ะพี่น้องหมู่เฮา







หมู่บ้านโพธิ์กองมีสัญญลักษณ์เป็นตั๊กแตนค่ะ ตอนลงทะเบียนเข้าหมู่ย้านนักท่อวเที่ยวจะได้รับตั๊กแตน 1 ตัว อุ้มสีนำมากลัดติดที่บ้านค่ะ น่ารักและเดิ้นมาก

หลังจากไหว้เสร็จก็เดินกลับมาที่หอประชุมจะมีการบายศรีสู่ขวัญต้อรับนักท่องที่ยวมาเยือนหมู่บ้านโพธิ์กอง













บายศรีสู่ขวัญแล้วก็ไปเรียนภาษาเขมรถิ่นไทยกันต่อ ช่วงนี้ฝนตกหนักมากค่ะ


อ่านและออกเสียงตามภาษาเขมรถิ่นไทยก็โอเคนะคะ สนุกไปอีกแบบค่ะ










บ้านโพธิ์กอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นหมู่บ้านที่ทอผ้าไหมลายโบราณได้อน่างสวยงาม มีเอกลักษณ์ที่เป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษ มีวัฒนธรรมการร่ายรำกระโน๊บติงต็อง ที่มีต้นกำเนิดจากหมู่บ้านโพธิ์กอง จนกลายเป็นเอกลักษณ์ท่ารำของจังหวัดสุรินทร์
ชุมชนบ้านโพธิ์กอง เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวการผลิตผ้าไหมและกิจกรรมบ้านพัก Home Stay บ้านโพธิ์กอง หมู่ที่ 3 ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้ง หมู่บ้านผ้าไหม (Thai Silk Village) เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นการสร้างทางเลือกใหม่ทางด้านการตลาดให้กับผู้ผลิต ผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม การอนุรักษ์ภาษาเขมรถิ่นไทย ตลอดถึงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ไหมของชุมชนแบบครบวงจร



ชุมชนบ้านโพธิ์กองมานำเสนอการเสดงทีมีชื่อว่า "กะโน้ปติงต็อง (ตั๊กแตนตำข้าว)" นับเป็นวัฒนธรรมการร่ายรำกระโน๊บติงต็อง ที่มีต้นกำเนิดจากหมู่บ้านโพธิ์กอง จนกลายเป็นเอกลักษณ์ท่ารำของจังหวัดสุรินทร์
วิธีการเล่นกะโน้ปติงต็อง เป็นการเล่นเที่ลียนแบบลีลาท่าทางการเคลื่อนไหวของตั๊กแตนตำข้าว โดยนายเต็น ตระการดี ชาวบ้านโพธิ์กอง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นคนต้นคิด กะโน้ปติงต็องจะเต้นเป็นคู่ เดิมมีผู้แสดงเพียง 2 คน เล่นสอดแทรกในวงมโหรีพื้นบ้านของคณะนายเหือน ตรงศูนย์ดี ต่อมาได้มีการส่งเสริมและเล่นกันอย่างแพร่หลาย

ในการเล่นจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายหญิง และฝ่ายชาย เมื่อเริ่มแสดง จะเต้นตามจังหวะเพลงกะโน้ปติงต็องส่ายตัว มือ แขน ขา ไปมา เลียนแบบลีลาของตั๊กแตนตำข้าว ตามจังหวะดนตรีและคำร้อง ผู้เล่นจะเปลี่ยนลีลาการตั๊กแตนไปตามจังหวะดนตรีและคำร้อง ส่วนมากจะใช้บทร้องในแต่ละตอนเป็นช่วงเปลี่ยนท่า เนื้อเพลงหรือบทร้องจะสอดคล้องกับงานนั้นๆ ท่ารำจะมีขั้นตอนจากบทไหว้ครู ท่าตั๊กแตนเช็ดปากหลังกินอาหาร ท่าป้องตาดูเหยื่อ ท่าหยอกล้อกัน ท่าสะกิดกัน ฯลฯ

บทร้องเพลงกะโน้ปติงตองในตอนแรกจะร้องเป็นภาษาเขมร แต่ในระยะหลังมีการแต่งเนื้อร้องตามงานที่ไปแสดง เพื่อให้เข้ากับธีมงาน ดังนั้นใช้เนื้อร้องทั้งภาษาเขมรและภาษาไทยเพื่อให้ฟังง่ายขึ้น การแต่งกายโดยแต่งกายเลียนแบบตั๊กแตนตำข้าว มีการเต้นกะโน้ปติงต็องมีจังหวะลีลาที่สนุกสนานเร้าใจ เป็นการเล่นเพื่อผ่อนคลายและสนุกสนาน แสดงให้เห็นถึงความสามารถของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการนำลีลาการเต้นของตั๊กแตนตำข้าวได้อย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่ลงตัว จะเห็นได้ว่าที่ชุมชนบ้านโพธิ์จะใช้ "ตั๊กแตน" เป็นสัญลักษณ์ของชุมชนที่น่ารักและประทับใจอุ้มสี


เมนูอาหารของชุมชนโพธิ์กองที่ต้องมาลิ้มลองรับประทาน นั่นก็คือ "กังแกบบอบ" คือ "กบยัดไส้", "โบ๊ะโดง" ก็คือตำปลาทูใส่มะพร้าว, "ละแวกะดาม" ก็คือ "แกงคั่วปู" นักท่องเที่ยวต้องมารับประทานด้วยตัวท่านเอง เป็นอาหารพื้นถิ่นที่ไม่ควรพลาด






แกงไก่ใส่สับปะรด




ภาษาเขมรถื่นไทยเรียกว่า "กังแกบบอบ" นั่นก็คือ "กบยัดไส้" ต้องมากินให้ได้นะคะ




เสียดายที่ตอนมีการแสดง "กะโน้ปติงต็อง (ตั๊กแตนตำข้าว)" ฝนตกหนักมาก เล่นในห้องประชุมที่ทานข้าวไปชมไป มุมแคบมาก สงสัยอุ้มได้กลับมาชุมชนบ้านโพธิ์กองอีก..ใช่ไหมคะ

ต่อจากนั้น อพท.2 พามาเรียนรู้ลงมือทำกิจกรรม "บิด-ย้อม" ผ้าไหม โดยใช้สีจากธรรมชาติ สีเหลืองจากต้นคูณ สีแดงจากต้นประดู่ นับเป็นศาสตร์และศิลป์ที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตชีวิตของชุมชนบ้านโพธิ์กอง จังหวัดสุรินทร์ ทุกวันนี้การย้อมผ้าไหมมีทั้งย้อมด้วยวัสดุจากธรรมชาติ การย้อมสีไหมจะต้องนำไหมดิบมาฟอกเพื่อไม่ให้มีไขมันเกาะ โดยจะใช้ด่างจากขี้เถ้าไปฟอกไหม เรียกว่า การดองไหม จะทำให้เส้นไหมขาวนวลขึ้น แล้วจึงนำไปย้อม
การย้อมด้วยสีธรรมชาติมีข้อดี คือ สีไม่ฉูดฉาด สีอ่อนเย็นตากว่าสีสังเคราะห์ จึงทำให้สีของผ้างดงามสัมพันธ์กับรูปแบบของผ้าพื้นเมือง สีธรรมชาติจะติดสีได้ดีในเส้นไหมและฝ้าย วิธีย้อมคือ ก ารนำคั้นเอาน้ำจากพืชที่ให้สีนั้นๆ ต้มให้เดือด จากนั้นนำไหมชุบน้ำให้เปียกบิดพอหมาด กระตุกให้เส้นไหมเรียงเส้น จึงแช่ในน้ำย้อมสี นำไปผึ่งให้แห้ง จะได้ไหมสีตามต้องการ


ต้นคูณ จะได้ผ้าออกสีเหลืองสีน้ำตาล

ต้นประดู่ จะได้สีแดง



ครูผู้สอนการ "บิดผ้าไหม" นำผ้าไหมสีขาว มาพับเป็นสองท่อนแล้วค่อยไป บอดไปข้างหลังให้ตึง










ก้อนขี้หมาของอุ้มสี ม่ายช่ายยย "บิด" ผ้าไหมเรียบร้อยกำลังจะ "ย้อม" นะจ๊ะ


ว่าแล้ว Acting กับงาน "บิด-ย้อม" ผ้าไหมจากสีธรรมชาติ เริ่มจากนางสาวกัญจน์กนก มีแสง ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ อพท.2 (เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้)

พันเอกนาวิน ปรีชาพณิชยกุล ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 2 อพท.

ดร.นุชประวีณ์ ลิขิตศรัณย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมบริการ คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

น้องแป้ง สาว อพท.2

น้องโตโต้ เจ้าหน้าที่ ททท.สำนักงานสุรืนทร์


ทริปนี้แต่ละคนได้ผ้าพันคอผ้าไหมพันคอ ผ้าสวยด้วยมือเรา ต่างคนต่างครีเอทสวยงามสุดสุด


จากนั้น อพท.2 พามาทำกิจกรรม CSR ภายในบริเวณวัดหินโคน วัดเบญจศิลาราม บ้านโพธิ์กอง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์


เป็นกิจกรรมที่อพท.2พามาทำกิจกรรม CSR เป็นการปลูกต้นไม้สอดคล้องกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม Amazing ยิ่งกว่าเดิมสุดสุด

















นางสาววัชรี ชูรักษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อพท. เปิดเผยว่า มาเยือนชุมชนท่องเที่ยวบ้านโพธิ์กอง จ. สุรินทร์ครั้งใด ประทับใจทุกครั้ง ครั้งนี้ก็ว๊าวๆๆ แบบสุขใจ กลับไปก็คิดถึงชุมชนจริงๆ ค่ะ
มาครั้งแรกก็ราว 25 ปีกว่ามาแล้ว ข้าราชการชั้นต้น สมัยสาวๆ เป็นวิทยากร ททท. มาให้ความรู้ชาวโพธิ์กอง พัฒนาหมู่บ้านหัตถกรรมผ้าไหมบ้านโพธิ์กองอย่างไร ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ผูกพันกันมาแม้ห่างหายกันไปบ้าง พี่ประยงค์ พี่บุญจันทร์ จำหนิงได้เสมอ ได้กลับมาร่วมพัฒนายกระดับบ้านโพธิ์กองอีกครั้งกับ อพท. ด้วย CBT Thailand และยกระดับความว๊าวกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สู่ตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ เป้าหมายตลาด MICE ก็ยังคงประทับใจกับการต้อนรับที่อบอุ่นดุจญาติมิตร กับความโดดเด่นของอัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมชาติพันธุ์เขมร ต้นกำเนิดขนบติงตอง รำตั๊กแตน
ชาวบ้านต้อนรับด้วยการเล่นดนตรีสดพื้นบ้านของพ่อๆ และรำพื้นบ้านของแม่ๆ และสาวๆ ที่พวกเราต้องร่วมรำด้วยความสนุกครื้นเครง ครูสุดารัตน์ นักสื่อความหมายเล่าเรื่องราวไปด้วยตลอดทริป
เดินผ่านทุ่งนาและโรงเลี้ยงวัวไป ไหว้ศาลปู่ตาที่เคารพรักและศรัทธาของชุมชน แล้วมารับขวัญด้วยบายศรีต้อนรับจากชุมชน วัฒนธรรมดั้งเดิม ขวัญเอยขวัญมา เรียบง่ายแต่ขลัง ทำให้อิ่มเอมใจ
หลังจากนั้นได้ทานขนมพื้นบ้าน นมโช้ค หรือขนมฝักบัวเขมรร้อนๆ แล้วไปเป็นนักเรียนเรียนภาษาถิ่นเขมร สนุกสนานกับคำที่ทั้งคุ้นเคยและไม่คุ้นเคย พูดไปขำไป
จากนั้นต่อด้วยทานอาหารเด็ด อร่อยที่สุด กบยัดใส้สมุนไพร เมนูกบหมักอบทอดสัญชาติฝรั่งเศสแพ้ราบคาบเลยค่ะ ผัดเขมรสมุนไพร รสชาติเข้มข้นจนอยากซื้อกลับบ้านไปฝากแม่
อิ่มแล้วไปต่อกันด้วยกิจกรรมบิดย้อมสีธรรมชาติด้วยผ้าไหมงดงาม เป็นกรรมวิธีบิดแห่งแรกของไทยเลย ออกมาเก๋ไก๋ตามสไตล์ลิสของแต่ละคนเลยค่ะ ย้อมสีแดงด้วยเปลือกประดู่ สีน้ำตาลอ่อนด้วยฝักต้นคูน ได้ผ้าพันคอผ้าไหมบิดย้อมเอง ผืนเดียวในปฐพี
จากนั้นร่วมทำบุญในวันพืชมงคล ด้วยการร่วมปลูกป่าต้นยางนาทำบุญให้วัดและชุมชน เมื่อโตใต้ต้นจะมีเห็ดให้ชุมชนได้เก็บกินกัน ได้ปลูก 5 ต้นภูมิใจ แล้วจะกลับมาดูใหม่นะว่าโตขนาดไหน
ปิดท้ายด้วยกิจกรรมโสเหร่ พูดคุยแลกเปลี่ยนความประทับใจ และให้คำแนะนำจากทีม อพท. บริษัทนำเที่ยว บล็อกเกอร์และทีม ม.เกษตรศาสตร์ เสียงประทับใจกันถ้วนหน้า พร้อมรองรับตลาด MICE ยังสามารถเติมเสน่ห์ให้เร้าใจไปกันแต่ละกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวได้เลย
วันรุ่งขึ้นก่อนกลับบ้านได้แวะเยี่ยม ม.เทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสุรินทร์ ที่มีความพร้อมรองรับการจัดประชุม ด้วยรางวัลมาตรฐานสถานที่จัดประชุมระดับประเทศจาก สสปน. ทั้งห้องประชุมสวยงาม เทคโนโลยีพร้อมรองรับได้ตั้งแต่ระดับ 50-1,000 คน และพื้นที่นอกห้องประชุม สวยงามมาก บรรยากาศทิวทัศน์ป่าไม้สมบูรณ์
👍พร้อมจริงๆ ค่ะ จ.สุรินทร์ ทั้งแหล่งท่องเที่ยววิถีช้าง วิถีชุมชน ปราสาทหินศีขรภูมิ หน้าบันที่สวยที่สุดในไทย พร้อมห้องประชุมพร้อมรองรับตลาด MICE และตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพทุกกลุ่มค่ะ ต้องผนึกพลังกันล่ะค่ะ อพท. ททท. สสปน. ทกจ. มทร. สุรินทร์ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และจังหวัดสุรินทร์ ไปด้วยกันนะคะ จะได้ไปได้ไกลค่ะ
สุดท้ายขอขอบคุณแขกผู้ร่วมทริปและทีมยกระดับความว๊าว ทีม อพท.2 นำโดย ผจก. นาวินและทีมงาน และ อ.นุชประวีณ์และทีมงาน ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน และขอบคุณภาพสวยๆ จากสื่อคนเก่ง พี่อุ้มของพวกเราค่ะ

ผ่านมาถึงจังหวัดสุรินทร์ แวะสักการะพระยาสุรินทรภักดีสักหน่อยค่ะ

อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง เป็นอนุสาวรีย์ที่โดดเด่นด้วยรูปหล่อเจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดสุรินทร์ ขนาบข้างด้วยรูปปั้นงาช้างสีขาวขนาดใหญ่ บ่งบอกถึงความเกี่ยวพันระหว่างชาวสุรินทร์และช้าง ที่มีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ครั้งแรกสร้างเมือง


ภาพเยอะมาก เพราะฉะนั้นเก็บภาพพิธภัณฑ์ไว้เป็นตอนที่ 3 นะคะ ขอขอบคุณ อพท.2 ที่ชวนอู้มสีมา

ขอขอบคุณ อพท.2
นางสาววัชรี ชูรักษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อพท.
พันเอกนาวิน ปรีชาพณิชยกุล ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 2 อพท.
นางสาวกัญจน์กนก มีแสง ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ อพท.2 (เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้)
ดร.นุชประวีณ์ ลิขิตศรัณย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมบริการ คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
![]() เพลง : สุรินทร์เหลา / น้องโตโต้ ททท.สำนักงานสุรินทร์ BG : คุณลักกี้ / กล่องเขียนคอมเม้นท์ : คุณ lozocat ของแต่ง BLOG : ป้ามด-ดอกหญ้าเมืองเลย-ชมพร-ญามี่-เนยสีฟ้า
Create Date : 18 พฤษภาคม 2565 |
Last Update : 25 พฤษภาคม 2565 21:09:32 น. |
|
16 comments
|
Counter : 2837 Pageviews. |
 |
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณTui Laksi, คุณปัญญา Dh, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณสองแผ่นดิน, คุณKavanich96, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณ**mp5**, คุณทูน่าค่ะ, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณtoor36, คุณSweet_pills, คุณmultiple, คุณkae+aoe, คุณnewyorknurse |
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 18 พฤษภาคม 2565 เวลา:19:59:26 น. |
|
|
|
โดย: Tui Laksi วันที่: 18 พฤษภาคม 2565 เวลา:21:57:17 น. |
|
|
|
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 18 พฤษภาคม 2565 เวลา:23:21:24 น. |
|
|
|
โดย: Kavanich96 วันที่: 19 พฤษภาคม 2565 เวลา:4:56:24 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 พฤษภาคม 2565 เวลา:5:58:12 น. |
|
|
|
โดย: **mp5** วันที่: 19 พฤษภาคม 2565 เวลา:9:38:28 น. |
|
|
|
โดย: ทูน่าค่ะ วันที่: 19 พฤษภาคม 2565 เวลา:9:50:14 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 พฤษภาคม 2565 เวลา:22:42:37 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 20 พฤษภาคม 2565 เวลา:0:14:17 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 20 พฤษภาคม 2565 เวลา:0:21:24 น. |
|
|
|
โดย: multiple วันที่: 20 พฤษภาคม 2565 เวลา:4:04:57 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 พฤษภาคม 2565 เวลา:5:53:59 น. |
|
|
|
|
|