อพท.2 พามาสำรวจเส้นทาง เที่ยวอารยธรรมอีสานใต้ แวะที่ชุมชนบ้านอาลึ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์



ชุมชนบ้านอาลึ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์
เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ครบวงจร
เป็นดินแดนอารยธรรมชาวกูย
ซึ่งสันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของชาวบ้านอาลึ เป็นชาวกูยที่อพยพมาจากแขวงจำปาสัก ตอนใต้ของประเทศลาว
ที่อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งชุมชนบริเวณแห่งนี้
ชาวกูยมีภาษาพูดเป็นของตัวเองแต่ไม่มีภาษาเขียน
ที่นี่มีการอนุรักษ์ธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
มีเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพของชาวกูยไว้อย่างสมบูรณ์
หมายเหตุ เพลงอาจจะไม่ใช่สักหน่อย แต่อุ้มสีชอบน่ะค่ะ
แม้จะฟังรู้เรื่องมั่งไม่รู้เรื่อง อุ้มสีชอบเลยนำมาใส่แบบออกเขมรหน่อยๆ































นางสาววัชรี ชูรักษา
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อพท.
เปิดเผยว่า
อพท.เป็นหน่วยงานภาครัฐภายใต้กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา คือ
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท)
เป็นหน่วยพัฒนาเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน
โดยมีหลักการทำงาน กล่าวคือ
ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนภาคีทุกภาคส่วน
เพื่อให้มีศักยภาพในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้ไปสู่ความยั่งยืน
้เพื่อที่จะนำความสุขมาสู่พื้นที่โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ
เราก็มี อพท.2 มี 9 สำนักงานด้วยกัน
ส่วนสำนักงานที่พิเศษมี 6 สำนักงาน
กล่าวคือ เราจะดำเนินงานเฉพาะพื้นที่พิเศษเท่านั้น
ไม่ได้ดำเนินงานทั่วประเทศ
แต่มีพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดำเนินการขยายผล
ทำให้เราเข้ามาดำเนินการในเขตท่องเที่ย
โดยมี 9 เขตที่เราเข้ามาทำงานเพื่อที่จะเตรียมกสรประกาศเป็นพื้นที่พิเศษ
1 ในนั้นคือ อพท.2 ซึ่งดูแลอารยธรรมอีสานใต้
เราเรียกว่า "เขตพัฒนาอารยธรรมอีสานใต้"
ซึ่งมี 5 จังหวัดด้วยกันคือ
นครราชสีมา,สุรินทร์, บุรีรัมย์, ศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี
ซึ่งจะเป็นเส้นทางท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้

อพท.2 เข้ามาดำเนินการเตรียมการในการที่จะทำให้แหล่งการท่องเที่ยว
เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและมีมาตรฐานสากล
ก่อนที่จะทำให้บังเกิดขึ้นได้ต้องมีการเตรียมพื้นที่ก่อน
วิธีการเตรียมพื้นที่ของเราก็คือ เราลงชุมชนที่เป็นฐานราก
ทำเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน กล่าวคือ ให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม
ในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวของชุมชนเอง
นำเสนอคุณค่าของชุมชน นำเสนออัตตลักษณ์มีอะไรบ้าง
โดยเฉพาะวัฒนธรรม วิถีชีวิตธรรมชาติ
ซึ่งจังหวัดสุรินทร์มีความน่ารักไปหมด
ทั้งนี้ อพท.เข้ามาดำเนินการพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561
จนบ่มเพาะชุมชนจนสุกงอม
สำหรับปีนี้ให้ทีมงานของดร.นุชประวีณ์ ลิขิตศรัณย์
อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมบริการ
คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
มาช่วยยกระดับให้ตอบโจทย์นักท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวมาแล้วประทับใจแล้วกลับไปบอกต่อกันว่า
มาเที่ยวจังหวัดสุรินทร์แล้ว
ประทับใจกับวิถีชีวิตของชุมชน ศิลปะวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนที่นี่เรารู้สึกภูมิใจแทนคนสุรินทร์
และหลงรักในอาหารการกิน หลงรักไปทุกเรื่องราวที่อยู่กับชุมชน
มีความประทับใจในความเป็นพี่เป็นน้องของชุมชน
ที่จังหวัดสุรินทร์เราไปกัน 2 ที่ด้วยกัน
พาคณะ blogger พาผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว
มาทดสอบสำรวจเส้นทางว่าจะชอบไหม
และกำลังจะยกระดับแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเพื่อตอบโจทย์ MICE
ไมซ์ MICE ย่อมาจากคำว่า Meetings, Incentive Travel, Conventions, Exhibitions
ซึ่งเป็นกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ
วันนี้ถือเป็นโอกาสที่ตณะจะได้เข้ามาเยี่ยมชม
เพรากลุ่มนักท่องเที่ยว MICE เขาจะมาเพื่อจัดการประชุม
จากนั้นไปทำกิจกรรมที่ว๊าปที่คูล ได้มาเรียนรู้ชุมชนได้มาเที่ยว
ถือเป็นนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการจับจ่ายใช้สอยสูง
ขอเชิญชวนมาเที่ยวชุมชนของเราที่ชุมชนโพธิ์กอง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
และชุมชนบ้านอาลึ อำเภอสำโรงทสบ จังหวัดสุรินทร์
ขอเชิญชวนมาเที่ยวกันนะคะ



ชุมชนบ้านอาลึ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์
เส้นทางท่องเที่ยวชุมชนบ้านอาลึ
ได้มาสัมผัสวิถีชุมชนดั้งเดิมที่สืบเชื้อสายมาจากชาวกูย
ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บริเวณนี้มายาวนานนับร้อยปี
ปัจจุบันบ้านอาลึยังคงมีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่เฉกเช่นวันวาน
ยังคงดำเนินชีวิตตามวิถีชีวิตความเป็นอยู่และวัฒธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง

วิถีชีวิตชาวบ้านในส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ทำนา
และสตรีภายในหมู่บ้านจะใช้เวลาว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา
มาประกอบอาชีพเสริมด้วยการเลี้ยงไหม ทอผ้าไหม
"เซว" ไหมเพื่อสร้างลวดลายและตัดเย็บสำหรับนุ่งห่ม

“อาลึ” ชื่อนี้มีที่มาจากชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นบริเวณสระน้ำของหมู่บ้าน
ซึ่งในขณะนั้นชุมชนเกิดโรคระบาดขึ้น
ด้วยความที่พื้นที่มีต้นอาลึปลูกอยู่เป็นจำนวนมาก
ทำให้ชาวบ้านได้นำ "ต้นอาลึ" มาใช้เป็นยารักษาโรคดังกล่าวจนหายขาด
อีกทั้งชุมชนยังไม่มีชื่อชุมชน
ดังนั้นชาวบ้านจึงนำชื่อต้นอาลึที่ใช้รักษาโรคระบาดมาตั้งเป็นชื่อชุมชนว่า “บ้านอาลึ”



ชาวอาลึ มีการแต่งกายที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นอย่างยิ่ง
กล่าวคือ เป็นการแต่งกายด้วยผ้าไหมสีดำที่ได้จากการย้อมจากลูกมะเกลือทั้งชุด





เมื่อนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมยามที่ชุมชนบ้านอาลึ
จะแทนความรักและมีน้ำใจด้วยเข็มกลัดดอกไม้ที่ทำจากผ้าไหม
ถ้าเป็นสมัยก่อนที่ยังไม่มีโควิดชาวบ้านจะกลัดดอกไม้ให้
แต่ปัจจุบันนี้ให้หยิบดอกไม้แล้วกลัดที่เสื้อเองค่ะ
ปฏิยีติตามกฏกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด







จากนั้นพานักท่องเที่ยวปั่นจักยานหรือนั่งรถลีมูซีน
มาเข้าร่วม "พิธีกรรมเซ่นไหว้ปู่ตา"













ชนชาติพันธุ์นี้มักเรียกตัวเองว่า กูย หรือ กวย แปลว่า "คน"
ใช้ภาษากูย หรือ "กวย" เป็นเอกลักษณ์ในการสื่อสาร
ชาวกูย หรือ กวย นับถือศาสนาพุทธผสมและเชื่อเรืองภูตผีปีศาจเจ้าที่
ในชุมชุนจะมีศาลเจ้าที่ประจำหมู่บ้าน
ทุกหมู่บ้านเรียกว่า"ผละโจ๊ะ"
จะมีการบวงสรวงเจ้าที่เรียกว่า "แซนผละโจ๊ะ" (เซ่นเจ้าที่)



ศาลปู่ตา เป็นศาลศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านอาลึมีความเชื่อเป็นอย่างบิ่ง
อย่างวันนั้นที่มาสำรวจเส้นทางก็มีการมาไหว้สักการะที่ศาลปู่ตาด้วย
เป็นความเชื่อและศักดิ์สิทธิ์
ซึ่งเป็นขวัญและเป็นกำลังใจแก่ชาวบ้านอาลึในการดำเนินชีวิต
นับเป็น "พิธีกรรมเซ่นไหว้ปู่ตา" ที่เป็นความเชื่อที่อยู่คู่กับชุมชนบ้านอาลึที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
วันที่อุ้มสีไปไหว้ด้วยใบไม้เป็น 2 ใบ ใบไม้ต้องคู่เสมอ
นักท่องเที่ยวต้องมาสัมผัสด้วยตัวคุณเอง

















เมื่อเซ่นไหว้เสร็จก็จะนำของไหว้ไม่ว่าจะเป็นเหล้าขาว หรือไก่ต้ม
ให้ผู้ร่วมพิธีหยิบไก่ขึ้นมากินเป็นอันเสร็จพิธีกรรมเซ่นไหว้พ่อปู่







พันเอกนาวิน ปรีชาพณิชยกุล
ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 2 อพท.
เปิดเผยว่า
สำหรับชุมชนบ้านอาลึ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์
ความประทับใจที่สุดก็คือ สิ่งสำคุญคือการเชื่อมโยงวิถีชีวิต "ชาวกูย"
ซึ่งเป็นชาวบ้านพื้นถิ่นที่มีความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านของเราก็คือ กัมพูชา
ซึ่งนับเป็นชนพื้นเมืองที่น่าสนใจ
ที่มีวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ซึ่งแตกต่างจากคนภาคกลางหรือคนภาคอื่นๆ
การได้มาเห็นวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ถือเป็นมนต์เสน่ห์ที่สำคัญ
สิ่งเหล่านี้ร้อยเรียงเชื่อมโยงมาถึงวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและอาหารต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดนี่คือเสน่ห์ เป็นต้นทุนที่ดีในเรื่องของการท่องเที่ยว
เพราะเหตุผลที่ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเอกลักษณ์ เป็นอัตตลักษณ์ของท้องถิ่น
สิ่งที่ได้จากการท่องเที่ยวอย่างหนึ่งก็คือในเรื่องของรายได้
แต่ที่ได้มากกว่านั้นก็คือความสุขที่ชาวบ้านอาลึ
แสดงให้เห็นว่าเขามีความสุข เขาได้เห็น เขาได้รักษา
หวงแหนวัฒนธรรมขนบธรรมประเพณีวิถีชีวิตของเขา
แล้วนักท่องเที่ยวเกิดความชื่นชอบและเกิดความประทับใจ
สิ่งนั้นคือความสุขที่ยิ่งกว่า
สิ่งเหล่านี้จะเป็นความยั่งยืนที่ใช้การท่องเที่ยวเป็นตัวนำ
จะส่งมอบสืบทอดวิถีชีวิตของพวกเขา
ให้อยู่ต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานของเขา
เพราะเขาเห็นว่าวิถีชีวิตของเขามีความสำคัญ คนให้ความสนใจ
และสามารถสร้างรายได้ได้ด้วย

ผมเห็นรูปแบบการดำรงชีวิต ความคิดความเชื่อ
ที่สำคัญของคนในท้องถิ่นที่มีความผูกพันร่วมกัน
รวมถึงต้น "เปราะหอม"
ซึ่งเป็นความเชื่อในเรื่องของเครื่องรางของขลัง
ซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ในตัวเองในเรื่องของเสน่ห์

บ้านเรือนของ "ชาวกูย" ซึ่งมีลักษณะรูปแบบของหน้าต่างที่ทำจาก "ใบตะแบก"
และเรียนรู้ถึงวิธีทำเครื่องรางของขลัง
สิ่งเหล่านี้ถือเป็นกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดประสบการณ์
มีกระบวนการมีส่วนร่วมเกิดความภูมิใจและมาท่องเที่ยวซ้ำ

สำหรับเมนูอาหารจะเกี่ยวข้องกับวิถีวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตในท้องถิ่น
มีการนำขมิ้น นำว่าน มาผสมผสานแล้วนำไก่มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน
แล้วนำไก่นั้นมาทอด
จะเห็นว่าเป็นการเชื่อมโยงกันกับสิ่งต่างๆ อย่างลงตัวและเหมาะสม
และยังมีการทำ DIY กระเป๋าผ้าย้อมมะเกลือ
ซึ่งผ้าไหมมะเกลือเป็นสัญญลักษณ์พื้นถิ่นของชาวกูยคือสีดำ
ซึ่งผ้าไหมสีดำที่ว่าพอนำมาสวมใส่จริงๆ แล้วไม่ได้รู้สึกว่าร้อน
หรือไม่ได้ร้อนอย่างที่เราคิดว่าสีดำดูดความร้อน
นับเป็นมรดกเป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชุมชนในเรื่องของการดำเนินชีวิต

การทำกระเป๋าสิ่งต่างๆ เกิดการพัฒนาขึ้นเป็นอัตตลักษณ์ของ "ดอกอาลึ"
มาผสมผสานมา "เซว" เป็นลวดลายอย่างสวยงามอยู่บนกระเป๋า
ที่มีลักษณะเฉพาะ สร้างเป็น brand และที่สำคัญมีจุดเช็คอินถ่ายภาพ

สิ่งเหล่านี้ถือเป็นสุนทรียภาพครบครัน กล่าวคือ
การมองเห็นด้วยตา การเล่าเรื่องผ่านปราชญ์ของชุมชน
การได้ชิมลิ้มรสของอาหาร และการได้สัมผัสจากการลงมือทำ
สุดท้ายเราก็ไปอยู่ที่จุดถ่ายรูป ซึ่งเป็นจุดถ่ายภาพที่สำคัญของชุมชน
ทำให้เกิดความอบอุ่นและประทับใจ
โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ชอบถ่ายภาพต้องห้ามพลาดเลยครับ ผมขอเชิญชวน

ในส่วนของ อพท.ขอขอบคุณคณะอาจารย์ คณะวิชาการ
สื่อมวลชนทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นที่มาช่วยสร้างกระบวนการ
การมีส่วนร่วมและช่วยยกระดับเรื่องของการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องของการกระจายรายได้
และลดความเหลี่ยมล้ำ ประทับใจครับและขอขอบคุณทุกท่านครับ



จากนั้นมาชม "ศิลปวัฒนธรรมการรำแกลมอ"









อุ้มสีอยากให้พี่น้องชาวไทยเข้ามาเที่ยวที่ชุมชนบ้านอาบู
มาร่วมในงานนี้ "ศิลปวัฒนธรรมการรำแกลมอ"
มีทั้งได้รับรู้วัฒนธรรมประเพณี และได้ร่วมสัมผัสกับควาสนุกสนานของศิลปวัฒนธรรมการรำแกลมอ
อุ้มสีชอบน้ำเสียงของคุณยายมากค่ะ อยากให้มาเที่ยวที่นี่ค่ะ สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น





จากนั้นเรานั่งรถ "ลีมูซีน" ไปชมบ้านโบราณของชาวกูยกันค่ะ



กลุ่มชาติพันธุ์ที่คนไทยหลายคนเรียกว่า ส่วย นั้น
นั่นก็คือ ชนชาติพันธุ์ กูย (Kuy, Kui), กวย (Kuoy)
คำว่า กุย กูย โกย กวย แปลว่า "คน"
ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาและต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ชนชาติพันธุ์นี้ถูกเรียกเหมารวมกับชนชาติพันธุ์อื่นๆว่า "เขมรป่าดง"
เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ลุ่มแม่น้ำโขง บริเวณแนวเขาพนมดงรักจนถึงบริเวณลาวตอนกลางและลาวใต้






























ฐานการเรียนรู้ กิจกรรมสอนการทำสร้อยคอหรือสร้อยข้อมือจาก "ว่านเปราะหอม"



อุปกรณ์หลักคือ ว่านเปราะหอม ว่านมหาเสน่ห์ สรรพคุณเพียบ
ว่านเปราะหอม เป็นพันธุ์ไม้ประเภทลงหัว และเป็นไม้ล้มลุก มีหัวหรือเหง้าแง่ทรงกลมรี สีเหลืองอ่อน
ถ้าแก่จัดจะมีสีน้ำตาลเข้ม เหง้าจะฝังอยู่ใต้ดินเหมือนหัวกระชาย เป็นพืชที่มีอายุหลายปี

























ดร.นุชประวีณ์ ลิขิตศรัณย์
อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมบริการ
คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
เปิดเผยว่า
ในฐานบ้านโบราณกูย 106 ปี
เป็นบ้านโบราณเจ้าของยังคงดำรงชีวิตอยู่โดยตอนนี้ผ่านมา 3-4 รุ่น
ในฐานกิจกรรมตรงนี้สามารถขึ้นไปชมบ้านโบราณได้
โดยที่เราจะได้เห็นวิถีชีวิตของ "ชาวกูย" จริงๆ
สมัยก่อนพื้นที่ตรงนี้จะมีขโมยชุกชุม
ดังนั้นบนบ้านโบราณจึงมีอะไรทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกี่ทอผ้า
มีการเลี้ยงไหม, การอยู่ไฟ, การทำอาหารในครัว
จะมีอยู่บนบ้านโบราณหลังนี้ทั้งหมดุกอย่าง

ความโดดเด่นของฐานนี้จะเป็นในเรื่อง "ว่านโบราณ"
เราเรียกว่า "ว่านเปราะหอม"
สำหรับชาวกูยจะถือว่า "ว่านเปราะหอม" เป็นเครื่องรางของขลังอย่างหนึ่ง
ที่มีสรรพคุณความเชื่อกันว่า
หากสวมใส่แล้วจะแคล้วคลาดปลอดภัย
ถ้าใครได้ครอบครองจะมีสิ่งดีดีเข้ามาปัดเป่าสิ่งที่ชั่วร้ายออกไป
ในตัวของกิจกรรมนี้นักท่องเที่ยวสามารถที่จะร่วมลงมือทำกิจกรรมได้ด้วย
เป็น "การร้อยว่านเปราะหอม"
โดยว่านเปราะหอมนี้ความเจริญ้ติบโตที่สมบูรณ์ที่สุดจะอยู่ที่ 1-2 ปี
เป็นความ Amazing ยิ่งกว่าเดิมทีเดียว

อยากจะขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทุกๆ ท่านมาร่วมเรียนรู้วัฒนธรรม "ชาวกูย"
กับ "บ้านอาลึ" ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีประชากรชาวกูยพักอาศัยอยู่กระจัดกระจาย
และมีวิถีชีวิต วิถีวัฒนธรรมของ "การไหว้ศาลปู่ตา"
ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวกูยในหมู่บ้าน

นอกจากนั้นที่นี่ยังมี "บ้านโบราณ"
และที่นี่โดดเด่นในเรื่องของการ "ย้อมมะเกลือ"
เป็นจุดกำเนิดของการย้อมมะเกลือ
จะได้ผ้าไหมที่มีกลิ่นหอมของสมุนไพร นอกจากนั้นที่นี่เป็นจุดกำเนิดขอวการ "เซว" ผ้า
มีลายการเซวผ้าเยอะแยะมากมาย
ขอเรียนเชิญนักท่องเที่ยวทุกๆ ท่านมาร่วมเที่ยว
มาร่วมสร้างความภาคภูใจให้กับคนในชุมชน "อาลึ" ขอเรียนเชิญค่ะ



ร้อยว่านเปราะหอมกันเสร็จใส่โชว์กันถ้วนหน้า
จริงๆ ต้องตากแดด 2 แดด และห้ามโดนน้ำ
แต่ทุกคนอยากใส่กันค่ะ ของสวยด้วยมือเราต้องโชว์

















จากนั้นพักทานข้าวเที่ยงกันค่ะ แบบ New Normal พาข้าวเที่ยงวงละ 3 คน





ยำดักแด้ รสชาติกลมกล่อม อร่อยมัน 10 คะแนนเต็ม มีเบิ้ลสอง



ป่นปลา



ส้มตำแบบเขมร อร่อยดีมีเบิ้ล 2



ณ ชุมบ้านอาลึ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์
ได้นำวัสดุพื้นถิ่นมาเป็นสีที่ได้มาจากสีจากธรรมชาติ
เป็นการสืบทอดภูมิปัญญานำ “ผ้าย้อมมะเกลือ”
และ “นึ่งผ้าด้วยสมุนไพร” ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่นำสีของธรรมชาติมาใช้เป็นวัตถุดิบในการย้อม



การย้อมผ้าไหมด้วยผลมะเกลือ 20 ครั้ง
กว่าจะได้สีดำสนิทแบบนี้ Amazingสุดสุด
ผ้าย้อมมะเกลือ” เป็นวิธีการย้อมผ้าเพื่อให้ได้สีดำ
โดยจะนำผ้าชนิดใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็นผ้าไหม ผ้าแพร ผ้าฝ้าย มาย้อมกับผลมะเกลือจนเกิดเป็นผ้าสีดำ
โดยเป็นวิธีการที่ไม่ยากและให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีอีกด้วย



ก่อนที่จะไปรู้วิธีในการย้อมผ้า ก็จะขอทำความรู้จัก “มะเกลือ”
วัตถุดิบในการย้อมผ้าจากธรรมชาติกันก่อน มะเกลือเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
พบขึ้นทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ จัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง
ซึ่งผลของมะเกลือนั้นมีสรรพคุณเป็นทั้งยาขับพยาธิ
ที่คนไทยรารู้จักและใช้กันมานาน และผลมะเกลือนั้น
ก็คือวัตถุดิบที่ถูกนำมาใช้ในการย้อมผ้าให้เป็นสีดำนั้นเอง



ขั้นตอนนั้นนำมะเกลือมาตำใน ”ครกไม้ขุด”
ตำให้ละเอียดพอประมาณและนำไปผสมกับน้ำในอัตราส่วน 10 ครกต่อน้ำ 1 กะละมัง
แล้วก็จะนำผ้าไหมที่ต้องการย้อมสีมาย้อม



และสีที่ได้จากน้ำย้อมยังติดง่ายและติดทนนาน
จึงต้องใส่ถุงมือและเสื้อผ้าที่สามารถเลอะเทอะได้
การย้อมผ้าด้วยมะเกลือนั้นไม่ยากแต่ต้องใช้เวลานาน
เพราะสีผ้าจะไม่ติดในครั้งเดียว
และจะต้องทำวิธีนี้วนไปวนมาซ้ำๆ กันถึง 20 ครั้ง
ถึงจะได้สีดำสนิทตามที่ต้องการ ซึ่งถ้าสีติดกับเนื้อผ้าดีแล้วผ้าก็จะไม่ตกสี
และหากเป็นผ้าแพรแล้วก็จะดำมันสวยงามไม่ต้องพึ่งสารเคมี

อีกทั้งที่ชุมชนบ้านอาลึแห่งนี้ ยังมีอีกหนึ่งภูมิปัญญา
นั่นก็คือการ “นึ่งผ้าด้วยสมุนไพร”
ซึ่งเป็นวิธีการถนอมผ้าที่ได้ใช้มาตั้งแต่อดีต จะทำให้ผ้านั้นเงางามขึ้นและป้องกันผ้าจากแมลง
เพราะสมัยก่อนนั้นแมลงจะชอบมาแทะเสื้อผ้า
กลิ่นของสมุนไพรที่ได้จากการนึ่งนั้น สามารถที่จะกันแมลงได้



วัตถุดิบจากธรรมชาติ อาทิ ลูกตะครอง หัวขมิ้นชัน
หัวว่านเปราะหอม ใบเล็บครุฑ
โดยจะนำวัตถุดิบแต่ละชนิดมาสับเสร็จแล้วโขลกให้ละเอียดแยกน้ำและกาก
หลังจากนั้นนำผ้าที่ต้องการมาแช่น้ำสมุนไพร และไปคลุกกับส่วนที่เป็นกากสมุนไพร
นำมาใส่ในหวดและใช้เวลานึ่งประมาณ 1 ชั่วโมง
จากนั้นนำผ้าออกมาผึ่งลมให้แห้งแล้วจะได้ผ้าที่มีกลิ่นหอมติดอยู่ในใยผ้า







จากนั้นเข้าสู่กิจกรรมฐานเรียนรู้ "การเซวผ้า"
เหมือนกับการ "ด้น" ด้ายในภาคกลางประมาณนั้น
ต่างกันตรงที่ชุมชนบ้านอาลึใช้เส้นด้ายไหม
และกระเป๋าที่นำมาให้นักท่องเที่ยวลงมือทำ
เป็นกระเป๋าผ้าที่ทำจากผ้าไหมที่ผ่านการย้อมมะเกลือมาเรียบร่อยแล้ว



นี่คือกระเป๋าต้นแบบ "การเซว" ก็เริ่มต้นขึ้น



ครูผู้สอน "เซว" ด้าย ลงบนผ้ามะเกลือ หรือลงบนกระเป๋ามะเกลือ
เมื่อนักท่องเที่ยวทำเสร็จกลายเป็นกระเป๋าทำมือที่นำกลับบ้านได้เลยค่ะ



ทุกคนเหมือนย้อนอดีตในวัยเรียนมาเรียนวิชาคหกรรมเย็บผ้าเลยค่ะ









ดูฝีมือของอุ้มสีชีสามารถอยู่ ทำได้แค่นี้แล้วลุกไปถ่ายภาพ
ลืมขอเส้นด้ายไหมมาทำต่อที่บ้านเนาะเสียดายจัง



ระหว่าง "เซวผ้า" ไปก็มีการสรุปผลจากการลงพื้นที่
ชุมชุนควรปรับแรุงแก้ไขเพิ่มเติม
หรือเตรียมการต้อนรับนักท่องเที่ยวให้ประทับใจ
เมื่อนักท่องเที่ยวกลับไปยังบ้านของเขาจะได้บอกต่อ
เคาะกันตรงนี้ให้ชุมชนได้นำไปพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชน
ไว้รองรับที่กำลังจะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวภายในชุมชน
จากนั้นถ่ายภาพหมู่กันเนาะ

สำหรับความรู้สึกของอุ้มสีเกี่ยวกับการลงพื้นที่ของ "ชุมชนบ้านอาลึ"
ที่อุ้มสีมีความสุขกับวัฒนธรรมประเพณีของพื้นถิ่นที่มีอัตตลักษณ์
ชอบอาหาร ชอบเพลง ชอบชุมชน
มีคนถามอุ้มสีว่าเหนื่อยไหม อุ้มตอบไปสั้นสั้นว่า ชอบ
เพราะฉะนั้นคำว่าเหนื่อยไม่มีในความรู้สึกของอุ้มสี
ว่าแล้วก็...เฮ...มาเที่ยวมาสัมผัสมารับรู้ว่าเมืองไทยมีดีเยอะเลยค่ะ









จากนั้น อพท.2 นำโดยนางสาวกัญจน์กนก มีแสง
ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ อพท.2 (เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้)
พาชมปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
ที่มีเสน่ห์ศิลปะขอมโบราณ นับเป็นจุดเช็คอินที่ต้องห้ามพลาดเมื่อไปเยือนจังหวัดสุรินทร์





ปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ที่มีเสน่ห์ศิลปะขอมโบราณ
เป็นจุดเช็คอินที่ต้องห้ามพลาดเมื่อมาเยือนจังหวัดสุรินทร์
ปราสาทศีขรภูมิ ปราสาทหินที่สะท้อนให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมขอมโบราณสมัยนครวัด (เข้ากับเพลงประกอบ blog อุ้มสีจนได้)
แม้ว่าปราสาทศีขรภูมิจะมีอายุกว่าพันปีแล้วก็ตาม
แต่ความงามแห่งศิลปะขอมโบราณยังคงน่าไปเยี่ยมเยือน
นับเป็นโบราณสถานที่ครั้งในชีวิตที่คุณต้องมา
เป็นบุญและเป็นมงคลแห่งชีวิตของอุ้มสี เพราะเมื่อวันปีใหม่นั่งรถไฟผ่านเห็นป้ายทางไปปราสาทศีขรภูมิ
ยังคิดอยู่เลยว่าอยากมาเห็นกับตา
แล้วสวรรค์มาโปรดดลใจให้อุ้มได้มาสำรวจเส้นทางอารยธรรมอีสานใต้กับ อพท.
ก็ต้องขอขอบคุณ อพท.2 มา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ





ปราสาทศีขรภูมิ หรือ ปราสาทระแงง
ตั้งอยู่ข้างวัดบ้านปราสาท บ้านปราสาท ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
นับเป็นปราสาทหลังนี้เป็นปราสาทที่งดงามที่สุดในจังหวัดสุรินทร์
ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้มาเยี่ยมชมในตอนเช้านะคะ
จะได้ภาพสวยงดงามที่ไม่ย้อนแสงค่ะ





โดยมีน้องเซย่า (สาวเสื้อเหลือง)มัคคุเทศก์สาวน้อยมุสลิมนำคณะ อพท.เยี่ยมชม
เธออธิบายได้คล่องแคล่วฉะฉาน
เจอแดดเจอฝนเจอลม ที่ไม่เห็นน้องใส่แมสน้องเซย่าเป็นลมค่ะ
แต่หนูยังไหวอยู่ค่ะน้องเซย่าบอก



ปราสาทศีขรภูมิ หรือ ปราสาทระแงง ตั้งอยู่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
เป็นปราสาทที่มีความสมบูรณ์และงดงามที่สุดมากที่สุดในจังหวัดสุรินทร์
มีทับหลังเป็นรูปนางอัปสรถือดอกบัว และทวารบาลยืนกุมกระบอง







ซึ่งนางอัปสราที่ปราสาทศีขรภูมินี้มีลักษณะคล้ายกับนางอัปสราที่ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา
ซึ่งไม่พบที่ปราสาทศิลปะเขมรโบราณแห่งใดอีกเลยในประเทศไทย
จะพบที่ปราสาทศีขรภูมิเพียงแห่งเดียวเท่านั้น





ปราสาทศีขรภูมิ เปิดให้ชมทุกวัน เวลา 07.30-17.00น.
ตัวปราสาทก่อด้วยอิฐบนฐานหินศิลาแลง โดดเด่นท่ามกลางสนามหญ้าสีเขียว ประกอบด้วยปรางค์ 5 องค์
ปรางค์ประธานตั้งอยู่ตรงกลางก่อด้วยอิฐขัดมัน
มีปรางค์บริวารล้อมรอบ 4 มุม ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน
จากลักษณะทางศิลปกรรม สันนิษฐานว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 17
ซึ่งตรงกับศิลปะนครวัด













ปรางค์ประธานของปราสามศีขรภูมิสูงประมาณ 32 เมตร
บริเวณประตูมีทับหลังเป็นภาพพระศิวนาฏราชสิบกร
ทรงฟ้อนรำอยู่เหนือเกียรติมุข ภายใต้วงโค้งลายท่อนมาลัย
ซึ่งสลักเป็นภาพพระคเณศ พระพรหม พระวิษณุ และพระอุมา
บริเวณเสากรอบประตูสลักเป็นรูปนางอัปสรถือดอกบัว
และทวารบาลยืนกุมกระบอง ปราสาทศีขรภูมิ
นับเป็นโบราณสถาน​ที่มีคุณค่า​ทาง​ประวัติศา​สตร์
และมีความงดงาม​ตามแบบฉบับของขอมโบราณ​
ที่ทำให้นึกถึงครั้งอดีตที่เมื่อครั้งรุ่งเรือง









แผนผังของปราสาทศีขรภูมิมีความพิเศษที่แตกต่างไปจากปราสาทหลังอื่นในประเทศไทย
เนื่องจากเป็นปราสาท 5 หลังที่ตั้งอยู่บนฐานไพทีเดียวกัน
โดยปราสาทประธานตั้งอยู่ตรงกลางและล้อมรอบไปด้วปราสาทบริวารอีก 4 มุม
เช่นนี้แตกต่างไปจากปราสาทที่พบในประทศไทยโดยทั่วไป
ที่มักเป็นปราสาท 3 หลังเรียงกันอยู่บนฐาน

























ส่งท้ายภาพที่ปราสาทศีขรภูมิด้วยภาพสาวน้อยคนสวยคนนี้
จากนั้นมาถึงอำเภอปราสาทแล้วของฝากที่ต้องซื้อกลับบ้านก็คือ "กาละแม"
ของฝากกับนักท่องเที่ยวเชื่อมโยงเกี่ยวพันเสมอ
เพราะชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนชุมชนต้องมีรายได้
เพราะฉะนั้นไปซื้อของฝากกันค่ะพี่น้องชาวไทย



กาละแมสดศีขรภูมิ ตราปราสาทเดียว
ตั้งอยู่ที่ถนนเสรีธิปัตย์ ตำบลระแงง อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
โทร 044 561 009

มาเมืองช้างแล้วมองหาของฝาก อพท.2 พามาแนะนำร้านนี้
เป็นของดีเมืองสุรินทร์เลยค่ะ
กาละแมสดศีขรภูมิ "ตราปราสาทเดียว"
มีแบบม้วนและแบบถ้วยที่เป็น package ใหม่ ห่อเล็กแต่น่ารัก
คงความอร่อยเหมือนเดิมที่เพิ่มเติมคือมีความนุ่มและกลิ่นหอมของใบตอง
ที่มีความสดของกะทิคั้นจากมะพร้าวแท้ไม่ใช้กะทิกล่องนะจ๊ะ
ที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือไม่ใส่วัตถุกันเสียสักอย่าง
เพราะฉะนั้นแนะนำว่าต้องกินภายใน 3-4 วัน นับจากวันแรกที่ผลิตดูจากถุงเลยจ้า



นอกจากเป็นร้านขายกาละแม ขายกาแฟแล้ว
ที่นี่ยังมีเต่าเดินต้วมเตี้ยมในร้านไม่รู้ว่ามีกี่ตัว
แต่เห็นเดินไปมาตัวใหญ่ 3 ตัว ตัวเล็ก 2 ตัว













กาแฟใส่กัญ(ชา) ที่ร้านนี้ก็มีขายนะคะ



กาละแมล่าสุดแบบถ้วย





ที่ร้านยังมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวลองห่อกาละแมด้วยนะคะ
สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินได้ดีเลยค่ะ



แต่ละคนโชว์การห่อกาละแมค่ะ







แต่ละคนห่อสวยสวยทั้งนั้นแม้กระทั่งท่านผู้จัดการ อพท.2
อย่าถามว่าอุ้มสีห่ออกมาเป็นอย่างไร คริคริ
ชีบอกสวยค่ะห่อสวย
แล้วหยิบกาละแมใส่ปากห่อสวยจริงๆ ค่ะกินกาละแมแกล้มกาแฟต่อไป
คริคริ ตลกบริโภกมาเองนะจ๊ะคุณนายอุ้มสี
ออกจากร้านซื้อกาละแมกลับบ้านกันคนละหลายหลายห่อเลย ของเขาดีจริง
จากนั้นไปรับประทานอาหารมื้อเย็นกันต่อ อพท.2 จัดให้







อพท.2 พามาแนะนำร้านอาหารโกนขแมร์ แหนมเนือง สุรินทร์







อพท.2 พามาแนะนำร้านอาหารโกนขแมร์ แหนมเนือง สุรินทร์
ร้านตั้งอยู่ที่ 203 ตรอกศรีไผทสมันต์ ในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
โทร.083 385 5599

















สำหรับร้านนี้เจ้าของร้านจะมาอธิบายการรับประทาน
รวมทั้งบอกว่าพนักงานที่นี่ส่งไปเรียนรู้การทำอาหารที่เวียดนามจริง
อาหารและเครื่องปรุงบางอย่างก็สั่งมาจากประเทศเวียดนาม
เจ้าของร้านเป็น YEC คือเป็นนักธุรกิจที่ยังเป็นวัยรุ่นที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
สรุปร้านนี้โอมากค่ะ ต้องมาทานปักหมุดเลยค่ะพี่น้อง







img alt="" src="https://www.bloggang.com/data/a/aumteerama/picture/1652700505.jpg" style="width: 1280px; height: 1733px;" />







Enjoy Eating
ก็กลับที่พักโรงแรมโรงแรมทองธารินทร์ จังหวัดสุรินทร์
เป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว
ตั้งอยู่ที่ลขที่ 60 ถนนศิริรัฐ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์



โรงแรมชั้นหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์ อาคารสูงสง่างาม 12 ชั้น พรั่งพร้อมความสะดวกสบาย
ใจกลางเมืองสุรินทร์ มีห้องพักมากกว่า 200 ห้อง
ประกอบด้วยห้องเอ็กซ์คลูซีฟ สวีท 9 ห้อง ห้องวีไอพี 5 ห้อง
ห้องจูเนียร์ สวีท 6 ห้อง และห้องดีลักซ์ 197 ห้อง
ทุกห้องล้วนมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน รวมถึงอินเตอร์เน็ต WIFI







ขอขอบคุณ อพท.2 ที่ชวนอุ้มสีมาสำรวจเส้นทางอารยธรรมอีสานใต้ค่ะ
อบอุ่นและประทับใจอุ้มสี จะว่าไปชีชอบไปหมด
ขอเป็นเรื่องเที่ยวไว้ใจอุ้มสีเที่ยวคนเดียวมาตั้งแต่เกิด



ขอขอบคุณ อพท.2

นางสาววัชรี ชูรักษา
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อพท.

พันเอกนาวิน ปรีชาพณิชยกุล
ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 2 อพท.

นางสาวกัญจน์กนก มีแสง
ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ อพท.2
(เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้)

ดร.นุชประวีณ์ ลิขิตศรัณย์
อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมบริการ
คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

เพลง : อังกอร์วัด / นุภาพ สวันตรัส
BG : คุณลักกี้ / กล่องเขียนคอมเม้นท์ : คุณ lozocat
ของแต่ง BLOG : ป้ามด-ดอกหญ้าเมืองเลย-ชมพร-ญามี่-เนยสีฟ้า





Create Date : 14 พฤษภาคม 2565
Last Update : 19 พฤษภาคม 2565 2:28:38 น. 24 comments
Counter : 1421 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณเริงฤดีนะ, คุณThe Kop Civil, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณmultiple, คุณKavanich96, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณtoor36, คุณmariabamboo, คุณpeaceplay, คุณSweet_pills, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณtanjira, คุณnonnoiGiwGiw, คุณจันทราน็อคเทิร์น


 
น่าไปเที่ยวมากๆค่ะ ยังไม่เคยไปเลยตั้งแต่เกิดมาจริงๆค่ะ


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 14 พฤษภาคม 2565 เวลา:22:21:34 น.  

 


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 14 พฤษภาคม 2565 เวลา:22:22:01 น.  

 
แต่ละเมือง
ก็มีเอกลักษณ์ประจำถิ่นที่น่าสนใจของตัวเองเลยนะครับพี่อุ้ม



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 พฤษภาคม 2565 เวลา:22:32:04 น.  

 
เที่ยวแนววิถีชีวิตก็น่าสนใจครับ


โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 14 พฤษภาคม 2565 เวลา:23:15:43 น.  

 
วิถีอีสานใต้ เป็นชุมชนที่เงียบสงบ บรรยากาศท้องทุ่งไร่นา อากาศน่าจะดีมากๆเลยนะครับ

เห็นงานฝีมือ ทอผ้า อีกอันไม่รู้ใช่ งาน ปักสะดึงโบราณหรือเปล่านะครับ
ของพวกนี้ ถ้าได้รับการส่งเสริม ก็จะอนุรักษ์ไว้ได้ แถมเพิ่มรายได้ให้ชุมชนอีกทางนะครับ



โดย: multiple วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:5:14:04 น.  

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน


โดย: Kavanich96 วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:5:15:09 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่อุ้ม



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:7:01:04 น.  

 
สวัสดี จ้ะ น้องอุ้มสี
ตามมาเที่ยว อิสานใต้จ้ะ
ได้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน
อย่างเด่นชัดเลย น่าไปเที่ยว
โหวดหมวด ท่องเที่ยว


โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:10:26:26 น.  

 
ของไทยมีอะไรให้ขายนักท่องเที่ยวได้เยอะครับ เยอะจนน่าตกใจเลย ปัญหาสำคัญที่ไม่มีใครใส่ใจคือ ปัญหาการเดินทางและการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวที่ยากลำบาก ต่างประเทศหลายๆ ประเทศเดินทางสะดวกกว่าไทยมาก มันได้เปรียบในหลายๆ ส่วน ยอมรับแหละว่าในจุดนี้แก้ไขยาก ถึงขั้นมีคนตำหนิความคิดเห็นอย่างผมเลย ซึ่งผมก็ไม่ว่าอะไร แต่ทว่าหากเรายังคิดแค่ว่าเราดีแล้ว ดีกว่าประเทศอื่น ก็ไม่ต้องพัฒนาต่อ เราได้แค่นี้

จากบล็อก
ดีแล้วครับ จบก็คือจบกันไปเลย คนเราไม่ได้ตายเพราะเสียชีวิตหรอก แต่ตายเมื่อผู้คนไม่จดจำ และเลือกที่จะละทิ้งเขาไปจากใจ


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:16:17:40 น.  

 
ชีวิตของหลายคน
รวมทั้งผมด้วย
เหมือนมายืนอยู่ตรง
ทางแยกเลยครับพี่อุ้ม
โควิดทำให้ชีวิตเปลี่ยนเลย



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:17:15:57 น.  

 
ตามเที่ยวและส่งกำลังใจค่ะพี่


โดย: mariabamboo วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:19:21:21 น.  

 
สวัสดีครับคุณอุ้ม

ตามมาเยี่ยมมาส่องกรรมวิธีย้อมผ้าไหมด้วยผลมะเกลือ
ดำสนิท สวยธรรมชาติครับ

ขอบคุณที่แวะไปส่งกำลังใจนะครับ


โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:21:49:36 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่อุ้ม



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 พฤษภาคม 2565 เวลา:6:25:21 น.  

 
เจาะกลุ่มMICE เยี่ยมเลยค่ะ


โดย: peaceplay วันที่: 16 พฤษภาคม 2565 เวลา:15:40:06 น.  

 
อยากไปเที่ยวเหมือนกันครับพี่


โดย: The Kop Civil วันที่: 16 พฤษภาคม 2565 เวลา:23:15:32 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่อุ้ม



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 พฤษภาคม 2565 เวลา:6:08:24 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณอุ้ม

ดีจังนะคะได้ไปเที่ยวชมที่ต่างๆ
เก็บเกี่ยวสิ่งดีดีมานำเสนอเพื่อนๆ
ขอบคุณมากนะคะ


โดย: tanjira วันที่: 17 พฤษภาคม 2565 เวลา:13:49:14 น.  

 
สวัสดีครับ

ขอบคุณที่แวะไปที่บล็อกครับ


โดย: ปัญญา Dh วันที่: 17 พฤษภาคม 2565 เวลา:14:06:54 น.  

 
ไอติมฝอยทองกระชากใจมากค่ะพี่


โดย: nonnoiGiwGiw วันที่: 17 พฤษภาคม 2565 เวลา:14:08:28 น.  

 
ขอบคุณครับพี่อุ้ม



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 พฤษภาคม 2565 เวลา:14:14:32 น.  

 
ส่งการบ้าน ตะพาบ 302: ทางแยก


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 17 พฤษภาคม 2565 เวลา:20:19:05 น.  

 
สวัสดีครับพี่อุ้ม

ชีวิตของพี่อุ้มนี่ ใครๆ เห็นคงอิจฉาแน่ๆ เลย
ทำงานไปเที่ยวไป งานกับเที่ยวเป็นเรื่องเดียวกัน ดีจังเลยครับ

ขอบคุณมากนะครับพี่ที่แวะไปเช็คอินให้กำลังใจน้อง



โดย: สีเมจิก (สมาชิกหมายเลข 5106714 ) วันที่: 17 พฤษภาคม 2565 เวลา:21:49:20 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่อุ้ม



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 พฤษภาคม 2565 เวลา:6:16:21 น.  

 
ประเพณี กับอาหารพื้นถิ่น เป็นจุดขายการท่องเที่ยวได้ดีมาก ๆ ครับ
โดยเฉพาะภาคอีสาน ประเพณีพื้นถิ่นเยอะมาก ๆ ครับ


โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 18 พฤษภาคม 2565 เวลา:11:00:08 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุ้มสี
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 118 คน [?]






ผล BlogGang Popular Award #16
จากวันที่ 1 ม.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63
ขอบคุณนะคะที่โหวตให้อุ้มสี


ผล BlogGang Popular Award #15
จากวันที่ 1 ม.ค. 62 - 31 ธ.ค. 62
ขอบคุณนะคะที่โหวตให้อุ้มสี



ขอบคุณหัวใจ 266 ดวง
ที่แปะให้อุ้มตลอดเดือน ก.พ.60





ขอบคุณผลโหวต
BlogGang Popular Award # 12
ปี พ.ศ.2560


ขอบคุณหัวใจ 499 ดวง
ที่แปะให้อุ้มตลอดเดือน ก.พ.59


ขอบคุณผลโหวต
BlogGang Popular Award # 11
5 มีนาคม 2559



กิจกรรมในเดือนแห่งความรัก
ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2558
กราบขอบพระคุณทุกท่าน
แปะหัวใจให้ถึง 351 ดวง


ปี พ.ศ. 2558
BlogGang Popular Award # 10


ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน



กิจกรรมในเดือนแห่งความรัก
ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2557
กราบขอบพระคุณทุกท่านค่ะ

คลิกที่นี่:: Interview .. the Blogger :: ~ อุ้มสี ~



ปี พ.ศ.2557
BlogGang Popular Award # 9
ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน




ปี พ.ศ.2556
BlogGang Popular Award # 8
ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน




Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
14 พฤษภาคม 2565
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add อุ้มสี's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.