อุ้มสีมาเที่ยวชุมชนปรางค์นครสุดยอดโฮมสเตย์ GSB Smart Homestay ของธนาคารออมสิน อ.คง จ.นครราชสีมา

อุ้มสีมาเที่ยวชุมชนปรางค์นครสุดยอดโฮมสเตย์ GSB Smart Homestay ของธนาคารออมสิน อ.คง จ.นครราชสีมา

นายประวิตร ชุมสุข รองนายก อบต.บ้านปรางค์ และประธานวิสาหกิจชุมชน การท่องเที่ยวชุมชนปรางค์นคร อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า สำหรับกิจกรรมที่เราจัดขึ้นส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน เป็นการกระจายรายได้เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจชุมชน ในพิธีต้อนรับเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2564 จะมีพิธีต้อนรับมีนางรำมารำโทนกลองยาวต้อนรับตั้งแต่ที่จอดรถที่วัดเลย จากนั้นมีพิธีผูกแขนรับขวัญที่วัดบ้านปรางค์ จากนั้นมากินข้าวเที่ยงด้วยอาหารพื้นถิ่นของเรา ที่ศูนย์เรียนรู้บ้านมิตรภาพที่เป็นเรือนโคราชแท้ อายุกว่า 130 ปี หลังจากนั้นช่วงแดดร่มลมตกประมาณเวลา 16.00 น. จะพาท่านไปสักการะเจ้าพ่อหินทับ หรือปู้ปรางค์ที่ปราสาทบ้านปรางค์ เป็นปราสาทขอมอายุเกือบ 1,000 ปี นอกจากเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ก็ยังถือว่าเป็นสุริยะปทิน เป็นการสร้างเรื่องราวเดียวกันกับสโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ที่ตอนใต้ของเกาะอังกฤษ
หลังจากนั้นก้จะพาท่านไปที่บารายบ้านปรางค์ ซึ่งสร้างมาพร้อมกันกับปราสาทบ้านปรางค์ น่าจะเป็นไม่กี่แห่งในประเทศไทยเราที่ยังคงรูปแบบ "บาราย" มานั่งเรือ "อีโปง" รับลมเย็นเย็นชมพระอาทิตย์ตกดินที่นั่นด้วยกัน "บาราย" แห่งนี้มีความพิเศษ เพราะว่าปกติการสร้างปราสาทกับบารายจะต้องหันหน้าไปทางทิศทางเดียวกัน แต่ "ปราสาทบ้านปรางค์" หันหน้าไปทางทิศตะวันออกแท้ แต่ "บารายบ้านปรางค์" หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในมุม 72 องศา ซึ่งถ้าเราไปดูในเรื่องของทางด้านโหราศาสตร์ จะเห็นว่า "บาราย"สร้างไปในตำแหน่งหรือทิศทางเดียวกับ "ราศีเมษ" เป็นราศีของพระมหากษัตริย์ หรือดวงเมืองของประเทศไทยที่ใช้อยู่ในประเทศไทย ถูกออกแบบให้เห็นว่าเมื่อพระอาทิตย์ตกกระทบพื้นน้ำจะปรากฎแสงที่ไปกระทบพื้นน้ำ คล้ายๆ เป็นรูปของศิวลึงค์ ซึ่งเป็นที่รู้กันเป็นอย่างดีว่า "ศิวลึงค์" เป็นตัวแทนของพระมหากษัตริย์ขอม แต่ว่าคนเมื่อพันปีที่แล้วเขาออกแบบได้ "เจ๋ง" สามารถออกแบบ "บาราย" ให้เป็นรูปศิวลึงค์ได้ นอกจากนั้น "บาราย" แห่งนี้จะมีปรากฎการณ์พิเศษ "สุริยันจันทรา" หรือพระอาทิตย์และพระจันทร์มาอยู่ในระนาบเดียวกันที่ 180 องศาในทุกวันขึ้น 14 ค่ำของทุกเดือน ท่านไหนที่ชอบสาย "มู" ที่เป็นความเชื่อก็ต้องมาพิสูจน์กัน
สำหรับตัวผมเองพิสูจน์มาแล้วนะครับ ผมจะขอในเรื่องของงานก้ประสบความสำเร็จ ทุกเรื่องที่เป็นเรื่องหน้าที่การงาน วิธีการก็ง่ายๆ ไม่ต้องมีการมาแก้บนอะไรเลยครับ ใชวิธีการขอ อธิษฐานขอเอาอยากได้อะไรก็ขอเอา โดยมีวิธีการของ่ายมากครับ ที่นี่ไม่ต้องเช่าเรือไปเหมือนที่อื่น ท่านสามารถเดินมาที่ "สะพานบารายสวรรค์" กลางบารายบ้านปรางค์ แล้วก็สามารถจะขออพไรได้เลยไม่มีท่าทางจะนั่งสมาธิขอ หรือจะยืนขอแล้วแต่ความสะดวก
หลังจากนั้นจะพาท่านไปที่เทวสถานฮินดู ไปไหว้พระศิวะ ไหว้พระพิฆเนศองค์ใหญ่เพื่อขอพร หลังจากนั้นพาท่านมาเยี่ยมชม "หย่อมเรือนโคราช" "หย่อมเรือนโคราช" เป็นหย่อมที่มีเรือนโคราชโบราณคอนนี้ที่มีคนอาศัยอยู่จริงๆ น่าจะเยอะที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา อันนี้จะเป็นภาพรวมๆ ของกิจกรรมในวันที่ 20 มีนาคม 2564
นอกจากนั้นในเช้าของวันที่ 21 มีนาคม 2564 วันนี้ซึ่งตรงกับวัน วสันตวิษุวัต (วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ-วัด) (Vernal Equinox) หรือทางดาราศาสตร์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ราตรีเสมอภาค ซึ่งเป็น 1 ใน 2 วัน ในรอบปีที่กลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน แล้วก็ในสมัยโบราณเมื่อ 1,000 ปีที่แล้ว ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของขอม แต่ว่าปีนี้เป็นปีที่เป็นปีที่เป็นวันมงคลแล้วเป็นวันขึ้นปีใหม่ของขอมแล้ว ยังตรงกับวันพระ ซึ่งนับเป็นปรากฎการณ์ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 5 ที่ถือว่าเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นได้ยากมากๆ นับเป็นวันที่เป็นมงคลเป็นอย่างยิ่ง วันนี้ก็จะมีพิธีรับพลังเรียกว่า "รับพลังสุริยะ" เปิดจักระรับพลังเพื่อรับสิ่งดีดีให้กับชีวิตเรา สำหรับที่มีความเชื่อ แต่ทางวิทยาศาสตร์ก็มีเรื่องของการอธิบายเกี่ยวกับเรื่องของไมโตคอนเดรีย (MITOCHONDRIA) ในร่างกายของเรา ไมโตคอนเดรีย คือ โครงสร้างชนิดหนึ่งภายในเซลล์ (organelles) ซึ่งมีเซลล์แบตตารี่ขนาดเล็ก ต้องมารับพลังแสงอาทิตย์ แบตตารี่พวกนี้จะได้ทำงานได้ดี จะมีกิจกรรมใส่บาตรหน้าปราสาทบ้านปรางค์
สำหรับท่านที่จะมาเป็นกรุ๊ปทัวร์ ถ้าท่านต้องการกิจกรรมใส่บาตรหน้าปราสาทบ้านปรางค์ ทางวิสาหกิจชุมชน การท่องเที่ยวชุมชนบ้านปรางค์นคร ก็จะดำเนินการให้ท่านตามที่ท่านขอมาจองมา และเลือกกิจกรรมมา นอจากนั้นวันนี้ในช่งเวล 17.00 น. เราจะมีกิจกรรม "ถนนคนเดินตลาดไไยโคราช"" ซึ่งครั้งนี้จะเป็นกรจัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อที่จะยกระดับงานนี้ในวัน วสันตวิษุวัต ให้เป็นงานประจำปีของอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา และจะพัฒนาให้เป็นตลาดที่มีทุกๆ เดือน ให้ประชาชนในพื้นที่สามารถที่จะนำสินค้า นำผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือสิ่งที่เรามี แแกมาจำหน่ายให้กับคนในชุมชน หรือจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว ตอนมืดจะมีกิจกรรม "รำวงย้อนยุค" และมี "หนังกลางแปลง" จะเป็นในแนวย้อนยุค ผมอยากเรียนเชิญทุกท่านที่สนใจการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรมชีวิตและจิตวิญญาณ มาเติมพลังให้กับชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพลังของปราสาท การรับพลังจาก "บาราย" หรือแม้กระทั่งมากินอาหารพื้นถิ่น ซึ่งเป็นอาหารที่ปลอดสารพิษ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ชีวิตร่างกายของเราดีขึ้นสะอาดขึ้น อยากจะขอเชิญชวนทุกท่านมาเที่ยวชุมชนบ้านปรางค์นครครับ

คลิกที่นี่ย้อนไปตอนที่ 1 ม.ราชภัฏนครราชสีมา และสมาคมภาษาเพื่อการศึกษาอาชีพฯ จัด ไขรหัสการสร้างปราสาทขอมบนผืนดินบ้านปรางค์นคร
คลิกที่นี่ย้อนไปตอนที่ 2 เทวสถานรัตนพิมานพระแม่เจ้าศรีอุมาเทวีมหากาลีเย ตำบลบ้านปรางค์ทอง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา




ภาพเมื่อวันที่ 18-22 มีนาคม 2564 อุ้มได้มาเยือนวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวชุมชนบ้านปรางค์นคร อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา ขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และสมาคมภาษาเพื่อการศึกษา อาชีพ และธุรกิจนำเที่ยว ที่เป็นชุมชนที่ไม่หยุดพัฒนาตนเอง และยังเป็น "แดนสมดุลแห่งพลังจักรวาลย้อนรอยอดีตกาลอารยธรรมขอมชมหย่อมเรือนโคราชด๊ะดาดวิถีถิ่นสืบสานศิลป์ศาสตร์พระราชา"

ตามธรรมเนียมไทยแต่โบราณกาลมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ กินมื้อเที่ยงที่บ้านมิตรภาพ เรือนไทยโคราช ที่เป็นศูนย์เรียนรู้บ้านมิตรภาพที่เป็นเรือนโคราชแท้ อายุกว่า 130 ปี

ฯพณฯ ท่าน ส.ส. มาร่วมกินข้าวเที่ยงด้วยค่ะ


อาหารพื้นถิ่น มาเป็นโต๊ะหวายขันโตกค่ะ คิดดูแตงโมยังใส่ใจทำเป็นรูปบ้านโฺฮมสเตย์



เจ้าพ่อหินทับ

นายสรรค์สนธิ บุณโยทยาน กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร / นักพิภพวิทยา เปิดเผยว่า ปราสาทขอมทุกแห่งเขามีที่มาของการสร้าง คือเรานึกย้อนกลับไปเมื่อ 1 พันปีที่แล้ว บ้านเมืองในสมัยนั้นปกครองระบอบกษัตริย์ คราวนี้จะไปทำอะไรก็แล้วแต่การสร้างปราสาทถือว่าเป็น 1 ในกิจกรรมที่จะต้องได้รับการอนุญาตจากส่วนกลาง กล่าวคือ ปราสาทเขาถือว่าเป็นที่อยู่ของเทพเจ้า มนุษย์ไม่มีสิทธิ์เข้าไปอยู่ มนุษย์มีหน้าที่เพียงแต่เข้าไปทำพิธีกรรมแล้วก็ออกมา ฉะนั้นการสร้างปราสาทจะต้องคำนึงว่าชุมชนนั้นต้องมีความสำคัญ ไม่ว่าชุมชนนั้นจะเล็กหรือใหญ่แค่จุดๆ นั้นต้องมีความสำคัญเพราะไม่งั้นเขามาสร้างปราสาทไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปราสาทที่มีองค์ประกอบครบถ้วนเหมือนปราสาทบ้านปรางค์ จริงๆ แล้วถ้าดูแสดงว่ายังสร้างไม่เสร็จเพราะว่ามีเพียงปรางค์ตรงกลางแล้วก็ยังไม่ได้สลักลวดลายอะไรเลย แต่ถ้าเกิดเขาสร้างปราสาทบ้านปรางค์เสร็จคงจะเป็นปรางค์ที่สวยงาม ฉะนั้นโดยภาพถ้าเรามองย้อนกลับมาแสดงว่าตรงนี้จะต้องเป็นชุมชนขนาดใหญ่ เพราะว่าการใช้แรงงานคนระดับหลายพันคน แล้วก็จะต้องส่งคนออกไปหาวัตถุดิบการก่อสร้าง คิดดูสิครับว่าคนไปหาวัตถุดิบก่อสร้าง คนมาออกแบบ แล้วที่สำคัญก็คือเขาจะต้องมีคนมาตรวจงาน เพราะฉะนั้นการสร้างปราสาทขอมไม่ใช่ว่านึกจะสร้างก็สร้างตามใจนะครับ แบบต้องมีแบบมาตรฐานที่ส่วนกลางเขาอนุมัติด้วย ฉะนั้นผมกล้ายืนยันครับว่า สถานที่ก่อสร้างปราสาทขอมแต่ละแห่งจะต้องมีนัยสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจจะเป็นที่ที่กษัตริย์เคยเสด็จหรือเจ้านายใหญ่โตเคยมาที่นี่แล้วก็มาทำพิธีกรรมอะไรบางอย่าง จึงต้องทำปราสาทไว้ซึ่งทั่วโลกเหมือนกันหมดครับ ฉะนั้นโดยภาพรวมปราสาททุกแห่งที่เกิดขึ้นที่เห็นในประเทศไทย ประเทศกัมพูชา ประเทศลาวตอนใต้ จะต้องมีความสำคัญของสถานที่นั้นๆ เพราะถ้าไม่สำคัญจะไม่เกิดปราสาทขึ้นครับ

นายสรรค์สนธิ บุณโยทยาน กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร / นักพิภพวิทยา ยังกล่าวต่ออีกว่า ....ที่บ้านปรางค์นครจะมีปราสาทขอมบ้านปรางค์ เชื่อว่าสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีบารายขนาดใหญ่ ตรงนั้นผมได้ทำการสำรวจไว้แล้วว่า ปราสาทขอมหลังนี้หันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกแท้ แล้วทำมุมกับทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันตกแท้ทั้งหมดครับ ฉะนั้นในวันที่ 21 มีนาคม 2564 ถ้าท้องฟ้าเปิดไม่มีพายุฝนจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับประตูทางด้านทิศตะวันออก แล้วก็ปราสาทขอมจำนวนไม่น้อยจะมีเพียงประตูเดียวคือประตูทางทิศตะวันออก นอกนั้นจะเป็นประตูหลอกคือไม่ให้แสงอาทิตย์เข้าไม่ให้อะไรเข้า แสงพระอาทิตย์จะถูกเบียดให้เข้าทางประตูทางทิศตะวันออกทิศเดียว ซึ่งปราสาทบ้านปรางค์ก็เป็นไปในลักษณะแบบนั้น แล้วก็ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะมีบารายขนาดใหญ่ บารายอันนี้สามารถที่จะมองเห็นดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ซึ่งเป็นดวงจันทร์เต็มดวงขึ้นในระนาบเดียวกัน ซึ่งผมตั้งชื่อว่า "บารายสวรรค์สุริยันจันทรา" เพราะฉะนั้นทุกวันขึ้น 14 ค่ำของทุกเดือน มายืนบนสะพาน (ซึ่งเป็นบารายแห่งเดียวที่มีสะพาน) ท่านมองไปทางทิศตะวันออกท่านจะเห็นดวงจันทร์เต็มดวงขึ้นแล้วถ้ามองไปทางทิศตะวันตก ท่านจะเห็นดวงอาทิตย์กำลังจะลับขอบฟ้าไปอยู่ระนาบเดียวกัน แต่ว่าเนื่องจาก "บาราย" เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ทำให้สะท้อนเห็นภาพดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์เสมือนว่าเราจะมีดวงจันทร์ 2 ดวง ดวงอาทิตย์ 2 ดวง เพราะฉะนั้นกิจกรรมในครั้งนี้จะเป็นกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับดาราศาสตร์ เชื่อมโยงกับวิถีของเกษตรกร เชื่อมโยงกับวิถีชุมชน

พายเรืออีโปงเก็บดอกโสนหรือเปล่าหนอ.. เรือ"อีโปง" ความหมายตามพจนานุกรม น. เรือขุดชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ 1 วา ทำจากโคนต้นตาลผ่าซีก แล้วขุดเอาเนื้อข้างในออกและปิดท้ายด้วยไม้ ท้ายเรือเล็กกว่าหัวเรือ เรืออีโปงเป็นเรือที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านทำจาก "ต้นตาล" ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ตรงโคนของลำต้นจะใหญ่ลักษณะโค้งมน.และที่ปลายยอดจะเรียวยาว คัดเลือกได้ที่แล้วทำการผ่าครึ่งซีก โดยต้นตาลหนึ่งต้น ทำเป็นเรือได้ถึง 2 ลำคนพาย เรือนั่งบังคับเรือตรงหัวเรือคือส่วนที่ใหญ่ที่สุดของเรือ จะใช้เรืออีโปงออกไปหาปลาในแม่น้ำหรือออกไปทุ่งนา


ยกถนนคนเดิน-ตลาดไทยโคราชไป BLOG หน้านะคะ
ขอขอบคุณ เพลง : บอกรักเมืองไทย / โต๋ ศักดิ์สิทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา สมาคมภาษาเพื่อการศึกษา อาชีพ และธุรกิจนำเที่ยว BG : คุณลักกี้ / กล่องเขียนคอมเม้นท์ : คุณ lozocat ของแต่ง BLOG : ป้ามด-ดอกหญ้าเมืองเลย-ชมพร-ญามี่-เนยสีฟ้า
Create Date : 04 พฤษภาคม 2564 |
Last Update : 4 พฤษภาคม 2564 21:59:56 น. |
|
15 comments
|
Counter : 3713 Pageviews. |
 |
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณ**mp5**, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณhaiku, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณสองแผ่นดิน, คุณกะว่าก๋า, คุณSweet_pills, คุณThe Kop Civil, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณmultiple, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณtoor36, คุณKavanich96, คุณtuk-tuk@korat |
โดย: **mp5** วันที่: 4 พฤษภาคม 2564 เวลา:12:02:45 น. |
|
|
|
โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 4 พฤษภาคม 2564 เวลา:12:06:39 น. |
|
|
|
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 4 พฤษภาคม 2564 เวลา:12:45:20 น. |
|
|
|
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 4 พฤษภาคม 2564 เวลา:21:56:39 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 4 พฤษภาคม 2564 เวลา:23:15:46 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 พฤษภาคม 2564 เวลา:23:16:04 น. |
|
|
|
โดย: multiple วันที่: 5 พฤษภาคม 2564 เวลา:6:38:07 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 พฤษภาคม 2564 เวลา:7:22:07 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 5 พฤษภาคม 2564 เวลา:15:31:46 น. |
|
|
|
โดย: Kavanich96 วันที่: 6 พฤษภาคม 2564 เวลา:3:01:38 น. |
|
|
|
|
|