Group Blog
OWL2's blog
มีนาคม 2560
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
23 มีนาคม 2560
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๗ )
All Blogs
น่าน น้าน นาน (ตอนจบ)
น่าน น้าน นาน (4)
น่าน น้าน นาน (3)
น่าน น้าน นาน (2)
น่าน น้าน นาน (1)
Konnichiwa Nihon no densha (14)
Konnichiwa Nihon no densha (ตอนจบ)
Konnichiwa Nihon no densha (24)
Konnichiwa Nihon no densha (23)
Konnichiwa Nihon no densha (22)
Konnichiwa Nihon no densha (21)
Konnichiwa Nihon no densha (20)
Konnichiwa Nihon no densha (19)
Konnichiwa Nihon no densha (18)
Konnichiwa Nihon no densha (17)
Konnichiwa Nihon no densha (16)
Konnichiwa Nihon no densha (15)
Konnichiwa Nihon no densha (13)
Konnichiwa Nihon no densha (12)
Konnichiwa Nihon no densha (11)
Konnichiwa Nihon no densha (10)
Konnichiwa Nihon no densha (9)
Konnichiwa Nihon no densha (8)
Konnichiwa Nihon no densha (7)
Konnichiwa Nihon no densha (6)
Konnichiwa Nihon no densha (5)
Konnichiwa Nihon no densha (4)
Konnichiwa Nihon no densha (3)
Konnichiwa Nihon no densha (2)
Konnichiwa Nihon no densha (1)
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( ตอนจบ )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 12 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 11 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 10 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 9 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 8 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 7 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 6 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 5 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 4 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 3 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 2 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 1 )
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (ตอนจบ)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (5)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (4)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (3)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (2)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (1)
ล่องใค้ ไปอีสาน (ตอนสุดท้าย)
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑๒ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑๑ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑๐ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๙ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๘ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๗ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๖ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๕ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๔ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๓ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๒ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑ )
ทานตะวัน Express (2)
ทานตะวัน Express (1)
xinchao Vietnam (ตอนจบ)
Xinchao Vietnam ( 13 )
Xinchao Vietnam ( 12 )
Xinchao Vietnam ( 11 )
Xinchao Vietnam ( 10 )
Xinchao Vietnam ( 9 )
Xinchao Vietnam ( 8 )
Xinchao Vietnam ( 7 )
Xinchao Vietnam ( 6 )
Xinchao Vietnam ( 5 )
Xinchao Vietnam ( 4 )
Xinchao Vietnam ( 3 )
Xinchao Vietnam ( 2 )
Xinchao Vietnam ( 1 )
Meeting สุดชายแดนบูรพา (ตอนสุดท้าย)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (4)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (3)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (2)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (1)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนสุดท้าย)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 5)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 4)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 3)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 2)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 1)
กุลวาขาว แมคคิลวารี
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนสุดท้าย)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 6)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 5)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 4)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 3)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 2)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 1)
เที่ยวสุพรรณ....กับด่วนขุนแผน ตอนที่ 3 (ส่งท้าย)
เที่ยวสุพรรณ....กับด่วนขุนแผน ตอนที่ 2
เที่ยวสุพรรณ....กับด่วนขุนแผน ตอนที่ 1
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 6 (สุดท้าย)
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 5
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 4
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 3
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 2
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 1
ก่อนที่จะมาเป็นถนนวิภาวดีรังสิต
เรื่องราวในอดีตของถนนมิตรภาพ : กรุงเทพฯ - หนองคาย ใน 8 ชั่วโมง
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (12)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (11)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (10)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (9)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (8)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (7)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (6)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (5)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (4)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (3)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (2)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (1)
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๗ )
วันรุ่งขึ้น คุณนพ เจ้าภาพที่ภูเก็ต ได้นำผมออกไปจองตั๋วของกรีนบัส รถทัวร์บ้านเฮา จากภูเก็ตถึงเชียงราย กลับอุตรดิตถ์ในตอนค่ำที่ตัวแทนจำหน่ายตรงสี่แยกท่าเรือ อ.ถลาง โดยขณะที่ตัวแกก็มีโปรแกรมจะออกบินข้ามภาคจากภูเก็ตไปเชียงใหม่ในตอนสายวันรุ่งขึ้น และเดินทางมาที่นครสวรรค์บ้านเกิด รายการทัวร์ภูเก็ตในวันนี้ จึงอยู่ในหัวของแกทั้งวัน
หลังจากจองตั๋วรถทัวร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพบอกว่าจะพาผมไปชมเขารัง จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจแห่งหนี่งของภูเก็ต ไม่แพ้ปีนังฮิลล์ทีเดียว
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ สมัยผมเรียนอยู่ที่ชั้น ม.ศ.๔ แผนกศิลปะนั้น ภาควิชาสังคมศาสตร์ได้จัดทำเที่ยวภาคใต้ที่ภูเก็ต บังเอิญแม่ผมใจดี เลยมีโอกาสไปเที่ยวในคราวนี้ด้วย และที่สำคัญที่สุดคือขึ้นไปเที่ยวเขารัง หาดสุรินทร์ หาดราไวย์ และก็นอนวัด ก่อนที่ภูเก็ตจะคึกคักดังระเบิดด้านการท่องเที่ยวจนเป็นข่าวกระทบกระทั่งกับชาวเลเจ้าของถิ่น ที่อยู่มาตั้งแต่ไหนแต่ไร
เพื่อนในภาพด้านซ้ายนี่ ทราบข่าวหลังสุดว่าเป็นนายพลเกษียณอายุไปแล้ว
ขึ้นมาคราวนี้ เขารังได้เปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง มีจุดชมวิวสวยๆ มีหอเกียรติยศ ๑๐๐ ปี ทรงชีโน - โปรตุกีส และอนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ที่ร่ำลือว่ามีความสามารถชนิดหาตัวจับได้ยากทีเดียว
และผมขอถ่ายรูปกับคุณนพ เจ้าของถิ่น ไว้เป็นที่ระลึกสักหน่อย
ผมขอเซลฟี่ตัวเองบ้าง
อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต
จากคราบสนิมที่ติดยู่ตามอนุสาวรีย์ ทำให้ผมคิดว่า เหมือนอนุสาวรีย์ในต่างประเทศ ยังไงยังงั้น
แดดเริ่มแรงขึ้น ผมขอเข้าไปที่หอเกียรติยศ ๑๐๐ ปี ทรงชีโน - โปรตุกีสดีกว่า
และไม่ผิดหวัง มีเรื่องราวเกั้ยวกับเหตุการณ์สมัยท่านโดยไม่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน ติดไว้ที่บริเวณผนังแปดเหลี่ยมอย่างน่าทึ่งทีเดียว
เช่น ด้านการศึกษา
ด้านการธนาคารและตำรวจ
ด้านการรักษาพยาบาล
อาคารที่ว่าการมณฑล หรือต่อมาเป็นศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลังแห่งแรกในประเทศไทย
อาคารพาณิชย์ทรงชีโน - โปรตุกีส ที่ลูกค้าสามารถเดินชมได้ตลอด ไม่ว่าจะเป็นช่วงแดดแรงหรือฝนตกครับ เพราะชายคาของอาคารชั้นบนกันไว้
แต่สมัยหลัง มีเจ้าของห้องหลายห้องได้ก่ออิฐกั้นผนังเอาไว้ ทำให้เจตนารมณ์เดิมต้องสูญหายไป เนื่องจากไม่เห็นประโชน์ข้อนี้
ที่สำคัญคือ ท่านได้สมคบคิดกับหลาน ลักลอบนำเอาเมล็ดพันธุ์ยางพาราที่สุดแสนหวงของจักรวรรดิอังกฤษ นำมาปลูกและขยายพันธุ์ในเมืองไทยได้สำเร็จ สมัยท่านยังดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง
ผังเมืองภูเก็ตที่ทันสมัยแม่แพ้ปีนัง ก็มาจากดำริของท่าน ซึ่งชาวต่างประเทศเองล้วนแต่ชมเชยเมื่อได้มาเห็น
ท่านวางแผนที่จะพัฒนาเขารังให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองภูเก็ตเหมือนเช่นปีนังฮิลล์ แต่ถึงแก่กรรมก่อนที่จะเห็นการพัฒนาแล้วเสร็จ
หลังจากที่เยี่ยมชมเขารังจนเป็นที่อิ่มอกอิ่มใจแล้ว คุณนพ ก็พาผมลงมาทานมื้อเช้าที่ร้านติ่มซำเจ้าดังของจังหวัดภูเก็ต แถมกำหนดเวลาได้เหมาะด้วยสิ
เพราะอีกครึ่งชั่วโมงต่อมา มีลูกค้าเข้ามาอุดหนุนจนเต็มร้าน จนรายที่มาถึงทีหลังต้องเลือกวิธีซื้อใส่ถุงกลับไปทานที่บ้าน
นอกจากติ่มซำที่ผมมีโอกาสทานแบบไม่อั้นแล้ว ยังได้มีโอกาสชิม "บะกุ๊ดเต๋" อีกหนึ่งชาม ก่อนที่จะไปเที่ยวชมอนุสาวรีย์เรือขุดลำแรกของเมืองภูเก็ตที่สะพานหินต่อไป
จากร้านติ่มซำ คุณนพก็พาผมไปที่สวนสาธารณะสะพานหิน อยู่สุดถนนภูเก็ต (ทำเป็นรู้ไปงั้นแหละครับ ถ้าเขาจับไปปล่อยจริงๆ ก็หลงเหมือนกัน แฮ่ะๆ)
ซึ่งมีอนุสาวรีย์หลัก ๖๐ ปี ที่จำลองมาจากกะเชอขุดแร่ ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ กัปตันเอ็ดเวิร์ด โธมัส ไมล์ ชาวออสเตรเลีย ผู้นำเรือขุดแร่ลำแรกมาใช้ขุดดีบุกเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒
แต่ชาวบ้านมักจะเรียกกันตามลักษณะที่คุ้นเคยสายตาว่า "อนุสาวรีย์หอย" มากกว่า
ฝรั่งมังค่าบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาชมกันตั้งหลายสิบปีแล้ว ผมผู้มาทีหลัง เลยจัดการเซลฟี่ไว้เป็นที่ระลึกตามระเบียบ ฮ่า...
เก็บรายละเอียดของอนุสาวรีย์กันอีกสักนิดนะครับ
อีกมุมภาพจากสวนสาธารณะสะพานหิน ที่แดดกำลังย้อนแสงเต็มที่ ก่อนที่จะเดินทางไปยังแหลมพรหมเทพต่อไป
ราวปี พ.ศ.๒๕๒๙ ลูกศิษย์เยาวชนชนบทที่ผมเคยอบรมมา ได้เดินทางไปทำงานที่ภูเก็ต และส่งภาพ ส.ค.ส.มาส่งความสุขทักทายผม แต่ถึงกระนั้น ผมก็ไม่มีโอกาสไปเยือนภูเก็ตจนแล้วจนรอด จนกระทั่งมีโอกาสตอนเกษียณอายุนี่แหละ มาดูสิว่า สภาพภูมิประเทศบริเวณนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วบ้าง ?
แต่ที่แน่ๆ ลูกศิษย์เยาวชนชนบทคนนั้น คงย้ายไปทำงานยังที่แห่งอื่นแล้วล่ะ
แหลมพรหมเทพ มีจุดเด่นตรงประภาคารกาญจนาภิเษก ความสูง ๕๐ เมตร ซึ่งก่อสร้างขึ้นโดยกองทัพเรือและประชาชนชาวภูเก็ต เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ สามารถส่องสว่างเป็นระยะไกลถึง ๓๙ กิโลเมตร
นอกเหนือจากประโยชน์ในการเดินเรือแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูเก็ตอีกด้วย
นอกจากลูกศิษย์เคยมาดูแล้ว ถึงเวลาที่อาจารย์แวะมาดูแล้วนิ
อีกมุมหนึ่ง ตรงกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังลม ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือครับ
อนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ที่หน้าประภาคาร
มองไปจากแหลมพรหมเทพสู่ช่องแคบสุมาตรา จะเห็นน้ำทะเลสีมรกตสวยงามจริงๆ แต่คงไม่น่ามองถ้าหากเกิดคลื่นสึนามิ
ราวเตี้ยๆ ที่เห็นนั้น เป็นม้านั่งสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาชมพระอาทิตย์ตกครับ
ภายในประภาคาร มีการแสงที่ให้ความรู้มากมาย และมีของที่ระลึกจำหน่ายให้กับผู้มาเยี่ยมชมอีกด้วย
เสียดาย ที่ผมลืมบันทึกภาพเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกประจำวันไว้ด้วย ซึ่งคุณนพบอกว่า จะมีรถนำนักท่องเที่ยวมาชมตะวันตก (น้ำสิหนอ ?) ยิ่งกว่างานมหกรรมเชียวล่ะ ซึ่งแกบอกเลยว่า ไม่อยากพาแขกบ้านแขกเมืองมาชมเลย
อีกด้านหนึ่งของอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มองจากประภาคารครับ
พอเข้าใจความรู้สึกของเจ้าของถิ่น ซึ่งเปิดโอกาสให้ผมเที่ยวชมตามสบาย
ส่วนตัวผม ก็ได้ของที่ระลึกจากการไปเยือนประภาคารกาญจนาภิเษกเพียงเท่านี้แหละครับ ใบละ ๓๐๐ บาทแน่ะ ตามลำดับชั้นยศ
กองทัพเดินด้วยท้องครับ เจ้าภาพเลยพาผมมาเติมพลังลงกระเพาะด้วยหมี่สะปำอันมีชื่อเสียงของภูเก็ต
Create Date : 23 มีนาคม 2560
Last Update : 23 มีนาคม 2560 12:44:42 น.
2 comments
Counter : 1425 Pageviews.
Share
Tweet
ไม่ได้ไปภูเก็ตมาร่วมสิบปีทีเดียวค่ะ เห็นภาพแล้วก็อดคิดถึงไม่ได้ ชอบบรรยากาสเก่าๆ แถวเมืองเก่า แต่ชายหาดที่มีนักท่องเที่ยวเยอะๆ ขออยู่ห่างๆ ค่ะ แต่ภูเก็ตก็มีสถานที่ให้เที่ยวได้ไม่เบื่อจริงๆ
โดย:
Maeboon
วันที่: 23 มีนาคม 2560 เวลา:15:56:06 น.
ส่วนใหญ่ ผู้คนจะไปเที่ยวตามหาดต่างๆ แถวนอกเมืองครับ ส่วนในตัวเมืองยังมีบรรยากาศที่อนุรักษ์นิยมอยู่บ้าง
ส่วนตัวผมในฐานะคนต่างถิ่น ไม่ค่อยชอบบรรยากาศเมืองท่องเที่ยวแบบนี้ มันวุ่นวายจนกระทั่งเวียนหัวนั่นแหละ หรือว่าผมเป็นคนตกรุ่นแล้วกระมัง ?
โดย:
owl2
วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:12:34:18 น.
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
owl2
Location :
กรุงเทพฯ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [
?
]
Friends' blogs
Webmaster - BlogGang
[Add owl2's blog to your web]
Links
Bloggang.com
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.