Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2561
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
1 พฤษภาคม 2561
 
All Blogs
 
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 6 )

จากหงสาวดี มีโอกาสชมบรรยากาศเมืองย่างกุ้งคราวนี้แหละ แล้วแต่รถจะพาไป

ของชอบทั้งนั้น รายการชักม้าชมเมือง



ดูสองข้างทางเพลินๆ เข้าสู่เมืองย่างกุ้งแทบไม่รู้ตัว สังเกตจากทางรถไฟเคียงคู่กับถนนนี่แหละ

ว่ากันว่า พม่า ได้ดำเนินนโยบายด้านการขนส่งตามแบบอังกฤษ คือเน้นระบบราง ส่วนถนนหนทางนั้น สร้างกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ จากเส้นทางรถไฟ



คิดว่ากิจการคงมีรายได้งามทีเดียว จากป้ายโฆษณาริมทางครับ



เย้... จากการซูมดูรูปต่างๆ พบเจ้าของรางตะคุ่มๆ อยู่แต่ไกล แต่มีเพียงขบวนเดียวเท่านั้น

น่าจะเป็นขบวนรถไฟสายรอบเมืองย่างกุ้ง



ข้ามทางรถไฟ ก่อนที่จะแล่นไปยังตอนใต้เมืองย่างกุ้ง



เริ่มมีรถราหนาตา แต่ยังน้อยกว่ากรุงเทพฯ บ้านเราแบบไม่เห็นฝุ่น



ข้ามน้ำไปสู่บริเวณท่าเรือย่างกุ้งครับ



ชาวพม่าเรียกรถไซกะ แปลงมาจากภาษาอังกฤษว่า side car tricycles

หน้าตาคล้ายกับรถสามล้อทางปักษ์ใต้บ้านเรา แต่แปลงพื้นที่วางของด้านหลัง ให้บรรทุกผู้โดยสารเพิ่มได้อีก 1 คน



ถ้าไม่มีตัวอักษรภาษาอังกฤษว่า Police คงม่ทราบหรอกว่าเป็นรถของหน่วยงานไหน ?

คราวนี้จำได้แม่นแล้วว่าเป็นของกรมตำรวจเมืองพม่า

แสดงว่ามีงานพิธีทางศาสนาอยู่ข้างหน้า ดูจากป้ายทะเบียนรถ น่าจะเป็นงานใหญ่ทีเดียว



มาดของตำรวจจราจร คนที่อยู่ทางขวาภาพ

ส่วนคนด้านซ้าย น่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ รปภ.ซึ่งเจ้าของงานจัดหามากระมัง ?



มองเจ้าหน้าที่พร้อมกล้อง VDO แสดงว่ามีผู้ใหญ่มาในงานแน่นอน

ไม่ทันได้เดาต่อ รถวิ่งเลยบริเวณงานพิธีมาไกลแล้ว



ห้างสรรพสินค้า Capital มีลูกค้าคึกคักไม่เบา ต่างจากบรรยากาศสมัยรัฐบาลทหารลิบลับ



มองไปเรื่อยๆ ครับ ตามเส้นทาง



ข้ามแม่น้ำย่างกุ้ง ก่อนเข้าสู่บริเวณวัดโบตะตาว ซึ่งอยู่ที่ถนนสแตรนด์



ตึกราม ดูแล้วเมือนสร้างเสร็จเมื่อไม่นานนี้เอง



ถึงจุดหมายแรกในบ่ายวันนี้ครับ เป็นจุดยอดฮิตของนักท่องเที่ยวชาวไทยแห่งหนึ่ง ขอมาขอพรจากเทพทันใจ (นัตโบโบยี) และเทพกระซิบ (เมี๊ยะนานหน่วย) เรียกว่าบริษัททัวร์จากเมืองไทยเจ้าไหนไม่จัดไว้ในรายการ เป็นอันว่ากร่อยทันตาเห็น

ทางเข้าสู่ศาลาเทพทันใจ จะทอดข้ามบ่อเต่า แต่ตอนนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงพื้นที่ เลยไม่มีเต่าให้เห็น



วิธีสักการะนั้นไม่ยาก โดยซื้อเครื่องสักการะไปถวาย และนำเงินธนบัตร 2 ใบสอดไปในมือรูปปั้นและเอาหน้าผากไปแตะที่ปลายนิ้ว

มีข้อแม้ว่าอธิษฐานได้เพียงข้อเดียว และห้ามขอให้ผู้อื่น จึงจะเห็นผล

เสร็จแล้วดึงเงินเก็บไว้ที่เราเป็นศิริมงคล 1 ใบ ที่เหลือมอบไว้กับเทพ ก่อนที่จะเอาผ้าที่ให้มาพร้อมกับชุดสักการะ ส่งให้เจ้าหน้าที่เพื่อคล้องคอองค์เทพ พร้อมจัดการรับเครื่องสักการะไปวางให้เรียบร้อย

ส่วนตัวเรานั้น เดินอ้อมไปทางด้านหลัง เอื้อมมือไปแตะตรงไม้เท้าที่เทพถืออยู่ เป็นอันเสร็จพิธี



แสดงให้เห็นขั้นตอนการสักการะครับ

มีเรื่องเล่าว่า ลูกทัวร์รายหนึ่ง เกรงคำขอจะไม่สัมฤทธิ์ผล เอาหน้าผากไปโขกปลายนิ้วเทพจนหักคาหน้าผาก ร้อนถึงหัวหน้าทัวร์กับไกด์ต้องหาอุปกรณ์มาดามนิ้วที่หักกันวุ่นวาย เพราะมีคนเข้าแถวรออธิษฐานอยู่ข้างหลังอีกมากมาย

เดี๋ยวนี้ มีผู้จิตศรัทธาชาวไทยได้ซ่อมแซมนิ้วเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เป็นทองคำแท้ด้วยสิ



ก็ตามประเพณีของเขาล่ะครับ เดี๋ยวหาว่าไปไม่ถึงองค์เทพ แต่ไม่ถึงขนาดทำนิ้วท่านหักอีกนะครับ

ส่วนน้องของผมส่ายหัว บอกว่าชีวิตตอนนี้อยู่สุขสบายดีแล้ว จึงสมัครใจขอถ่ายรูปบริเวณรอบๆ มิได้เข้าไปอธิษฐานแต่อย่างใด



จากนั้นก็เดินข้ามถนนไปยังเจดีย์โบตะกาว ซึ่งมีเทพกระซิบ (เมี๊ยะหนานหน่วย) ตั้งอยู่ที่นั่นด้วย



ผู้คนมากมายที่หลั่งไหลมาชมวัตถุมงคลในวันนั้น



ตามตำนานกล่าวว่า เทพกระซิบ (เมี๊ยหนานหน่วย) เป็นนัตองค์หนึ่ง เป็นธิดาของพญานาคที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า เชื่อกันว่าถ้าไปกระซิบขออะไรแล้วจะสมหวัง

เรียกว่าเป็นรูปปั้นนัตที่สวยที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาครับ แต่ก่อนทำท่าจะตกแต่งให้สวยกว่านี้ แต่หลายฝ่ายมีความเห็นว่าจะรุงรังเกินงาม เลยหยุดความสวยไว้เพียงแค่นั้น

มีเรื่องเล่าอีกแล้วว่า เคยมีลูกทัวร์เกรงว่าคำอธิษฐานของตัวเอง เทพจะไม่ได้ยิน เอามือปิดหูรูปปั้นไว้ข้างหนึ่ง แล้วตะโกนใส่อีกด้าน คนที่อยู่โดยรอบเลยรู้หมดว่าแกอธิษฐานเรื่องอะไร

ปัจจุบัน ทางเจ้าหน้าที่เลยห้ามกล่าวอธิษฐานใกล้ๆ หูรูปปั้น แต่พูดอยู่ห่างๆ พอสมควร เกรงว่าจะเป็นภาพที่ไม่น่าดูกระมัง ?



ทุกวันนี้ จะเห็นเพียงเจ้าหน้าที่นำกล่าวถวายเครื่องสักการะ และอาจมีบางราย พูดใกล้ๆ หูรูปปั้นของเทพกระซิบเท่านั้น



เจดีย์โบตะตาว แปลว่า "ทหาร 1,000 นาย" เมื่อประมาณสองพันปีมาแล้ว พระเจ้าโอกะลา กษัตริย์เมืองมอญให้ทหารจำนวนดังกล่าวมาตั้งแถวถวายความเคารพพระเกศาธาตุที่อัญเชิญมาจากอินเดียโดยทางเรือเพื่อนำไปบรรจุไว้ที่พระมหาเจดีย์ชเวดากอง ณ จุดนี้

โดยแบ่งพระเกศาธาตุไว้ 1 เส้นเพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์แห่งนี้ด้วย

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดตรงเจดีย์แห่งนี้ ทำให้ค้นพบพระเกศาธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ รวมทั้งพระพุทธรูปทองคำและของมีคาอีกหลายอย่าง

ภายหลังได้ก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ แล้วนำวัตถุโบราณเหล่านี้ และพระเกศาธาตุซึ่งบรรจุในมณฑปครอบแก้วใสมาประดิษฐานที่ฐานใจกลางเจดีย์

น้องผมว่า อาจเป็นเพราะคติโบราณที่มักฝังส่งมงคลต่างๆ ไว้ตรงฐานเจดีย์ ทำให้ไม่ถูกทำลายคราวที่โดนระเบิดจากเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้



ภาพมองใกล้ๆ เป็นธงทองคำที่ยอดเจดีย์ของเดิมครับ



ธงทองคำที่ยอดเจดีย์อยู่ภายในครอบแก้วอันแน่นหนา



ฉัตรของเดิมที่นำมาแสดง



ห้องบรรจุพระเกศาธาตุใต้ฐานเจดีย์



ไม่ได้มองชัดเจน เพราะผู้มาเยี่ยมชมมากมายเหลือเกิน และสถานที่อันจำกัด



พระพุทธรูปทองคำ ซึ่งอังกฤษคืนมาให้หลังจากพม่าได้รับเอกราช



แปลนแสดงตำแหน่งที่บรรจุวัตถุมงคลใต้เจดีย์



พิมพ์เขียวแสดงพื้นที่ภายในเจดีย์



ภาพมุมสูงแสดงตำแหน่งที่ตั้งในบริเวณวัดครับ



พระพุทธชินราชจำลองซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยนำไปมอบให้ทางวัด



สองพี่น้องร่วมกันบันทึกภาพไว้เป็นที่ระลึก



คนพี่ส่งท้าย ก่อนที่ออกเดินทางไปยังวัดเจาทัตยีต่อไป



ปั๊มน้ำมันสีสด ระหว่างทาง



Homepro Global ดั้นด้นมาถึงนี่เชียวหรือ ?



คงนำอิฐมาตกแต่งภายในบริเวณบ้าน



เสาไฟฟ้ารูปร่างแปลกตาไปจากบ้านเรา



น่าจะเป็นบริเวณใกล้ๆ สถานีย่างกุ้ง จากความเก่าแก่ของสะพาน



ยังมีรถเมล์วิ่งบริการนะ แถมมีเยอะสายด้วยสิ



สี่แยกนี้ ทันสมัยไม่เบา เพราะมีสะพานลอยใหม่เอี่ยมทอดข้าม



เห็นแล้วหิวข้าวขึ้นมาทันที แต่ไฟธาตุของชาวพม่าคงแข็งแรงพอดู เลยทำได้แค่มอง



ถึงแล้วครับ วัดเจาทัตยี มีพระนอนที่สร้างขึ้นใหม่แทนองค์เดิมซึ่งชำรุดเสียหาย มีความสูงประมาณตึก 6 ชั้นทีเดียว

นอกจากความปราณีตในการก่อสร้าง พัสตราภรณ์อันมีลวดลายสวยงามแล้ว ดวงตานั้น ยังทำจากแก้วใส ตกแต่งอย่างงดงาม จนได้รับสมญาว่า "พระตาหวาน" นั้นเชียว

เข้าใจว่า คงเป็นแรงบันดาลใจในการก่อสร้างพระประธาน และเทวรูปต่างๆ ที่วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี ต.ไทรย้อย อ.เด่นชัย จ.แพร่



จัดแจงบันทึกภาพให้กับน้องผม เป็นที่ระลึกก่อน



เราค่อยบันทึกภาพตามหลังก็ได้



ความมั่นใจของผมยิ่งมีมากขึ้น จากรูปปั้นต้นฉบับ แล้วขยายแบบมาก่อสร้างที่วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี



เลยบันทึกภาพไว้เป็นที่ระลึกด้วย



ตรงด้านปลายพระบาท ทางวัดได้จัดทำชั้นเหล็กชุบโครเมี่ยมอย่างแน่นหนา แข็งแรง สำหับผู้สนใจถ่ายภาพสามารถขึ้นไปยืนบันทึกภาพได้ตลอดทั้งองค์ในคราวเดียว

ภาพดังที่เห็น



ป้ายแสดงประวัติของพระพุทธรูปตาหวาน ซึ่งมีทั้งภาษาพม่าและภาษาอังกฤษ



ผมเข้าใจว่าเป็นรูปปั้นอดีตท่านเจ้าอาวาสวัดซึ่งละสังขารไปแล้ว

หากผิดพลาด ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้



ถึงเวลาต้องอำลาจากบรรยากาศความสงบต่อเบื้องพระพักตร์ขององค์พระแล้วล่ะ



ตามกำหนดการนมัสการพระมหาเจดีย์ชเวดากองนั้น ทางบริษัทกำหนดให้เป็นช่วงเย็น

นอกจากผู้คนไม่ค่อยพลุกพล่านแล้ว บรรรยากาศยังเย็นสบาย แถมสว่างไสวด้วยแสงไฟส่ององค์พระมหาเจดีย์ให้สวยงามสำหรับบันทึกภาพอีกด้วย

ดังนั้น ช่วงเวลาที่เหลืออยู่ จึงเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับไปหาสถานที่เหมาะๆ ในการรับประทานอาหารมื้อเย็น

เนื่องจากสถานที่จอดรถมีจำกัด ทางบริษัทจึงให้รถมาส่งตรงใกล้ป้ายรถประจำทาง ก่อนที่จะให้ลูกทัวร์ออกกำลังขาเล็กน้อยไปยังร้านที่เลือกไว้



ร้านที่ว่านี้ ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้าใจกลางกรุงย่างกุ้งอีกด้วย

ถ้าในกรุงเทพฯ คงประมาณย่านประตูน้ำ (ยามที่การจราจรไม่ติดขัด) นั่นแหละ



นั่นคือร้านชาบูชิ ที่เราคุ้นเคยสายตาอยู่ทั่วทุกหัวระแหงในกรุงเทพฯ

แต่วันนี้มาลองใช้บริการที่สาขาเมืองย่างกุ้งดูสิว่า มาตรฐานบริการจะเหมือนกันไหม ?



ขอยอมรับว่าเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมได้เข้ามากินชาบูชิ แถมเป็นสาขาในต่างประเทศ ทั้งๆ ที่ปากซอยบ้านผมก็มีอยู่แห่งหนึ่ง แต่ยังไม่เคยใช้บริการแม้แต่ครั้งเดียว ฮ่า...

ไม่มีความแตกต่างประการใดระหว่างสาขาของร้านทั้งในและนอกประเทศ

สำหรับชาวพม่า จากการสังเกต มักเป็นหนุ่มสาววัยทำงานที่อยากทานอาหารรสชาติแปลกๆ ในบางครั้ง แน่นอนว่าต้องมีราคาแพงสำหรับเงินในกระเป๋าของเขาอีกด้วย

บรรยากาศในร้านจึงเงียบสงบ ผู้คนค่อนข้างบางตาในค่ำวันนั้นครับ


Create Date : 01 พฤษภาคม 2561
Last Update : 1 พฤษภาคม 2561 9:44:33 น. 0 comments
Counter : 641 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

owl2
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add owl2's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.